17พค.2559ช่วยผู้ประสบภัย_พายุฤดูร้อนถล่ม_คำเขื่อนแก้ว@ยโสธร
วันที่ 17 พฤษภาคม 2559 วันนี้ มี เหตุการณ์สำคัญ คือ ภาพและข่าว การที่
ผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร นายอำเภอคำเขื่อนแก้ว สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว และ
คณะ ได้ ออกให้ความช่วยเหลือ ผู้ประสบวาตภัย
จากเหตุการณ์ พายุฤดูร้อนถล่ม_คำเขื่อนแก้ว@ยโสธร
“พายุลมฝนฟ้าคะนอง ถล่มเทศบาลลุมพุก
อำเภอคำเขื่อนแก้ว ส่งผลกระทบให้ ฉางเก็บข้าวเปือก โรงสีเอกชน บ้านเรือน พังเสียหาย
ร่วมครึ่งร้อยหลัง ” นายประมวล เจนร่วมจิต กำนันตำบลลุมพุก รายงานสถานการณ์ ใน Line กลุ่ม ชื่อ คนคำเขื่อนแก้ว
ตัวอย่าง
รายงาน ที่ นายชำนาญ มาลัย สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว รายงาน นพ.วันชัย
เหล่าเสถียรกิจ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร
สรุปผลการดำเนินงานศูนย์ช่วยเหลือเยียวยาด้านจิตใจผู้ประสบภาวะวิกฤติอำเภอคำเขื่อนแก้ว
วันที่ 16-17 พฤษภาคม 2559 ความว่า
จากเหตุการณ์พายุฤดูร้อนถล่มบ้านเรือนประชาชนในพื้นที่
ม.1 และ ม.2 ตำบลลุมพุก อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม
2559 เวลา 15.30 น. นั้น จากการสำรวจความเสียหายเบื้องต้นพบว่ามีบ้านเรือนประชาชนได้รับความเสียหายทั้งสิ้นจำนวน
107 หลังคาเรือน และโกดังเก็บข้าวจำนวน 1
หลังแบ่งเป็นความเสียหายรุนแรงจำนวน 17 หลัง ความเสียหายปานกลาง 36 หลัง
ความเสียหายเล็กน้อยจำนวน 55 หลัง มีหน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือได้แก่
ผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร
เหล่ากาชาดจังหวัดยโสธร ป้องกันภัยจังหวัดยโสธร
ป้องกันภัยอำเภอคำเขื่อนแก้ว เทศบาลตำบลคำเขื่อนแก้ว สถานีตำรวจอำเภอคำเขื่อนแก้ว
โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว ภายใต้การประสานงานของศูนย์ช่วยเหลือเยียวยาด้านจิตใจผู้ประสบภาวะวิกฤติอำเภอคำเขื่อนแก้ว
(Mcatt)โดยเมื่อวันที่ 16 พ.ค 2559
เวลา 10.00 น.ทีม Mcatt ได้ลงประเมินสถานการณ์และความเสียหายเบื้องต้น
และวันที่ 17 พ.ค 2559 เวลา 09.00-13.00 น ทีมMcatt ได้ออกช่วยเหลือเยียวยาด้านจิตใจและเสริมสร้างกำลังใจโดยมีพยาบาลสุขภาพจิต
จำนวน 15 ท่านภายใต้การนำของนายอำเภอคำเขื่อนแก้ว และสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว
นายชำนาญ มาลัย เป็นประธานและอำนวยการ
ทางทีมได้ประเมินสุขภาพจิตประชาชนที่ประสบวาตภัยจำนวนทั้งสิ้น 120 ราย โดยสรุปพบว่า
ประชาชนที่ประสบภัยส่วนใหญ่มีความเครียดระดับเล็กน้อย จำนวน 115 ราย คิดเป็นร้อยละ
95.84 ความเครียดระดับปานกลาง 2 ราย
คิดเป็นร้อยละ 1.66 ความเครียดระดับมากที่สุด 3 ราย คิดเป็นร้อยละ
2.50 ประเมินความซึมเศร้าจำนวน 120
ราย ไม่พบความซึมเศร้าจำนวน 116 ราย
คิดเป็นร้อยละ 96.66 ความซึมเศร้าระดับเล็กน้อย 3 ราย คิดเป็นร้อยละ 2.50
ความซึมเศร้าระดับปานกลาง 1 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.84
ประเมินความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย
ร้อยละ 0 มีประชาชนจำนวน 7
รายที่ได้รับการส่งต่อโรงพยาบาลเพื่อดูแลต่อเนื่อง โดยได้ให้การเสริมสร้างกำลังใจ ฝึกทักษะคลายเครียด ให้สุขภาพจิตศึกษา
และการปฏิบัติตัวเบื้องต้น
ตลอดจนแจกจ่ายชุดยาสามัญประจำบ้านแก่ครอบครัวที่ประสบเหตุ
ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่มีการปรับตัวได้ดี
สามารถปรับมุมมองต่อเหตุการณ์ในเชิงบวกได้ มีความพึงพอใจสำหรับการดูแลช่วยเหลือของทุกภาคส่วนรู้สึกมีกำลังใจที่มีเจ้าหน้าที่ลงติดตามเยี่ยมถามข่าวและให้กำลังใจ
ซึ่งทางทีมมีแผนจะได้ติดตามลงพื้นที่อีกในระยะ 2สัปดาห์ 2 เดือน และ 6 เดือน
บทเรียนที่ได้รับ
1.ทุกภาวะวิกฤติมีผลต่อสภาพจิตใจของผู้ประสบเหตุ
2.การทำงานมักมีอุปสรรคเสมอแต่ถ้ามีการเตรียมพร้อม
มีการบริหารจัดการที่ดี มีการทำงานเป็นทีม
มีความร่วมมือร่วมใจอุปสรรคจะจะผ่านพ้นไปด้วยดี
3.การเยียวยาช่วยเหลือด้านจิตใจสามารถช่วยให้ผู้ประสบเหตุผ่านพ้นวิกฤติได้
No comments:
Post a Comment