3 พฤษภาคม 2559สร้างการรับรู้ร่างรัฐธรรมนูญ ก่อนการลงประชามติ@คำเขื่อนแก้ว
ยโสธร
วันที่ 3 พฤษภาคม 2559 วันนี้ ผม นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง และคณะ
วิทยากร ครู ก. วิทยากร ครู ข. จากทุกตำบล
เข้าร่วมประชุมวิทยากร ครู ข.
สร้างการรับรู้ร่างรัฐธรรมนูญ ณ ห้องประชุม ที่ว่าการอำเภอคำเขื่อนแก้ว
ประธานการประชุม โดย นาย สมศักดิ์ บุญทำนุก
นายอำเภอคำเขื่อนแก้ว
ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ชุดวิทยากร ครู ข.
สร้างการรับรู้ร่างรัฐธรรมนูญ 14 ชุด 70
คน
วิทยากรโดย ชุดวิทยากร ครู ก.
สร้างการรับรู้ร่างรัฐธรรมนูญ 5 คน
ประกอบด้วย
นายสะอาด วงศ์รักษ์ ปลัดอำเภอ อาวุโส
นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง
ผู้ช่วยสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว
นายประเวศ แสนทวีสุข ปลัดอำเภอ
นายสุกล กิจเกียรติ์ นายก อบต.แคนน้อย
นายโสรจ สำโรง ผู้อำนวยการโรงเรียนคำเขื่อนแก้ว
วัตถุประสงค์หลัก
คือ การสร้างความเข้าใจ สร้างการรับรู้รัฐธรรมนูญ
ให้กับประชาชนเพื่อตัดสินใจก่อนลงประชามติ โดยดำเนินการพร้อมกันทั่วประเทศให้ประชาชนเข้าใจ
ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างอนาคตของชาติ
โดยทำหน้าที่คนไทยให้ชาติเกิดความสงบสุข
กำหนดวันลงประชามติ
วันที่ 7 สิงหาคม 2559
เป้าหมายการรณรงค์ให้ไปใช้สิทธิ
ร้อยละ 80 ของผู้มีสิทธิออกเสียง
ส่วนเลขานุการจัดการประชุม
โดย สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ประจำจังหวัดยโสธร ร่วมกับ
กองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย ประจำพื้นที่จังหวัดยโสธร
ทั้งนี้
ประธาน ได้เน้นให้ วิทยากร ทั้ง 14 คณะ
ให้ศึกษาและ ปฏิบัติตาม กฎหมาย ระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิเช่น พระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ
พ.ศ. 2559
ระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการออกเสียงประชามติ
พ.ศ. 2559
ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง ที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น
ข้อมูลประกอบอื่นๆ
วันที่ 29 เมษายน 2559 กกต.ประกาศหลักเกณฑ์ว่าด้วย
การแสดงความเห็นในการออกเสียงประชามติ เพื่อให้เป็นแนวทางปฎิบัติ และไม่ให้ขัดต่อ
พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ม. 61
หลักเกณฑ์ที่ทำได้ 6 ข้อ คือ
1. การแสดงความเห็นต้องไม่บิดเบือนข้อเท็จจริง หยาบคาย ไม่ก้าวร้าว ข่มขู่ และไม่ผิดกฎหมายอื่น
2. การแสดงความเห็นโดยใช้ถ้อยคำสุภาพ
3. การแสดงความเห็นด้วยข้อมูลที่ชัดเจน ไม่กำกวม อันอาจทำให้บุคคลอื่นเห็นว่าเป็นการบิดเบือนไปจากข้อเท็จจริง
4. ต้องตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลงานวิจัยรวมถึงที่มาก่อนนำมาประกอบความเห็นหรืออ้างอิงงานวิจัยตามหลักวิชาการ
5. การสัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชนเพื่อแสดงความคิดเห็นพร้อมเหตุผล
6. การโพสต์ข้อมูลพร้อมเหตุผลทางเว็บไซต์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือการแชร์ข้อความต้องไม่แสดงความเห็นเพิ่มเติม
ข้อทำไม่ได้ 8 ข้อ คือ
1. การสัมภาษณ์ผ่านสื่อด้วยข้อความอันเป็นเท็จหรือมีลักษณะก้าวร้าว รุนแรง หยาบคาย ปลุกระดม หรือข่มขู่
2. การโพสต์หรือแชร์ข้อมูล อันเป็นเท็จหรือมีลักษณะก้าวร้าว รุนแรง หยาบคาย ปลุกระดมหรือข่มขู่ในเว็บไซต์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์
3. การทำหรือส่งสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายอันมีลักษณะก้าวร้าวรุนแรงหยาบคาย ปลุกระดม หรือข่มขู่
4. การจัดเวทีสัมมนา อภิปราย โดยกลุ่มองค์กรต่างๆที่ไม่มีหน่วยงานราชการ สถาบันการศึกษา องค์กรสื่อมวลชน ตามกฏหมายเข้าร่วมและมีเจตนาเพื่อปลุกระดมทางการเมือง
5. การชักชวนให้ใส่เสื้อ หรือติดป้าย เข็มกลัด ธง ริบบิ้น หรือเครื่องหมายที่แสดงสัญลักษณ์ความเห็นอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือการขาย การแจกจ่ายสิ่งของดังกล่าว ในลักษณะรณรงค์ทั่วไปเพื่อนำไปสู่การปลุกระดมทางการเมือง
6. การใช้เอกสารใบปลิวหรือแผ่นพับ ที่มีข้อความอันเป็นเท็จหรือมีลักษณะก้าวร้าวรุนแรงหยาบคายหรือปลุกระดมทางการเมือง
7. การรายงานข่าวหรือการจัดรายการของสื่อมวลชนที่นำไปสู่การปลุกระดมหรือสร้างความวุ่นวายในสังคม
8. การรณรงค์เพื่อให้เกิดการคล้อยตามของคนในสังคม เพื่อให้ออกเสียงอย่างไรอย่างหนึ่ง มีลักษณะการปลุกระดมหรือขัดขวางการออกเสียง
หลักเกณฑ์ที่ทำได้ 6 ข้อ คือ
1. การแสดงความเห็นต้องไม่บิดเบือนข้อเท็จจริง หยาบคาย ไม่ก้าวร้าว ข่มขู่ และไม่ผิดกฎหมายอื่น
2. การแสดงความเห็นโดยใช้ถ้อยคำสุภาพ
3. การแสดงความเห็นด้วยข้อมูลที่ชัดเจน ไม่กำกวม อันอาจทำให้บุคคลอื่นเห็นว่าเป็นการบิดเบือนไปจากข้อเท็จจริง
4. ต้องตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลงานวิจัยรวมถึงที่มาก่อนนำมาประกอบความเห็นหรืออ้างอิงงานวิจัยตามหลักวิชาการ
5. การสัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชนเพื่อแสดงความคิดเห็นพร้อมเหตุผล
6. การโพสต์ข้อมูลพร้อมเหตุผลทางเว็บไซต์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือการแชร์ข้อความต้องไม่แสดงความเห็นเพิ่มเติม
ข้อทำไม่ได้ 8 ข้อ คือ
1. การสัมภาษณ์ผ่านสื่อด้วยข้อความอันเป็นเท็จหรือมีลักษณะก้าวร้าว รุนแรง หยาบคาย ปลุกระดม หรือข่มขู่
2. การโพสต์หรือแชร์ข้อมูล อันเป็นเท็จหรือมีลักษณะก้าวร้าว รุนแรง หยาบคาย ปลุกระดมหรือข่มขู่ในเว็บไซต์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์
3. การทำหรือส่งสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายอันมีลักษณะก้าวร้าวรุนแรงหยาบคาย ปลุกระดม หรือข่มขู่
4. การจัดเวทีสัมมนา อภิปราย โดยกลุ่มองค์กรต่างๆที่ไม่มีหน่วยงานราชการ สถาบันการศึกษา องค์กรสื่อมวลชน ตามกฏหมายเข้าร่วมและมีเจตนาเพื่อปลุกระดมทางการเมือง
5. การชักชวนให้ใส่เสื้อ หรือติดป้าย เข็มกลัด ธง ริบบิ้น หรือเครื่องหมายที่แสดงสัญลักษณ์ความเห็นอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือการขาย การแจกจ่ายสิ่งของดังกล่าว ในลักษณะรณรงค์ทั่วไปเพื่อนำไปสู่การปลุกระดมทางการเมือง
6. การใช้เอกสารใบปลิวหรือแผ่นพับ ที่มีข้อความอันเป็นเท็จหรือมีลักษณะก้าวร้าวรุนแรงหยาบคายหรือปลุกระดมทางการเมือง
7. การรายงานข่าวหรือการจัดรายการของสื่อมวลชนที่นำไปสู่การปลุกระดมหรือสร้างความวุ่นวายในสังคม
8. การรณรงค์เพื่อให้เกิดการคล้อยตามของคนในสังคม เพื่อให้ออกเสียงอย่างไรอย่างหนึ่ง มีลักษณะการปลุกระดมหรือขัดขวางการออกเสียง
No comments:
Post a Comment