วันที่ 20 มิถุนายน 2555 :
คู่Buddy CUPเพื่อนซี้ การพัฒนาเครือข่ายสุขภาพ:ขุนหาญ คำเขื่อนแก้ว
วันนี้ผม นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง นายวิทยา เพชรรัตน์ สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุกแห่ง
หัวหน้ากลุ่มงาน ร่วมต้อนรับ นายเลียงผาธรรม สาธารณสุขอำเภอขุนหาญ ประธาน คป.สอ.
ขุนหาญ พญ. รัชฎาพร รุญเจริญ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลขุนหาญ และทีมงาน เครือข่ายกัลยาณมิตรที่ดี(Buddy Partnership)ของเรา จาก อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ ในกิจกรรมการพัฒนาเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอ
District Health System Appreciation: DHSA) ณ ห้องประชุม
ม่านเมฆา สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว
ประสบการณ์ที่มีค่าที่พวกเราได้รับจาก
คู่Buddy
หรือเสี่ยวในการพัฒนาของเรา หลายประการ เช่น
โครงการรถเมล์สายสุขภาพ
อำเภอขุนหาญ เป็นตัวอย่างที่ดี ของ บริการไร้รอยต่อ ถือเป็นระบบส่งต่อเพื่อชุมชน ซึ่งเป็นความร่วมมือ ที่เป็นเอกภาพ (Unity district health team) ของบุคลากรในโรงพยาบาลขุนหาญ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอขุนหาญ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล(
รพ.สต.) 22 แห่ง ในเขต อำเภอขุนหาญ และเครือข่าย องค์กรในชุมชน มีการจัดการทรัพยากรภายในเครือข่ายอำเภอ อย่างเหมาะสม
ขอบพระคุณ
นางมนัชยา กองทำ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล แคนน้อย ที่ร่วม
แลกเปลี่ยนประสบการณ์ เรื่อง การสร้างตน สร้างคน สร้างครอบครัว สร้างชุมชน
สร้างสังคม ที่ดี โดย เยาวชน ผู้จะสานต่อการพัฒนาประเทศต่อไป ในการนำเสนอ กิจกรรม
ชมรม TO
BE NUMBER ONE ในชุมชนดีเด่นระดับประเทศ ให้กับทีมขุนหาญได้รับทราบ
กิจกรรมในพื้นที่ นายอรุณ
ฉายแสง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โพนทัน นำคณะ ดูงานโครงสร้างอาคาร ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
โพนทัน
นายขจรเกียรติ อุปยโสธร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
ดงแคนใหญ่ นำคณะ เยี่ยมชม พื้นที่ ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
ดงแคนใหญ่
นางมนัชยา กองทำ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
แคนน้อย นำคณะ เยี่ยมชม พื้นที่ และให้กำลังใจ
ณ ชมรม TO
BE NUMBER ONE ในชุมชน ต้นแบบ ระดับประเทศ ณ ที่ทำการชมรม TO
BE NUMBER ONE แคนน้อย
จากนั้นแวะเยี่ยมชม
ส้วมมาตรฐาน HAS
ดีเด่นระดับประเทศ ณ ปตท.คำเขื่อนแก้ว
จบด้วยการจ่ายตลาด พื้นบ้าน จับจ่าย
อุดหนุนชาวบ้าน ผลิตภัณฑ์ ปลอดสารพิษ ที่ประทับใจ ณ
ตลาดหน้าที่ว่าการอำเภอคำเขื่อนแก้ว
“เรื่องที่ยากที่สุดในการทำงานของเรา คือ เรื่องเยาวชน ขุนหาญเรา
คิดว่าจะยอมแล้ว ในเรื่องเยาวชน วันนี้ มาได้รับ ประสบการณ์และแนวคิดที่ดีมากๆ จาก
นางมนัชยา กองทำ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล แคนน้อย แล้ว พวกเราจะไม่ยอม ไม่ยอม ต้องไปพัฒนาคนของเรา
ไม่ให้ความสามารถของเราตายไป และจะต้องทำให้ได้ก่อนที่เราจะตาย ” นายเลียงผาธรรม สาธารณสุขอำเภอขุนหาญ กล่าวชื่นชม
ขอบพระคุณ ทีมงานคุณภาพจาก CUP คปสอ.ขุนหาญ
จังหวัดศรีสะเกษทุกท่าน อาทิ
นางศยามล
คุโรปการนันท์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลขุนหาญ
นางสาวธิราภรณ์
อุ่นแก้ว พยาบาลวิชาชีพชานาญการ โรงพยาบาลขุนหาญ
นายทะนงเพชร
ปราบเสียง ผู้ช่วยสาธารณสุขอำเภอขุนหาญ
นายวิชัย
อุ่นแก้ว ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพราน อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ
นางวิไลลักษณ์
เดชาสุข ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหลักหิน อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ
นางสาวศรันญา
วราพุฒ พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโพธิ์กระสังข์
อำเภอขุนหาญ
นางมะลิวรรณ
รักษาศรี พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกราน
อำเภอขุนหาญ
นายจำรัส สิงห์แจ่ม เจ้าพนักงานเภสัช โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพราน
อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ เป็นต้น
ทั้งนี้ พญ. รัชฎาพร รุญเจริญ
ผู้อำนวยการโรงพยาบาลขุนหาญ ได้ กล่าวว่า โครงการพัฒนาเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอ District
Health System Appreciation: DHSA)นั้น
เป้าหมายหลัก คือ การทำงานร่วมกันของ
ประชาชนและชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้ และไม่ทอดทิ้งกัน โดยมีเครือข่ายบริการปฐมภูมิที่มีคุณภาพ และได้รับความไว้วางใจจากประชาชน
วัตถุประสงค์หลักคือ
ประชาชนทุกกลุ่มสามารถเข้าถึงบริการที่จำเป็น (Essential service) และมีคุณภาพ
ประชาชนและเครือข่ายสุขภาพมีความร่วมมือในการจัดการปัญหาสุขภาพของตนเอง
สร้างการทำงานที่เป็นเอกภาพ
(Unity
district health team) ระหว่างโรงพยาบาล สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล(
รพ.สต.) และชุมชน
มีการจัดการทรัพยากรภายในเครือข่ายอำเภอ อย่างเหมาะสม
เพื่อประเมินและเชิดชูบริการปฐมภูมิ
(Accreditation,
Appreciation)
ทั้งนี้เพื่อเป็นการแก้ปัญหาจากระบบริการของเรา
เช่น
ประชาชนบางกลุ่มยังขาดการเข้าถึงบริการที่จำเป็น
และมีคุณภาพ
ประชาชนยังต้องพึ่งพิงการให้บริการสาธารณสุขในโรคที่สามารถดูแลด้วยตนเองได้
ประชาชนและเครือข่ายสุขภาพยังขาดการร่วมมือในการแก้ปัญหาสุขภาพอย่างจริงจัง
ความไม่เป็นเอกภาพและการจัดการทรัพยากรของเครือข่ายบริการสุขภาพระดับอำเภอ
ภาระงานที่เพิ่มมากขึ้น
จากจำนวนตัวชี้วัดที่ไม่บูรณาการ ไม่ตรงตามบริบท และจากการพัฒนาคุณภาพแบบแยกส่วน
ไม่มีระบบการแพทย์ใดที่สมบูรณ์แบบและสามารถตอบสนองความต้องการของคนไข้และญาติได้ทุกคน
แต่ระบบการแพทย์ที่ใกล้เคียงภาพฝันที่สุดก็คือ
เข้าถึงง่ายและมีประสิทธิภาพสำหรับคนหมู่มาก ในราคาที่ไม่แพงเกินไป
ระบบบริการปฐมภูมิ (Primary Health Care)
หมายถึง ระบบที่ให้บริการสุขภาพในระดับที่เป็นด่านแรกของระบบบริการสาธารณสุขของประเทศ
(First Line Health Care Services) ทำหน้าที่รับผิดชอบดูแลสุขภาพของประชาชนอย่างต่อเนื่องร่วมกับประชาชน
โดยมีเป้าหมายและแนวคิดหลัก 1A4C ได้แก่ หรือ ACCCC :ซึ่ง
A:Accessibility
(การเข้าถึงบริการ),
C:Continuity
(การให้บริการอย่างต่อเนื่อง),
C:Comprehensiveness
(การให้บริการแบบเบ็ดเสร็จ) ,
C:Coordination
(การประสานงาน) ,
C:Community
participation (ชุมชนมีส่วนร่วม)
วันนนี้ เป็นการเน้นย้ำอีกครั้งระหว่าง
นายวิทยา เพชรรัตน์
สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว นายเลียงผาธรรม
สาธารณสุขอำเภอขุนหาญ และ พญ. พญ. รัชฎาพร รุญเจริญ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลขุนหาญ
ให้คำมั่นว่า ที่จะร่วมพัฒนา ระบบบริการปฐมภูมิให้มีประสิทธิภาพ ควบคุ่กันไป ต่อไป
No comments:
Post a Comment