26 มีค.2558 อีสานตอนล่าง_ร่วมกันป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติด_สุนีย์แกรนด์
วันที่ 26 มีนาคม 2558 วันนี้ผมนายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง ประชุมคณะทำงานการบำบัดรักษาผู้เสพผู้ติดยาเสพติด
ปี งบประมาณ 2558 ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตอนล่าง (
อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ยโสธร ศรีสะเกษ ) ณ ห้องประชุม โรงแรมสุนีย์แกรนด์
อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
ประธานการเปิดประชุม
โดย นายประทีป กีรติเรขา ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี
กล่าวรายงานโดย นายสมบัติ
บุญโอภาส ผอ.ส่วนประเมินผล สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติดภาค 3 นครราชสีมา
วัตถุประสงค์ เพื่อ ให้เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง
ทั้งการค้นหา การคัดกรอง การบำบัด ฟื้นฟู และการติดตามดูแล ช่วยเหลือ ได้รับทราบ เจตนารมณ์
นโยบาย ยุทธศาสตร์ และแนวทางการปฏิบัติร่วมกัน ตลอดจนระเบียบ กฎหมาย
ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน เพื่อบูรณาการ การปฏิบัติงานร่วมกัน
ซึ่งสอดคล้องกับ ประกาศ คสช. ฉบับที่ 108/2557 ลงวันที่ 21 กรกฎาคม 2557 เรื่องการปฏิบัติต่อผู้ต้องสงสัยว่ากระทำความผิดตามกฎหมาย
เกี่ยวกับยาเสพติด เพื่อเข้าสู่การบำบัดฟื้นฟู และการดูแลผู้ผ่านการบำบัดฟื้นฟู
ทั้งนี้กำหนดการประชุม วันที่ 26 มีนาคม 2558 ถึง วันที่ 27 มีนาคม 2558 ณ ห้องประชุม โรงแรมสุนีย์แกรนด์ อำเภอเมือง
จังหวัดอุบลราชธานี
ศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
(ศป.ปส.อ.) อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร
มีผู้ร่วมประชุม
จำนวน 3 คน โดยมีคณะ ดังนี้
นายวสันต์ ระดมเล็ก ปลัดอำเภอ
หัวหน้าฝ่ายความมั่นคง
ร.ต.ท.ประสงค์ ทอนศรี รอง สาวรัตร สืบสวน สอบสวน สภ.คำเขื่อนแก้ว
วิทยากร
อื่นๆ อาทิเช่น
นายกอบศักดิ์
ใจแสน ผู้อำนวยการกลุ่มยุทธศาสตร์ สำนักงาน ปปส.ภาค 3 นครราชสีมา
8
ยุทธศาสตร์หลัก ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ปี 2558 จำนวน 8 ยุทธศาสตร์หลัก
ประกอบด้วย 3 ส่วนหลักคือ
1. เกี่ยวกับ คนตัว ยา 2. เกี่ยวกับ
พื้นที่ และ 3 เกี่ยวกับ การบริหาร
สถานการณ์ทั่วไป
การจับกุมเพิ่มขึ้น ผู้เสพหน้าใหม่เพิ่มขึ้น อายุของเสพหน้าใหม่ลดลงเรื่อยๆ
ผู้เสพหน้าใหม่ (ยาเสพติด มาไม่เกิน 1 ปี )
ทั่วประเทศ เพิ่มขึ้น ประมาณ ร้อยละ 7 แต่ ในพื้นที่
ภาคอีสานตอนล่าง เพิ่มขึ้น ร้อยละ 11 สูงกว่าค่าเฉลี่ยในระดับประเทศ
ข้อมูลจริง ปัจจุบันไม่มีข้อจำกัด
เรื่องเข้าค่าย คนหนึ่งคน จะสามารถเข้าค่ายได้กี่ครั้ง ปัจจุบัน 20 ครั้งก็มี
ข้อมูลจริง คนที่เข้าค่าย บางคน
ไม่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดเลยก็มี
ข้อมูลจริง การติดตามหลังการบำบัดทำได้เพียง
ร้อยละ 80
( ปัจจุบัน กลุ่มเสพ กลุ่มใช้
เข้าค่ายได้ แต่กลุ่มติด เข้าค่ายไมได้ )
จังหวัดยโสธร เป็นจังหวัดนำร่องด้านการ บำบัดรักษาผู้เสพผู้ติดยาเสพติด
กว่าจะถึง
อนุบาลก็สายเสียแล้ว
E F (Efficiency of Forebrain)
การสร้างความภูมิคุ้มกัน แบบบูรณาการ โดยการกระตุ้นการใช้สมองส่วนหน้า
ให้กับเด็กเล็ก โดยการเล่านิทาน
ในศูนย์เด็กเล็กและโรงเรียนอนุบาล
จะสามารถป้องกันได้ทั้งยาเสพติด เพศ ความรุนแรง อุบัติเหตุ เป็นต้น
ตัวอย่างเด็กที่มีภูมิคุ้มกันที่ดี
คือ วันเฉลิม จากทองเนื้อเก้า ทั้งๆที่เขาอยู่นสภาพแวดล้อมที่แย่
แต่เขามีภูมิคุ้มกันที่ดี จึงสามารถมีชีวิตที่ดีได้
วิทยากร
จากตำรวจ
พ.ต.ท.ยิ่งเทพ จันทรังษี รอง ผกก
ตำรวจ ปปส.
อำนาจ
ตรวจปัสสาวะ สามารถทำได้ 4 กรณี
1.
ตรวจโดย จพง.ปปส. ตาม พรบ.ปปส. 2519
2.
ตรวจโดย ฝ่ายปกครอง ตำรวจ หรือ จนท.สาธารณสุข ตาม พรบ.ยาเสพติด. พ.ศ.2522
3.
อำนาจ ตาม พรบ.จราจรทางบก พ.ศ.2522
4.
อำนาจ ตามแบบให้ความยินยอม ของเจ้าของปัสสาวะ
(
แบบตรวจหาสารเสพติด เส้นเยอะ ปล่อยไป เส้นน้อย เอาเข้าระบบ
คือ
ขึ้น 2 ขีด ผลลบ ขีดเดียว ผลบวก )
อำนาจของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
ไม่มีอำนาจการควบคุมตัวผู้ต้องหา เพราะหากสมัครใจ จะไม่ได้ดำเนินการเกี่ยวกับคดี
สารระเหย ไม่สามารถตรวจปัสสาวะพบ
สารระเหย
อันตรายกว่ายาเสพติดชนิดอื่นๆ
จนท.ตำรวจ นำส่งผลให้ศูนย์คัดกรอง (
ตำรวจได้ค่านำส่ง รายละ 100
บาท )
เด็ก สามารถเข้าสู่ ระบบสมัครใจได้ไหม
ตอบ
เด็ก สามารถเข้าสู่ ระบบสมัครใจได้ เพราะไม่มีการดำเนินคดีใดๆ
หากอายุไม่เกิน 18 ปี ให้
ญาติ หรือ นอภ. กำนัน ผญบ. ลงมือรับทราบ
วิทยากร
จากตำรวจ สาธารณสุข จาก สถาบันธัญญารักษ์
ขอนแก่น
สำหรับ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข
ทำหน้าที่ เป็น
เจ้าหน้าที่ศูนย์คัดกรอง
โดยใช้แบบคัดกรองและส่งต่อผู้ป่วยที่ใช้ยาและสารเสพติดเพื่อเข้ารับการบำบัดรักษา
กระทรวงสาธารณสุข( แบบ บคก.สธ. V2 ) โดยต้อง ถามด้วยตนเอง จำนวน 6 ข้อ
ภาคปฏิบัติ
หน่วยงานใด ยังไม่อบรม การใช้เครื่องมือ ตาม แบบ V2 ให้จัดอบรมให้กับ
บุคลากรต่อไป
ผู้ใช้
ผู้เสพ บำบัดด้วระบบสมัครใจ
ผู้ติด บำบัดด้วย
Matrix Program
เป็นต้น
แบบบันทึก
บสต. บันทึกกรณีใด
กรณี ที่ผู้บำบัดให้การบำบัดเอง
ในระบบสมัครใจทุกรณี ให้บันทึก บสต. จนครบ
กรณี บำบัดระบบค่าย
ไม่ต้องบันทึกรายงาน ระบบ บสต. มหาดไทยจะบันทึก ระบบ NISPA เอง
หาก
ผู้ป่วยรายใด เข้ารับการบำบัด เกินกว่า 5 ครั้ง
ให้ผู้บำบัดส่งให้คณะอนุกรรมการระดับจังหวัด(สำนักงานคุมประพฤติจังหวัด)
เพื่อส่งเข้าบำบัดตามระบบังคับบำบัดต่อไป