15 พฤษภาคม 2559 สิทธิ_สวัสดิการ_ข้าราชการ
วันที่ 15 พฤษภาคม 2559 วันนี้ ผม นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง
บันทึกข้อมูล ดี ดี เพื่อประกอบการ การสืบค้น เรื่อง
1)- ไม่เป็นสมาชิก กบข. ก): กรณีรับบำเหน็จ =
เงินเดือนเดือนสุดท้าย x อายุราชการ(รวมอายุราชการทวีคูณ) กรณีนี้จะได้รับเงินก้อนเดียว
สิทธิต่าง ๆ ระงับไป ยกเว้นการขอพระราชทานเพลิงศพ ข): กรณีรับบำนาญ =
เงินเดือนเดือนสุดท้าย x อายุราชการ (รวมอายุราชการทวีคูณ
เกิน 6 เดือนนับเป็น 1 ปี) หาร 50
กรณีนี้จะได้รับเงินทุกเดือนจนกว่าจะเสียชีวิต และยังมีสิทธิได้รับ
1. ค่ารักษาพยาบาลของตนเอง คู่สมรสและบิดามารดา
บุตรที่ไร้ความสามารถ ยกเว้นบุตรปกติที่อายุครบ 20 ปีบริบูรณ์
2. ค่าเล่าเรียนบุตร เบิกได้ถึงอายุ 25 ปีบริบูรณ์
3. ที่นำเสนอนั้น (บำเหน็จดำรงชีพ = เงินบำนาญ x 15 เท่า เมื่อเกษียณได้รับเลย 200,000.-฿ เมื่ออายุครบ 65
ปี ขอรับได้อีก 400,000.-฿ รวม 2 ครั้งไม่เกิน 600,000.-฿ แต่ทั้งหมดนี้ไม่เกิน 15
เท่าของเงินบำนาญ) ่่้ี่ขอเรียนว่า "การขอรับบำเหน็จเมื่ออายุ 65
ปี จะขอรับได้เพียง 200,000. ฿ เท่านั้น รวม 2
ครั้ง ไม่เกิน 400,000.-฿
รายละเอียดหาอ่านได้จาก กฎกระทรวง กำหนดอัตราและวิธีการรับบำเหน็จดำรงชีพ (ฉบับที่
๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ ซึ่งประกาศลงราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๐๐ ก ลงประกาศ เมื่อ
๑๙ กันยายน ๒๕๕๑ (ให้ข้อมูลโดยคุณ PS Kho
) 4. เงินช่วยพิเศษ (ถึงแก่กรรม) = เงินบำนาญ x 3 เท่า มอบให้กับผู้ที่ผู้รับบำนาญแสดงเจตนาหรือทายาทตามกฎหมาย 5. เงินบำเหน็จตกทอด (ถึงแก่กรรม) = เงินบำนาญ x 30 เท่า
– เงินบำเหน็จดำรงชีพที่เบิกไปแล้ว มอบให้กับทายาทตามกฎหมายหรือผู้ที่ผู้รับบำนาญแสดงเจตนา
(กรณีที่ไม่มีทายาท) และถ้าไม่มีผู้รับให้สิทธิบำเหน็จตกทอดเป็นอันยุติลง
2)- เป็นสมาชิก กบข. ก): กรณีรับบำเหน็จ = เงินเดือนเดือนสุดท้าย
(เศษเดือนเศษวันเป็นจุดทศนิยม x อายุราชการ
(รวมอายุราชการทวีคูณ) กรณีนี้จะได้รับเงินก้อนเดียว สิทธิต่าง ๆ ระงับไป
ยกเว้นการขอพระราชทานเพลิงศพ ข): กรณีรับบำนาญ = เงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย x อายุราชการ (รวมอายุราชการทวีคูณ
เป็นจุดทศนิยม) หารด้วย 50 แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกิน 70%
ของเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือน กรณีนี้จะได้รับเงินทุกเดือนจนกว่าจะเสียชีวิต
และยังมีสิทธิได้รับสิทธิต่าง ๆ เหมือนกับบำนาญปกติ สมาชิก กบข.แบบ ก.,ข. ยังได้รับเงิน 1. เงินสะสม + ผลประโยชน์
2. เงินประเดิม + ผลประโยชน์ 3. เงินชดเชย +
ผลประโยชน์ 4. เงินสมทบ + ผลประโยชน์ ส่วนผู้ที่ลาออกจาก
กบข.จะได้เงินสะสมของตนเองคืน 3)- เงินต่าง ๆ
ที่สมัครเป็นสมาชิก ก): เงินฌาปนกิจสงเคราะห์ ข): เงินผลประโยชน์จากหุ้นสหกรณ์ ค):
เงินประกันชีวิตและเงินช่วยเหลือจากสหกรณ์ กรณีผู้รับบำนาญตายผู้ที่ได้รับคือผู้ที่ผู้รับบำนาญแสดงเจตนาหรือทายาทตามกฎหมาย
หมายเหตุ ทายาทตามกฎหมายได้แก่ 1. บุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย
ได้รับคนละ 1 ส่วน 2. สามีภรรยาที่ชอบด้วยกฎหมาย
ได้รับ 1 ส่วน 3. บิดามารดาหรือบิดาหรือมารดาที่มีชีวิตอยู่
ได้รับ 1 ส่วน ): ประกาศราชการทวีคูณ
– ช่วงที่ 1 วันที่ 19 ก.ย.49
– 26 ม.ค.50 = 4 เดือน 11 วัน – ช่วงที่ 2 วันที่ 20
พ.ค.57 – 1 เม.ย.58 = 11 เดือน 7 วัน รวม 2 ช่วง = 15
เดือน 18 วัน ขอบคุณบทความดีดีจาก
@ r.angkura
อ่านต่อได้ที่: http://www.jobthaidd.com/variety-id29783.html
อ่านต่อได้ที่: http://www.jobthaidd.com/variety-id29783.html
No comments:
Post a Comment