5/22/16

18พค.2559มหาดไทย_สาธารณสุข_ระบบสุขภาพอำเภอใช้พื้นที่เป็นฐานประชาชนเป็นศูนย์กลาง

18พค.2559มหาดไทย_สาธารณสุข_ระบบสุขภาพอำเภอใช้พื้นที่เป็นฐานประชาชนเป็นศูนย์กลาง
วันที่ 18 พฤษภาคม 2559 วันนี้ มี กิจกรรม มหาดไทย_สาธารณสุข_ระบบสุขภาพอำเภอใช้พื้นที่เป็นฐานประชาชนเป็นศูนย์กลาง
ด้วยกระทรวงมหาดไทย ร่วมกับ กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ได้มีบันทึกข้อตกลง ความร่วมมือ เมื่อวันที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๕๙ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิต และสุขภาพของประชาชน ด้วยระบบสุขภาพอำเภอ นั้น
สำนักบริหารยุทธศาสตร์สุขภาพดีวิถีชีวิตไทย ได้จัดประชุม เรื่อง การพัฒนาคุณภาพชีวิตและระบบสุขภาพ โดยใช้พื้นที่เป็นฐานประชาชนเป็นศูนย์กลาง ใน วันที่ ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๕๙ ณ โรงแรม มิราเคิลแกรนด์ คอนเวนชั่น ถนนวิภาวดี กรุงเทพมหานคร โดยมีผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย ผู้แทนจาก พื้นที่ดำเนินการ ทั่วประเทศ ๗๓ อำเภอ จำนวน ๒๕๐ คน ซึ่งผู้แทนในแต่ละอำเภอประกอบด้วย นายอำเภอ ผู้อำนวยการโรงพยาบาล และ สาธารณสุขอำเภอ หรือ ผู้แทน ตามความเหมาะสม
โดยมี แนวทาง จังหวะก้าว การ จัดทัพ เคลื่อนทัพ ปรับทัพ การพัฒนาคุณภาพชีวิต และสุขภาพอำเภอตามแนวทางประชารัฐ และ แนวทางการจัดตั้ง คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิต และสุขภาพอำเภอ ( District Health Board )
ประธาน โดย นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข
กล่าวรายงานโดย นพ.ยงยศ ธรรมวุฒิ ผู้อำนวยการสำนักบริหารยุทธศาสตร์สุขภาพดีวิถีชีวิตไทย กระทรวงสาธารณสุข
รายละเอียดการประชุม ตามกำหนดการ ดังนี้
ภาคเช้า  บรรยายจุดคานงัดของการขับเคลื่อนระบบ DHB :
คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิต และระบบสุขภาพ อำเภอ: (District Health Board :DHB) ตามแนวทางประชารัฐ ”  
โดย  นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข
            คำสำคัญคือ จุด คาน งัด
งัด ใช้อะไร งัด เราจะงัด ได้ ต้องมี ไม้คาน (Lever)  ไม้คานที่ใช้ คือ ประชารัฐ ซึ่ง มาจาก เพลงชาติไทย เมื่อ ป พ.ศ. “... ประเทศไทยรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย เป็นประชารัฐ ไผทของไทยทุกส่วน อยู่ดำรงคงไว้ได้ทั้งมวล ด้วยไทยล้วนหมาย รักสามัคคี ...”  สำหรับหัวใจสำคัญ ของยุทธศาสตร์ ประชารัฐคือ การเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกคน
งัด อะไร มีไม้คานแล้ว จะใช้ไม้คาน ประชารัฐ งัด อะไร
            งัดคุณภาพชีวิต ของประชาชน คำว่าคุณภาพชีวิต คือผ่านเกณฑ์ชี้วัดเบื้องต้น ตามเกณฑ์ จปฐ.ทุกหมวด ครอบคลุมทั้งด้าน ความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ฉะนั้น เรื่อง คุณภาพชีวิต จึงไม่ใช่เรื่อง เพียงเฉพาะสุขภาพหรือ การสาธารณสุขเท่านั้น
จุดที่จะงัด ที่เหมาะสมคือจุดไหน
             จุดงัด หรือ หรือ จุดหมุน หรือ จุด Fulcrum  ที่เหมาะสมคือจุดไหน ตามทฤษฎี จุดที่เหมาะสมคือ พื้นที่ AREA แต่ พื้นที่ หรือ ท้องถิ่น มีขนาดแตกต่างกันมก ตั้งแต่ อบต. ปชก.3,000 จนถึง ปชก.10 ล้าน (กทม.)
            ฉะนั้น จุดที่เหมาะสม หรือ พื้นที่ที่เหมาะสม ของ การพัฒนาคุณภาพชีวิต และระบบสุขภาพอำเภอ คือ พื้นที่ ระดับอำเภอ ( ซึ่งมีขนาดที่แตกต่างกันมาก ตั้งแต่ ปชก.20,000 จนถึง ล้านกว่า(เขต ในกทม.)
เป้าหมายของการ งัด คืออะไร
            คือการพัฒนาคุณภาพชีวิต ซึ่งมี อยู่ในหลายระดับ ขึ้นอยู่กับบริบทในแต่ละพื้นที่ ( Context )
เช่น ในพื้นที่ที่ยากๆๆ เป้าหมาย เพียง แค่ ขยับ
ในพื้นที่ที่ ปานกลาง เป้าหมาย เป็น เขยื้อน หรือ เคลื่อน
ในพื้นที่ที่ ง่ายๆ มีความร่วมมือมาก เป้าหมาย เป็น ยก ระดับ คุณภาพชีวิต เป็นต้น
            โดย ในแต่ละพื้นที่ สามารถประยุกต์ ใช้ทฤษฎี การเปลี่ยนแปลง ต่างๆ ได้ เช่น
ทฤษฎี รอเวลา ทฤษฎี ยืมแรง ทฤษฎี ลดคอขวด ทฤษฎี ผีเสื้อกระพือปีก ทฤษฎี สร้างเงื่อนไขสุกงอม(ทฤษฎีมะม่วงสุก)  เป็นต้น





























การอภิปราย บทบาท ภาระหน้าที่และรูปธรรมการสนับสนุนของ 4 หน่วยงานหลักในการขับเคลื่อน คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตและระบบสุขภาพอ าเภอ (District Health Board: DHB)” โดย  นายสมคิด  จันทมฤก ผู้ช่วยปลัดกระทรวงมหาดไทย  นายแพทย์กิตติ  กรรภิรมย์  ผู้อำนวยการสำนักบริหารการสาธารณสุข
นายแพทย์จักรกริช โง้วศิริ   ประธานกลุ่มภารกิจสนับสนุนเครือข่ายระบบบริการ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ        นายแพทย์ชาญวิทย์  วสันต์ธนารัตน์  สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ   นายแพทย์สุวัฒน์  วิริยพงษ์สุกิจ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชินีนาถ  ณ อำเภอนาทวี ดำเนินการอภิปราย

การอภิปราย บทเรียน&ประสบการณ์พื้นที่พัฒนาคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตและระบบสุขภาพ อ าเภอ (District Health Board: DHB)  โดย  นายเอกพร  จุ้ยสำราญ  นายอำเภอแก่งคอย จ.สระบุรี       นายแพทย์สมชาย ศรีสมบัณฑิต ผู้อำนวยการโรงพยาบาลตากใบ จ.นราธิวาส
       นายแพทย์ประสิทธิ์ชัย มั่งจิตร  รองผู้อำนวยการสำนักบริหารการสาธารณสุข  ดำเนินการอภิปราย
ภาคบ่าย  ประชุมกลุ่ม 12 กลุ่มตามเขตบริการสุขภาพ แนวทางการจัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิต และระบบสุขภาพอ าเภอพร้อมนำเสนอผลการประชุมกลุ่ม
สรุปจังหวะก้าวการ จัดทัพ-เคลื่อน-ปรับทัพการพัฒนาคุณภาพชีวิตและระบบสุขภาพอำเภอ ตามแนวทางประชารัฐ โดย   นายสมคิด  จันทมฤก ผู้ช่วยปลัดกระทรวงมหาดไทย
        นายแพทย์ประสิทธิ์ชัย  มั่งจิตร  รองผู้อำนวยการสำนักบริหารการสาธารณสุข

โดยมี บทสรุปสำหรับผู้บริหำร Executive Summary  ดังนี้
ระบบสุขภาพเป็นส่วนหนึ่งของระบบสังคมและเป็นส่วนหนึ่งของระบบความมั่นคงของทุกประเทศ องค์การอนามัยโลกได้เสนอว่าระบบสุขภาพเป็นระบบความสัมพันธ์ทั้งมวลที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ โดยไม่จ ากัด เพียงระบบบริการสาธารณสุขเท่านั้น ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๕๒ระบุว่าระบบสุขภาพ จะต้องส่งเสริมคุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และให้ความส าคัญกับความเป็นธรรมและความเท่าเทียมกัน ในสังคมโดยการพัฒนาระบบสุขภาพต้องค านึงถึงปัจจัยก าหนดสุขภาพ(Determinants of Health)ที่มีความ หลากหลายทั้งจากภาวะทางสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม และอื่นๆด้วยและจะต้องให้ความส าคัญ สูงกับการสร้างเสริมสุขภาพอันน าไปสู่สุขภาวะที่ยั่งยืน และการพึ่งตนเองได้ของประชาชนบนพื้นฐานของหลัก คุณธรรมจริยธรรมมนุษยธรรมธรรมาภิบาลความรู้และปัญญา ซึ่งจ าเป็นต้องอาศัยคนจากทุกภาคส่วนเข้ามามี ส่วนร่วมในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาสุขภาพรวมทั้งต้องมุ่งไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ในปัจจุบันประเทศไทยก าลังเผชิญกับสภาวการณ์ที่มีความหลากหลาย ทั้งโครงสร้างของประชากรที่ กาลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ตลอดจนการเกิดปัจจัยภัยคุกคามสุขภาพของประชาชนจากภาวะโรคที่มีแนวโน้ม เป็นโรคไม่ติดต่อหรือโรคเรื้อรังเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น ในการพัฒนาระบบสุขภาพของประเทศไทยให้มีความ เข้มแข็งขึ้นกว่าเดิมจึงจ าเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการปฏิรูประบบสุขภาพทั้งในด้านของระบบบริการสุขภาพที่ ต้องมุ่งเน้นการให้บริการในระดับปฐมภูมิที่จะสามารถเชื่อมระหว่างชุมชนและการบริการในโรงพยาบาลได้ อย่างไร้รอยต่อ รวมถึงการมุ่งเน้นการพัฒนาระบบการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคที่เข้มแข็ง โดยมุ่ง กระจายอานาจการบริหารจัดการเพื่อให้สามารถจัดบริการสุขภาพในระดับพื้นที่เพื่อตอบสนองต่อปัญหาและ ความจ าเป็นด้านสุขภาพของประชาชนในระดับพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางการ พัฒนาประเทศตามแผนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ.๒๕๖๐ - พ.ศ.๒๕๖๔) และ นับเป็นจุดคานงัดที่สาคัญในการขับเคลื่อนให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติ กรอบความร่วมมือเพื่อสนับสนุนกำรพัฒนำคุณภำพชีวิต และสุขภำพของประชำชน ด้วยระบบ สุขภำพอ ำเภอ ตามหลักการ พื้นที่เป็นฐำน ประชำชนเป็นศูนย์กลำงซึ่งต้องการให้ทุกภาคส่วนในพื้นที่มี ส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพชีวิต และระบบสุขภาพ มุ่งเน้นให้ความส าคัญกับการส่งเสริมให้ประชาชนมีการ ดูแลสุขภาพของตนเองอย่างจริงจัง  ควบคู่ไปกับการพัฒนาระบบสุขภาพชุมชนให้เข้มแข็ง โดยการสร้างกลไก ของเครือข่ายที่ประสานการท างานร่วมกันเป็นการด าเนินงานที่ต้องการให้ทุกภาคส่วนในพื้นที่มีส่วนร่วมในการ จัดการระบบสุขภาพของตนเอง ซึ่งนับเป็นแนวทางใหม่ที่จุดมุ่งหมายอยู่ที่ประชาชน ไม่ใช่โรคภัย การท างานจึง เคลื่อนย้ายไปที่ฐานล่าง เพิ่มพลังจากพื้นที่สู่การบริหารระดับบน เพื่อตอบโจทย์บริบทของพื้นที่ที่มี ความจ าเพาะ ซับซ้อน หลากหลาย ของแต่ละพื้นที่ การขับเคลื่อนในลักษณะดังกล่าว จ าเป็นต้องใช้การ ด าเนินงาน (ทดสอบ) ผ่านพื้นที่น าร่อง (Pilot implementation) เพื่อเพิ่มความชัดเจนและพิจารณา ความสัมพันธ์กับโครงสร้างเดิมที่มีอยู่ในระบบ โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้
๑. เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน และบูรณาการร่วมกันในการพัฒนาคุณภาพชีวิต และสุขภาพของประชาชน
๒. เพื่อจัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตและระบบสุขภาพอ าเภอ (District Health Board)
๓. เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการระบบสุขภาพอ าเภอ ที่เหมาะสมกับพื้นที่
๔. เพื่อให้มีการจัดการทรัพยากร ด้านบุคลากร เทคโนโลยี สารสนเทศ องค์ความรู้  และ งบประมาณร่วมกัน
และมีการก าหนดบทบาทและหน้าที่ของแต่ละหน่วยงาน  ดังต่อไปนี้
๑. กระทรวงมหำดไทย  : มีบทบาทหน้าที่ ดังนี้
(๑) ด าเนินการให้เกิดระบบบริหารจัดการภายใต้โครงสร้าง คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตและ ระบบสุขภาพอ าเภอ (District Health Board)” อย่างเป็นรูปธรรม และมีประสิทธิภาพ เพื่อการบริหารจัดการ  การพัฒนาคุณภาพชีวิต และสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ อย่างเป็นรูปธรรม และยั่งยืน
(๒) สนับสนุนทรัพยากรต่างๆ ทั้งด้านบุคลากร องค์ความรู้  และงบประมาณรวมถึงการอ านวยความ สะดวกด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องตามความเหมาะสม เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการของ คณะกรรมการพัฒนา คุณภาพชีวิตและระบบสุขภาพอ าเภอ (District Health Board)” อย่างมีธรรมาภิบาล มีประสิทธิภาพ และ เกิดความยั่งยืน
(๓) สนับสนุนให้หน่วยงานภายใต้สังกัดกระทรวงมหาดไทย และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วม ในการจัดการระบบสุขภาพอ าเภอ และสนับสนุนทรัพยากรในการพัฒนาคุณภาพชีวิต และสุขภาพของ ประชาชนในพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผล
 (๔) สร้างความรู้ ความเข้าใจให้ข้าราชการ เจ้าหน้าที่และพนักงาน ทั้งภาครัฐและองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น ภายใต้สังกัดกระทรวงมหาดไทย ทราบถึงบทบาทและหน้าที่ของ คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิต และระบบสุขภาพอ าเภอ (District Health Board)” เพื่อให้สามารถด าเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพและ เป็นรูปธรรม
๒. กระทรวงสำธำรณสุข (หน่วยงานในสังกัด กระทรวงสาธารณสุข ได้แก่ ส านักงานสาธารณสุข จังหวัด โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป/โรงพยาบาลชุมชน/ส านักงานสาธารณสุขอ าเภอ/โรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพต าบล) : มีบทบาทหน้าที่ดังนี้
(๑) สนับสนุนและส่งเสริมระบบบริหารจัดการภายใต้โครงสร้าง คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิต และระบบสุขภาพอ าเภอ (District Health Board)” อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อการบริหารจัดการ  การพัฒนา คุณภาพชีวิต และสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ อย่างมีประสิทธิภาพ   และยั่งยืน
(๒) สนับสนุนทรัพยากรต่างๆ ทั้งด้านบุคลากร องค์ความรู้ และงบประมาณรวมถึงการอ านวยความ สะดวกด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องตามความเหมาะสม เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการของ คณะกรรมการพัฒนา คุณภาพชีวิตและระบบสุขภาพอ าเภอ (District Health Board)”อย่างมีธรรมาภิบาล มีประสิทธิภาพ และเกิด ความยั่งยืน
(๓) พัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านสุขภาพในการด าเนินงาน เพื่อสนับสนุน คณะกรรมการพัฒนา คุณภาพชีวิตและระบบสุขภาพอ าเภอ (District Health Board)” และการจัดบริการสุขภาพที่เหมาะสมและ สอดคล้องกับพื้นที่
(๔) สร้างความเข้าใจให้ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ พนักงาน ภายใต้สังกัดกระทรวงสาธารณสุข และ ประชาชนทราบถึงบทบาทและหน้าที่ของ คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตและระบบสุขภาพอ าเภอ
(District Health Board)” เพื่อให้สามารถด าเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นรูปธรรม 
๓. ส ำนักงำนหลักประกันสุขภำพแห่งชำติ (สปสช.): มีบทบาทหน้าที่ดังนี้
(๑) สนับสนุนและส่งเสริมระบบบริหารจัดการภายใต้โครงสร้าง คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิต และระบบสุขภาพอ าเภอ (District Health Board)” อย่างเป็นรูปธรรม และมีประสิทธิภาพ เพื่อการบริหาร จัดการการพัฒนาคุณภาพชีวิต และสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ อย่างเป็นรูปธรรม และยั่งยืน
(๒) สนับสนุนการพัฒนากลไกด้านการเงินการคลังสุขภาพ เพื่อสนับสนุนการด าเนินการของ คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตและระบบสุขภาพอ าเภอ (District Health Board)” อย่างเป็นรูปธรรม และมีประสิทธิภาพ 
(๓) สนับสนุน วิชาการ องค์ความรู้ และระบบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ในการด าเนินงานของ
คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตและระบบสุขภาพอ าเภอ (District Health Board)”
๔. ส ำนักงำนกองทุนสนับสนุนกำรสร้ำงเสริมสุขภำพ (สสส.) : มีบทบาทหน้าที่ ดังนี้
(๑) สนับสนุนทรัพยากร ด้านงบประมาณ วิชาการ องค์ความรู้ และระบบข้อมูลที่เกี่ยวข้องในการ ด าเนินงานของ คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตและระบบสุขภาพอ าเภอ (District Health Board)”
(๒) สนับสนุนการพัฒนาศักยภาพของ คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตและระบบสุขภาพอ าเภอ  (District Health Board)” ประชาชนและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ให้มีความรู้ ความเข้าใจ และสมรรถนะในการ จัดการปัจจัยที่ก าหนดสถานะสุขภาพทางสังคม และความแตกฉานด้านสุขภาพ (Health literacy)
(๓) สื่อสารประชาสัมพันธ์ ให้ประชาชน และเครือข่ายสุขภาพ มีความเข้าใจ และสร้างการมีส่วนร่วม ในการจัดการสุขภาพ และพัฒนาคุณภาพชีวิต การด าเนินการดังกล่าวจะน าร่องในระดับพื้นที่ โดยใช้ พื้นที่เป็นฐำนและประชำชนเป็นศูนย์กลำง
ในปีงบประมาณ ๒๕๕๙จ านวน ๗๓ อำเภอด้วยความร่วมมือของกระทรวงมหำดไทย กระทรวงสำธำรณสุข ส ำนักงำนหลักประกันสุขภำพแห่งชำติ สำนักงำนกองทุนสนับสนุนกำรสร้ำงเสริมสุขภำพ เป็นกำรท ำงำน อย่ำงมีส่วนร่วม ของรัฐ ประชำสังคม และเอกชน ตำมแนวทำงประชำรัฐ เพื่อสร้ำงเสริมควำมเข้มแข็งแก่ ระบบสุขภำพอ ำเภอนับเป็นจุดคานงัดที่ส าคัญในการขับเคลื่อนให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายของยุทธศาสตร์ ชาติโดยมีเงื่อนไขในเบื้องต้นของการด าเนินการคือ จากความสมัครใจของพื้นที่เครือข่ายสุขภาพอ าเภอที่ เข้มแข็ง มีความหลากหลายของพื้นที่ ความหลากหลายของจ านวนประชากรทั้งในเขตเมือง เขตชนบท พื้นที่ ลักษณะพิเศษ เช่น พื้นที่ชายแดน พื้นที่เกาะ พื้นที่ที่มีฐานทุนด้านสังคมและจะเป็นกรณีศึกษาหาแนวทางที่ เหมาะสมที่สุดกับการพัฒนาครอบคลุมให้ทั่วประเทศในระยะต่อไป
ข้อเสนอแนะในช่วงเริ่มต้นของกำรมีคณะกรรมกำรพัฒนำคุณภำพชีวิตและระบบสุขภำพอำเภอ (District
Health Board : DHB ) เนื่องจากการด าเนินการเพื่อแก้ปัญหาสุขภาพ พัฒนาบริการ และการด าเนินการเพื่อการพัฒนา คุณภาพชีวิตและระบบสุขภาพอ าเภอ โดยมีพื้นที่เป็นฐาน จ าเป็นต้องมีการบริหารจัดการผ่านการรับรู้สัมผัส และเข้าถึงสภาพปัญหาที่มีความซับซ้อน จากองค์ประกอบของทั้งความยากเชิงเทคนิควิชาการ (Technically complicated problems) แล ะค วาม ยากเชิงสั งคม (Socially complicated problems) ดังนั้ น องค์ประกอบของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตและระบบสุขภาพอ าเภอ (District Health Board) จะมี ความชัดเจนมากขึ้น หลังจากมีการด าเนินการน าร่องในพื้นที่จริง เป็น โจทย์ที่รอค ำตอบ......จำกพื้นที่อย่างไรก็ตามควรมี จ านวน องค์ประกอบ ที่มา และวาระของคณะกรรมการฯ ตามกรอบแนวทางและตัวอย่าง ดังนี้
ตารางที่ ๑ จำนวน องค์ประกอบ และที่มา
คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตและระบบสุขภาพอ าเภอ(District Health Board) ข้อเสนอเบื้องต้น
จ านวนของคณะกรรมการฯเพื่อครอบคลุมความเป็นตัวแทนขององค์ประกอบต่างๆ ได้ครบถ้วน และมี ความคล่องตัว โดยค่าเฉลี่ย: DHB ควรมี ๑๕ คน เพื่อครอบคลุมความเป็นตัวแทนขององค์ประกอบต่างๆ: DHB ควรมีไม่น้อยกว่า ๑๑ คน  เพื่อความคล่องตัว:DHB ควรมีไม่มากกว่า ๒๑ คน
ตัวแทนประชาชนให้ความส าคัญกับประชาชนทั่วไปในเขตพื้นที่/อ าเภอใน ความหมายของการเป็น ผู้น าโดยธรรมชาติจ านวน ๒ คน
ตัวแทนภาคประชาชนหมายถึง ตัวแทนของสมาชิกของกลุ่ม ชมรม หรือองค์กรภาค ประชาชน ที่มีอยู่ในเขตพื้นที่/อ าเภอ จ านวน ๒ คน
ตัวแทนภาคเอกชนตัวแทนของเจ้าของกิจการหรือผู้ให้บริการของโรงพยาบาล เอกชน คลินิกเอกชน ร้านขายยา หรือสถานบริการที่ให้บริการทางด้านสุขภาพที่อยู่ ในเขตพื้นที่/อ าเภอ จ านวน ๒ คน
ตัวแทนผู้ประกอบวิชาชีพทางสุขภาพที่มีสภาวิชาชีพรองรับ จากทั้งภาครัฐและ เอกชน เช่น พยาบาล เภสัชกร สาธารณสุข แพทย์ ทันตแพทย์ นักกายภาพบ าบัด นักจิตวิทยา นักเทคนิคการแพทย์ และผู้ให้บริการทางด้านการแพทย์แผนไทยฯลฯ จ านวน ๒ คน
คัดเลือกกันเองเพื่อส่งตัวแทนเข้ามาเป็นคณะกรรมการใน DHB ในที่นี้ประกอบด้วย
ตัวแทนนายก อบต./นายกเทศมนตรี/ผู้น าท้องที่ตัวแทนของผู้ที่ด ารงต าแหน่งทาง การเมือง ในองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น และผู้น าท้องที่ ที่อยู่ในเขตพื้นที่/อ าเภอ จ านวน ๒ คน
แต่งตั้งด้วยการคัดเลือกจาการสมัคร และ/หรือ แต่งตั้งจากการพิจารณาถึงความจ าเป็นในที่นี้ ประกอบด้วย
ตัวแทนภาครัฐ ในภาคส่วนของพัฒนาสังคม การศึกษา เกษตร และอื่นๆ ตามความ จ าเป็นจ านวน ๒ คน
เป็นคณะกรรมการโดยต าแหน่ง ในที่นี้ประกอบด้วย
ภาครัฐ
หัวหน้าภาคส่วนจากมหาดไทย (นายอาเภอ) หัวหน้าภาคส่วนด้านสุขภาพ (สาธารณสุขอ าเภอ ผอ.รพ.)จานวน ๒คน
วาระของการมีสถานะเป็นคณะกรรมการฯ คณะกรรมการ DHB ที่เป็นตัวแทนจากภาครัฐ รวมถึงตัวแทนจากภาครัฐที่ได้รับการแต่งตั้ง
เป็นคณะกรรมการในขณะที่อยู่ในต าแหน่ง คณะกรรมการ DHB ที่เป็นคณะกรรมการ ผ่านการสรรหาโดยคณะกรรมการสรรหา และ คัดเลือกโดยคณะกรรมการการคัดเลือก 
มีวาระของการด ารงต าแหน่ง ๔ ปี
กระบวนการคัดเลือก ประธาน และเลขานุการ 
การเลือกประธาน คัดเลือกกันเองภายใน DHB
การเลือกเลขานุการ ประกอบด้วย ๒ องค์ประกอบ
เลขานุการในภาคส่วนที่เป็นภาครัฐ   คัดเลือกจากหัวหน้าส่วนด้านสุขภาพ (โดยผ่านการพิจารณาภายใน DHB)
เลขานุการในส่วนที่เป็นภาคประชาชน (เลขานุการร่วม) คัดเลือกจากตัวแทนที่เป็นองค์ประกอบในภาคประชาชน (โดยผ่านการ พิจารณาภายใน DHB) ประกอบด้วย ตัวแทนประชาชน ตัวแทนภาคประชาชน
ตัวแทนภาคเอกชน  ตัวแทนนายกเทศมนตรี/นายก อบต./ผู้น าท้องที่  
ที่ตั้งสานักงานเลขานุการ เช่น ส านักงานสาธารณสุขอาเภอ ศูนย์บริการ สาธารณสุข กทม. โรงพยาบาล เป็นต้น
บทบำทหน้ำที่ของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตและระบบสุขภาพอ าเภอ (District Health Board) คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตและระบบสุขภาพอ าเภอ (District Health Board) จะต้องมีความ เข้าใจเกี่ยวกับประเด็นการดูแลคุณภาพชีวิตหลักๆและประเด็นด้านการจัดการระบบสุขภาพ การบริหาร จัดการองค์กรต่างๆภายในอ าเภอเป็นอย่างดี สนับสนุนให้เกิดการพัฒนานโยบายสุขภาพที่เหมาะสมและ นโยบายสาธารณะที่ค านึงถึงสุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชาชนสอดคล้องกับทิศทางและนโยบายของ ประเทศ โดยก าหนดบทบาทหน้าที่ดังนี้
๑. พิจารณาเห็นชอบแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาสุขภาพและคุณภาพชีวิตของอ าเภอ แผนการ ปฏิบัติงานพัฒนาสุขภาพและคุณภาพชีวิตประจ าปี รวมถึงงบประมาณ
๒. พิจารณาเห็นชอบรายงานความก้าวหน้าในการปฏิบัติงานพัฒนาสุขภาพและคุณภาพชีวิต ทุกไตร มาส รับทราบและเห็นชอบการจัดหาและน าทรัพยากรต่างๆจากหน่วยงานและองค์กรต่างๆภายในอ าเภอมาใช้ ร่วมกันรวมถึงการด าเนินนวัตกรรมในการใช้ทรัพยากรร่วมกันเพื่อการพัฒนาสุขภาพและคุณภาพชีวิตแก่ ประชาชนภายในอ าเภอ
๓. ติดตามและประเมินผลความก้าวหน้าของแนวทางปฏิบัติและกิจกรรมต่างๆทางด้านสุขภาพและ การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนภายในอ าเภอ
๔. สนับสนุนให้มีกลไกการประกันคุณภาพ โดยมีการติดตามทั้งภายในและภายนอกเกี่ยวกับสินทรัพย์ สถานที่ เครื่องมืออุปกรณ์ ทรัพยากรทั้งการเงินและบุคลากรในระดับอ าเภอ
๕. รับฟัง ข้อร้องเรียน ค าอุทธรณ์ ค าร้องทุกข์ จากประชาชน ชุมชน สาธารณะ และจากบุคลากรที่ เกี่ยวข้องกับการบริการสุขภาพและการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนภายในอ าเภอ
๖. สนับสนุนและส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่างๆในการพัฒนาสุขภาพและคุณภาพชีวิต ของประชาชนภายในอ าเภอโดยรวมถึงความร่วมมือระหว่างหน่วยงานและองค์กรต่างๆที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนท้องถิ่น และชุมชน 
๗. สนับสนุนและส่งเสริมกลไกต่างๆเพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาสุขภาพและ คุณภาพชีวิตของประชาชนภายในอ าเภออย่างยั่งยืน ตั้งแต่กระบวนการในการวางแผน การน าแผนไปปฏิบัติ การติดตามและการประเมินผล 
๘. สนับสนุนให้ท้องถิ่นและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการเพื่อให้เกิดการให้บริการ สุขภาพในพื้นที่ของชุมชน ที่มีคุณภาพ มีประสิทธิภาพ ประชาชนและชุมชนสามารถเข้าถึงได้อย่างเป็นธรรม และมีหลักประกันสุขภาพอย่างถ้วนหน้า โดยมุ่งเน้นการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค
๙. แต่งตั้งคณะท างานที่ประกอบด้วยสมาชิกจากภาคสาธารณสุข และอาจรวมถึงภาครัฐ ภาคเอกชน ท้องถิ่นและชุมชน ท าหน้าที่รับผิดชอบการจัดการระบบสุขภาพอ าเภอและการพัฒนาคุณภาพชีวิตของ ประชาชนภายในอ าเภอให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามนโยบาย แผนยุทธศาสตร์ และแผนปฏิบัติการประจ าปี 
๑๐. แต่งตั้งคณะท างานต่างๆของอ าเภอ เพื่อสนับสนุนให้เกิดการด าเนินงานการพัฒนาสุขภาพและ คุณภาพชีวิตของประชาชนในอ าเภอที่มีประสิทธิภาพ 

ขอบพระคุณ ภาพและข้อมูลประกอบ จาก  https://www.facebook.com/DHS.THAI/


No comments:

Post a Comment