12 กย.2557: แถลงนยาย11ด้าน_รัฐบาลประยุทธ 1จริงใจ จริงจัง และยั่งยืน
นายกฯประยุทธ์ นำคณะรัฐมนตรี
แถลงนโยบายต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เผยนำยุทธศาสตร์การพัฒนา ว่าด้วยความเข้าใจ
เข้าถึง และพัฒนา ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พร้อมใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง แผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ฉบับที่ 11
และความต้องการของประชาชน มาร่วมอยู่ในนโยบายทั้ง 11 ด้าน
วันที่ 12
กันยายน 2557 มีการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ครั้งที่ 8/2557
โดยมีวาระเร่งด่วนคณะรัฐมนตรี แถลงนโยบายต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ นำโดย
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี (ครม.) มี นายพรเพชร
วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เป็นประธานการประชุม มีสมาชิกลงชื่อเข้าประชุม
185 คน จาก 192 คน
พล.อ.ประยุทธ์
จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวว่าการเข้ามาบริหารราชการแผ่นดินครั้งนี้
ได้เข้ามาสืบทอดงานและสานต่อภารกิจจากที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)
เคยกำหนดแนวทางการแก้ปัญหาประเทศไว้ 3 ระยะ ตั้งแต่เข้ามาควบคุมอำนาจการปกครองบประเทศเมื่อวันที่
22 พ.ค. 2557
ระยะแรกได้ได้มุ่งระงับยับยั้งความแตกแยก
ยุติการใช้กำลัง อาวุธสงครามก่อความรุนแรง
แก้ไขผลกระทบจากการที่รัฐบาลและรัฐสภาที่ก่อนหน้านั้นอยู่ในสภาพที่ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ตามปกติกว่า
6 เดือน ตลอดจนเร่งแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนเฉพาะหน้า มุ่งสร้างความสุข
ความสงบคืนสู่ประเทศ ซึ่งทำได้สำเร็จมาแล้วในระดับหนึ่ง หลังจากนั้นอีก 2
เดือนก็เข้าสู่ ระยะที่ 2
ระยะที่ 2 ว่าด้วยการประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราว
จัดตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เสนอร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2558
ต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หลังจากนั้น คสช. ได้ลดบทบาท
และภารกิจลงมาอยู่ในระดับการเป็นที่ปรึกษาและทำงานร่วมกับ ครม.
ในการพิจารณาหรือแก้ไขปัญหาอันเกี่ยวข้องกับความสงบเรียบร้อยหรือความมั่นคงของชาติ
ส่วนที่จะตามมาในเร็วๆ นี้ คือ
การจัดตั้งสภาปฏิรูปแห่งชาติ และคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ
เพื่อวางรากฐานทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม
อันมั่นคงแก่ประเทศก่อนจะเข้าสู่ระยะที่ 3 คือ
ระยะที่ 3
การใช้รัฐธรรมนูญฉบับถาวร และการจัดการเลือกตั้งทั่วไป
เงื่อนไขดังกล่าวนี้เป็นพันธกิจที่รัฐบาลจะยังคงยึดมั่นและดำเนินการต่อไป
พล.อ.ประยุทธ์
จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า
รัฐบาลชุดนี้ไม่ได้จัดขึ้นจากพรรคการเมือง
จึงไม่มีนโยบายของพรรคที่จะใช้หาเสียงหรือวังคะแนนประชานิยมมาเป็นฐานทางการเมือง
ทุกท่านจึงไม่ต้องวิตกว่าจะนำประเทศไปผูกพันจนเสียวินัยการคลัง
หรือเกิดภาระในอนาคต และด้วยความที่มีความเป็นเอกภาพทางนโยบาย
จึงไม่ต้องวิตกว่าการทำงานในแต่ละกระทรวงจะไม่บูรณาการสอดคล้องหรือพายเรือคนละที
สิ่งเหล่านี้น่าจะเป็นพลังอำนาจเกื้อหนุนให้รัฐบาลทำงานยากในเวลาอันสั้นได้อย่างราบรื่น
ในการบริหารราชการแผ่นดิน
รัฐบาลมีนโยบายต่างๆ 11 ด้าน โดยได้นำยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศว่าด้วย
ความเข้าใจ เข้าถึง
และพัฒนาตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นสำคัญ
ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งทรงเน้นความพอดี พอสมพอสมแก่ฐานะ ความมีเหตุมีผล
และการมีภูมิคุ้มกันมาเป็นแนวคิด ใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11
แนวทางของ คสช. และความต้องการของประชาชนที่แสดงออกมาโดยตลอด
ซึ่งน่าจะชัดเจนขึ้นในช่วงเวลาแห่งการออกแบบการปฎิรูปประเทศ
เป็นแนวทางการกำหนดนโยบาย คำนึงถึงปัญหาของประเทศ คำนึงถึงเงื่อนเวลา
คำนึงถึงความท้าทายที่รออยู่ข้างหน้า
ได้แก่การที่ประเทศต้องเร่งฟื้นฟูจากความบอบช้ำทางเศรษฐกิจ ความหวาดระแวงทางสังคม
จนกลายเป็นความขัดแย้งทางการเมือง การทุจริตประพฤติมิชอบในภาครัฐ
จนกลายเป็นสิ่งที่ผู้คนอิดหนาระอาใจและเข้ดขยาด
และการเคลื่อนเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ที่ต้องมีความพร้อม
ไม่ถูกใครอื่นมองว่าเราเป็นตัวปัญหาของประชาคม ข้อสำคัญนโยบายทุกด้าน ต้องสร้างความเข้มแข็งแด่องค์กรปกครองทุกระดับ
ตั้งแต่ท้องถิ่นถึงประเทศ ต้องการเสนอยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ยั่งยืน
ครอบคลุมปัญหาทั้งระยะเฉพาะหน้าที่ต้องทำทันที
ระยะกลางที่ต้องทำต่อไปหรือต้องรอการบังคับใช้กฎหมาย และระยะยาว
แม้จะไม่เห็นผลในระยะอันใกล้ แต่รัฐบาลนี้ต้องการวางรากฐานเพื่อให้รัฐบาลข้างหน้าเข้ามารับช่วงได้อย่างต่อเนื่อง
ประการสำคัญ ต้องการให้ประชาชนเกิดความชัดเจน
รู้ล่วงหน้าว่าประเทศของเราจะก้าวไปทางไหน
นโยบาย 11 ด้านของรัฐบาล
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี
ทั้งนี้ คำแถลงดังกล่าว
โดยมีทั้งหมด 23หน้า
เนื้อหาครอบคลุมนโยบาย 11 ด้านของรัฐบาล ประกอบด้วย
1. การปกป้องและเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์
2. การรักษาความมั่นคงของรัฐและการต่างประเทศ
3. การลดความเหลื่อมล้ำของสังคม และการสร้างโอกาสการเข้าถึงบริการของรัฐ
2. การรักษาความมั่นคงของรัฐและการต่างประเทศ
3. การลดความเหลื่อมล้ำของสังคม และการสร้างโอกาสการเข้าถึงบริการของรัฐ
4. การศึกษาและเรียนรู้
การทะนุบำรุงศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม
5. การยกระดับคุณภาพบริการด้านสาธารณสุข และสุขภาพประชาชน
6. การเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ
7. การส่งเสริมบทบาทและการใช้โอกาสในประชาคมอาเซียน
8. การพัฒนาและส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนา และนวัตกรม
9. การรักษาความมั่นคงของฐานทรัพยากร และการสร้างสมดุลระหว่างการอนุรักษ์กับการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน
5. การยกระดับคุณภาพบริการด้านสาธารณสุข และสุขภาพประชาชน
6. การเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ
7. การส่งเสริมบทบาทและการใช้โอกาสในประชาคมอาเซียน
8. การพัฒนาและส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนา และนวัตกรม
9. การรักษาความมั่นคงของฐานทรัพยากร และการสร้างสมดุลระหว่างการอนุรักษ์กับการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน
10. การส่งเสริมการบริหารราชการแผ่นดินที่มีธรรมาภิบาลและการป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาครัฐ
และ11. การปรับปรุงกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม
ด้านที่ 5 การยกระดับคุณภาพบริการด้านสาธารณสุขและสุขภาพของประชาชนและ11. การปรับปรุงกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม
5.1 วางรากฐานให้ระบบหลักประกันสุขภาพให้มีความครอบคลุมประชากรในทุกภาคส่วนอย่างมีคุณภาพโดยไม่มีความเหลื่อมล้ำของคุณภาพบริการในแต่ละระบบ และบูรณาการข้อมูลระหว่างทุกระบบหลักประกันสุขภาพ
5.2 พัฒนาระบบบริหารสุขภาพ โดยเน้นการป้องกันโรคมากกว่ารอให้ป่วยแล้วจึงมารักษา สร้างกลไกจัดการสุขภาพในระดับเขตแทนการกระจุกตัวอยู่ที่ส่วนกลาง ปรับระบบการจ้างงาน การกระจายบุคลากรและทรัพยากรสาธารณสุขให้เหมาะสมกับท้องถิ่น
5.3 ประสานการทำงานระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ ในสังคม เพื่อป้องกันและแก้ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น และปัญหาด้านการแพทย์และจริยธรรมของการอุ้มบุญ การปลูกถ่ายอวัยวะและสเต็มเซลล์ โดยจัดให้มีมาตรการและกฎหมายที่รัดกุม
No comments:
Post a Comment