11/28/10

ทหารผู้เสียสละเพื่อชาติ ณ ค่ายบ้านเดิดยโสธร









28 พฤศจิกายน 2553:ท ทหารผู้เสียสละเพื่อชาติ ณ ค่ายบ้านเดิดยโสธร: เช้าวันนี้ ผม นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง เดินทางไปพร้อมกับ คุณพรรษมณ โรจนดารา คุณอริยวรรณ จันทร์สว่าง คุณวงศ์สุริยา ศรีดา เพื่อไปเยี่ยมให้กำลังใจ แก่ นายตั้ม หรือ พลทหาร เจตนิภัทธ์ โรจนดารา หลานชาย ที่จบการฝึกทหารกองประจำการ ณ กองพันทหารราบที่ ๓ กรมทหารราบที่ ๑๖ ค่ายบดินทรเดชา อำเภอเมือง จังหวัดยโสธรหรือที่ชาวบ้านเรียกกันติดปากว่า ค่ายบ้านเดิด ผมได้เห็นบรรยากาศ อันอบอุ่นที่ญาติ จะนำข้าปลาอาหาร มาเยี่ยมให้กำลังใจแก่บุตรหลาน ที่จบการฝึกตามระเบียบวินัยทหาร และเห็นมิตรภาพที่ดีของพวกเขา ที่ร่วมฝึกระเบียบวินัยด้วยกันมา ตลอดหลักสูตร ร่วมทุกข์ ร่วมสุข ด้วยกัน พลทหารบางคนไม่มีญาติ มาเยี่ยม เพื่อนๆ ที่มีญาติ มาเยี่ยม ก็มีน้ำใจ แบ่งข้าวปลาอาหาร ตั้งร่วมวงรับประทานอาหารร่วมกัน บางวงอาหารไม่เพียงพอ ก็แบ่งปัน เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน ด้วยความเป็นห่วงเป็นใยกัน

... การรับประทานอาหารร่สมกันในเหล่าบรรดาเพื่อนทหารและญาติๆ กระจายเป็นกลุ่มๆ ตามร่มไม้ อันเย็นสดชื่น

พวกเราทุกคน ตั้งความหวังไว้ว่า ฝึกจบจะขอลงใต้ไปฏิบัติงานด้วยกัน

ไม่กลัว เพราะพวกเรามีความตั้งใจที่จะไปร่วมพัฒนาชาติบ้านเมือง

อยู่ในพื้นที่แห่งใด บนผืนแผ่นดินไทย หากเราทำความดี คงไม่มีใครมาคิดร้ายต่อเรา

สิ่งที่ได้มากคือระเบียบวินัย ความรักเพื่อน ความสามัคคีและ สุขภาพ

ผมมาอยู่ที่นี่ ไม่กี่สัปดาห์ น้ำหนักกลดลงไปกว่า ๑๐ กิโลแล้ว

เดิม ผมเคยเป็นลม วิงเวียนบ่อยๆ ตอนนี้แข็งแรงดีครับ

หลวงพี่ ท่านเป็นเลขาเจ้าคณะตำบลสามแยก เป็นพระพี่เลียงผม เมื่อครั้งผมไปบวชที่วัดบ้านคึมชาดครับ

เป็นตัวอย่าง ของการสนทนาของ พวกเรา กับ ลูกหลาน ทหาร หาญ ของเรา

ผมเห็นบรรยากาศแห่งความสุข คุณพ่อ คุณแม่ คุณ ตา คุณยาย และ ลูกๆทหาร โผ โอบกอด ซึ่งกันและกัน ด้วยความดีใจ บ้างมีน้อง บ้างมีพี่ บ้างมี คนรัก บ้างมีหลาน มาเป็นคณะเพื่อให้กำลังใจแก่ทหารเหล่านั้น

ผมเห็น การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ช่วยยกสิ่งของ คอยรับข้าวปลาอาหารจากญาติๆ เห็นความมีน้ำใจระหว่างเพื่อนๆ ของทหารเหล่านี้ ภายใต้การดูแลความเรียบร้อย ระเบียบวินัยที่ดี จากครูฝึก และผู้บังคับบัญชาแล้ว ผมเชื่อมั่นว่า ในทุกสมรภูมิ พวกเขาเหล่านี้จะร่วมมือกันปฏิบัติงาน ร่วมรบ เคียงบ่า เคียงไหล่กัน ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับผิดชอบจากผู้บังคับบัญชาด้วยดี และ แม้ปลดจากราชการทหหาร ก็จะนำเอา สิ่งดีๆ เหล่านี้กลับไปใช้ประโยชน์ สร้างความเจริญต่อประเทศชาติได้ต่อไป

... นอกจากพลทหาร กิตติพงษ์ รวมธรรม หลานชายผม อีกคนหนึ่ง จากบ้านบกน้อย ตำบลดงแคนใหญ่ อำเภอคำเขื่อนแก้ว แล้ว เพื่อนทหารที่ผมมีโอกาสได้พูดคุยให้กำลังใจ ในบรรดาเพื่อนๆของเขา อาทิเช่น

พลทหาร อานนท์ ทองทา จากบ้านดงแคนใหญ่

พลทหาร อนันต์ สุตะคาน จากบ้านดงแคนใหญ่

พลทหาร ลือชา โคตรสมบัติ บ้านโนนหาด ต.สร้างมิ่ง อ.เลิงนกทา จ.ยโสธร-บาส

พลทหาร สินธุ์ ยิ้มแย้ม บ้านแสนสำราญ ต.สร้างมิ่ง อ.เลิงนกทา จ.ยโสธร-ออฟ วิศวกรหนุ่ม จาก ประเทศวิซเซอร์แลนด์

พลทหาร สมหวัง โวหารลึก จ.ร้อยเอ็ด

พลทหาร สุทิน บุญทวี บ้านผักบุ้ง ต.ดงแคนใหญ่ อ.คำเขื่อนแก้ว จ.ยโสธร

พลทหาร ศตวรรษ ดาราแสน บ้านลุมพุก อ.คำเขื่อนแก้ว จ.ยโสธร-คิม

พลทหาร ประยูร อินเอี่ยม บ้านหนองเทา ต.นาแก อ.คำเขื่อนแก้ว จ.ยโสธร

พลทหาร สิทธิชัย บุญหล้า บ้านกุดขุ่น ต.กุดเชียงหมี อ.เลิงนกทา จ.ยโสธร

พลทหาร ประคอง ยาโยธา บ้านสร้างแต้ ต.โพนงาม อ.กุดชุม จ.ยโสธร-ไหมไทย ชื่อนี้เพื่อนๆตั้งให้เพราะ คนนี้ร้องเพลงเพราะมาก เขาเป็นคนบ้านเดียวกันกับ ไผ่ พงศธร

พลทหาร ทองดี ประสารสืบ บ้านคุ้ม ต.คูเมือง อ.มหาชนะชัย จ.ยโสธร เป็นต้น

CoP CoPs คืออะไร สะบัดหางสร้างพลังจาก CoP



28 พฤศจิกายน 2553: CoP CoPs คืออะไร สะบัดหางสร้างพลังจาก CoP: จากกระทู้โมเดลปลาทู_ที่นำเสนอไปแล้วนั้น มีหลายท่านสนใจ เกี่ยวกับเรื่องนี้เพิ่มเติมว่า คำว่าสะบัดหาง สร้างพลัง จาก CoPs นั้นขยายความได้อย่างไรนั้น : ผม นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง ของแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เรื่องนี้ โดยย่อได้ว่า

ชุมชนนักปฏิบัติ(Community of Practices : COP) คืออะไร ? หรือ ชุมชนของ Pant คืออะไร หรือ ชุมชน ของ Participant คืออะไร (Community of Participants)

COP หรือ COPs เป็นความหมายเดียวกันครับ ที่มีตัวs ต่อท้ายนั้น ต้องการที่จะสื่อให้เห็นว่า คำว่า ชุมชนนั้นต้องมีมากกว่า๑คน มา Participateวึ่งกันและกัน Learning in doing คำเหล่านี้ รวมความแล้ว...

แนวคิดของ Community of Practices : COP

· CoP เป็นกลไกของการไขว่คว้าหาความรู้เข้าหาตัว มากกว่าการรวบรวมความรู้ เพื่อส่งมอบให้ผู้อื่น

· CoP เป็นเรื่องของการเรียนรู้ เพื่อเป็นคนทำงานที่เก่งขึ้น มิใช่แค่เรียนรู้ว่า จะทำงานอย่างไร หรือเรียนรู้แต่เรื่องที่เป็นนามธรรม

· การเป็นสมาชิกของ CoP คือ มีส่วนร่วมในชุมชนนั้น อย่างมีความหมาย

· CoP ควรเชื่อมโยงกับเป้าหมายหลักขององค์กร

แนวคิดของการปฏิบัติในชุมชนนักปฏิบัติ หรือ Pant หรือ participant หรือ P ใน CoP หมายถึง การกระทำในบริบทเฉพาะ

สิ่งที่มีผลต่อการปฏิบัติ และเป็นผลจากการเรียนรู้ ได้แก่

สิ่งที่ปรากฎชัดแจ้ง: เครื่องมือ เอกสาร ภาพลักษณ์ สัญลักษณ์ บทบาที่ชัดเจน เกณฑ์ที่กำหนดไว้ กฎข้อบังคับ สัญญา

สิ่งที่ไม่ปรากฎชัดแจ้ง: ความสัมพันธ์ กฎเกณฑ์ในใจ ความหยั่งรู้ การรับรู้ ความอ่อนไหว ความเข้าใจ สมมติฐาน มุมมองซึ่งเป็นที่ยอมรับทั่วไป

การปฏิบัติมิใช่สิ่งตายตัว ที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ ขณะเดียวกันก็ไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้ง่ายๆ ด้วยคำสั่ง หรือกฎระเบียบ มีคนอื่นในองค์กร ซึ่งมีประสบการณ์ที่จะเป็นประโยชน์กับเรา พวกเขาเต็มใจที่จะแบ่งปันประสบการณ์นั้น ให้ผู้อื่น และเราเต็มใจที่จะช่วยพวก เขา เราสามารถค้นหาพวกเขาได้พบ แม้จะไม่รู้จักพวกเขา

ธรรมชาติของ CoP องค์กรประกอบไปด้วย CoP จำนวนมากทับซ้อนกันอยู่ คู่ขนานไปกับโครงสร้างที่เป็นทางการขององค์กร

รอบชีวิตของ CoP ไม่มีความชัดเจนว่า เริ่มต้นเมื่อไร สิ้นสุดเมื่อไร ขึ้นกับความพร้อม และโอกาสเหมาะ สำหรับการเรียนรู้

ประเด็นที่ CoP ให้ความสนใจจะเปลี่ยนไปตามความต้องการ และความสนใจของสมาชิก

การสนับสนุน CoP ปฏิบัติต่อ CoP เสมือนทรัพย์สินขององค์กร ให้การสนับสนุนทรัพยากร และข้อมูลข่าวสาร ดูแลเป้าหมายให้สอดคล้องกับองค์กร

เราส่งเสริมการสร้าง CoP ด้วยการยอมรับผลงานที่เกิดขึ้น จากกลุ่มที่ไม่เป็นทางการ และดึงชุมชนเข้ามาร่วมกันทำงาน ให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้นอีก

มองว่า องค์กรเป็นที่รวมของชุมชน ที่เชื่อมต่อกัน ส่งเสริมให้มีจุดยืนที่เหมาะสม และมีส่วนต่อความสำเร็จขององค์กร

ส่งเสริมให้ CoP เรียนรู้จากภายในกลุ่ม และจากกลุ่มอื่นๆ

ดูแลว่า กลไกขององค์กรมีส่วนในการสนับสนุน CoP หรือไม่

ส่งเสริมการเรียนรู้ทุกรูปแบบ และเชื่อมต่อทั่วทั้งองค์กร มุมมองต่อการเรียนรู้

การเรียนรู้ เป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติ แต่เรามักจะมองไม่เห็นว่า เกิดการเรียนรู้ดีขึ้น

การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ไม่ได้เกิดจากการดูเอกสาร ของคนอื่น แต่เกิดจากการทำความเข้าใจ ในตรรกะ หรือวิธีคิดของคนอื่น (ที่ผมเรียกมันว่า ปิ๊งแว๊บ หรือ หัวออกแสง ของแต่ละคนนั่นแหละ)

เทคโนโลยีสารสนเทศ ช่วยให้เราแลกเปลี่ยนความเข้าใจ และความคิดกันได้กว้างขวางขึ้น เหมือนที่เราแลกเปลี่ยนกันนี่แหละ แต่หัวใจของการแลกเปลี่ยน คือ ความสนใจร่วมกัน ใส่ใจความคิดของกันและกัน และสร้างชุมชนซึ่งเชื่อใจกัน การหาโอกาสเรียนรู้

ถ้ามีปัญหาเกี่ยวกับการเรียนรู้ ให้มองหาแบบแผน / สาเหตุของการมีส่วนร่วม และการแยกตัวของสมาชิก

เมื่อมีการนำความรู้ไปใช้ในบริบท อื่น หรือมีการส่งผ่านข้อมูลข่าวสารไปยังอีกหน้วยงานหนึ่ง ให้ติดตามเรียนรู้การปรับเปลี่ยน ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน และการแปลความหมายใหม่

รับรู้การเกิดขึ้นของวิธีปฏิบัติใหม่ๆ ในที่ไกลหูไกลตา(ฝรั่งมักจะเรียกว่า Remote Area)

การเรียนรู้ที่ชายขอบของ CoP ก็มีความสำคัญ ได้แก่ การดึงดูดสมาชิกใหม่ การตอบสนองสิ่งกระตุ้นจากภายนอก การมีปฏิสัมพันธ์กับชุมชนอื่นๆ

ข้อควรระวัง ความพยายามที่จะเปลี่ยนความรู้ที่ฝังลึก มาเข้าไว้ในลักษณะของเอกสาร อาจจะก่อให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดี เกิดเป็นขยะของข้อมูลข่าวสาร ที่ไม่มีคนใช้ สุดท้ายคนก็ยังต้องการความช่วยเหลือ ในเรื่องประสบการณ์ จากเพื่อนร่วมงาน

ให้มีการเรียนรู้ใกล้ชิดกับการปฏิบัติให้มากที่สุด อย่าด่วนหลวมตัวที่จะสกัดความรู้ความรู้จาก CoP หรือเปลี่ยนความรู้จาก CoP ไปเป็นหลักสูตรเพื่อการฝึกอบรม

แนวคิดปัจจุบัน เปลี่ยนจากการเก็บเกี่ยวความรู้ ไปสู่การเชื่อมต่อระหว่างบุคคล อย่าสร้างห้องสมุดที่เต็มไปด้วยเอกสาร ให้สร้างบัตรรายชื่อบุคคล (card catalog) ที่ได้จาการเลือกเฟ้นที่ดี (mappingให้ดี) หรือจาก P ดีๆที่พวกเราไม่เคยพบเห็น เพื่อช่วยในการเชื่อมต่อระหว่างบุคคลต่อบุคคล

ปัจจัยสู่ความสำเร็จ กลุ่มที่ไม่เป็นทางการเป็นสิ่งที่เกิดโดยธรรมชาติอยู่แล้วในองค์กร มีลักษณะของสิ่งมีชีวิต เติบโตขึ้นเมื่อเป็นที่ประสงค์ของสมาชิก การที่จะให้มีคุณค่าต่อองค์กร จะต้องได้รับการเพาะบ่ม ดูแลด้วยความระมัดระวัง การสนับสนุนมากเกินไป อาจจะทำให้ไม่เป็นที่สนใจจากสมาชิก การปล่อยปละละเลย ก็อาจจะทำให้แคระแกร็นเหี่ยวเฉา

ความท้าทายนี้แตกต่างจากปัจจัยต่างๆ ที่ผู้นำองค์กรเคยประสบ ความท้าทายสำหรับ CoP ปัญหาสำคัญของชุมชนที่กำลังเติบโต คือ การที่สมาชิกสูญเสียความสนใจ และปล่อยให้ผู้ประสานงานรับผิดชอบไปคนเเดียว เมื่อผู้ประสานงานหันไปทำงานอื่น ชุมชนก็ล่มสลาย

ปัญหาสำคัญของชุมชนที่ประสบความสำเร็จ คือ การที่สนใจอยู่แต่ความสำเร็จของตนเอง

ข้อเสนอแนะต่อไปนี้ จะช่วยรักษาพลังของชุมชน ให้เกิดความต่อเนื่อง

· นำสมาชิกใหม่เข้ามาร่วม และมุ่งไปที่ประเด็นที่แหลมคม

· เชิญผู้นำทางความคิด ซึ่งเป็นที่ยอมรับเข้ามาร่วมแต่เริ่มแรก เพื่อสร้างพลังให้แก่ชุมชน(mappingให้ดี)

· จัดให้มีเวทีพบปะกัน เพื่อแลกเปลี่ยนความคิด เพื่อสร้างความตื่นตัว ความไว้เนื้อเชื่อใจ ความรู้สึกร่วมส่งเสริมการติดต่อระหว่างสมาชิกของชุมชน

· จัดตั้งกลุ่มแกนที่แข็งขัน ไม่จำเป็นว่าสมาชิกทุกคนจะมีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียมกัน สนับสนุนกลุ่มแกนด้วยการให้เป็นที่รับรู้ของชุมชน และไม่รบกวนเวลาเพิ่มมากเป็นพิเศษ

· ความท้าทายด้านเทคนิคทำให้การติดต่อ การให้ข้อมูล และการเข้าถึงชุมชนเป็นเรื่องง่าย เช่น การใช้ Software computer ที่ใช้ง่าย และคุ้นเคย ความท้าทายสำหรับสมาชิก

· สิ่งที่มีคุณค่ามากของชุมชน คือ การร่วมกันแก้ปัญหา แต่การอภิปรายปัญหาอย่างเปิดอก ในขณะที่ความคิดยังไม่สุกงอมดี หรือคิดดังๆ ในที่ประชุมเป็นสิ่งที่ไม่ใช่ธรรมชาติของเรา ความท้าทายของสมาชิกที่สำคัญ คือ การพูดถึงปัญหาของตนเอง ต่อหน้าผู้คนจำนวนมากที่เราไม่รู้จัก

· สร้างเวทีเสวนาในประเด็นที่เฉียบคม ให้สมาชิกอาวุโสซึ่งคนยอมรับ เป็นผู้ขอความช่วยเหลือ และหาผู้ที่มีกึ๋นไปร่วมอยู่ในเวที ผู้ประสานงานช่วยกระตุ้นให้อธิบายหลักคิดของข้อเสนอ เพื่อให้สมาชิกอภิปรายไปที่สมมติฐาน ที่ใช้และเลือก การสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจในกลุ่มขนาดเล็ก 2-3 คน อาจใช้เป็นจุดเริ่มต้นสำหรับการสร้างชุมชนได้

ตามนิยามของ DOPA KM Team ได้กล่าวไว้ว่า CoP เป็นกลุ่มคนที่มารวมตัวกัน อย่างไม่เป็นทางการ มีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสร้าง องค์ความรู้ใหม่ ๆ เพื่อช่วยให้การทำงานมีประสิทธิผลที่ดีขึ้นส่วนใหญ่การรวมตัวกันในลักษณะ นี้มักจะมาจากคนที่อยู่ในกลุ่มงานเดียวกันหรือมีความสนใจในเรื่องใดเรื่อง หนึ่งร่วมกัน ซึ่งความไว้วางใจและความเชื่อมั่นในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันจะเป็น สิ่งที่สำคัญ

Cop จะมีความแตกต่างจากการที่บุคคลมารวมกลุ่มกันเป็นทีมปฏิบัติงานปกติทั่วไป ตรงที่ Cop เป็นการรวมตัวกันอย่างสมัครใจ เป็นการเชื่อมโยงสมาชิกเข้าด้วยกัน โดยกิจกรรมทางสังคม ไม่ได้มีการมอบหมายสั่งการเป็นการเฉพาะและจะเลือกทำในหัวข้อหรือเรื่องที่ สนใจร่วมกันเท่านั้น

ความรู้ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนในกลุ่ม CoP จะพัฒนาเป็นองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการทำ งานของบุคคลและองค์กรต่อไป และจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในกลุ่มอย่างไม่เป็นทางการในท่ามกลาง บรรยากาศแบบสบาย ๆ ประกอบกับการใช้เทคนิคที่เรียกว่าสุนทรีสนทนา (Dialogue) ซึ่งเป็นการสนทนาที่เคารพความคิดเห็นของผู้พูด ให้เกียรติกัน ให้โอกาสกัน และไม่พยายามขัดขวางความคิดใคร รวมทั้งทำหน้าที่รับฟังผู้อื่นพูดอย่างตั้งอกตั้งใจ (Deep Listening)

บทสรุป

ชุมชนแห่งการเรียนรู้ (CoP) เป็นกิจกรรมเริ่มต้นอีกกิจกรรมหนึ่งในกระบวนการ KM ที่มีกิจกรรมหลายประการที่จะต้องดำเนินการทั้งในส่วน ที่อาจเรียกว่าเป็นมิติของการบังคับและในส่วนที่เป็นมิติของการส่งเสริม

ส่วนที่เป็นมิติการบังคับ คือ การที่จะต้องดำเนินการ KM ในฐานะตัวชี้วัด ในส่วนที่เป็นมิติของการส่งเสริมคือ การดำเนินการ KM ในฐานะที่เป็นตัวขับเคลื่อน องค์กรสู่ความมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลและทำให้มีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด บุคลากรในองค์กรถือได้ว่าเป็น ทุนทางสังคมมีความสำคัญยิ่งต่อการเดินทางไปสู่เป้า หมาย KM ดังกล่าว การศึกษาเรียนรู้เรื่อง KM และการมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในกิจกรรม KM ต่าง ๆ ซึ่งกันและกัน

…. ขอบพระคุณ ข้อมูลดีดีจาก http://egg-sdu.blogspot.com/2010/01/cop.html

CoPs(Community of Practices) คือ ชุมชนที่มีการรวมตัวกัน หรือเชื่อมโยงกันอย่างไม่เป็นทางการ โดยมีลักษณะดังนี้

· ประสบปัญหาลักษณะเดียวกัน

· มีความสนใจในเรื่องเดียวกัน ต้องการแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากกันและกัน

· มีเป้าหมายร่วมกัน มีความมุ่งมั่นร่วมกัน ที่จะพัฒนาวิธีการทำงานได้ดีขึ้น

· วิธีปฏิบัติคล้ายกัน ใช้เครื่องมือ และภาษาเดียวกัน

· มีความเชื่อ และยึดถือคุณค่าเดียวกัน

· มีบทบาทในการสร้าง และใช้ความรู้

· มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากกันและกัน อาจจะพบกันด้วยตัวจริง หรือผ่านเทคโนโลยี

· มีช่องทางเพื่อการไหลเวียนของความรู้ ทำให้ความรู้เข้าไปถึงผู้ที่ต้องการใช้ได้ง่าย

· มีความร่วมมือช่วยเหลือ เพื่อพัฒนาและเรียนรู้จากสมาชิกด้วยกันเอง

· มีปฏิสัมพันธ์ต่อเนื่อง มีวิธีการเพื่อเพิ่มความเข้มแข็งให้แก่สายในทางสังคม

CoPsทำให้เพิ่มพูนความรู้ที่ลึกซึ้งขึ้นเรื่อยๆ ในระดับที่ง่ายที่สุด ชุมชนนักปฏิบัติ คือ คนกลุ่มเล็กๆ ซึ่งทำงานด้วยกันมาระยะหนึ่ง มีเป้าหมายร่วมกัน และต้องการที่จะแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์จากการทำงาน กลุ่มดังกล่าวมักจะไม่ได้เกิดจากการจัดตั้งโดยองค์การ เป็นกลุ่มที่เกิดจากความต้องการทางสังคม และความพยายามที่จะทำให้บรรลุผลสำเร็จ เป็นกลุ่มที่ไม่มีอำนาจ ไม่มีการกำหนดไว้ในแผนภูมิโครงสร้างองค์กร และอาจจะมีเป้าหมายที่ขัดแย้งกับผู้นำองค์กร ในหนึ่งองค์กรอาจจะมีชุมชนนักปฏิบัติจำนวนมาก และคนคนหนึ่งจะเป็นสมาชิกในหลายชุมชน ชุมชนนักปฏิบัติมีความสำคัญอย่างไร เครือข่ายความสัมพันธ์ที่ไม่เป็นทางการ เกิดจากความใกล้ชิด ความพอใจ และพื้นฐานที่ใกล้เคียงกัน ลักษณะที่ไม่เป็นทางการจะเอื้อต่อการเรียนรู้ และการสร้างความรู้ใหม่ๆ มากกว่าโครงสร้างที่เป็นทางการ คำว่า ปฏิบัติ หรือ practice ใน CoP ชี้จุดเน้นที่ การเรียนรู้ซึ่งได้รับจากการทำงาน เป็นหลัก เป็นแง่มุมเชิงปฏิบัติ ปัญหาประจำวัน เครื่องมือใหม่ๆ พัฒนาการในเรื่องงาน วิธีการทำงานที่ได้ผล และไม่ได้ผล การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ทำให้เกิดการถ่ายทอดแลกเปลี่ยนความรู้ฝังลึก สร้างความรู้ และความเข้าใจได้มากกว่าการเรียนรู้ จากหนังสือ หรือการฝึกอบรมตามปกติ (ที่ผมเรียกมันว่า ปิ๊งแว๊บ หรือ หัวออกแสง ของแต่ละคนนั่นแหละ) เครือข่ายที่ไม่เป็นทางการ ซึ่งมีสมาชิกจากต่างหน่วยงาน ช่วยให้องค์กรประสบความสำเร็จได้ดีกว่า การสื่อสารตามโครงสร้างที่เป็นทางการ ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับชุมชนนักปฏิบัติ

ขอบคุณ รูปภาพจาก http://www.frankwatching.com/archive/2009/07/24/effectieve-community-of-practice-verander-je-perspectief-op-ontwikkelingen/

และ จาก http://classofcop.blogspot.com/2010/01/cop.html

11/27/10

อาลัยพ่อบัญญัติ โชติแสงบิดากัลศิณีโชติแสง









27 พฤศจิกายน 2553: อาลัยพ่อบัญญัติ โชติแสงบิดากัลศิณีโชติแสง : ภาคบ่ายวันนี้ ผม นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง ร่วมงานฌาปนกิจศพ คุณพ่อบัญญัติ โชติแสง ( บิดา ภญ.กัลศิณี หงส์สุวรรณ (โชติแสง) ณ เมรุวัดทุ่งสว่างอารมณ์สุข ตำบลสระแก้ว อำเภอพนมไพร ซึ่ง ภรรยา นางอริยวรรณ จันทร์สว่าง ..จาการพูดคุย คณะเจ้าภาพ ในงานวันนี้ ต่าง รู้สึกภาคภูมิใจ และขอบพระคุณทุกท่าน ที่ ร่วมแสดงความอาลัย ในการจากไปโดยกระทันหัน ของ คุณพ่อบัญญัติ โชติแสง (พ่อบัญญัติเสียชีวิตหลังกลับจากไปเที่ยวงานลอยกระทงกับภรรยา ณ อำเภอพนมไพรวันที่ ๒๓ พย.ที่ผ่านมา) และในอีกมุมหนึ่ง ก็ดีใจ ที่ ญาติ มิตร และ แขกที่มาร่วมงานทุกท่าน ต่างได้มาร่วมระลึกถึง คุณงามและความดีของท่าน

...ประธานฝ่านสงฆ์โดย ท่านพระครูปริยัติสันติธรรม เจ้าคณะอำเภอพนมไพรหรือ ท่านมหา วา วัดป่าบ้านชาด เจ้าคณะอำเภอพนมไพร

ประธานฝ่ายฆราวาสโดย ท่านศักดุริยางค์ ทองใบ รองผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาร้อยเอ็ดเขต ๒

แขกผู้มีเกียรติที่มาร่วมงานในวันนี้ มากมาย จากหลากหลายอำเภอ โดยแขกผู้มีเกียรติที่ เป็นตัวแทนพวกเราขึ้นทอดผ้าบังสุกุล อาทิ ภก.องอาจ แสนศรี รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร นายวิทยา เพชรรัตน์ สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว นพ.จักราวุธ จุฑาสงฆ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว พร้อมเพื่อนร่วมงาน จาก โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว นายชัยวัฒน์ หอมสุดชา หัวหน้างานบริหาร คุณสืบพงษ์ พงษ์ไพรัตน์ นางพรไพบูลย์ พงษ์ไพรัตน์ นางฐะปะนีย์ ทองมงคล น้องแจ๋ว ภญ.เนาวรัตน์ ชูรัชฎ์ศิริกุล นส.สิริกัลยา อุปนิสากร นักวิชาการสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร เป็นต้น

...ผู้ร่วมงานอื่นๆล้วน มากหน้าหลายตา จนเต็มพื้นที่ วัด ทุ่งสว่างอารมณ์สุข คุณแม่ฮู้ โชติแสง และครอบครัว ได้ มอบเงินเพื่อองค์กร แก่ชุมชนเพื่อเป็นสาธารณะประโยชน์ จำนวนถึง ๑๙ รายการ

... คุณกฤช ภญ. กัลศิณี หงษ์สุวรรณ (บุตรเขย-บุตรสาว) ของ คุณ พ่อบัญญัติ โชติแสง ถือได้ว่า เป็นเพื่อนร่วมงานที่ดี ของพวกเรา ด้วยอัธยาศัยที่ดี ของน้องหน่อง คุณกฤช หงส์สุวรรณ และ ภญ. กัลศิณี หงส์สุวรรณ ทั้งคู่ จึงเป็นที่รักของเพื่อนร่วมงาน และ เป็นที่ประทับใจของประชาชน ในการไปรับบริการ แม้ เพื่อนร่วมงาน จาก สถานีอนามัยทุกแห่ง ในเขต อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร ต่างชื่นชมในมนุษยสัมพันธ์ที่ดีของ เภ แคท ที่เขาเรียกจนติดปาก และเป็นกันเอง ด้วย เภแคท นั้น สามารถทำงานร่วมกัน และประสานงานกับทีมงาน จาก สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว

และ สถานีอนามัยทุกแห่งได้เป็นอย่างดี

ส่วนตัวผมแล้วครอบครัวนี้ผมรู้จัก ๒ ท่าน น้องแคท เป็นน้องสาวที่น่ารักและชื่นชมในการปฏิบัติตนปฏิบัติงานด้วยดีตลอดมา ... ส่วนคุณทัศวรรณ วงศ์พยัคฆานน์ ปัจจุบันทำงานระดับผู้จัดการบริษัท AIA ถือว่าเป็นเครื่องหมายที่แสดงถึง ความมีมานะ และมนุษยสัมพันธ์ที่ดีมากๆ.... พี่ขอแสดงความเสียใจในความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ของครอบครัวโชติแสง... ขอดวงวิญญาณคุณ พ่อบัญญัติ โชติแสง จงไปสู่สุคติในสรวงสวรรค์เทอญ...

... ในงานนี้ผมมีความประทับใจหลายอย่าง ทั้งการเทศนาที่มากมายความรู้ด้วยลีลาที่น่าฟังจากท่านพระครูปริยัติสันติธรรม เจ้าคณะอำเภอพนมไพร ประทับใจพิธีกรที่วิเศษมาก ท่านอาจารย์ เครือวัลย์ รัญระนา คุณครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนบ้านดอนเจริญ หนึ่งในนั้นคือผมประทับใจน้อง เปิ้ล ภก.กาญจนพงศ์ เพ็ญทองดี งานนี้เปิ้ลได้ทำตนเป็นตัวอย่างดีแล้ว...ทำหน้าที่เป็นเจ้าภาพที่ดี คอยประสานงานและให้การต้อนรับแขกที่มาร่วมงาน ผมขอชื่นชม น้ำใจและการปฏิบัติตนของ น้องปิ้ล ในฐานะ หัวหน้าฝ่ายเภสัช ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาโดยตรงของ น้องแคท และ เป็นเพื่อนร่วมงานที่ดี เป็นที่พึ่งของน้องๆ ได้ แม้ยามวิกฤติของชีวิต ที่ต้องการกำลังใจจากกันและกัน...ขอชื่นชมและเป็นกำลังใจให้กับน้องชายคนนี้ ภก.กาญจนพงษ์ เพ็ญทองดี หัวหน้ากลุ่มงานเภสัชกรรมชุมชน โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว น้องเปิ้ลที่น่ารักของพี่ครับ..

แขกผุ้มีเกียรติอื่นๆ อาทิ ท่านกำนันพิญา กุมภาษี กำนันตำบลสระแก้ว ผู้ใหญ่ ทองสิน วงค์ลาคร ผู้ใหญ่บ้านสระแก้วผอ.สมชาย สายเชื้อ ผอ.โรงเรียนบ้านดอนเจริญ ผอ.ทวีศักดิ์ ทองศาลา คุณครู จรูญ สังสะนา คุณครูกานต์ แก่นลา คุณครู ทองลา ทาระมาลย์ คุณครูประจักษ์ ธงศรี คุณครูธีระศักดิ์ สุวรรณโพธิ์คำ คุณครูดำรงค์สังสะนา คุณครูวีรวรรณ สุวรรณโพธิ์คำ คุณครูสมาน รัญระนา คุณครูวิโรจน์ รอง ผอ.รร.บ้านกุดพันเขียว ผอ.ชัยรัตน์ ชลาชัย รร.ท่าโพธิ์ รองประยูร อุทชาติ ผอ.ลักขณา แสงทองทิพย์ ผอ.สฤาดื กัลยาเลิศ ผอ.เศรษฐานันท์ มุสิกวัน ศน.ปรัชญา หันชะนา ศน.สถิตย์ พนมศักดิ์ ผอ.สุธีรา มารพวง ผอ.อุดม ศรีมาลัย ผอ.มารศรี คันธา พ.ต.ท.ประมวล ยุทธชาติ ผอ.สุนทร วงศ์คำจันทร์ คุณภัทรพิมพ์ อาจหาญ จากบริษัท AIA คุณครูอนงค์ เชยโพธิ์ ผอ.จิระพงษ์ วงศ์สามารถ ผอ.ทรงศิลป์ ผอ.สำเร็จ สิริธรรมรักษ์ ผองพงษ์ศักดิ์ วรรณพงษ์ เป็นต้น

...หัวหน้าส่วนราชการ พนักงานส่วนตำบล กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน นายก องค์การบริหารส่วนตำบล( อบต . ) และพี่น้อง ญาติมิตร ที่ไม่สามารถเอ่ยนามได้ ...

... ซึ่งเจ้าภาพในงานวันนี้ ตามรายนามด้านล่าง

คณะเจ้าภาพประกอบด้วย... คุณแม่ฮู้ โชติแสง (ภรรยา)คุณสมพงษ์ - คุณทัศวรรณ วงศ์พยัคฆานน์ (บุตรสาว-บุตรเขย)

คุณกฤษ ภญ.กัลศิณี หงษ์สุวรรณ (บุตรเขย-บุตรสาว) คุณแม่ฮู้ สุภาพสุนทร (คุณป้า)

คุณลุง ประสิทธิ์-คุณป้าสมหวัง มูลจันที (คุณลุง-คุณป้า ) คุณครูนิคม - คุณคำพัน โชติแสง (พี่ชาย-พี่สะใภ้)

คุณครูจรัส - คุณเพ็ญศรี โชติแสง (น้องชาย-น้องสะใภ้) คุณครูจรูญ - คุณจันทร์เพ็ญ โชติแสง (น้องชาย-น้องสะใภ้

ขอบพระคุณ พี่นงลักษณ์ ศรีโพธิ์วัง พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการ สสอ.คำเขื่อนแก้ว ที่ให้ข้อมูลเพิ่มเติมครับ...

.... อนึ่ง เมื่อคืนนี้ คุณทศพล นิติอมรบดี หัวหน้างานอนามัยสิ่งแวดล้อม สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว และ ภก.กฤษฎา จักรไชย เภสัชกร รพ.สต. ดงแคนใหญ่ ได้มาร่วมสวดอภิธรรมศพ รวมทั้งมาร่วมวางพวงมาลา แสดงความไว้อาลัย คุณพ่อบัญญัติ โชติแสง ซึ่งตั้งศพบำเพ็ญกุศล ณ บ้านเลขที่ ๗๕ หมู่ที่ ๓ ตำบลสระแก้ว อำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด ในวันที่๒๖ พฤศจิกายน พศ. ๒๕๕๓ ที่ผ่านมา

ชีวิตเรานี้มี4ต.ธรรมะดีๆจาก มหา วา พนมไพร:





27 พฤศจิกายน 2553: ชีวิตเรานี้มี4ต.ธรรมะดีๆจาก มหา วา พนมไพร: เตาะแตะ >>เต่งตึง >> โตงเตง >>ต้องตาย

หรือ อาจจะเพิ่มเป็น เต่า ๘ ตัวก้ได้ เตาะแตะ ต้วมเตี้ยม>>>เต่งตึง เติบโต>>> โตงเตง ต่องแต่ง>>>ต้องตาย ตัวตาย

ผม นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง ประทับใจ วิธีการเทศนาสั่งสอน ญาติโยม ของ ท่านพระครูปริยัติสันติธรรม เจ้าคณะอำเภอพนมไพรหรือ ท่านมหา วา วัดป่าบ้านชาด เจ้าคณะอำเภอพนมไพร ในงาน ฌาปนกิจศพ คุณพ่อบัญญัติ โชติแสง วัดทุ่งสว่างอารมณ์สุข ตำบลสระแก้ว ท่านเทศนาด้วยภาธรรมดาๆ ที่เข้าใจง่ายแต่แฝงไว้ด้วยคติเตือนใจที่สามารถนำไปปรับใช้ได้ในการดำเนินชีวิต เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา และความจริงเกี่ยวกับ 4ต. หรือเต่า ๔ ตัว ที่กำลังคลืบคลานมาสู่ชีวิตเรา ซึ่งผมขอบันทึกตัวอย่างบางตอน โดยย่อ ดังนี้

เต่าตัวที่ 1.เตาะแตะ ต้วมเตี้ยม-แรกเกิดมาก็ต้องหัดคลาน เดินต้วมเตี้ยม มีคนจับคนสอน ช่วยประคับประคองไปก่อนโดยเฉพาะคนที่คอยประคับประคองเราตั้งแต่เล็กจนโต คือ คุณพ่อคุณแม่ ของเรานั่นเอง

เต่าตัวที่ 2.เต่งตึง เติบโต-เมื่อเจริญวัยขึ้นเป็นหนุ่มสาวก็ดูดี เจริญหูเจริญตาขึ้น สามารถทำการงาน อาชีพ ช่วยเหลือเลี้ยงตัวเองและครอบครัวได้ บางคน พอ เต่งตึง ก็เหมือน ดอกไม้กำลังผลิบาน เกสรสวยงาม หากไม่มีสติ ชีวิตก้อาจจะล้มเหลวได้ เกสรที่เบ่งบานเต่งตึงสวยงาม ก็ต้องมีแมลง มีผึ้งมาไต่ตอม เกสรบางเกสร ยังคงเบ่งบานต่อไป ชีวิตก้เจริญรุ่งเรือง วัยนี้ บางคน ใช้ความเต่งตึงไม่ถูกวิธี พอมี แมลง มีผึ้งมาไต่ตอม เกสรบางเกสร ก็ รีบหุบ รีบยุบเอา ก็จะทำให้วัยเต่งตึงนี้เริ่มต้นเหี่ยวเฉาก่อนวัยอันควร พอมีคนไปซูนไปต้อง คั่นหุบเอา อีกบ่โดนก็เหี่ยวอ้าวต้าว หมดความงดงาม เหี่ยวม่าวต้าว นั้น วัยนี้พึงระมัดระวังรักษาให้ดี รักษาไม่ดี ใครเขาจะเอาไปทำพันธุ์ มะละกอ แตงไทย ถั่ว เขาคัดเอาแต่ลูกดีๆ ไปทำพันธุ์ไม่มีใครเอาลูกที่มีแป้ว มีแมงไปทำพันธุ์ เมล็ดข้าว เขายิ่งพิถีพิถัน คัดแล้วคัดอีก จึงจะได้ข้าวหอมที่มีคุณภาพ คนเราก็เช่นกัน ต้องมีสติในการดำรงชีวิต

สติ ไม่มา ปัญญาไม่เกิด สติมา ปัญญาเกิด สติเตลิด ก็ เกิดปัญหา เรื่องนี้ อุทธาหรณ์ ที่ดีคือ ญาติโยม ถวายน้ำดื่ม ใส่ขวดบรรจุน้ำมัน ให้ท่านดื่ม (ขี้กะตืกตายเบิด ตายฮอดแคแมในแข่ว) และ พระอายุ ๙๖ ปี ขยันกวดลานวัด ขยันมาก กวาดไปถึง ๕ หมู่บ้าน แล้วพอถึง ถนนใหญ่ ก็ถามชาวบ้านว่า วัดบ้านข่อยไปทางใด๋... เป็นต้น

เต่าตัวที่ 3.โตงเตง ต่องแต่ง-แก่ชรา เนื้อหนังมังสาร่างกายเหี่ยวย่น หย่อนยานลง ก็ไม่น่าดู ไม่แข็งแรง ต้องพึ่งพาลูกหลาน ผู้อื่นในบางเรื่องบางอย่าง

เต่าตัวที่ 4.ต้องตาย ตัวตาย-เมื่อหมดอายุขัย ถึงคราหมดลมหายใจ ก็ต้องตายจากกันไปไม่วันใดก็วันหนึ่ง

ชีวิตคนเรา ประกอบขึ้นด้วย ธาตทั้ง ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ เมื่อตายก็ต้องคืนสภาพ ให้กับ ธาตุทั้ง ๔ ต่อไป

ชีวิตคน ชีวิตสัตว์ก็เหมือนกันอย่างนี้แหละ ทุกอย่างเป็นอนิจจัง-ทุกขัง-อนัตตา เหมือนกับที่ว่า "ไปไม่กลับ หลับไม่ตื่นฟื้นไม่มีหนีไม่พ้น นั่นแล.....

ในแง่สัจจธรรม ไม่ว่าจะอยู่ในวัยไหน ต.ตาย ก็มีสิทธิ์มาเยือนได้ทุกวัย จึงไม่ควรจะประมาทในชีวิต รักษาศีล 5 เคารพพระรัตนตรัย ไม่หลงยึดติดกับของสมมุติในโลกรวมทั้งกายสังขาร

+++เตาะแตะ..ตอนเป็นเด็กยังเล็กอยู่

เต่งตึง...สู้ชูชันนั่นสาวหนุ่ม
โตงเตง..ยานยามเฒ่าป่วยเร้ารุม

ต้องตาย..สุมเป็นศพจบทุกคน
………………………………….
+++ไปไม่กลับ...ฝังกลบเป็นศพเน่า

หลับไม่ตื่น..ไปเผาเป็นเถ้าป่น
ฟื้นไม่มี..ชีวีวายตายทุกคน

หนีไม่พ้น....ทุกผู้รู้ไว้เทอญ

………………………………….
โดยส่วนตัวแล้ว ผม เคยรู้จัก หรือเคยได้ยิน วัฏจักรชีวิต 5 พ. ซึ่ง เป็นการแบ่งวัยของคนตั้งแต่วัยทารก จนถึงวัยชรา

1. วัยพึ่ง คือวัยที่พึ่งพ่อแม่ สังคมส่วนใหญ่จะสัมพันธ์กับคนในบ้าน

2. วัยพบ คือวัยรุ่น จนถึงวัยหนุน่มสาว พบเห็นผู้คน สิ่งแวดล้อมมากมายภายนอกบ้าน

3. วัยเพียร คือวัยทำงานหาเลี้ยงชีพ ประกอบการงาน

4. วัยพัก คือวัยเกษียณ หรือ หยุดหรือคลายจากการทำมาหาเลี้ยงชีพ

5. วัยพราก คือวัยชรา ซึ่งเป็นวัยสุดท้ายของชีวิต ที่ไม่มีใครหนีพ้น

ซึ่ง 4 ต. ที่ผมรับทราบวันนี้ เหมือน 4 พ. เปี๊ยบ เลย จึงขอนำมาเทียบเคียงกันได้ดังนี้

ตัวแรก-เตาะแตะ ต้วมเตี้ยม คือวัยเด็ก หรือ วัย พึ่ง

ตัวที่สอง-เต่งตึง เติบโต คือวัยเติบโต เป็นผู้ใหญ่ หรือ วัย พบ (เพียร)

ตัวที่สาม-โตงเตง ต่องแต่ง คือวัยชรา หรือวัย พัก

ตัวที่สี่-ต้องตาย ตัวตาย คือวัย พราก

อยากหนีจาก 4 ต. หรือ 4 พ. ก็ได้นะครับ ง่ายๆ พระท่านว่าให้ปฏิบัติธรรมะ ครับ

แต่ง วิลาวัลย์ สุนทรา- วัชรินทร์ เมื่อประโคน


วันที่ 27 พฤศจิกายน 2553 แต่ง วิลาวัลย์ สุนทรา- วัชรินทร์ เมื่อประโคน: ตอนเที่ยงวันนี้ ผม นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง พร้อมด้วย คุณอริยวรรณ จันทร์สว่าง ไปร่วมงานแต่งงานของ นส.วิลาวัลย์ สุนทรา กับ นายวัชรินทร์ เมื่อประโคน ณ หอประชุม โรงเรียนสมเด็จพระญาณสังวร ตำบล ดงแคนใหญ่ อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร ซึ่ง น้องแจง หรือ นส.วิลาวัลย์ สุนทรา นั้น เป็นน้องสาว คนร่วมหมู่บ้านเดียวกัน และทำงาน ใน อำเภอคำเขื่อนแก้ว ร่วมกัน น้องแจง เป็นคนที่น่ารัก อัธยาศัยดี ปฏิบัติงานด้วยจิตบริการที่ดี ณ สำนักงาน ท้องถิ่นอำเภอคำเขื่อนแก้ว เจ้าภาพ โดยครอบครัว คุณพ่อ บัญชา แสงจันทร์ทิพย์ คุณแม่ตุ้มทอง แสงจันทร์ทิพย์ ส่วนอาจารย์วัชรินทร์ เมื่อประโคนนั้น เป็นอาจารย์ด้านแผนงานและคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ จึงไม่แปลกเลยที่เส้นทางการพบรักของทั้งคู่ เกิดจาก คอมพิวเตอร์ ได้รู้จักและกำเนิดความรักกันทาง Internet ครับ

... ประธานในงานโดย ท่าน รศ.โกวิท เชื่อมกลาง อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ เป็นเครื่องยืยยันถึงความเป็นคนที่ทำงานดีมากของ อาจารย์วัชรินทร์ เมื่อประโคนนั้น จะเห็นได้จาก แขกผู้มีเกียรติจากมหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ วันนี้มาเต็มรถบัสขนาดใหญ่ ๒ คัน เลยทีเดียว

...ญาติฝ่ายชาย โดย คุณพ่อเพิน เมื่อประโคน คุณแม่แก้ว เมื่อประโคน ภายใต้ Slogan ประจำงาน อยู่กันคนละทิศ...มาเป็นคู่ชีวิต ที่ชิดใกล้”แจง รัก หนิง...ต่อไปในอนาคตเพื่อนๆ หากค้นหาชื่อ นางสาววิลาวัลย์ สุนทรา แล้วไม่พบ ก็แนะนำว่าให้ลองค้นชื่อนี้ดูนะครับ นางวิลาวัลย์ เมื่อประโคน เพราะนางสาววัลาวัลย์ สุนทรา วันนี้ถือได้ว่าเปลี่ยนชื่อเป็น นางวิลาวัลย์ เมื่อประโคน แล้ว

...แขกผู้มีเกียรติ ที่ร่วมงานอาทิ ท่าน ณิภัทรเดช ไชยช่วย อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนสมเด็จพระญาณสังวร ท่าน เสนอเกียรติ พราวศรี ผู้อำนวยการโรงเรียนสมเด็จพระญาณสังวร นายสุพิช สามารถ ปลัดอำเภอ(อาวุโส)อำเภอคำเขื่อนแก้ว คุณป้าสำรวม ชูแก้ว ท่านทองคำ การุณย์ ผู้ทรงคุณวุฒิ บ้านบกน้อย พร้อมแขกผู้มีเกียรติ มาร่วมงานมากมายเป็นต้น ... ขออำนวยพร ให้คู่บ่าวสาวทั้ง น้องแจง และ น้องหนิง มีความสุขในชีวิตการครองคู่ครองเรือนตลอดไปครับ..

เพราะคุณทำดีน่าชื่นชมผมจึงมีความสุข(เรื่องเล่าเร้าพลัง)



26 พฤศจิกายน 2553: เพราะเรื่องเล่าคุณน่าชื่นชมผมจึงมีความสุข: เรื่องจริงผ่านตาเรื่องเล่าเร้าพลังที่น่าชื่นชมที่ทำให้ผม นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง มีความสุขในทุกคราที่ระลึกถึง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวันนี้ หัวหน้าถึงไหนแล้วครับ พี่กำลังผ่านสระบุรีครับเสียงโทรศัพท์ขาดๆหายๆผสมเสียงตนตรีและเสียงร้องเพลง จาก ท่านวิทยา เพชรรัตน์ สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว ที่อยู่ระหว่างการเดินทางกลับพร้อม นายแพทย์พงษ์สวัสดิ์ รัตนแสง นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร

ที่นำคณะผู้บริหารระดับสูงของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร เข้าร่วมกิจกรรมทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายแจกันดอกไม้ และร่วมลงนามถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลมหาราช ให้ทรงหายจากอาการพระประชวร และมีพระพลานามัยแข็งแรงสมบูรณ์ ณ ศาลาศิริราช 100 ปี โรงพยาบาลศิริราช เมื่อวันนี้

... ความรู้สึกที่ผมสามารถรับรู้ได้ ในทุกๆครั้งที่ผมไปราชการหรือธุระส่วนตัวในต่าจังหวัด หรือกิจกรรมอื่นๆตาม ท่านวิทยา เพชรรัตน์ จะมีโทรศัพท์ไปสอบถามข่าวคราวด้วยความห่วงใย แม้เพียงประโยคสั้นๆ สื่อสารกันก็ทำให้ผมมีความสุขได้

... ผมตั้งใจจะรายงานให้ท่านทราบว่า เรื่องจริงผ่านตาเรื่องเล่าเร้าพลังที่น่าชื่นชมที่ทำให้ผมมีความสุขในทุกคราที่ระลึกถึงในวันนี้นั้น มีอะไรบ้าง ยกตัวอย่างเช่น ..

เริ่มต้นจาก 08.19น.ผมก้าวลงรถ สวัสดีครับพี่ ถนนด้านหน้าสำนักงานของเราไร้ฝุ่นแล้วนะครับ นายหนุ่ม อรรถพล แสงนวน พนักงานบริการประจำสำนักงานของเราได้รายงาน ซึ่งผมภูมิพอใจที่นาหนุ่มได้ปฏิบัติภารกิจที่ได้รับมอบหมายให้ดูแลสวนสวยและความสะอาดให้เรียบร้อยสวยงามอยู่เสมอนั้น เขาทำได้ดี และ สามารถร่วมกันกับ พี่สมร ทำงานดูแลความเรียบร้อยทั่วไป และ อำนวยความสะดวกแก่หัวหน้างาน ตลอดทั้ง เจ้าหน้าที่ จาก สถานีอนามัยทุกแห่ง ด้วยจิตบริการที่ดี

... จากเมื่อเดินขึ้นมาบนสำนักงาน สวัสดีครับหัวหน้า ... นายสมร พลทิพย์ ละมือ จากการทำความสะอาดบนสำนักงานมาทักทายผม เมื่อคืนหลอดไฟ ที่โรงรถของเราหายไป ๑ หลอดครับ … “ดีมากครับพี่ที่แจ้งให้ทราบ แล้วพี่พอจะทราบต้นสายปลายเหตุอะไรเพิ่มเติมบ้างไหมครับ ... ผมไปตรวจสอบดูแล้ว เห็นรอยรองเท้า ที่มาบริวณนั้น และตายรอบไปจนพบว่าเขานำไปใช้ในวัตถุประสงค์ใดแล้วครับ พี่สมรได้เล่าให้ผมฟัง ด้วยความภูมิใจ ผมดีใจมาก .. ไม่ได้ดีใจที่หลอดไฟหายไป แต่เกิดเพราะ ภารกิจที่มอบหมายให้ พี่มล หรือ พี่สมร พลทิพย์ มาเข้าเวรรักษาความปลอดภัยใน สำนักงานของเรานั้น เขาทำด้วยความใส่ใจ ตรวจตราความเรียบร้อยด้วยดี ผมภูมิใจที่เขาสามารถมีความรับผิดชอบต่องานและหน้าที่ในทุกขณะที่เขาปฏิบัติงาน จากการที่เขาเล่าผมพอจะทราบแล้วว่าหลอดไฟของเราได้ถูกนำใช้ประโยชน์เพื่อส่วนรวมเช่นกัน แม้หลอดไฟของเราจะหายไป แต่เราได้มากยิ่งกว่าหลอดไฟหลอดนั้น พวกเราได้ความรับผิดชอบที่ดีอันยิ่งใหญ่เสมือนว่าเป็นการรักษาทรัพย์สินของตนเองของคุณพี่ สมร พลทิพย์ ครับ..

… “งานที่มอบหมายให้พี่ช่วยทำ เสร็จแล้ว วางไว้บนโต๊ะนะคะพี่หน่อง นงลักษณ์ ศรีโพธิ์วัง เข้ามาทักทายด้วยความสุภาพ.. พี่หน่อง เป็นคนที่มาทำงานแต่เช้า ช่วยงานทุกๆคนด้วยความเต็มใจ นอกจากงานที่มอบหมายให้ทำจะเรียบร้อยดีแล้ว พี่หน่องยังเป็นแม่บ้านที่ดี มีอาหารว่าง มาบริการแก่ พวกเราทุกคนอยู่บ่อยๆ ซึ่ง ส่วนใหญ่ ที่พี่หน่องนำมานั้นพวกเราจะชื่นชอบ เพราะรสชาติดี ขอบคุณมากครับพี่แถมด้วยรอยยิ้มเท่านั้นที่ผมมอบกลับคืน

… “ข้อมูลงานศพปลอดเหล้า ขณะนี้หน่อยกำลังบันทึก คาดว่าจะแล้วเสร็จทันวันที่ ๒๙คะน้องหน่อย นส.อมรรัตน์ วิลัยศรี นักวิชาการสาธารณสุข ที่ผมมอบหมายให้ช่วยบันทึข้อมูล เกี่ยวกับการประเมินผลงานศพปลอดเหล้า นำเรียนความก้าวหน้าของงานด้วยใบหน้าที่ยิ้มแย้มแจ่มใส ขอบคุณมากน้องหน่อยผมขอบคุณด้วยรอยยิ้มให้กับน้องหน่อยเช่นเดียวกัน น้องหน่อย เป็นน้องใหม่ ที่เรียนรู้งานได้เร็วมาก มีจิตอาสาที่ดี ช่วยเหลืองานพี่ๆ ทุกคนด้วยความเต็มใจ จึงไม่แปลกใจเลยที่ผมมักได้ยินพี่หลายคนคนมักจะพูดว่า ไปทานข้าวเที่ยงกับพี่นะน้องหน่อย

… “ผู้ช่วย ดูผลงานของ โพนทันสิครับ เขาทำได้สมบูรณ์ดีมากเลยพี่ศุภสิทธิ์ ตั้งจิต แสดงเอกสารเกี่ยวกับการขึ้นทะเบียน อสม . แสดงให้ผมดู พร้อมพยักหน้าแสดงการยอมรับ บนใบหน้าที่ยิ้มแย้มขณะที่ผมเดินไปปรึกษางาน ... ขอบคุณมากครับพี่ ขอให้พี่เก็บรวบรวมผลงานที่ประทับใจ จากงานประจำของเราเหล่านี้ไว้มากๆ แล้วสิ้นเดือนสรุปให้พวกเรารับทราบด้วยกันอีกครั้งนะครับ ... ครับผมรวบรวมไว้ได้พอสมควรแล้วครับ.. นายศุภสิทธิ์ ตั้งจิต หัวหน้างานสุขภาพภาคประชาชนสสอ.คำเขื่อนแก้ว หรือพี่ชู ที่พวกเรารู้จัก ปัจจุบัน หลายท่านที่เคยรู้จักเขา เรียกชื่อให้เขาว ว่า นิวบุญชู หรือ พี่ชูคนใหม่ ทั้งนี้ล้วนสรุปได้จากประสบการณ์ การกระทำ และคำพูด ของพี่ชูเอง ทุกวันผมจะเห็นพี่ชูมาทำงานแต่เช้า บางวันทำงานติดพัน จนเลยเวลาข้าวเที่ยง หลายวัน ที่ พี่สมร พลทิพย์ ต้องปิดสำนักงานก่อน เพราะพี่ชูยังคงทำงานต่อด้วยความสุขแม้เลยเวลาเลิกงานไปแล้ว ..พี่ชูสามารถปรับตนองให้เข้ากับสภาพแวดล้อมการทำงานแห่งใหม่นี้ของท่านด้วยดี โดยไม่ยึดติดกับสิ่งเดิมๆที่เคยกระทำ มีประโยคหนึ่งที่ผมยังจำคำพูดของพี่ชูได้ เราเท่านั้น ที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเราได้ อดีตที่ผ่านมา ดีไม่ดี เราเท่านั้นที่รู้ การเอาชนะบุคคลอื่นด้วยการกระทำและคำพูดต่างๆนั้น พี่ทำมานานแล้ว รู้แล้วว่าเส้นทางเหล่านั้นมันไม่น่าเดินฉะนั้น จะใช้เวลา ๑๕ ปีของอายุราชการที่เหลือให้ดีและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อตนเอง ครอบครัว หน่วยงานและสังคม

… “ผู้ช่วยคะ ร่างคำสั่ง ๓-๕ ธันวาต้องแก้ไขอะไรบ้างคะ เป็นร่างคำสั่งที่ดีมากเลยครับพี่ใหญ่ ครอบคลุมงานตามที่ตั้งเป้าหมายไว้เลย มีแก้ไขเล็กน้อยผมบันทึกไว้แล้ว(เป็นการสนทนาของผมกับพี่ใหญ่ นางอภิญญา บุญถูก หัวหน้างานควบคุมโรคไม่ติดต่อ ถึงการเตรียมความพร้อม การจัดนิทรรศการในงาน เทิดพระกียรติ ๓-๕ ธันวาคม ๒๕๕๓ ณ สนามหน้าที่ว่าการำเภอคำเขื่อนแก้ว) เมื่อทุกคนมาทำงานพร้อมหน้ากันแล้ว ผมเดินไปพูดกับพี่ใหญ่ว่า งานนี้ถือว่าสำเร็จไปกว่าครึ่งแล้ว ด้วยการยกร่างคำสั่งของพี่ใหญ่ที่ดี อ่านแล้วสามารถรู้ถึงงานและกิจกรรมที่ทุกคนต้องรับผิดชอบได้เลย...ขอบคุณมากกครับพี่ ชื่นชมพี่มากไปแล้วอย่างไรเสียครั้งต่อไปก็คงต้องขอคำแนะนำที่ดีจากท่านเช่นเคยนะคะ เป็นคำพูดที่ผมได้ยินมาจากใบหน้าอันสวยงามที่เต็มไปด้วยรอยยิ้มของพี่ใหญ่ อภิญญาของเรา...นางอภิญญา บุญถูก เป็นแม่บ้านที่พวกเราทุกคนไว้วางใจในความรับผิดชอบที่ดี การนำเสนองานที่มีลีลาที่ดีเฉพาะตัวยากที่จะหาใครเหมือน เสียงร้องเพลงหมอลำที่ประทับใจ ความรับผิดชอบในงานที่สูงส่ง และวินัยการเงินที่ดีเยี่ยม และเป็นพี่สาวที่ดีของผมเสมอมา

… T“เย็นวันนี้ผมขออนุญาตนำรถ นข 30 ไปบ้านเภแคทนะครับ มีน้องกุ้งไปด้วย” … P“คงต้องขอบพระคุณทศมากที่ไปในนามของพวกเราทุกคน ... T“ครับ..ส่วนซองนั้นผมรับมา ๑๗ ซอง ได้จัดสรรให้กับ สอ.ทุกแห่งแห่งละซอง และพวกเราอีก ๑ ซองครับ P“พรุ่งนี้ผมและภรรยาจะไปร่วมงานฌาปนกิจศพที่พนมไพรด้วย ผมและทศพลสนทนาถึงการเตรียมไปช่วยงานศพคุณพ่อของ เภสัชกร โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว เพื่อนร่วมงานของเรา ก่อนเลิกงานทศพลนำซองที่รวบรวมได้มาให้ T“นอกจากมิตรภาพส่วนตัวแล้ว เรายังได้มิตรภาพขององค์กรที่ดีด้วยนะครับ P”นี่กุญแจรถสำหรับไปงานในนามของพวกกเราเย็นวันนี้ ผมมอบกุญแจรถที่เตรียมไว้ให้กับทศพลพร้อมกับบอกกับพี่สมรว่า ตรวจสอบความพร้อมของรถให้ดีนะครับพี่มลทศ หรือ นายทศพล นิติอมรบดี หัวหน้างานอนามัยสิ่งแวดล้อม และคบส. นั้นพวกเราชื่นชมท่านในการปฏิบัติงานดี มีวินัย จริงจัง จริงใจ ต่อเพื่อนร่วมงานเสมอมา การสนทนาข้างต้น ถือเป็นตัวอย่างที่ดี ในความมีน้ำใจของคุณทศพล

… SR“พี่ครับวันนี้ผมขออนุญาตใช้รถHealth Check นะครับ กิจกรรมตรวจสอบภายใน P “ได้ครับ.. ตี๋เรื่องจัดเครือข่าย รพ.สต.นั้น มีปัญหาอะไรอีกไหม SR“มีครับพี่ ที่ทุ่งมน แต่ผมได้นำเสนอวิธีแก้ปัญหาดังนี้ 123” นายสุรินันท์ จักรวรรณพร หัวหน้างานประกันสุขภาพ มาพูดคุยด้วยท่าทีที่สุภาพและได้อธิบายถึงวิธีการต่างด้วยความมั่นใจและมีข้อมูลประกอบการตัดสินใจที่เพียงพอในแต่ละวิธี ... P “OK พี่ขอแนะนำให้ใช้วิธีที่2แล้วพี่จะเรียนกับพี่นก (หน.นที่สสจ.ยส.)ให้ทราบอีกทีนะครับ...นายสุรินันท์ จักรวรรณพร หรือน้องตี๋ เป็นอีกบุคคลที่พวกเราเชื่อมั่นในการปฏิบัติงานที่รวดเร็ว มีปฏิภารไหวพริบดี เรียนรู้งานได้เร็ว มีความสามารถที่หลากหลาย เพรียบพร้อมทั้งความฉลาดและเฉลียวในตัว เก่งในทุกๆด้าน ทั้งวิชาการ การกีฬา ที่สำคัญต้องยกให้เป็นนักประสานสิบทิศ สามารถประสานงาน และปฏิบัติงานที่หลายคนบอกว่ายากๆให้บรรลุสำเร็จได้โดยง่ายๆๆ...

..ST“สวัสดีครับพี่...วันนี้ ผมจะขออนุญาตไปดูแลระบบข้อมูลที่ สอ...นะครับผมยิ้มให้น้องแฟรงค์และพยักหน้ารับทราบ ด้วยความประทับใจในกริยามารยาทที่สง่า ผสมท่วงท่าที่นุ่มนวลของน้องสุนทร P“แฟรงค์เมื่อวันที่๒๔ คณะท่านนายอำเภอมาประชุมหัวหน้าส่วนที่นี่เรียบร้อยดีไหมครับ”… ก็ OKดีครับ ส่วนเรื่องเครื่องเสียงห้องประชุมนั้น ผมประสานพี่อุทิศแล้ว ท่านจะให้ช่างมาตรวจสอบความเรียบร้อยอีกทีนะครับ F“เรื่องรายงานการสอบสวนเห็ดพิษนั้น ปีนี้ผมจะให้พี่บุญทศ ขึ้นเวทีนะครับ P“เพื่อเป็นการเตรียมตัวพี่เสนอให้แจ้งเจ้าตัวเขาทราบและให้ทดลองนำเสนอผลงานในเดือนนี้เลย ผมและสุนทรปรึกษากันเกี่ยวกับงานพอสมควร ก่อนที่สุนทรจะออกไปที่สถานีอนามัย ” P แฟรงค์ เรียนหัวหน้า สอ...เขาด้วยว่า พี่ติดภารกิจไม่สามารถไปร่วมงานได้ นายสุนทร วิริยะพันธ์ หัวหน้างานควบคุมโรคติดต่อ ถือได้ว่าเป็นตัวอย่างของคนที่ ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน ขวนขวายวิชาความรู้ ใส่ตัวอยู่เสมอๆ ทั้งในงานที่รับผิดชอบ และการสนับสนุน การปฏิบัติงานของทีมงาน นอกจากผลงานวิชาการ ที่เป็นวิทยากรระดับจังหวัดแล้ว การทำงานแทบจะได้รางวัลชนะเลิศทุกๆปีแล้ว คามสามารถด้านคอมพิวเตอร์นั้นที่ถือได้ว่า น้องสุนทร เป็น นักสาธารณสุขที่มีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ มากที่สุดคนหนึ่งในระดับจังหวัด

...ในสำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว ของเราเองนั้น น้องสุนทร เป็น Programmer ที่ดูแลระบบให้กับพวกเราสามารถปฏิบัติงานด้วยความสุขเสมอมา ... ที่ผมประทับใจน้องคนนี้ก็คือ ความมีน้ำใจที่ดี ผมไม่เคยเห็นน้องสุนทรปฏิเสธ ที่จะให้ความช่วยเหลือทีมงาน ทั้งภายใน สสอ.ของเราเอง และจาก สถานีอนามัยทุกแห่ง

… P‘พี่คะเกียรติบัตรของหัวหน้าแพร์ว่าให้นายอำเภอลงนามคนเดียวดีไหมคะ ได้ครับ ปรับง่ายๆ จัดไว้ตรงกลางนะครับ

สีสดสวยดีมากเลย เสนอแฟ้มได้เลยนะครับ ผมกับน้องแพร์ช่วยกันจัดเตรียมเกียรติบัตร งดเหล้า เข้าพรรษา ให้กับ ผู้ที่สามารถงดเหล้า เข้าพรรษาได้ครบ ๓ เดือน เพื่อเสนอให้ ท่านสมเพชร สร้อยสระคู นายอำเภอคำเขื่อนแก้ว และ นายวิทยา เพชรรัตน์ สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว ลงนามนเกียรติบัตร ... น้องแพร์ นางสุภาภรณ์ เกษมณี พนักงานธุรการ ถือเป็น พนักงานธุรการ ที่สามารถทำงานได้แบบเอนกประสงค์ ทำงานบริการอำนวยความสะดวกแก่ เจ้าหน้าที่ทั้งภายใน สสอ.และใน สถานีอนามัยทุกแห่ง ได้เป็นอย่างดี รวดเร็ว ถูกต้อง คล่องงาน งานทุกอย่างที่มอบหมายจะแล้วเสร็จโดยมีประสิทธิภาพ หลายครั้งที่ผมเห็น พี่ๆเขาจะมีของฝากมามอบให้น้องแพร์ เป็นการขอบคุณ หรือ ชวนไปทานข้าวเที่ยงร่วมกันเป็นต้น

... นี่เป็นเพียงบางเสี้ยวกับเรื่องราวอันประทับใจ ในบรรยากาศการทำงานที่ อบอุ่น ท่ามกลางมิตรภาพที่ดี ที่มีให้แก่กันและกัน ของทีมงานที่มีคุณภาพของพวกเรา ณ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว แม้ไม่สามารถถ่ายทอดได้หมด แต่ เหตุการณ์ทั้งหมดนั้น คุณความดีของกันและกัน พวกเราได้บันทึกไว้แล้ว ในหัวใจของแต่ละคนครับ