27 กพ2560 คำเขื่อนแก้วประชุม
DHS ใช้ 555 ขับเคลื่อนระบบสุขภาพอำเภอ
วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2560
ภาคเช้า ผมนายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง พร้อมด้วย นายชำนาญ มาลัย
สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว และคณะ จัดการประชุม และต้อนรับ อำนวยความสะดวก
การประชุม คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตและระบบสุขภาพระดับอำเภอ(District
Health Board: DHB) ณ ห้องประชุม
สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว โดยมี คณะกรรมการระบบสุขภาพ ระดับตำบล (Tambon
Health Board: THB) จากทุกตำบลเข้าร่วมประชุม อย่างพร้อมเพรียงกัน
ประธานการประชุม โดย นายสมศักดิ์
บุญทำนุก นายอำเภอคำเขื่อนแก้ว
มีคณะกรรมการ
และ คณะกรรมการระบบสุขภาพ ระดับตำบล (Tambon Health Board: THB)
จากทุกตำบลเข้าร่วมประชุม อย่างพร้อมเพรียงกัน
นายสมศักดิ์ บุญทำนุก
นายอำเภอคำเขื่อนแก้ว ประธาน DHB คำเขื่อนแก้ว
มอบหมายให้
นายชำนาญ มาลัย สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว
นำเสนอผลการดำเนินงานร่วมกันในปีที่ผ่านมา
ตามที่ อำเภอคำเขื่อนแก้ว ได้ร่วมกันขับเคลื่อน วาระสุขภาพ 5 ดี ทั้ง
5 ด้าน ด้วยกระบวนการ 555 นั้น
สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว
ได้นำเสนอผลการดำเนินวาระสุขภาพ 5 ดี ทั้ง 5 ด้าน
ตามเอกสารและไฟล์การนำเสนอ ต่อที่ประชุม ประกอบด้วย
1.ดูแลตนเองดี
(เน้นการป้องกันและควบคุมโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง)
2. สะอาดดี
(เน้นสะอาดปราศจากลูกน้ำยุงลายในครัวเรือน)
3. วัยเรียนวัยรุ่นพฤติกรรมสุขภาพดี (เน้นลดการตั้งครรภ์ไม่พร้อม/การตั้งครรภ์ซ้ำในวัยรุ่น)
4. แม่และเด็กสุขภาพดี
(เน้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือนและเด็กมีพัฒนาการสมวัย)
5. ดูแลกันและกันดี
(เน้นพัฒนาคุณภาพศูนย์ดูแลต่อเนื่องผู้สูงอายุติดเตียง,ผู้พิการต้องการความช่วยเหลือเร่งด่วน,ผู้ป่วยประคับประคองระยะสุดท้าย)
มติที่ประชุม รับทราบและเห็นควรให้
ใช้กระบวนการ 555
ขับเคลื่อนวาระสุขภาพอำเภอ 5 ดี ต่อไป
เรื่องที่
2
การขับเคลื่อนวาระสุขภาพอำเภอ เรื่อง การดูแลกันและกันดี
นายสมศักดิ์ บุญทำนุก
นายอำเภอคำเขื่อนแก้ว ประธาน DHB คำเขื่อนแก้ว มอบหมายให้
นายชำนาญ มาลัย
สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว นำเสนอ แนวทางการดำเนินงาน
รวมถึงการบริหารจัดการ
ตำบล Long
Term Care : LTC ในพื้นที่
โดยมอบหมายให้คณะกรรมการระบบสุขภาพ
ระดับตำบล (Tambon Health Board: THB) จากทุกตำบลร่วมกันสนับสนุนการปฏิบัติงาน
ให้มีประสิทธิภาพตามแนวทางที่กำหนดต่อไป โดยมี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุกแห่ง
และ โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว เป็นส่วนเลขานุการการประสานงาน
มติที่ประชุม
รับทราบ
หมายเหตุ บันทึกเพิ่มเติม
การดูแลสุขภาพที่บ้าน (Home Health care) เป็นการจัดบริการดูแลสำหรับผู้ป่วยที่ได้รับการส่งกลับไปดูแลต่อที่บ้าน โดยการทำงานร่วมกันของผู้ดูแลผู้ป่วย
(Care Giver CG) และทีมหมอครอบครัว (FCT) หรือทีมสหวิชาชีพของโรงพยาบาลโดยกลไกชองระบบจัดการสุขภาพอำเภอ (District
Health System: DHS)
การบริการผู้ป่วยในที่บ้าน
(Home ward) เป็นการจัดบริการสำหรับผู้ป่วยที่ได้รับการส่งกลับไปดูแลต่อที่บ้าน
โดยจัดให้เตียงผู้ป่วยที่บ้านเสมือนเตียงผู้ป่วยของโรงพยาบาล มีการวางแผน
ติดตามและประเมินผลการดูแล
และให้บริการรักษาเหมือนแผนกผู้ป่วยในของโรงพยาบาลโดยทีมหมอครอบครัวหรือทีมสหวิชาชีพของโรงพยาบาล
มีระบบสารสนเทศที่เชื่อมโยงกับโรงพยาบาลเหมือนเป็นผู้ป่วยคนหนึ่งที่อยู่ในโรงพยาบาลโดยการทำงานร่วมกันของผู้ดูแลผู้ป่วย
(Care Giver) และทีมหมอครอบครัว (FCT) หรือทีมสหวิชาชีพของโรงพยาบาลโดยกลไกชองระบบจัดการสุขภาพอำเภอ
(District Health System: DHS)
ตามแผนการดูแล Care Plan : CP ของผู้จัดการดูแลสุขภาพ Care Manager CMที่รับผิดชอบ
การบริการผู้ป่วยในระยะฟื้นฟู (Subacute care) เป็นการจัดบริการที่มีการส่งต่อผู้ป่วยที่รักษาจนปลอดภัยแล้วในโรงพยาบาลระดับ
A-M เพื่อไปรับการฟื้นฟูสภาพต่อที่โรงพยาบาลชุมชน (Subacute
refer) โดยการทำงานร่วมกันของผู้ดูแลผู้ป่วย (Care Giver) และทีมฟื้นฟูสภาพ (Rehabilitation Team: RT)
รวมถึงทีมหมอครอบครัว (FCT) หรือทีมสหวิชาชีพของโรงพยาบาลโดยกลไกชองระบบจัดการสุขภาพอำเภอ
(DHS)
ตามแผนการดูแล Care Plan : CP ของผู้จัดการดูแลสุขภาพ Care Manager CMที่รับผิดชอบ
No comments:
Post a Comment