4พย.2559ยโสธรได้_แผนยุทธศาสตร์สาธารณสุข ปี 2560
วันที่4 พฤศจิกายน 2559 ผมนายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง ไปพร้อมกับ นายชำนาญ มาลัย สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว
และคณะ เข้าร่วมกิจกรรม ตามโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการ การจัดทำแผนยุทธศาสตร์สาธารณสุขและแผนปฏิบัติราชการประจำปี
ปีงบประมาณ 2560 จังหวัดยโสธร ซึ่งจัดขึ้น
ในวันที่ 2-4 พฤศจิกายน
2559
ณ ห้องบุษราคัม
โรงแรม เจพี.เอ็มเมอรัลด์ จังหวัดยโสธร
นพ.บัญชา สรรพโส
นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร มอบหมายให้ผู้เข้าร่วมประชุม
ภายใต้คำแนะนำจาก ดร.ณัฐวัฒน์
นิปกากร และคณะร่วมกันตกผลึกความคิด จนสามารถสรุป (ร่าง)
แผนยุทธศาสตร์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร
พ.ศ. 2560–2564 ได้ดังนี้
แผนยุทธศาสตร์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร
พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๔
วิสัยทัศน์
(Vision) การพัฒนางานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร
“เป็นองค์กรชั้นนำด้านการจัดการระบบสุขภาพ
โดยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน
เพื่อประชาชนสุขภาพดี
เจ้าหน้าที่มีความสุข”
ค่านิยม
M: (Mastery) เป็นนายตนเอง
O: (Originality) เริ่มสร้างสิ่งใหม่
P: (People centered
approach) ใส่ใจประชาชน
H: (Humility) ถ่อมตนอ่อนน้อม
พันธกิจ
(Mission) การพัฒนางานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร
พัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนชาวยโสธรทุกกลุ่มวัย
โดยการส่งเสริมสุขภาพ
การป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ
การลดปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพ
และบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม
อย่างมีประสิทธิภาพ
พัฒนาระบบบริการสุขภาพให้มีคุณภาพตามมาตรฐาน
พัฒนาบุคลากรให้มีสมรรถนะ
ความเชี่ยวชาญ และมีความสุขในการปฏิบัติงาน
พัฒนาระบบบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพตามหลักธรรมมาภิบาล
สร้างเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคีเครือข่ายในการพัฒนาระบบสุขภาพ
เป้าหมาย
( Ultimate Goal )
ประชาชนสุขภาพดี
เจ้าหน้าที่มีความสุข ระบบสุขภาพยั่งยืน
เป้าประสงค์หลัก(Goal)
การพัฒนางานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร
ประชาชนชาวยโสธรทุกกลุ่มวัยมีคุณภาพชีวิตที่ดี ด้วยการส่งเสริมสุขภาพ
การป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ
การลดปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพ และบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมมีประสิทธิภาพ
ระบบบริการสุขภาพมีคุณภาพตามมาตรฐาน
บุคลากรให้สมรรถนะ
ความเชี่ยวชาญ และมีความสุขในการปฏิบัติงาน
ระบบบริหารจัดการมีประสิทธิภาพตามหลักธรรมมาภิบาล
ประชาชนและภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบสุขภาพ
ประเด็นยุทธศาสตร์
(Strategy) การพัฒนางานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร
การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนทุกกลุ่มวัย
การพัฒนาระบบบริการสุขภาพ
การพัฒนาสมรรถนะ
และคุณภาพชีวิตบุคลากร
การพัฒนาระบบบริหารจัดการ
การสร้างเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
หมายเหตุ หลักการเขียนประเด็นยุทธศาสตร์ (Strategy) ที่ง่ายและสั้นที่สุดคือ เขียนจาก เป้าประสงค์หลัก(Goal)
แล้วนำคำกริยาที่เหมาะสม
มาเติมด้านหน้า เป้าประสงค์หลัก
ค่านิยมร่วม สำคัญอย่างไร
ทำไมจึงต้องมี ค่านิยมร่วม Core Values
ที่ใช้ร่วมกัน
จะเห็นได้ว่า ตั้งแต่ แผนทุกระดับ
ตั้งแต่กิจกรรมรวมกันเป็นชุดกิจกรรม ประกอบกันเป็น โครงการ
หลายๆโครงการรวมกันเป็นแผนงาน ไประดับ ยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์หลัก พันธกิจ หรือ
จนถึง วิสัยทัศน์นั้น
จะเป็นความจริงไม่ได้เลย
หากไม่มี คน เป็นคนทำ ฉะนั้น เมื่อคน เป็นคนทำ หลายๆอย่าง หลายๆดับ ต่างกรม
ต่างกอง กัน แต่มีเป้าหมายหลักร่วมกัน ฉะนั้นจึง จำเป็นต้อง มีค่านิยมร่วม Core Values ที่ใช้ร่วมกัน
ซึ่ง ค่านิยมร่วมกระทรวงสาธารณสุข
Core
Values ใช้ MOPH
“Mastery” มีวินัย ใฝ่เรียนรู้
“Originality” ผู้สร้าง ทางสดใส
“People” จัดวาง ไว้กลางใจ
“Humility” น้อมให้ ได้ถ่อมตน
My
Short Note
ที่มาสำคัญ
ในการจัดทำแผนงานทุกระดับคือ ตัว I 2 ตัว คือ
Information และ Inspiration หรืออาจจะกล่าวได้ว่า Information for Inspiration หรือ
Inspiration from Information ก็ได้
หากมี Information ที่ดี และมี Inspiration ที่ดี จะทำให้ ฝันเป็นจริงได้ ( งานบรรลุผล)
เมื่อได้ วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์หลัก
ประเด็นยุทธศาสตร์แล้ว
สอบทานกับ วิสันทัศน์กระทรวง
นโยบายการพัฒนา แผนชาติ 20
ปี และ นโยบายจังหวัด
ให้มั่นใจได้ว่าไม่มีประเด็นใดที่หลุดไป
จากนั้น นำ Balance Score Card 4
มุมมอง มาวิเคราะห์ เพื่อให้มีความมั่นใจได้ว่า
ไม่มีมุมมองใดที่หลุดไป ทั้งมุมมองด้านการเงิน และมุมมอง ที่ไม่ใช่ด้านการเงิน
ที่เรียกว่า
แผนที่ยุทธศาสตร์ (Strategy Map)
ภายใต้คำถาม ที่ว่า
เพื่อให้บรรลุตามวิสัยทัศน์ บรรลุตามเป้าประสงค์หลัก องค์กรจะต้องทำอะไรบ้าง
โดยให้เอามุมมองด้านประสิทธิผล
อยู่ด้านบนสุด ถัดลงมาคือ มุมมุมด้านคุณภาพ มุมมุมด้านประสิทธิภาพ
และ
มีมุมมุมด้านการพัฒนาองค์กร(Learning and Growth) เป็นมุมมองที่อยู่ล่างสุด
(หลายสำนักเรียกมุมมองมุมนี้
ว่า ฐานราก เช่น SRM)
จากภาพแผนที่ยุทธศาสตร์ (Strategy
Map) จะเห็นได้ว่า ทั้ง 4 มุมมอง
มีความสัมพันธ์กันในเชิงเหตุ ผล ต้นเหตุ (ต้นลูกศร จะอยู่ด้านล่าง ส่งผลไปยัง
ปลายลูกศร ซึ่งจะอยู่ด้านบน หรือ อย่างน้อย ในระดับเดียวกัน
เส้นปะ ที่แบ่ง แต่ละมุมมอง
แสดงถึงว่า สามารถส่งผลถึงกันได้ ผ่านทะลุได้ ฉะนั้นจึงไม่เขียนเส้นทึบ
หากแต่ละกล่อง
ส่งผลไปยังหลายกล่อง จะต้องเขียนหลายเส้น ผลที่ได้คือจะมั่ว หรือระโยงรยางค์ไปมา
สาธารณสุขจังหวัดยโสธร
ใช้ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นหลักการจัดลำดับความสำคัญของปัญหา
การจัดลำดับความสำคัญของปัญหาโดยประยุกต์ใช้หลักของการจัดลำดับ
ความสำคัญของปัญหา
ของ คณะ สาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเป็นวิธีที่นิยมใช้กันมาก เนื่องจากมี
องค์ประกอบที่สามารถตัดสินใจได้ง่าย
คำนวณออกมาเป็นคะแนน ไม่มีความสลับซับซ้อนแต่ละองค์ประกอบให้
คะแนนจาก 1 - 5 รวมคะแนนที่ได้ทั้งหมด
แล้วนามาเรียงลาดับจากคะแนนที่ได้สูงสุดลงมา โดยมีองค์ประกอบ
4 อย่างดังนี้
1) ขนาดของปัญหา
2) ความรุนแรงของปัญหา
3) ความยากง่ายของการแก้ปัญหา
4) การมีส่วนร่วมของประชาชน
พบว่า ปัญหาสุขภาพของจังหวัดยโสธร
เมื่อเรียงตามคะแนนรวมโดยใช้วิธีคูณ ซึ่งเป็นวิธีที่ทาให้เห็น
ปัญหาได้กว้างและชัดเจนมากกว่าวิธีบวก (บุญชัย
ภาละกาล, 2557)
No comments:
Post a Comment