11 มีค 2559คำเขื่อนแก้ว_หนึ่งเดียวในประเทศไทยในDHS National Forum
วันที่ 11 มีนาคม 2559
พญ.ประนอม คำเที่ยง รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธาน
การมอบเกียรติบัตรชื่นชม เครือข่ายสุขภาพอำเภอ District Health system:DHS ระดับประเทศ ณ
ณ ศูนย์การประชุม IMPACT Forum เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี ภายใต้แนวคิดหลัก “ Enjoy Quality Every Moment”(คุณภาพทุกลมหายใจ)
โดยมี เครือข่ายสุขภาพอำเภอ จากทั่วประเทศ เข้ารับเกียรติบัตร จำนวน 60
อำเภอ
“วันนี้ ถือเป็น วันแห่งความชื่นชมกับการเติบโตอย่างมีคุณค่า
ของ เครือข่ายสุขภาพอำเภอ
ที่ได้ร่วมกันพัฒนาระบบสุขภาพ ภายใต้แนวคิด พื้นที่เป็นฐาน ประชาชน เป็นศูนย์กลาง และ
ที่สำคัญ ในวันนี้ มี ท่านนายอำเภอคำเขื่อนแก้ว ลงทะเบียนเข้ารับ เกียรติบัตรชื่นชม
เครือข่ายสุขภาพอำเภอ ด้วยตนเอง ถือเป็น หนึ่ง เดียว ในประเทศไทย ที่เป็นตัวอย่างที่ดี
ที่ประธาน DHS ให้ความสำคัญและให้เกียรติเข้าร่วมงานในครั้งนี้”
พญ.ประนอม คำเที่ยง
รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข
โดยผม นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง ไปพร้อมกับ นายชำนาญ มาลัย สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว และคณะ
จาก เครือข่ายสุขภาพอำเภอคำเขื่อนแก้ว จำนวน ๑๒ คน เข้าร่วม ประชุมวิชาการ DHS
& HA National Forum ครั้งที่ ๑๗ ณ ศูนย์การประชุม IMPACT
Forum เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี ภายใต้แนวคิดหลัก “ Enjoy Quality Every Moment”(คุณภาพทุกลมหายใจ) และกระทรวงสาธารณสุขพิจารณาเห็นว่า
เครือข่ายสุขภาพอำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร
มีการพัฒนาเพื่อดูแลสุขภาพประชาชนอย่างต่อเนื่อง กระทรวงสาธารณสุขจึงได้มอบเกียรติบัตรชื่นชม
เครือข่ายสุขภาพอำเภอ ในเวทีการประชุมครั้งนี้ด้วย
ผลงานเด่น ของ เครือข่ายสุขภาพอำเภอ District Health system:DHS คำเขื่อนแก้ว
อำเภอคำเขื่อนแก้ว
ขับเคลื่อนการพัฒนา ระบบสุขภาพอำเภอ แบบมีส่วนร่วม
โดยใช้ 555 กระบวนการ 5 5 5 เพื่อขับเคลื่อนวาระสุขภาพ 5 ดี และงานตามนโยบายของรัฐบาล
กระบวนการ
๕ ๕ ๕ ได้แก่ การแต่งตั้งคณะกรรมการ จาก 5
เครือข่ายหลัก คือ ส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน ครู ผู้นำศาสนา สาธารณสุข พร้อมสร้างและใช้กระบวนการให้
5 เครือข่าย มีส่วนร่วม
ในการทำงานร่วมกัน ภายใต้หลัก ๕ ร่วม คือ
ร่วมคิดและวางแผน ร่วมดำเนินการตามแผนที่กำหนด ร่วมประเมินผล ร่วมรับผลประโยชน์
และร่วมพัฒนาให้มีความยั่งยืน
ทั้งนี้การดำเนินงานของ
๕ เครือข่าย มีการดำเนินงานภายใต้ 5
คุณลักษณะ คือ
๑)
มีคณะกรรมการ ที่มีโครงสร้างและบทบาท ที่ชัดเจน
ในทุกระดับ
๒)
มีระบบข้อมูลข่าวสาร โรคและภัยสุขภาพ ในเชิงระบาดวิทยา
ที่สามารถใช้ในการวางแผนได้
๓)
มีการจัดทำแผนปฏิบัติการ ปฏิทินการทำงาน
๔)
มีการระดมทรัพยากร จากเครือข่ายในชุมชน และ
๕)
มีการมุ่งผลลัพธ์การดำเนินงานร่วมกัน
โดย ทั้ง 5 เครือข่าย ใช้หลัก 5 ร่วม
ดำเนินงาน ตาม กระบวนการ 5 ขั้นตอน เพื่อขับเคลื่อน
วาระสุขภาพอำเภอ 5 ด้าน หรือ วาระ 5 ดี ได้แก่ ดูแลกันและกันดี สะอาดดี แม่และเด็กสุขภาพดี
วัยเรียน วัยรุ่น พฤติกรรมดี และดูแลสุขภาพตนเองดี ทั้งนี้ มีเป้าหมายร่วมกัน
เพื่อให้คนคำเขื่อนแก้ว
สามารถพึ่งตนเองได้ เป็นผู้ที่มีสุขภาพดี
และมีความสุข ต่อไป
No comments:
Post a Comment