19พค.2559คน เลือด ดี
บริจาคโลหิต ณ คำเขื่อนแก้ว@ยโสธร_สิทธิ
สวัสดิการ ผู้บริจาคโลหิตมีบ้างไหม
วันที่ 19 พฤษภาคม 2559 วันนี้ นายสมศักดิ์ บุญทำนุก นายอำเภอคำเขื่อนแก้ว
พร้อมด้วย ส่วนราชการ หัวหน้าหน่วยงาน ผูู้บริหาร อปท. พนักงานส่วนตำบล ข้าราชการและลูกจ่้างส่วนราชการ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน
ประชาชน และนักเรียน ที่มีจิตอันเป็นกุศล ร่วมบริจาคโลหิต โดยเสด็จพระราชกุศลฯ ณ
หอประชุม ๑๐๐ ปี อำเภอคำเขื่อนแก้ว โดยมี ประชาชน ผู้ มี คุณสมบัติ เป็น คน
เลือด ดี
ทั้งนี้
ฝ่ายเลขานุการ โดย นางศรีทัศนีย์ มุกดาหาร รายงานว่า มีผู้มีจิตอันเป็นกุศลมาร่วม ๒๒๙ คน
สามารถบริจาคโลหิต ได้ ๑๑๕ ถุง
“ผู้ที่ร่วมบริจาคโลหิตนี้ ถือเป็น สมาคม คนทำดี ที่มากพอสมควร หรือ ชมรม คนเลือดดี เลยก็สามารถ เรียกได้” นายสมศักดิ์ บุญทำนุก นายอำเภอคำเขื่อนแก้ว
ขออนุโมทนาบุญ
ด้วยกับทุกๆท่านครับ
หมายเหตุ ในวันนี้ ผม บริจาคโลหิต ครบ 16 ครั้ง ได้รับเข็มที่ระลึก และประกาศนียบัตร
จากสภากาชาดไทยด้วย
ทั้งนี้ในวันนี้ มี มีประชาชนต้องการทราบเพิ่มเติม
2 คำถาม
1.เข็ม และเหรียญที่ระลึก ต่างๆ รวมทั้งเข้ารับพระราชทานเข็มที่ระลึก
นั้น มีหลักเกณฑ์ว่าต้องบริจาคกี่ครั้ง แต่ละครั้งจะได้รับอะไร ?
2.สวัสดิการรักษาพยาบาลตามโรงพยาบาลต่างๆ นั้น
มีส่วนลดอะไร ค่าห้อง ค่ายา ค่าหมอ หรืออย่างไรบ้าง ?
ผม ได้คำตอบ จากสภากาชาดไทย มาตอบได้ โดยอ้างอิง
จาก ดังนี้ http://www.redcross.or.th/forum/3823
1.ได้รับเข็มที่ระลึกผู้บริจาคโลหิตครั้งที่
1, 7,16,24,36,48,60,72,84,96,108 และเหรียญ
กาชาดสมนาคุณครั้งที่ 3,2,1 เมื่อบริจาคโลหิตครบ 50,75,100
ตามลำดับ
2. ผู้บริจาคโลหิต 24 ครั้งขึ้นไป ในโรงพยาบาลสังกัดสภากาชาดไทย ได้แก่ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และโรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา ให้ความช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยสามัญ ถ้าอยู่ห้องพิเศษ ผ่าตัดคลอดบุตรให้เสียกึ่งหนึ่งของอัตราที่กำหนด
สำหรับผู้บริจาคโลหิตตั้งแต่ 18 ครั้งขึ้นไป อาศัยอำนาจจากกระทรวงสาธารณสุข ตามความในประเภท ข. ที่มีหนังสือรับรองจากสภากาชาดไทยว่าได้บริจาคโลหิตตั้งแต่ 18 ครั้งขึ้นไป ได้รับการช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาล และถ้าอยู่ห้องพิเศษ ได้รับความช่วยเหลือค่าห้องและค่าอาหารเพียงร้อยละ 50 ของอัตราที่กำหนดไว้
สำหรับผู้บริจาคโลหิตตั้งแต่ 7 ครั้งขึ้นไป อาศัยอำนาจจากกระทรวงสาธารณสุข ตามความในประเภท ค. ที่มีหนังสือรับรองจากสภากาชาดไทยว่าได้บริจาคโลหิตตั้งแต่ 7 ครั้งขึ้นไป ได้รับการช่วยเหลือเฉพาะค่าห้องพิเศษและค่าอาหารพิเศษไม่เกินสิทธิอันพึงเบิกได้จากหน่วยงานต้นสังกัดก่อน ส่วนที่เกินสิทธิให้เรียกเก็บเพียงร้อยละ 50 สำหรับผู้ไม่มีสิทธิ ได้รับความช่วยเหลือเพียงร้อยละ 50 ของอัตราที่กำหนดไว้
2. ผู้บริจาคโลหิต 24 ครั้งขึ้นไป ในโรงพยาบาลสังกัดสภากาชาดไทย ได้แก่ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และโรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา ให้ความช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยสามัญ ถ้าอยู่ห้องพิเศษ ผ่าตัดคลอดบุตรให้เสียกึ่งหนึ่งของอัตราที่กำหนด
สำหรับผู้บริจาคโลหิตตั้งแต่ 18 ครั้งขึ้นไป อาศัยอำนาจจากกระทรวงสาธารณสุข ตามความในประเภท ข. ที่มีหนังสือรับรองจากสภากาชาดไทยว่าได้บริจาคโลหิตตั้งแต่ 18 ครั้งขึ้นไป ได้รับการช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาล และถ้าอยู่ห้องพิเศษ ได้รับความช่วยเหลือค่าห้องและค่าอาหารเพียงร้อยละ 50 ของอัตราที่กำหนดไว้
สำหรับผู้บริจาคโลหิตตั้งแต่ 7 ครั้งขึ้นไป อาศัยอำนาจจากกระทรวงสาธารณสุข ตามความในประเภท ค. ที่มีหนังสือรับรองจากสภากาชาดไทยว่าได้บริจาคโลหิตตั้งแต่ 7 ครั้งขึ้นไป ได้รับการช่วยเหลือเฉพาะค่าห้องพิเศษและค่าอาหารพิเศษไม่เกินสิทธิอันพึงเบิกได้จากหน่วยงานต้นสังกัดก่อน ส่วนที่เกินสิทธิให้เรียกเก็บเพียงร้อยละ 50 สำหรับผู้ไม่มีสิทธิ ได้รับความช่วยเหลือเพียงร้อยละ 50 ของอัตราที่กำหนดไว้
สิทธินี้จะใช้ได้เฉพาะผู้ที่ไม่มีสิทธิอย่างอื่น
เช่น ประกันสังคม หรือข้าราชการ
และจะใช้ได้เฉพาะผู้ป่วยใน เมื่อได้ห้องเข้าพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลแล้ว ให้ญาตินำบัตรผู้บริจาคโลหิต
มาขอใบรับรองผู้บริจาคโลหิตได้ที่ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ถนนอังรีดูนังต์ หรือที่เหล่ากาชาดจังหวัดนั้นๆ เพื่อนำไปลดหย่อนการรักษาพยาบาลเป็นครั้งๆไป สอบถามเพิ่มเติม โทร. 0 2263 9600 ต่อ 1813
3. ข้อมูลเรื่องสิทธิสำหรับผู้บริจาคโลหิต ไม่ได้เผยแพร่ตามสื่อทั่วไป เพราะนโยบายหลักของการบริการโลหิต คือจะเน้นเรื่องการบริจาคโลหิตโดยไม่หวังสิ่งตอบแทน อย่างไรก็ตาม หากผู้บริจาคโลหิตได้รับความเดือดร้อน สภากาชาดไทย จะเป็นที่พึ่งให้และไม่ทอดทิ้ง
และจะใช้ได้เฉพาะผู้ป่วยใน เมื่อได้ห้องเข้าพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลแล้ว ให้ญาตินำบัตรผู้บริจาคโลหิต
มาขอใบรับรองผู้บริจาคโลหิตได้ที่ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ถนนอังรีดูนังต์ หรือที่เหล่ากาชาดจังหวัดนั้นๆ เพื่อนำไปลดหย่อนการรักษาพยาบาลเป็นครั้งๆไป สอบถามเพิ่มเติม โทร. 0 2263 9600 ต่อ 1813
3. ข้อมูลเรื่องสิทธิสำหรับผู้บริจาคโลหิต ไม่ได้เผยแพร่ตามสื่อทั่วไป เพราะนโยบายหลักของการบริการโลหิต คือจะเน้นเรื่องการบริจาคโลหิตโดยไม่หวังสิ่งตอบแทน อย่างไรก็ตาม หากผู้บริจาคโลหิตได้รับความเดือดร้อน สภากาชาดไทย จะเป็นที่พึ่งให้และไม่ทอดทิ้ง
No comments:
Post a Comment