วันที่ 27 กรกฎาคม 2555: ยโสธร: อบรม อสม. เชี่ยวชาญงานยาเสพติด 2555
วันนี้
ผม นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง เดินทางไปพร้อมกับ นางสนิท สัสสี พยาบาลวิชาชีพ
ชำนาญการ
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดงแคนใหญ่ นายอาณัติ ศรีเธาว์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ทุ่งมน
เข้าร่วม การอบรม อาสาสมัครสาธารณสุขเชี่ยวชาญงานยาเสพติด ณ
โรงแรม เจพี เอมเมอรัลด์
ประธานการอบรม
โดย นายแพทย์ สุใหญ่ หลิ่มโตประเสริฐ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร
พร้อมบรรยายพิเศษ เรื่อง
นโยบายยาเสพติดของรัฐบาล กับ Roadmap และ แผนปฏิบัติการ
โดยกำหนดให้ การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด เป็นวาระแห่งชาติ
อำนวยการอบรม
ด้วยดี และกล่าวรายงาน โดย ภก.องอาจ แสนศรี รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร ( นักวิชาการสาธารณสุขเชี่ยวชาญ
ด้านส่งเสริมพัฒนา)
ทั้งนี้
มี อสม . หมู่บ้าน ละ 1
คน เข้ารับการอบรม จำนวน 887 คน โดยมี
เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงาน จาก สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
โรงพยาบาลชุมชน ร่วมเป็นวิทยากร
ทั้งนี้ เป็นกิจกรรมตามโครงการบูรณาการแก้ไขปัญหายาเสพติดตามยุทธศาสตร์พลังแผ่นดิน
เอาชนะยาเสพติด จังหวัดยโสธร ประจำปี 2555 ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลัก
ให้ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม .)ผู้ผ่านการอบรม
มีทักษะ
ในการเยี่ยมติดตามดูแลผู้ติดยาเสพติด ที่ผ่านการบำบัดครบตามโปรแกรม การบำบัดรักษาของกระทรวง
สาธารณสุข ต่อไป
สรุป วัตถุประสงค์
บทบาท ของ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม .)
กับการติดตามดูแลช่วยเหลือผู้ผ่านการบำบัด
คือ 1. เพื่อทราบผลของการบำบัด
ฟื้นฟู และ พัฒนา
2. ป้องกันการกลับไปใช้ยาเสพติดซ้ำ
โดยให้คำปรึกษา ช่วยเหลือ และให้กำลังใจ ต่อเนื่อง อย่างน้อย 1 ปี
3. เพื่อรายงานผลการดำเนินงาน
บำบัด ฟื้นฟู และ พัฒนา
โดยมีเครื่องมือ
ในการปฏิบัติงานคือ แบบรายงานเบื้องต้นการใช้สารเสพติดในหมู่บ้าน และ แบบคัดกรองและส่งต่อผู้ป่วยที่ใช้สารเสพติดเพื่อรับการบำบัดรักษา
ใครคือผู้เสพ ใครคือผู้ติด ผู้ติดยาเสพติดรุนแรงคือใคร
ทั้งนี้ อสม.
ทุกคนทำความเข้าใจร่วมกันว่า ผู้เสพ
ผู้ติด ผู้ติดยาเสพติดรุนแรง คือใคร โดยมีเกณฑ์การคัดกรองดังนี้
ผู้เสพยาเสพติด หมายถึง ผู้ใช้สารเสพติด เป็นครั้งคราว
ไม่ต่อเนื่อง ร่วมกับ ข้อใดข้อหนึ่ง ต่อไปนี้ อย่างน้อย 1 ข้อ
() พฤติกรรมเริ่มเปลี่ยน
แต่ยังคงสามารถดำรงชีวิตได้ตามปกติ
() ใช้แล้วมีปัญหา แต่ยังคงใช้ยา
() หยุดยาแล้ว ไม่มีอาการถอนยา / อยากยา
ผู้ติดยาเสพติด หมายถึง ผู้ใช้สารเสพติด เป็นประจำ
และต่อเนื่อง เป็นเวลา อย่างน้อย 6 เดือน ร่วมกับ ข้อใดข้อหนึ่ง
ต่อไปนี้ อย่างน้อย 1 ข้อ
() พฤติกรรมการดำรงชีวิตผิดปกติ ไม่สามารถปฏิบัติภารกิจต่างๆได้ และมีผลกระทบต่อตนเองและบุคคลอื่น
() มีการเพิ่มปริมาณการใช้ยาเสพติด
() หยุดยาแล้ว มีอาการถอนยา / อยากยา
ผู้ติดยาเสพติดรุนแรง หมายถึง ผู้ติดยาเสพติด เป็นประจำ
และต่อเนื่อง เป็นเวลา 3
ปี ไม่สามารถเกเสพได้ ร่วมกับ ข้อใดข้อหนึ่ง ต่อไปนี้ อย่างน้อย 1
ข้อ
() เคยรักษา บำบัดด้วยยา มากกว่า 3 ครั้ง
ใน 1 ปี หรือบำบัด ด้วยยาและบำบัด ฟื้นฟูรวมกัน เกินกว่า 3
ครั้ง
() ไม่ตั้งใจ หรือ ไม่ต้องการ เลิกยาเสพติด
อย่างจริงจัง
() เคยถูกจับหรืออยู่ระหว่างการดำเนินคดี
เกี่ยวกับ ยาเสพติด มากกว่า 3 ครั้ง
ซึ่งการบำบัด
ผู้เสพ ผู้ติด ผู้ติดยาเสพติดรุนแรง นั้นแบ่งหน้าที่กันดังนี้
ผู้เสพยาเสพติด
สามารถรับการบำบัดในชุมชน และในสถานพยาบาลระดับปฐมภูมิ
ผู้ติด บำบัดในสถานพยาบาล โรงพยาบาล
ผู้ติดยาเสพติดรุนแรง บำบัดในสถานพยาบาลเฉพาะด้านในสังกัดกรมการแพทย์
ขอบพระคุณและประทับใจ ทีมงาน อสม .จาก
อำเภอคำเขื่อนแก้ว หลายอย่าง อาทิเช่น
ประทับใจ
อสม .จาก อำเภอคำเขื่อนแก้ว พร้อมใจกันเดินทางลงทะเบียนเข้าร่วมการอบรม
ตรงตามกำหนดเวลา และ ครบถ้วน ทั้ง 115 คน ก่อนอำเภออื่นๆ
มาตรงเวลา
นั่งแถวหน้า เสน่ห์ล้ำค่า ของคำเขื่อนแก้ว
ประทับใจ ทีมงานคำเขื่อนแก้ว
ของเรา มาถึงเป็นอำเภอแรก และนั่งประชุม แถวหน้า อย่างพร้อมเพรียงกัน
อสม.ตำบลแรกที่มาลงทะเบียนคือ
อสม .จาก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล สงเปือย และ ต้องประทขอบพระคุณ อสม .ที่มีจิตอาสาที่ดี ทำหน้าที่อำนวยความสะดวกให้กับ
เพื่อนๆ ผู้เข้ารับการอบรม ด้วยดี โดย อสม . ปราณี ศรีลา และ อสม. สุนัย สมบัติราช อสม .จาก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล สงเปือย
ตำบลสงเปือย
ประทับใจ และ ขอบพระคุณ
ด.ต.เกรียงไกร บุญบรรจง จาก สถานีตำรวจภูธรเลิงนกทา ที่บรรยายเรื่อง
การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
และความสำคัญของสถาบันพระมหากษัตริย์ ให้แก่ผู้เข้าร่วมประชุม ได้อย่างดีมาก
สถานการณ์ปัจจุบัน
ของประเทศไทย คือ มี ความแตกต่าง (ความคิดเห็น/
ผลประโยชน์) นำไปสู่ ความขัดแย้ง (แข่งขัน / แย่งชิง) นำไปสู่ความแตกแยก (ความรุนแรง
- การต่อสู้) ปัจจุบันเราอยู่ที่นี่ อนาคต เรามี 2 แนวทาง
แนวทางที่ 1 ก้าวสู่ ประเทศประชาธิปไตย ที่พัฒนาก้าวหน้า
อย่าง (ญี่ปุ่น, อังกฤษ,สหรัฐอเมริกา) โดย
ธำรง สถาบันหลักของชาติเอาไว้
แนวทางที่ 2 ประเทศแบ่งแยก – ล่มสลาย (อดีตสหภาพโซเวียต ,ยูโกสลาเวีย , ซูดาน)
สถาบันพระมหากษัตริย์ เป็นศูนย์กลางยึดโยงความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันอื่น ๆ ในชาติ เป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชน
ให้ดำรงความผูกพันกันเป็นประเทศที่มีเอกภาพอยู่ได้ แม้มีความแตกต่างและขัดแย้ง (Unity
In Diversity)
คนต่างชาติมาเที่ยวแล้วตัดสินใจปักหลักยู่ตลอดชีวิต
เช่น นายมาร์ติน วีลเลอร์
ชาวอังกฤษ ตระหนักว่า ประเทศไทยมีของดี 3 อย่าง คือ
1. แผ่นดินที่อุดมสมบูรณ์ 2. พุทธศาสนา 3. พระมหากษัตริย์ ที่ประเสริฐที่สุดในโลก
ประทับใจ และ ขอบพระคุณ
นายศุภเกียรติ บุญทศ ผู้ช่วยสาธารณสุขอำเภอมหาชนะชัย ที่ให้ความรู้ ได้อย่างดี
ในหัวข้อง เรื่อง แนวทางการแก้ไขปัญหายาเสพติด โดย แนวทางการดำเนินงานตาม
กระบวนการ ของกองทุนแม่ของแผ่นดิน 10
ขั้นตอน
กองทุนแม่ของแผ่นดิน
"ทุนตั้งต้นแห่งความดี"
10 ขั้นตอนกองทุนแม่ของแผ่นดิน
1.
ทำความเข้าใจโครงการทุกครัวเรือน - การทบทวนความเข้าใจกับทุกครัวเรือนในหมู่บ้านที่ได้รับกองุทนแม่ของแผ่นดิน
2.
รับสมัครคณะกรรมการกองทุนแม่ของแผ่น - การจัดตั้งคณะกรรมการกองทุนแม่ของแผ่นดินขึ้นมาใหม่
โดยยึดหลักสมัครใจ และทุกคนที่เป็นกรรมการต้องมีบทบาทอย่างชัดเจน
3.
รับสมัครครัวเรือนสมาชิกเข้าร่วมโครงการฯ - การจัดตั้งสมาชิกโครงการด้วยความสมัครใจ
รับสมัครได้ทุกเดือน
4.
จัดตั้งกฏชุมชนเข้มแข็ง - เป็นกฏกติกาที่เกิดจากชุมชน
5.
ให้ความรู้ความเข้าใจเรื่องยาเสพติด - สมาชิกจะต้องมีความเข้าใจเรื่องปัญหาและเนวทางการแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างแท้จริง
และเชื่อมั่นว่าชุมชนสามารถมีศักยภาพในการแก้ไขปัญหายาเสพติดได้ด้วยพลังของชุมชนเอง
ตามแนวทางสันติวิธีิ
6.
จัดตั้งกองทุนแก้ไขปัญหายาเสพติด - เป็นกองทุนแห่งความสามัคคี
ให้ความเข้าให้ความเข้าใจปรัชญา แนวคิด เรื่องกองทุุนแห่งศรัทธา ทุนแห่งปัญญา
และความสำคัญของเงินพระราชทาน ซึ่งเป็นทุนศักดิ์สิทธิ์
รวมทั้งการใช้จ่ายเงินกองทุนอย่างมีคุณภาพ
7.
ประชาคมคัดแยกด้วยสันติวิธี - เป็นการให้ประชาคมเป็นผู้บอกว่าใครเป็นปัญหาของชุมชนบ้าง
ที่ชุมชนจะต้องช่วยกันแก้ไข ทั้งผู้เสพ-ผู้ค้า หรืออยู่ในข่ายต้องสงสัย
เพื่อจะได้ดำเนินการด้วยวิธีการของชุมชนเข้มแข็ง
8.
จัดกิจกรรมร่วมกันของสมาชิก (อย่างต่อเนื่อง) - เมื่อได้กลุ่มเป้าหมายในการแก้ไขปัญหาของชุมชนแล้ว
ชุมชนก็จะร่วมกันทำกิจกรรมในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดต่อกลุ่มเป้าหมายเป็นอันดับแรก
แลต่อกลุ่มเสี่ยงเป็นลำดับที่สอง โดยให้มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
ซึ่งจะมีการใช้จ่ายเงินกองทุนในการนี้เป็นสำคัญ
9.
รับรองครัวเรือนปลอดภัย - เป็นการจัดการประชุมคณะกรรมการกองทุนแม่ของแผ่นดิน
เพื่อให้ความเห็นในการรับรองครัวเรือนที่ปลอดภัยจากยาเสพติดเดือนละ 1 ครั้ง
10.
รักษาสถานะของชุมชนเข็มแข็ง - เป็นการติดตั้งระบบชุมชนเข้มแข็งแก้ไขปัญหายาเสพติดให้ชุมชนเข้มแข็งและสามารถควบคุมสถานการณ์ยาเสพติดของชุมชนได้ตลอดไปด้วยชุมชนเอง
โดยเป็นการที่สมาชิกยอมให้คณะกรรมการพิจารณาลงความเห็นต่อครัวเรือนที่เคยผ่านการรับรองแล้วว่า
หากปล่อยให้คนในครัวเรือนไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดหรืออยู่ในข่ายสงสัยอีก
จะยอมให้ยกเลิก รับรอง และปลดสัญลักษณ์คืนให้กับคณะกรรมการ
ซึ่งจะมีการพิจารณาทุกเดือน
ประทับใจ และ ขอบพระคุณทีมงานเลขานุการการอบรมด้วยดี
โดย นางนิภาภรณ์ ภาคพรหม หัวหน้ากลุ่มงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร นางสิริพร พงษ์พัฒนโชติ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร นางพิสมัย
รัตนเดช นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร คุณ นพพร
รากวงศ์ นักวิชาการสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร และ นายปิยะพงษ์
สมโคตร เจ้าพนักงานปกครอง จาก ที่ทำการปกครองจังหวัดยโสธร และ คณะ
ขอบพระคุณ
นางสาวจิราภรณ์ ขอสุข พยาบาลวิชาชีพ
ชำนาญการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลย่อ ที่รวบรวมรายชื่อ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม
.)ผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 115 คน
No comments:
Post a Comment