22 ส.ค.2560 ระดับประเทศ จ.ยโสธร ชนะเลิศ 2 ผลงาน ปลัดกระทรวง
สธ.มอบรางวัล: Service Plan Sharing4th
ณ ศูนย์ราชการ กรุงเทพมหานคร
วันที่ 22 สิงหาคม 2560
ผมนายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง
และคณะ เข้าร่วม รับรางวัลชะเลิศ
ในประชุมและนำเสนอผลงานในการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนาระบบริการสุขภาพ
ครั้งที่ 4 ( Service Plan Sharing 4th ) ปีงบประมาณ
2560 ณ โรงแรมเซ็นทรา ศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ ถนนแจ้งวัฒนะ
เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร ภายใต้แนวคิด “Road
to Service Plan 4.0”
ประธานการประชุมและมอบรางวัลชนะเลิศผลงานวิชาการ โดย นพ.โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข
ประธานการประชุมและมอบรางวัลชนะเลิศผลงานวิชาการ โดย นพ.โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข
นพ.โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้บรรยายพิเศษ และมอบรางวัลผลงานวิชาการดีเด่น
19 สาขา
จากทั้งหมด
345 เรื่อง เพื่อเป็นต้นแบบในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนาระบบบริการสุขภาพ
นำไปปรับใช้ในเขตสุขภาพอื่นๆ ต่อไป
จังหวัด ยโสธร เป็นตัวแทนเขตสุขภาพที่ 10 นำเสนอผลงาน จำนวน 2 เรื่อง
จังหวัด ยโสธร เป็นตัวแทนเขตสุขภาพที่ 10 นำเสนอผลงาน จำนวน 2 เรื่อง
ได้รับรางวัลชนะเลิศในเวทีระดับประเทศครั้งนี้ ทั้ง 2 ผลงาน
ประกอบด้วย
เรื่องที่
1. โรงพยาบาลยโสธร นำผลงานวิชาการ ประเภท ทารกแรกเกิด
เรื่อง
ผลการพัฒนาเครือข่ายบริการสุขภาพทารกแรกเกิด
นำเสนอโดย นางวิภาดา
เชื้อศุภโรบล พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
เรื่องที่
2. สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว นำผลงานวิชาการ ประเภท
ปฐมภูมิและระบบสุขภาพอำเภอ
เรื่อง
จากก้อนหินตกน้ำ สู่ ผีเสื้อกระพือปีก เป็นอำเภอต้นแบบงานศพ งานบุญปลอดเหล้า
อย่างยั่งยืนอำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร นำเสนอโดย พันธุ์ทอง จันทร์สว่าง
นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ
ตัวอย่างที่ดี
ของคำว่า Integrate คือ โทรศัพท์มือถือ ทำได้หลายๆอย่างมากขึ้น
แต่ค่าใช้จ่ายถูกลงเรื่อยๆ
Service
Plan คือการลงทุนด้านระบบบริการสาธารณสุขในระยะยาว
การพัฒนาระบบริการมีมานานแล้ว
เป็นรูปธรรม มาก ในสมัย นพ.อุทัย สุดสุข เรียกว่า พบส. 1 พบส.
2 พบส. 3
พบส. 1(ช่วยกันในอำเภอ) พบส. 2(ช่วยกันในจังหวัด) พบส. 3(ช่วยกันในเขต)
นพ.ไพจิตร ปวะบุตร
เริ่ม เรียก Service Plan
ในการลงทุนทุกๆประเภท
ทั้งด้านกำลังคน ด้านบริการ ด้านโครงสร้าง เมื่อนำไป Defend งบประมาณ ฝ่ายการเมืองจะมีคำถามเสมอๆว่า ประชาชนได้อะไร
ฉะนั้น คำตอบที่
ตอบได้เสมอๆเช่นกันคือ ความคุ้มค่า
เมื่อมี
Input ใส่เข้าไป Output Outcome ที่ออกมาก็ควรจะคุ้มค่า
Service
Plan คือเครื่องมือการทลายกำแพง ของ บริการระดับต่างๆ Primary
health Care Primary Care Secondary Care Tertiary Care Excellence Care ต้องเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่าย จึงจะเกิดคุณค่าที่ดีแก่ประชาชน
ต้องไม่มีกำแพง ต้องทลาย Barrier ที่มีระหว่างกัน หรือจะมี Barrier ก็มีให้น้อยที่สุด ใน โรงพยาบาลุมชนต้องทำหน้าที่เป็น Intermediate
Care ที่ดี ในทุกๆระบบทุกระดับ
จะขาด คำว่า Integrate ไม่ได้
Integrate ผสมผสาน
ตัวอย่างที่ดี ของคำว่า Integrate คือ โทรศัพท์มือถือ เพราะ
สามารถทำได้หลายๆอย่าง มากขึ้นเรื่อยๆ แต่ ค่าใช้จ่ายถูกลงเรื่อยๆ ทั้ง ค่าเครื่อง
ค่าบริการ ต่างๆ โทรศัพท์มือถือ สามารถทำงานแทนคอมพิวเตอร์ได้
ทำหน้าที่แทนกล้องถ่ายภาพได้ ทำหน้าที่แทนVideo ได้
ทำหน้าที่แทนธนาคารได้
ทำหน้าที่แทนร้านขายของได้ ทำหน้าที่แทนเครื่องคิดเลข ทำหน้าที่แทนปฏิทิน
ทำหน้าที่แทนเข็มทิศ และอื่นๆสารพัด
สรุป
บางส่วนจากคำบรรยายของ นพ.โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข
เมื่อฟ้าสีทองผ่องอำไพ ประชาชนจะเป็นใหญ่ในแผ่นดิน
..ผมยังไม่เคยเห็นเวทีการประชุมและนำเสนอผลงานวิชาการ
ที่มีผู้ฟังมากมายขนาดนี้ และ แม้วในวันที่ 2 ผู้เข้าร่วมประชุม
ยังอยู่กันมากเกือบ 2,000 คน
นับได้ว่าเป็นคุณค่าที่ดีอย่างยิ่ง คำที่ผมจะฝากไว้ 2 คำ
สำคัญ คือ
คำที่ 1 ประชารัฐ ประกอบด้วย ประชาชน และ รัฐ
ประชาชน
เมื่อฟ้าสีทองผ่องอำไพ ประชาชนจะเป็นใหญ่ในแผ่นดิน วันนี้ถึงเวลา ฟ้าสีทอง แล้ว ภาครัฐ ทุกส่วน
ให้ความสำคัญไปที่ประชาชน กระทรวงเรา ในค่านิยมการทำงาน MOPH ก็มีตัว
P ใน การทำงานเครือข่าย DHB ก็มี
คำว่า
ทำงานโดยยึดพื้นที่เป็นฐาน ประชาชนเป็นศูนย์กลาง หรือ ระดับปฐมภูมิ ก็มี ตัว C ประชาชน
คือ Community Participation หรือแม้แต่
งานคุณภาพบริการทุกประเภท ก็พุ่งเป้าไปที่ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย หรือ Customer Focusซึ่งก็คือ ยึดประชาชน
ประชาชนเป็นศูนย์กลาง ของการพัฒนาในทุกๆด้าน ในระดับชาติเอง ประชารัฐ ก็ประชาขึ้นก่อน
รัฐ หรือ กลไกภาครัฐ
ต่างๆที่มีอยู่ ต้อง ทำงานให้เต็มศักยภาพ ประสาน สอดคล้องซึ่งกันและกัน
เพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์สูงสุด
ให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี ภายใต้ดินแดนที่ รู้ รัก และสามัคคี
คำที่ 2 ระบบปฐมภูมิจะเข้มแข็งได้ด้วย
Specialist
เพราะคำคำนี้ เป็นใบเบิกทาง ของคำว่า
Confident
หรือความเชื่อมั่น ให้กับประชาชนและ Stake holder เพราะความจริง ณ ปัจจุบัน ในการรับบริการ
ประชาชนยังให้ความเชื่อมั่นกับ
Specialist
หาก Specialist ของ Service
Plan ทั้ง 19 สาขา เข้มแข็ง และให้ความสำคัญกับ
ระบบเครือข่ายปฐมภูมิ
ซึ่งพื้นที่มีความเข้มแข็งอยู่แล้ว
จะเป็นการทำงานประสานสอดคล้องเชื่อมโยงที่ดีมาก
ตัวอย่างที่ดีในหลายพื้นที่ที่ทำคือ คือ
Specialist
ด้านยา ไม่ว่าคุณ จะไปรับยาชนิดนี้ โรคนี้ ที่ สถานีอนามัย
โรงพยาบาลอำเภอ โรงพยาบาลจังหวัด หรือ โรงพยาบาลไหนในเขตเดียวกัน คุณจะได้รับยาเหมือนกัน ทั้ง รูปแบบ เม็ดยา
ซองยา คำแนะนำในการใช้ยา แบบเดียวกัน ฉะนั้น หาก หาก Specialist ของ Service Plan พูดภาษาเดียวกันในทุกระดับ ก็จะเปรียบเหมือนรดน้ำ
บนหัวแล้วไหลบ่าลงไปทั่วร่างกาย ซึ่ง Specialist
จะเป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนงานเครือข่ายให้เข้มแข็ง ได้
ภายใต้การทำงานร่วมกับเครือข่าย เพราะ ทุกๆส่วนมีความสำคัญ Specialist
เปรียบเสมือนเพชร
ก็จริง แต่ต้องไม่ลืมว่า หากไร้ซึ่ง ทองคำ ทองคำขาว พลอย หรือ แม้แต่น้ำยาประสาน
เพชรเม็ดนั้นจะเป็นเครื่องประดับที่สวยงามไม่ได้
ผู้ที่ทำหน้าที่ในการหลอมรวมพลังสังคมที่ดี คือ เลขา DHB หรือ
สาธารณสุขอำเภอ และกลไกสุขภาพในอำเภอ ซึ่งเป็นจุดคานงัดสำคัญของระบบสุขภาพส่วนสำคัญที่จะทำให้ระบบสุขภาพเข้มแข็งและยั่งยืนต่อไป..
4 C สำคัญในการขับเคลื่อน ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
C1 Class ให้มีความรู้
C2 Camp สอนคนเดียวไม่ได้ก็สอนเป็นกลุ่ม
C3 Club คนชอบเหมือนกันเข้าด้วยกันรวมกันทำกิจกรรม
เช่น ชมรม ต่างๆ กลุ่มต่าง ก็จะสนุก
C3 COP แต่ละ Club ทำสำเร็จ ก็มา Share กัน เป็น Community of Practice:
COP และเปลี่ยนประสบการณ์ที่ดีๆระหว่างกัน
สรุปจาก บรรยาย ของ นพ.อภิชาติ รอดสม สาธารณสุขนิเทศก์
เขตสุขภาพที่ 6
Thailand 4.0 มี คุณสมบัติ คือ ICT+มีพอเพียง รวม 4 ประการ
เพื่อความสะดวกและง่ายในการจดจำ จึง บันทึกสรุปไว้ว่า
Thailand
4.0 มี คุณสมบัติ อย่างน้อย 4 ประการ
ประการที่
1 Thailand
4.0 ต้องมี I : Innovation
เป็น Innovation
ที่นำไปปรับใช้ประโยชน์ และสร้างคุณค่าให้กับประชาชน
ประการที่
2 Thailand
4.0 ต้องมี C : Creatively
เป็น Creatively
ที่นำไปปรับใช้ประโยชน์ และสร้างคุณค่าให้กับประชาชน
ประการที่
3 Thailand
4.0 ต้องมี T : Technology
เป็น Technology ที่นำไปปรับใช้ประโยชน์
และสร้างคุณค่าให้กับประชาชน
ประการที่
4 Thailand
4.0 ต้องมี Sufficiency Economy
การนำเอาศาสตร์พระราชาไปปรับปรุงใช้ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
: เป็น Sufficiency Economy
ที่นำไปปรับใช้ประโยชน์ และสร้างคุณค่าให้กับประชาชน
ขอบพระคุณ และประทับใจ
คณะผู้บริหาร เขตสุขภาพที่ 10 อุบลราชธานี ที่มีส่วนร่วมสนับสนุน
ส่งเสริม และให้กำลังใจ ในการนำเสนอผลงานวิชาการในครั้งนี้
อาทิ
นายแพทย์บัญชา สรรพโส นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร
นายแพทย์จักราวุธ
จุฑาสงฆ์ รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร
นายแพทย์จิณณพิภัทร
ชูปัญญา ผู้อำนวยการสำนักงานเขตสุขภาพที่ 10 อุบลราชธานี
นพ.สมศักดิ์
เชาว์ศิริกุล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลยโสธร
นายแพทย์พงษ์วิทย์
วัชรกิตติ
รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตสุขภาพที่ 10 อุบลราชธานี
นพ.มนต์ชัย
วิวัฒนาสิทธิพงษ์ และคณะจากเขตสุขภาพที่ 10 อุบลราชธานี ทุกๆท่าน
นายสมเกียรติ
แก้วรัตน์ นายอำเภอคำเขื่อนแก้ว ประธาน DHS คำเขื่อนแก้ว
พญ.ธิดารัตน์
จิตรมาส ผู้อำนวยการโรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว รองประธาน DHS คำเขื่อนแก้ว
นายชำนาญ
มาลัย สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว เลขานุการ DHS คำเขื่อนแก้ว
และ
คณะกลไกสุขภาพคำเขื่อนแก้วทุกระดับ ทุกหน่วยงาน และประชาชน ทุกพื้นที่ ทุกตำบล
ทุกๆท่าน ครับ
ทั้งนี้
ผลงานวิชาการดีเด่นประจําสาขาที่ได้รับโล่และรางวัลชนะเลิศ จํานวน 19 รางวัล
ดังนี้
1.
สาขาโรคหัวใจ เรื่อง หัวใจเดียวกัน (Heart Failure Clinic
Pathum Thani Hospital) เขตสุขภาพที่ 4
2.
สาขาโรคมะเร็ง เรื่อง ประสิทธิผลของนวัตกรรม “Abdominal
support” เพื่อลดปวดและภาวะท้องอืดในผู้ป่วยมะเร็งหลังผ่าตัดช่องท้องหอผู้ป่วยศัลยกรรมหญิง
โรงพยาบาลลําปาง เขตสุขภาพที่ 1
3.
สาขาอุบัติเหตุและฉุกเฉิน เรื่อง AOC System, IT support
Service Plan เขตสุขภาพที่ 4
4.
สาขาทารกแรกเกิด เรื่อง ผลการพัฒนาเครือข่ายบริการสุขภาพทารกแรกเกิดใน
จังหวัดยโสธร เขตสุขภาพที่ 10
5.
สาขาการรับบริจาคและปลูกถ่ายอวัยวะ เรื่อง การรับบริจาคอวัยวะและ
ปลูกถ่ายไตจากผู้บริจาคสมองตายแบบครบวงจร เขตสุขภาพที่ 7
6. สาขาสุขภาพจิตและจิตเวช เรื่อง รูปแบบการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายชุมชน ในการดูแลผู้ป่วยจิตเวช ในพื้นที่เหตุการณ์ความไม่สงบ 3 จังหวัดชายแดนใต้ กรณีศึกษาตําบลนาเกตุ อําเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี เขตสุขภาพที่ 12 7. สาขาออร์โธปิดิกส์ เรื่อง 24 ชั่วโมง Hip Fracture surgery : การพัฒนาระบบงาน Fast track hip surgery ในโรงพยาบาลแพร่ เขตสุขภาพที่ 1
6. สาขาสุขภาพจิตและจิตเวช เรื่อง รูปแบบการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายชุมชน ในการดูแลผู้ป่วยจิตเวช ในพื้นที่เหตุการณ์ความไม่สงบ 3 จังหวัดชายแดนใต้ กรณีศึกษาตําบลนาเกตุ อําเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี เขตสุขภาพที่ 12 7. สาขาออร์โธปิดิกส์ เรื่อง 24 ชั่วโมง Hip Fracture surgery : การพัฒนาระบบงาน Fast track hip surgery ในโรงพยาบาลแพร่ เขตสุขภาพที่ 1
8.
สาขาสุขภาพช่องปาก เรื่อง
การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมทันตสุขภาพเด็ก
ปฐมวัยแบบบูรณาการด้วยกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ตําบลบัวใหญ่
อําเภอน้ำพอง ปี 2556-2559 เขตสุขภาพที่ 7
9.
สาขาไต เรื่อง
การเสริมสร้างพลังภาคีเครือข่าย ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังและผู้ดูแล ชะลอไตเสื่อม
เขตสุขภาพที่ 7
10.
สาขาตา เรื่อง การพัฒนาศักยภาพพยาบาลวิชาชีพระดับปฐมภูมิ
เขตสุขภาพที่ 5
11.
สาขาศัลยกรรม เรื่อง
เพิ่มประสิทธิภาพการดูแลผู้ป่วยไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลัน แบบบูรณาการ เขตสุขภาพที่ 6
12.สาขาอายุรกรรม เรื่อง การใช้ SOS score ในการบ่งชี้ผู้ป่วยที่มีอาการทรุดลงในโรงพยาบาล
เขตสุขภาพที่ 2
13.
สาขาแม่และเด็ก เรื่อง
การพัฒนาการส่งต่อเด็กที่มีภาวะวิกฤตของเขตบริการสาธารณสุขที่ 12 เขตสุขภาพที่ 12 14. สาขาระบบปฐมภูมิและสขุภาพอําเภอ
เรื่อง จากก้อนหินตกน้ํา สู่ผีเสื้อกระพือปีก เป็นอําเภอต้นแบบงานศพ
งานบุญปลอดเหล้า อย่างยั่งยืน อําเภอคําเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร เขตสุขภาพที่ 10
15.
สาขาโรคไม่ติดต่อ เรื่อง การพัฒนาศักยภาพของโรงพยาบาลเครือข่ายในการ
รักษาผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือดในระยะเฉียบพลันด้วยระบบการรับปรึกษาด้วยเทคโนโลยี
สารสนเทศทางไกล (Telestroke system) ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
เขตสุขภาพที่ 13
16. สาขาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสาน เรื่อง การใช้ศาสตร์มณีเวช ในระบบบริการสุขภาพ : เปลี่ยนกระบวนทัศน์ ปรับกระบวนคิด สร้างสมดุลชีวิต เขตสุขภาพที่ 12
16. สาขาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสาน เรื่อง การใช้ศาสตร์มณีเวช ในระบบบริการสุขภาพ : เปลี่ยนกระบวนทัศน์ ปรับกระบวนคิด สร้างสมดุลชีวิต เขตสุขภาพที่ 12
17.
สาขาการพัฒนาระบบบริการให้มีการใช้ยาอย่างสมเหตุผล เรื่อง ผลการ
พัฒนาระบบสารสนเทศในการติดตามตัวชี้วัดการใช้ยาอย่างสมเหตุผล โดยใช้โปรแกรม RDU
2016 โรงพยาบาลบ้านม่วง จังหวัดสกลนคร เขตสุขภาพที่ 8 18. สาขาการดูแลระยะเปลี่ยนผ่านผู้ป่วยกึ่งเฉียบพลันและการดูแลแบบประคับ
ประคอง เรื่อง นวัตกรรม แบบบันทึกการติดตาม/ เฝ้าระวังการใช้ยาระงับปวดกลุ่ม OPIOIDS
Palliative care clinic โรงพยาบาลสตูล เขตสุขภาพที่ 12 และ 19. สาขายาเสพติด เรื่อง
การดําเนินงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด จังหวัดสุพรรณบุรี เขตสุขภาพที่
5
ทั้งนี้ ด้วยสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
โดยกลุ่มงานพัฒนาระบบริการ มีหนังสือ
ที่
สธ.๐๒๐๗.๐๔ / ๒๑๘๘๙ ลงวันที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๖๐ แจ้งขอเชิญผู้ที่ผ่านการคัดเลือกผลงาน
จำนวน 435
ผลงาน
ทางวิชาการ
เข้าร่วมประชุมและนำเสนอผลงานในการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนาระบบริการสุขภาพ
( Service
Plan Sharing ) ปีงบประมาณ ๒๕๖๐ ในระหว่าง วันที่ ๒๑ – ๒๒
สิงหาคม ๒๕๖๐ ณ โรงแรม เซ็นทรา ศูนย์ราชการ ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร
นั้น
กระทรวง ให้ความสำคัญ กับ 3 ประการ
1.
Infrastructure ให้เท่าเทียม และ เป็นธรรม
2.
Service Plan ตาม Service
Plan Service 5 สาขาหลัก และ ตามสภาพพื้นที่ รวม 19 สาขา
3.
Human Resource ให้สอดคล้องกับ Service Plan
No comments:
Post a Comment