วันที่ 18 ธันวาคม 2554 งานฉลองมณฑปครอบรอยพระพุทธบาท และยกยอดฉัตร มณฑปครอบรอยพระพุทธบาท
เวลา 06.29 น. นายสุวัฒน์ เข็มเพชร นายอำเภอมหาชนะชัย และคณะ ได้เตรียมความพร้อม ทั้งรถ เครน และอุปกรณ์ ที่เกี่ยวข้อง สำหรับ การยกยอดฉัตร มณฑปครอบรอยพระพุทธบาท ตามที่ พระวินัยสุนทรเมธี (หลวงพ่อเจ้าคุณบัลลังก์ ฉินฺนะอันโธ) เจ้าอาวาสวัดพระพุทธบาทยโสธร และทีมงานได้วางแผนเอาไว้
เวลา 07.09 น. เริ่ม ยก ยอดฉัตร ประธานสงฆ์โดย พระธรรมคุณาภรณ์ (พิมพ์ ญาณวีโร) เจ้าอาวาสวัดปทุมคงคา เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร ประธานในงาน โดย พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ รองนายกรัฐมนตรี
แขกผู้มีเกียรติ และพุทธศานิกชน เข้าร่วมงานอย่างคับคั่งโดย อาทิ เช่น ท่านประวัติ ถีถะแก้ว รองผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร ท่าน ส.ส. บุญแก้ว สมวงศ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดยโสธร เขต 2 นายชำนาญ ชื่นตา นายอำเภอค้อวัง เป็นต้น และ พิธียก ยอดฉัตร มณฑปครอบรอยพระพุทธบาท แล้วเสร็จเวลา เวลา 07.19 น.
หลังจากลาสิกขา จากการถือศีล 8 แล้ว ผู้เข้าร่วมงานได้ร่วมกันทำบุญตักบาตร ทั้งนี้ ได้รับ เมตตาจาก พระธรรมคุณาภรณ์ (พิมพ์ ญาณวีโร) เจ้าอาวาสวัดปทุมคงคา เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร นำคณะสงฆ์ออกรับบิณฑบาตจากพุทธศานิกชน ซึ่ง มีพุทธศานิกชน ร่วมงานจำนวนมาก
ทั้งนี้ วัดพระพุทธบาทยโสธร ตั้งอยู่ใน ตำบลหัวเมือง อำเภอมหาชัยชนะ เป็นที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำหลักจากหิน ทราย พระพุทธรูปศิลาแลงปางนาคปรก หินทราย หน้าตักกว้างประมาณ 1 ศอก และ ศิลาจารึกหินทรายสูง 1 เมตร กว้าง 50 เซนติเมตร ซึ่งอักษรที่จารึกลบเลือนจนไม่ สามารถอ่านได้ มีบันทึกไว้ว่าพระมหาอุตตปัญญาและสิทธิวิหาริก (ผู้ศรัทธาหรือลูกศิษย์) นำมาจากกรุง ศรีอยุธยาเมื่อ พ.ศ.1378
ธรรมเนียมการบูชารอยพระพุทธบาทนั้น เป็นธรรมเนียมความเชื่อที่มีมาตั้งแต่โบราณ กาล เมื่อครั้งยังไม่มีการสร้างรูปเคารพแทนพระองค์พระพุทธเจ้าก็จะใช้การสร้างพระพุทธบาทเป็นเครื่องหมายของการประสูติและการเสด็จจาริกไปในการแสดงธรรม มีตำนานเล่าว่าพระพุทธองค์ทรงประทับรอยพระบาทไว้ 5 แห่ง โดยเฉพาะริมฝั่งน้ำและบนยอดเขา ดังนั้นเมื่อประชาชนจำลองรอยพระพุทธบาทมาไว้ในที่ต่างๆจึงนิยมประดิษฐานไว้ใกล้ฝั่งน้ำ หรือยอดเขา
พระอุโบสถของวัดพระพุทธบาทสโสธร มีความงดงามตามแบบศิลปะประยุกต์ ซึ่งเน้น ความเรียบง่ายของสถาปัตยกรรม โดยเฉพาะการทาสีของอาคารส่วนใหญ่ในวัดด้วยสีขาวล้วน ซึ่งเมื่อสะท้อนกับแสงแดดในเวลาต่างๆจะให้อารมณ์ความรู้สึกที่แตกต่างกันไป ภายในประดิษฐานพระประธานที่สร้างจากหยกขาวขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
โดยพื้นที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทเป็นเนินทรายขาวสูงงอกขึ้นกลางพื้นที่ลุ่มแม่น้ำชีนับเป็นโบราณสถานอันล้ำค่าของจังหวัด นอกจากนี้ในบริเวณเดียวกันยังพบพระพุทธรูป ศิลาแลงปางนาคปรกหินทราย (หน้าตักกว้างประมาณ 1 ศอก)และศิลาจารึกหินทราย (สูง 1 เมตรกว้าง 50 เซนติเมตร) ข้อความบนศิลาจารึกที่เป็นอักขระขอมผสมบาลีนั้น มี สภาพลบเลือนจนไม่สามารถอ่านได้อย่างสมบูรณ์ แต่พอจะถอดความได้ว่าโบราณวัตถุทั้ง 3 นี้ พระมหาอุตตปัญญาและสิทธิวิหาริก (ผู้ศรัทธาหรือลูกศิษย์) นำมาจากกรุงศรีอยุธยา เมื่อพ.ศ.1378
เสนาสนะ ที่สำคัญภายในวัดเจดีย์ 8 เหลี่ยมทรงระฆังคว่ำสร้างขึ้นเพื่อถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสที่พระองค์ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี
ในวันนี้ รอยพระพุทธบาท ได้ถูกยกขึ้นไปไว้บนชั้นที่ 2 ของ มณฑป ที่สวยงาม มูลค่าการก่อสร้าง เฉพาะตัวมณฑป 10 ล้านบาท
ขออานิสงส์ แห่งการทำบุญครั้งนี้ จงบังเกิดมีแก่ทุกๆท่านเทอญ
หมายเหตุ เล่าสืบทอดกันมานานว่า หากท่านมีโอกาสไปสักการะรอยพระพุทธบาท ณ วัดแห่งนี้ แล้ว ลงมา ลอด อุโมงค์ต้นพอกใหญ่ ต้นนี้ ไปตีระฆัง ที่อยู่ใต้ต้นลีลาวดี ลอดอุโมงค์แล้วไปตีระฆัง ให้ครบ 3 รอบ จะบังเกิดสิ่งดีๆแก่ชีวิตครับ
No comments:
Post a Comment