18เมย.2559_สรุป
7 วัน สงกรานต์ ตาย 442 ศพอุบัติเหตุ3,447 ครั้งยึดรถ
6,613 คัน_ยโสธรตาย8
วันที่ 18 เมษายน 2559 ที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.)
พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ในฐานะประธานกรรมการและผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน (ศปถ.)
เป็นประธานแถลงข่าวสรุปผลการดำเนินงานลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2559 "สงกรานต์ปลอดภัย
ส่งเสริมวัฒนธรรมไทย สร้างวินัยจราจร"
สรุปอุบัติเหตุทางถนนรวม
7 วัน (11-17เมษายน 2559) เกิดอุบัติเหตุรวม 3,447
ครั้ง ผู้เสียชีวิตรวม 442 ราย ผู้บาดเจ็บรวม 3,656 คน
จังหวัดที่ไม่มีผู้เสียชีวิต
มี 4 จังหวัด ได้แก่ ตราด ยะลา ระนอง และหนองบัวลำภู จังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสะสมสูงสุด
ได้แก่ เชียงใหม่ 168 ครั้ง
จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสะสมสูงสุด
ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นครราชสีมา 19 ราย จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสะสมสูงสุด ได้แก่
เชียงใหม่ 175 คน
สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุสูงสุด
ได้แก่ เมาสุรา ร้อยละ 34.09 ขับรถเร็วเกินกำหนด ร้อยละ 32.93
ยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ รถจักรยานยนต์ ร้อยละ 80.67 รองลงมา
รถปิกอัพ ร้อยละ 8.85 ส่วนใหญ่เกิดในเส้นทางตรง ร้อยละ 64.49 บนถนนกรมทางหลวง
ร้อยละ 37.86 ถนนใน อบต./หมู่บ้าน ร้อยละ 36.12
ช่วงเวลาที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด
ได้แก่ ช่วงเวลา 16.01- 20.00 น. ร้อยละ 30.23
ผู้บาดเจ็บและผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มวัยแรงงาน
ร้อยละ 52.28
ทั้งนี้
ได้เรียกตรวจยานพาหนะ 4,433,019 คัน
มีผู้ถูกดำเนินคดี รวม 730,271 ราย
มีความผิดฐานไม่สวมหมวกนิรภัย 211,502 ราย ไม่มีใบขับขี่ 204,006 ราย
สำหรับผลการปฏิบัติงานตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
ที่ 46/2558 สรุปผลการดำเนินการสะสมระหว่างวันที่ 9-17 เมษายน 2559
ตรวจพบผู้กระทำผิดในลักษณะที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุโดยประมาทด้วยการดื่มแล้วขับ
443,937 ราย แยกเป็น ยึดใบอนุญาตขับขี่
17,449 ราย ส่งดำเนินคดีทางกฎหมาย 142,820
ราย ยึดรถ 6,613 คัน ประกอบด้วย รถจักรยานยนต์ 4,963 คัน และรถยนต์ส่วนบุคคล 1,650 คัน
ทั้งนี้
รัฐบาลไทยมีกรอบยุทธศาสตร์การป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน 5 ด้าน ( 5 E ) ได้แก่
E1. ยุทธศาสตร์ด้านการบังคับใช้กฎหมาย (Enforcement)
E 2. ยุทธศาสตร์ด้านวิศวกรรมจราจร (Engineering)
E 3. ยุทธศาสตร์ด้านการให้ความรู้ ประชาสัมพันธ์และสร้างการมีส่วนร่วม (Education and Empowerment)
E 4. ยุทธศาสตร์ด้านการบำบัดรักษาและบริการการแพทย์ฉุกเฉิน (Emergency Medical Service)
E 5. ยุทธศาสตร์ด้านบริหารจัดการ ติดตามและประเมินผล (Evaluation)
E1. ยุทธศาสตร์ด้านการบังคับใช้กฎหมาย (Enforcement)
E 2. ยุทธศาสตร์ด้านวิศวกรรมจราจร (Engineering)
E 3. ยุทธศาสตร์ด้านการให้ความรู้ ประชาสัมพันธ์และสร้างการมีส่วนร่วม (Education and Empowerment)
E 4. ยุทธศาสตร์ด้านการบำบัดรักษาและบริการการแพทย์ฉุกเฉิน (Emergency Medical Service)
E 5. ยุทธศาสตร์ด้านบริหารจัดการ ติดตามและประเมินผล (Evaluation)
อนึ่ง
วันนี้ ณ ห้องประชุมชั้น 2 ศาลากลางจังหวัดยโสธร นายบุญธรรม
เลิศสุขีเกษม ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานประชุมสรุปผลการปฏิบัติงาน
ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ 11-17 เมษายน 2559 จังหวัดยโสธรได้การบูรณาการทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน มูลนิธิ
และอาสาสมัครต่างๆ จัดตั้งศูนย์บริการร่วมรณรงค์และร่วมปฏิบัติงานป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์
พ.ศ. 2559 ภายใต้ชื่อ “ สงกรานต์
ปลอดภัย ส่งเสริมวัฒนธรรมไทย สร้างวินัยจราจร ” เพื่อต้องการให้เกิดการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน
น้อยที่สุด ในช่วงสงกรานต์ ปี 59 มีการจัดตั้งจุดตรวจจุดสกัดทั้งหมด
162 จุด แบ่งออกเป็นจุดตรวจระดับอำเภอ 18 จุด จุดตรวจระดับตำบล 144 จุด
เน้นนำมาตรการบังคับใช้กฎหมายตามมาตรการ 10 รสขม.
ควบคู่ไปกับการสร้างจิตสำนึก ของประชาชน ปรากฏว่า ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปี 59
จังหวัดยโสธร เกิดอุบัติเหตุ 17 ครั้ง
เสียชีวิต 8 คน บาดเจ็บ 10 คน
สาเหตุและพฤติกรรมเสี่ยงที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุสูงสุด คือ เมาสุรา
ยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด คือ รถจักรยานยนต์
สำหรับ
อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร มี ผู้เสียชีวิต 1 ราย เพศ หญิง อายุ 40 กว่าปี
จุดเกิดเหตุ
ถนน สายลุมพุกมหาชนะชัย หน้ารานคาร์แคร์ (รถปิคอัพแซงมาชน รถจักรยานยนต์)