20 มิถุนายน 2564 นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง สาธารณสุขอำเภอเลิงนกทา สรุปผลการเรียน ส่งการบ้าน
จากการเรียน ผ่าน WebEX
เรื่อง การบริหารจัดการม็อบ ( 100-200 คน) No problem No progress
ตาม หลักการและเทคนิคการเจรจาต่อรองการไกล่เกลี่ย
วิทยากร โดย
ศ.นพ.วันชัย วัฒนศัพท์
อาจารย์ สุจินันท์ หรสิทธิ์ รองผู้บริหารโรงเรียนพัฒนาผู้นำและสร้างสันติธรรม
รักสคูล ขอนแก่น
จุดประสงค์หลักคือ
หาทางออก ที่เป็นที่พอใจของทั้ง สองฝ่าย ไม่ใช่เพื่อ เอาแพ้ เอาชนะ กันและกัน
ภารกิจคือ
เข้าไปเสริมสร้างสันติสุข ให้กับ ชุมชน
ภายใต้
โจทย์ จะอยู่ร่วมกัน อย่างสันติสุข ได้อย่างไร
เช่น
ชุมชน กับ อุตสาหกรรม จะอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขได้อย่างไร
หลักสำคัญ
ที่จะนำสู่ความสำเร็จ รับฟัง
รับรู้ รับรอง
1 รับฟัง อย่างตั้งใจ
2 รับรู้ ถึงข้อกังวล ห่วงใยของชุมชน
3 รับรอง ในวิธีการในพื้นที่
โดยชุมชนจะได้มีส่วนร่วมในทุกขั้นตอน
วิธีแก้ไขสถานการณ์
ขั้นตอนที่
1: สืบหาให้ได้ข้อมูลว่า
กลุ่มนี้ส่วนมากมาจากชุมชนไหน ใครเป็นแกนนำกลุ่มบ้าง
ขั้นตอนที่
2: ประสานกับหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง กรม
กอง หน่วย ต่าง ๆ
ขั้นตอนที่
3: ประสาน
ผู้ดูแลพื้นที่ ที่เป็นที่ตั้งหลัก ของกรณีพิพาท
ชี้แจงแนวทาง และ วัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขสถานการณ์
ร่วมกัน
พร้อมเชิญ เข้าสังเกตการณ์ ร่วมกัน
วิธีแก้ไขสถานการณ์
ขั้นตอนที่
4:มอบหมายบทบาทหน้าที่ให้ ทีมงานแต่ ละคนตามความ เหมาะสม
การประสานขอใช้
ห้องประชุม พร้อม อุปกรณ์อำนวยความสะดวก
หาอาหารว่างและเครื่องดื่ม
การต้อนรับกลุ่มแกนนำ
เข้าห้องประชุม
การอำนวยความสะดวก
ให้แกนนำ ในระหว่างการประชุม
ขั้นตอนที่
5: การบริหารจัดการในห้องประชุม
-
การจัดเวที
เป็น โต๊ะกลม หรือ เก้าอี้ นั่ง เป็นวงกม ก็ได้
-
เชิญผู้มีอำนาจสูงสุด(
ที่ชุมชนยอมรับ) เปิดประชุม
(หัวหน้าส่วน
ผู้ใหญ่ กำนัน อดีต นายก หรือ แกนนำ ปราชญ์ ได้ทั้งนั้น)
-
ทีมงานหลักแนะนำตัว
กล่าวถึงวัตถุประสงค์ รวมถึง บทบาทที่ได้รับมอบหมาย
(ยังไม่ต้องแนะนำทีมงานทุกคน)
ขั้นตอนที่
6: สร้างกติกาในการพูดคุย
-เปิดโอกาส
ให้กลุ่ม Mop คัดเลือกตัวแทน (4-5 คน) เพื่อเสนอความต้องการของกลุ่ม
- หากมีหลายกลุ่ม แบ่งเป็นกลุมย่อย ๆ
- แต่ละกลุ่ม ให้มีทีมงานที่มีทักษะการแก้ปัญหา
เข้าไปดูแล และ บันทึกประเด็น ในการพูดคุย
( ทีมหลัก 1 คน ผู้ช่วย 1 คน เป็น Note taker
)
ขั้นตอนที่
7: สรุปประเด็นจากทุกกลุ่มย่อย
-
เชิญเฉพาะหัวหน้าของทุกกลุ่ม มาร่วมพูดคุย
ปรึกษา หารือ
ในประเด็นที่ได้จากกลุ่มย่อย
(เตรียมรับรอง อาหาร(ถ้ามี) อาหารว่าง เอกสาร ต่าง ๆ
ไว้ให้พร้อมมากที่สุด)
-
สมาชิก
อื่น ๆ เชิญ รับประทานอาหารว่าง พัก ผ่อน ตามอัธยาศัย
ขั้นตอนที่
8: สร้างข้อตกลงกับตัวแทนของแต่ละกลุ่มร่วมกัน
- นัดหมาย
เพื่อ ปรึกษา หารือ ในโอกาสต่อไป
( ระยะเวลา ในการบริหารจัดการ Mop
ในแต่ละครั้ง ประมาณ
3-4 ชั่วโมง )
No comments:
Post a Comment