11/29/22

23 พ.ย.65 อำเภอยิ้ม ณ บ้านหนองแคน ตำบลบุงค้า อ.เลิงนกทา

23 พ.ย.65 อำเภอยิ้ม ณ บ้านหนองแคน ตำบลบุงค้า อ.เลิงนกทา

 

วันที่ 23 พฤศจิกายน 2565 นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง สาธารณสุขอำเภอเลิงนกทา นายครรชิต จักรสาร ผอ. รพ.สต. นากอก และ คณะ ร่วมกิจกรรม บริการประชาชน หรือ อำเภอ ยิ้ม  ณ วัด บ้านหนองแคน ตำบลบุงค้า อ.เลิงนกทา

ประธานในงานโดย นาสุพิช สามารถ นายอำเภอเลิงนกทา

ในโอกาสนี้ นายครรชิต จักรสาร นำคณะ เจ้าหน้าที่ และ อสม. รพ.สต. นากอก ร่วมให้บริการ

พร้อมทั้งออกเยี่ยมให้บริการ ผู้ป่วยติดเตียงในพื้นที่ด้วย

 















ชื่นชมคุณยายคนนี้ อายุ 92 ปี




แข็งแรง มาก ตัดต้นไม้ ถางหญ้า ตัดลำมัน เหล่านี้ได้ด้วยตนเอง

 

22 พ.ย.65 ประชุม อนุกก. LTC เทศบาลตำบลสวาท อ.เลิงนกทา

22 พ.ย.65 ประชุม อนุกก. LTC เทศบาลตำบลสวาท อ.เลิงนกทา

 

วันที่ 22 พฤศจิกายน 2565 นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง สาธารณสุขอำเภอเลิงนกทา และ คณะ

ร่วมประชุม คณะ อนุกรรมการ LTC ณ ห้องประชุม เทศบาลตำบลสวาท อ.เลิงนกทา

 








22 พ.ย.65 นร.ตำรวจ ภาค ๓ ฝึกประสบการณ์ ณ สาธารณสุขอำเภอเลิงนกทา

 22 พ.ย.65 นร.ตำรวจ ภาค ๓ ฝึกประสบการณ์ ณ สาธารณสุขอำเภอเลิงนกทา

 วันที่ 22 พฤศจิกายน 2565 นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง สาธารณสุขอำเภอเลิงนกทา และ คณะ

ร่วมต้อนรับ ร.ต.ท. มิตชา ศรีธรรม ผู้หมวดจาก สถานีตำรวจภูธรเลิงนกทา และคณะ

กิจกรรม นำน้องๆ นักเรียนนายสิบตำรวจ ภูธรภาค 3 นครราชสีมา

ศึกษาดูงาน การทำงานภาคีเครือข่าย ร่วมกับ หน่วยงานต่างๆ ณ  ห้องประชุม สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเลิงนกทา

ขอบคุณ คณะวิทยากรทุกท่าน ที่ร่วมให้คำแนะนำ ถ่ายทอดประสบการณ์ให้กับน้องๆครับ












11/25/22

21 พ.ย.65 ยโสธร ถอดบทเรียน ขับเคลื่อนจังหวัดสู่อำเภอและตำบลเพื่อความปลอดภัยทางถนน RTI

21 พ.ย.65 ยโสธร ถอดบทเรียน ขับเคลื่อนจังหวัดสู่อำเภอและตำบลเพื่อความปลอดภัยทางถนน RTI

 21 พฤศจิกายน 2565 ภาคค่ำ นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง สาธารณสุขอำเภอเลิงนกทา และ คณะ พชอ. เลิงนกทา

(ด้าน RTI )  ร่วมประชุม   ณ ห้องประชุมอมราวดี 2 โรงแรมเดอะกรีนปาร์คแกรนด์ จังหวัดยโสธร

กิจกรรม ถอดบทเรียนขับเคลื่อนจังหวัดสู่อำเภอและตำบลเพื่อความปลอดภัยทางถนน


 

ประธานการประชุม โดย นายสุวัฒน์ เข็มเพชร รองผู้ว่าราชการจังหวัด รักษาราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร  วัตถุประสงค์หลัก

ติดตามถอดบทเรียนของโครงการรวมพลังขับเคลื่อนกลไกจังหวัดสู่อำเภอและตำบลเพื่อความปลอดภัยทางถนนจังหวัดยโสธร

หัวหน้าคณะ โดยนายแพทย์วีระพันธ์ สุพรรณไชยมาตย์ และคณะกรรมการแผนงานสนับสนุนการดำเนินงานป้องกันอุบัติเหตุจราจรระดับจังหวัด (สอจร.)

ผู้เข้าประชุม ประกอบด้วย หัวหน้าส่วนราชการ จังหวัด อำเภอ ภาคีเครือข่ายในพื้นที่ ทุกอำเภอ

 

อำเภอที่มีอัตราผู้เสียชีวิต จากอบุบัติเหตุทางถนน มากที่สุด ในปี 2565

อันดับที่ 1.  อำเภอเลิงนกทา

อันดับที่ 2.  อำเภอเมืองยโสธร

อันดับที่ 3.  อำเภอป่าติ้ว







20 พ.ย.65 APEC 29 ทั่วโลกประทับใจ รัฐบาลไทยจัดได้ ยิ่งใหญ่ เป็นมิตร สวยงาม _Thailand

20 พ.ย.65 APEC 29 ทั่วโลกประทับใจ รัฐบาลไทยจัดได้ ยิ่งใหญ่ เป็นมิตร สวยงาม _Thailand

 

20 พฤศจิกายน 2565 นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง บันทึกความประทับใจ การจัดเตรียมงาน ของ รัฐบาล เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง รวมถึง ประชาชนคนไทย ที่ร่วมกัน เป็นเจ้าภาพที่ดี ใน การประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 29









ขอบคุณ ภาพและ เนื้อหา จาก  web ที่เกี่ยวข้อง และ จาก

 

https://www.apec2022.go.th/th/apec-economic-leaders-meeting-aelw-th/

 

ความว่า

 

การประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 29 จบลงแล้ววันนี้ เป็นการปิดฉากการเป็นเจ้าภาพเอเปค 2564 ของไทย ภายใต้หัวข้อหลัก “เปิดกว้างสร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกัน สู่สมดุล” อย่างสมบูรณ์ ผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคเห็นพ้องกับการนำแนวคิดเศรษฐกิจ BCG มาขับเคลื่อนการฟื้นฟูเศรษฐกิจในยุคหลังโควิด 19  อย่างยั่งยืน สมดุล และครอบคลุม พร้อมรับมือความท้าทายในอนาคต โดยได้ร่วมกันรับรองปฏิญญาผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ค.ศ. 2022 และเป้าหมายกรุงเทพฯ ว่าด้วยเศรษฐกิจ BCG ซึ่งเป็นการวางรากฐานให้เอเปคมีทิศทางการทำงานด้านความยั่งยืนอย่างเป็นระบบ

 

 

            เมื่อวันที่ 18-19 พฤศจิกายน 2565 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้เป็นประธานการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค เพื่อแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการฟื้นฟูเศรษฐกิจจากโควิด 19 ท่ามกลางความท้าทายจากภาวะเงินเฟ้อ ความมั่นคงทางอาหารและพลังงาน พร้อมสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อรับมือวิกฤตต่าง ๆ ในอนาคต โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง โดยชูโมเดลเศรษฐกิจ BCG เป็นตัวเร่งการปรับมุมมองและพฤติกรรมไปสู่โมเดลธุรกิจที่สามารถสร้างผลกำไรควบคู่ไปกับการรักษาสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมการมีส่วนร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจของทุกภาคส่วน ทั้งนี้ ในการประชุมครั้งนี้ กรรมการจัดการกองทุนการเงินระหว่างประเทศได้ร่วมนำเสนอภาพรวมเศรษฐกิจโลกในปี 2565  และผู้แทนสภาที่ปรึกษาทางธุรกิจเอเปคและแขกพิเศษ ได้แก่ มกุฎราชกุมารและนายกรัฐมนตรีซาอุดีอาระเบีย และประธานาธิบดีฝรั่งเศส ได้ร่วมหารือกับผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคเพื่อแลกเปลี่ยนมุมมองของภาคเอกชนและคู่ค้าสำคัญนอกภูมิภาคเอเปค

 

 

         จากการประชุมครั้งนี้ ผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคได้รับรองเอกสารผลลัพธ์การประชุม 2 ฉบับ ได้แก่ ปฏิญญาผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ค.ศ. 2022 และเป้าหมายกรุงเทพฯ ว่าด้วยเศรษฐกิจ BCG ซึ่งสะท้อนผลสำเร็จของการเป็นเจ้าภาพเอเปค 2565 ของไทยที่ขับเคลื่อนให้เอเปคสามารถเดินหน้าทำงานท่ามกลางสถานการณ์ความท้าทายในปัจจุบันและคงความสำคัญในการเป็นเวทีความร่วมมือทางเศรษฐกิจชั้นนำของภูมิภาค โดยมีผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม 3 ข้อตามที่ไทยตั้งเป้า ได้แก่

 

 

(๑) การผลักดันให้เอเปคทบทวนการหารือเรื่องเขตการค้าเสรีเอเชีย-แปซิฟิกในบริบทหลังโควิด-๑๙ โดยมีแผนงานการขับเคลื่อนการหารือที่ต่อเนื่องระหว่างปี ค.ศ. 2023-2026 เพื่อให้เอเปคสามารถเดินหน้าได้อย่างชัดเจน

 

 

(๒) การฟื้นฟูการเดินทางข้ามพรมแดนที่สะดวกปลอดภัย โดยคณะทำงานเฉพาะกิจที่ไทยเป็นประธานได้จัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อให้เอเปคมีกลไกและแนวทางการรับมือกับ disruption ในอนาคต และ

 

 

(๓)  การรับรอง “เป้าหมายกรุงเทพฯ ว่าด้วยเศรษฐกิจ BCG” ซึ่งเป็นเป้าหมายเพื่อส่งเสริมความยั่งยืนฉบับแรกของเอเปค โดยเน้นเป้าหมายหลัก 4 ข้อ ได้แก่ การจัดการกับปัญหาสภาพภูมิอากาศ การค้าและการลงทุนที่ยั่งยืน การบริหารจัดการทรัพยากรยั่งยืน และการลดและจัดการของเสียอย่างยั่งยืน โดยได้เปิดตัวเว็บไซต์

www.bangkokgoals.apec.org รวบรวมแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศและข้อริเริ่มของสมาชิกเอเปคให้เป็นฐานข้อมูลสำหรับผู้สนใจสืบค้น ศึกษา และประยุกต์ใช้ต่อไป

 

 

            ในการนี้ ไทยได้ส่งต่อการเป็นเจ้าภาพเอเปคในปี 2566 ให้แก่สหรัฐฯ โดยนายกรัฐมนตรีได้มอบ “ชะลอม” ให้แก่นางคามาลา แฮร์ริส รองประธานาธิบดีสหรัฐฯ ซึ่งชะลอมเป็นภาพแทนสัญลักษณ์การเป็นเจ้าภาพเอเปคของไทย เพื่อส่งต่อให้สหรัฐฯ สานต่อภารกิจในปีหน้า โดยเฉพาะประเด็นความยั่งยืนที่สะท้อนอยู่ในเป้าหมายกรุงเทพฯ ว่าด้วยเศรษฐกิจ BCG

 

ขอบคุณ ภาพและ เนื้อหา จาก  

https://www.apec2022.go.th/th/apec-economic-leaders-meeting-aelw-th/

 

17-19 พ.ย.65 LLL 3 L ทีมสาธารณสุข อ.เลิงนกทา รับรองแผน & OD ณ จ.บึงกาฬ

วิสัยทัศน์ เหมือนภาพฝัน เป้าหมายคือฝันที่ใกล้จะเป็นจริง ส่วนความสำเร็จ ที่อยู่ในมือ นั่นคือ ความสุข   

 วันที่ 17-19 พฤศจิกายน 2565 นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง สาธารณสุขอำเภอเลิงนกทา และคณะ

เข้าร่วมกิจกรรม ณ โรงแรม BK จังหวัดบึงกาฬ  ตามโครงการ ประชุมรับรองแผนปฏิบัติราชการ และพัฒนาองค์กร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีม ประจำปีงบประมาณ 2566

โดยมีผู้เข้าร่วมประชุม จาก สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเลิงนกทา และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในสังกัด

ภายใต้ หลักการ LLL หรือ 3 L : Loengnoktha Learning with Love

Loengnoktha    จะทำสิ่งใด หาก คนเลิงนกทา ได้ประโยชน์  จงทำ  แม้สิ่งนั้น เรา หรือองค์ของเราจะเสียประโยชน์ไปบ้าง เพื่อประโยชน์ของคนเลิงนกทา ก็จงทำ

Learning    เมื่อได้ ตัดสินใจลงมือทำไปแล้ว จะมีผล 2 ประการ คือ สำเร็จ ตามมุ่งหวัง หรือ ยังไม่สำเร็จ   

                        ก็จง ทำ ต้วยความมุ่งมั่น ทุ่มเท เสียสละ เพื่อไปสู่ เป้าหมายนั้น  ยืนหยัด ต่อเป้าหมาย  ยืดหยุ่น ต่อวิธีการ ปรับเปลี่ยนได้ ตามบริบท

                      ทำไปแล้ว จะมีทั้งคำชื่น คำชม คำชอบ คำว่า ค่าด่า คำท้อ  ก็จงอย่าถอย  เก็บเกี่ยว เอามาเป็น ประสบการณ์  PDCA    ทั้ง สำเร็จ หรือไม่สำเร็จ จะมีสิ่งที่ได้ แน่ๆ คือ การเรียนรู้ 

Loving    เมื่อทำไป แล้ว ถูกบ้าง พลาดบ้าง ในคำแนะนำ มีทั้ง ให้กำลังใจ หรือ ต่อว่า เสนอหา แนวทาง  เราจะไม่มีอคติ ไม่โกรธกัน แต่จะให้เกียรติกัน  ยอมรับเอาคำแนะนำเหล่านั้นมาใช้    เพราะเราให้ และ รับ สิ่งเหล่านั้น  ด้วยความรัก 

(  ศึกษาเพิ่มเติม  LLL   3 L   ได้ที่นี่ )   

http://ptjsw.blogspot.com/2021/04/27-64.html











พระธรรมฐิติญาณ เจ้าคณะภาค 10 ธ.  ให้ ไว้   คาถา 7 ย.
.ยิ้มแย้ม ยกย่อง ยืดหยุ่น ยืนหยัน หยิบยื่น ยินยอม อย่าหยิ่ง (รายละเอียด คาถา 7 ย. ด้านล่างนะครับ)..





บทเรียน : นำเสนอผลงาน การประหม่า แก้ด้วย ACF : action cure fare 

เพราะ ความโชคร้าย ความเจ็บปวด หรือ ล้มเหลว เป็นมหาวิทยาลัย สอนเราได้ดี ความล้มเหลว มีบทเรียนที่ซ่อนอยู่ มากมาย หลายเท่านัก เมื่อเทียบกับ success  การกระทำก่อเกิดการเรียนรู้ สู่ผล(สำเร็จ) เป็น บวก หรือ ลบ  ก็ถือว่า ได้เกิดการเรียนรู้  Learning 

ความโชคร้าย  คือโอกาส ที่สร้างความแข็งแกร่ง และการเติบโต ให้กับเรา หากเรา มีความเชื่อมั่น ในตัวเอง 











ความกลัว ขจัดได้ด้วย การลงมือทำ  

การลงมือทำ ทำได้โดย อาศัย ความกล้า  กล้าที่จะลงมือทำ   

เรื่องที่ยากที่สุดของคนคือ การควบคุมตนเอง Internal Control ทั้งความคิด การรกระทำ คำพูด

หากใครทำได้ แสดงถึง ความสำเร็จ เดินทางเข้ามาหาคุณ แล้ว ครึ่งหนึ่ง

ประโยชน์ จากความโกรธ ส่วนมากจะไม่มี ผู้ที่ควบคุม ความโกรธได้ มีคุรสมบัติการเป็นผู้นำที่ดีแล้ว เพราะ ผู้นำที่ดี ต้องเริ่มจาก นำตน นำคน นำงาน และนำทีม สู่เป้าหมายได้ 




Concept กรอบ แนวทาง การปฏิบัติงานร่วมกัน ของ เลิงนกทา Team 

การขับเคลื่อนงานบูรณาการ หลักการ LLL หรือ 3 L : Loengnoktha Learning with Love

L ที่ 1 : Loengnoktha   หากคิดดีแล้ว การกระทำเท่านั้นที่จะนำสู่ผล  หากผลนั้น คนเลิงนกทาจะเป็นผู้ได้รับประโยชน์ แม้ว่าการกระทำนั้น ตัวเรา ฝ่ายเรา จะมีบางสิ่งบางอย่างที่สูญเสีย หรือ สละประโยชน์บางอย่างไปบ้างก็จงพึงกระทำ 

L ที่ 2 : Learning  การกระทำนำสู่ผล  เมื่อลงมือทำถือว่านำสู่ความสำเร็จไปครึ่งหนึ่งแล้ว  ผลมีทั้งสำเร็จบ้าง หรือ ไม่สำเร็จบ้าง   ผลเป็น บวก หรือ ลบ  ก็ถือว่าแล้ว คือได้การเรียนรู้   

หากกระทำแล้ว แม้ไม่สำเร็จ เราก็ได้เรียนรู้  และ นำเอาประสบการณ์เหล่านั้นเป็นโอกาสในการพัฒนา    แต่หากเราทำแล้วไม่สำเร็จ แล้วเราไม่ลุกขึ้นมาสู้ต่อ นั่นคือ คุณ ล้มเหลวแล้ว 

L ที่ 3 : Loving  การกระทำเพื่อคนเลิงนกทาได้ประโยชน์อาจมีบางการกระทำ อาจให้เราสูญเสียไปบ้าง บางฝ่ายได้ประโยชน์บ้าง ก็จต้องมีนินทา ว่าร้าย (ให้คำแนะนำ ) ติ เตือน กันไปบ้าง  แต่ เพื่อคนเลิงนกทาจะได้ประโยชน์แล้ว เราต้องรับฟังซึ่งกันและกัน  รับฟังด้วย หัวใจ ที่เต็มเปี่ยมไปด้วย ความรัก ที่มีให้แก่กันและกัน   


กลวิธีการขับเคลื่อนสู่เป้าหมายงานด้วย RIT :  Relationship Information Teamwork

การปฏิบัติงานให้มีคุณภาพ ตาม S :  Standard  Specific Satisfied

แนวทางการปฏิบัติงาน ตาม P  :  Purpose Process Performance







Successs ความสำเร็จ คือ การเดินทาง ไม่ใช่ จุดหมายปลายทาง
ภายใต้ ความเชื่อ อันแรงกล้า ที่ว่า เราทำได้ WECANDO
เราเป็น ในสิ่งที่เราเชื่อว่า เรา ทำได้ 
ความยากอยู่ที่   การเดินทาง ตาม 1 2 3 4  นั้น ต้อง ระบุ ออกมา ให้ชัด 




ความฝัน : เป้าหมายชัด วัดผลได้     (ฝันให้ประกอบด้วย ความหวัง ความปราถนา ความเป็นไปได้)
ระบุสิ่งที่จะทำในอนาคต ให้ได้ว่าจะทำอะไร ในระยะ 5 ปี 3 ปี 1 ปี 1 เดือน 1 สัปดาห์ หรือ 1 วัน
โดยเฉพาะ หากระบุได้ว่า 5 สิ่งที่จะทำ ในวันพรุ่งนี้ นั่นหมายถึง ความสำเร็จเริ่มขยับเข้าหาตัวเราแล้ว

วิสัยทัศน์ เหมือนภาพฝัน เป้าหมายคือฝันที่ใกล้จะเป็นจริง ส่วนความสำเร็จ ที่อยู่ในมือ นั่นคือ ความสุข   






เลือกได้ด้วยตัวคุณว่า กุญแจ Key ที่ใช้ไขของคุณคืออะไร  บางคนว่า ความสุขคือ กุญแจ สู่ ความสำเร็จ
บางคนว่า ความสำเร็จ คือกุญแจ สู่ ความสุข 

หากได้ยิน  Step ต่อไปคือ คุณต้อง ลืม

หากได้เห็น Step ต่อไปคือ คุณต้อง จำ

หากได้ทำ Step ต่อไปคือ คุณต้อง เข้าใจ

ภาพเหล่านี้ ผม(พันธุ์ทอง)มีไว้เพื่อให้คุณ เข้าใจ และ สืบค้นได้ในภายหลังนะครับ

 





การกระทำ ระดับ บุคคล  หัวหน้างาน ผู้บริหารระดับต้น ผู้บริหารระดับกลาง ต่างกันที่





มุมมองเชิงระบบ ของ การกระทำ ระดับ บุคคล  หัวหน้างาน ผู้บริหารระดับต้น ผู้บริหารระดับกลาง ต่างกันที่ 


การขับเคลื่อน ให้บรรลุเป้าหมาย ได้ด้วย การรกระทำ  การกระทำ ในภาษาราชการ เรียกสิ่งนี้ว่า แผนงาน โครงการ    การขับเคลื่อน ตามแนวคิด Professor Dipak C. Jain   

ความคิด นำไปสู่การกำหนดเป้าหมาย ( จริงๆ แล้ว จะมีสิ่งหนึ่งเป็นตัวขับ คือ ความรู้สึก หรือ แรงบันดาลใจ ) 

เป้าหมาย นำไปสู่การกำหนดวิธีการกระทำ

วิธีการกระทำ จะนำไปสู่ เป้าหมาย

วิธีการที่จะนำไปสู่เป้าหมาย อาจมีหลากหลายวิธี ตาม บริบทของสถานการณ์นั้นๆ

ที่สำคัญคือ เมื่อเลือกวิธีแล้ว ต้องมี การกระทำ การกระทำ คือ ตัวสำคัญ ที่นำไปสู่ เป้าหมาย

หรือ หากมีวิธีการเดียว ก็สามารถ ทำซ้ำๆ ทำบ่อยๆ พัฒนาไปเรื่อยๆ จะ ทำให้ไปถึงเป้าหมาย ได้อย่างรวดเร็วขึ้น  ประหยัด เงิน ประหยัดเวลา ลดแรงงาน ได้เป็นต้น 

การกระทำ ที่สำคัญคือ กระทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแม้เพียงเล็กๆน้อยๆ จะส่งผลต่อความสำเร็จ หรือ ความล้มเหลวได้ เช่น

เพิ่มประสิทธิภาพ วันละ 1 % อีกไม่นานก็จะทะลุเป้าหมายได้เป็นต้น  กลับกัน หาก ลดผลงานวันละ 1 % อีกไม่นานก็จะล้มเหลวได้ เป็นต้น 




ประสิทธิภาพ  ประสิทธิผล แตกต่างกันอย่างไร   
คำตอบง่ายๆ ประสิทธิภาพ  การทำให้ถูกวิธี 
ประสิทธิผล การทำให้ผลงานออกมาดี 

ประสิทธิภาพ  ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณทรัพยากรที่ใช้ กับ ปริมาณผลผลิต Inpot : Output
ประสิทธิผล  ความสัมพันธ์ระหว่าง วัตถุประสงค์ กับผลลัพธ์  Objective : Results 

อธิบายได้ด้วย ภาพด้านบนนี้ครับ 



ศักดิ์สิทธิ์  SAKSIT 

Appreciation 
ให้เกียรติ กับตน คน งาน เสมือนดั่งสิงศักดิ์สิทธิ์  SAKSIT  ศักดิ์ คือ พลัง Power สิทธิ คือ สำเร็จ Success  
เมื่อเคารพสิ่งศักดิ์สิทธิ์ แล้ว มีทั้งศักดิ์ และ สิทธิ์  เรียกได้ว่า เป็นผู้มี ฤทธิ์  RIT
Relationship  Information Team(work) 
ผู้มีฤทธิ์ คู่ควร กับ สิ่งศักดิ์สิทธิ์  สิ่งศักดิ์สิทธิ์ คู่ควร กับ ผู้มี ฤทธิ์ 

ศักดิ์สิทธิ์  SAKSIT  
Self Esteem  หรือ Self Cofident   ความเชื่อมั่นในตนเองเป็นดั่ง แสงสว่างส่องทางไปสู่เป้าหมาย
   ( เปรียบดั่ง ไม้ขีด เทียนไข ตะเกียง คบเพลิง ตะเกียงเจ้าพายะ หลอดไฟ ไฟฉาย ดวงเดือน หรือ ดวงตะวัน )  

Action   ที่ส่งผลให้เกิด Power มีสิ่งสำคัญคือ ทำทันที Stat และ ทำต่อเนื่อง Sustain ให้เกิดเป็นนิสัย
    หรือวินัย  ( วินัย คือทำในสิ่งที่ควรทำ แม้ในเวลาที่ไม่อยากทำ) 
Knowledge  การเรียนรู้  K=(P+I) ยกกำลัง s  S คือ Share 

  ในความรู้นี้  ต้องมีแกนคือ Information  ความเก่ง ความเชี่ยวชาญในงาน หน้าที่ของตน    
Succsess แน่วแน่ ในเป้าหมาย  เมื่อมีผลงาน หรือสำเร็จแล้ว จะเกิด ความเชื่อถือ ศรัทธาจากคนอื่น

Intensive  เมื่อมีผลสำเร็จจากการะทำ ในกระบวนการใดก็ตาม จากการกระทำ Small success อย่าลืมให้รางวัล แก่ ตน แก่คน แก่ทีม ตลอด การเดินทาง Journey   เริ่มจาก ให้ำกลังใจ ขอบคุณ ชื่นชม ส่งเสริมกำลังใจ ไปจนถึง สิ่งของ วัตถุ สวัสดิการ อื่นๆ 

Team(work)  ทีมดีที่มีประสิทธิภาพโดยมีเป้าหมายเป็นจุดร่วมกัน เป็นทีม ที่ work ด้วยนะครับ ไม่ใช่มีแต่ทีม แต่ไม่ work 


การวิเคราะห์องค์กร ด้วย SWOT Analysis 
Internal Analysis ภายในองค์กร วิเคราะห์ ด้วย 7 S 

S1 Strategy  กลยุทธ์ขององค์กร   S2 Structure โครงสร้างองค์การ S3 System ระบบการปฏิบัติงาน S4) Staff บุคลากร S 5  Skill ทักษะ ความรู้ความสามารถ S6 Style รูปแบบการบริหารจัดการ S7 Shared values ค่านิยมร่วม จาก McKinney 7-S Framework


External Analysis ภายนอกองค์กร วิเคราะห์ ด้วย  PESTEL 

Political  Economic  Social Technology Environment และ Legal.

 P ด้าน การเมือง (Politics)

E ด้านเศรษฐกิจ (Economics)

S ด้านสังคม (Social)

T ด้านเทคโนโลยี (Technological)

E ด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental)

L ด้าน กฎหมาย (Legal)






หัวใจของความสำเร็จคือ การทำงานเป็นทีม Team Work  ทีมที่มี ความร่วมมือ เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อน  ให้ทีมไปสู่ เป้าหมายเดียวกัน 

Jar of Life : JOL  

JOL May it help you in a difficult situation

การโต้แย้ง ในทุกกรณี  ผลลัพธ์ คือ การปิดกั้นความรู้สึก หรือ ปิดกั้นการรับฟัง

ส่วน ผลลัพธ์ ที่ดี แทนที่จะโต้แย้ง ก็คือ การรับฟัง เพราะการรับฟัง คือการเปิด ประตู หัวใจ ของบุคคลอื่นได้ดีที่สุด

การกล่าวโทษ มีประโยชน์ มีไหม มีครับ

ในกรณีเดียว การกล่าวโทษ มีประโยชน์ คือ การกล่าวโทษ ตนเอง เท่านั้น เพราะเป็นการแสดงความรับผิดชอบที่ดี 

ข้อที่ไม่ควรทำอย่างยิ่ง คือ การกล่าวโทษ บุคคลอื่น  

จับให้ถูก จับสิ่งที่ถูก เข้าสู่ชีวิต สิ่งที่ไม่สำคัญ ไม่จำเป็น หรือ สิ่งอัปมงคล ไม่ควรนำเข้าสู่ชีวิต
ตัวที่เป็นตัว Balance of life ได้ดีคือ คำว่า สติ   หากเจริญสติ ได้ดี ชีวีจะมีสุข 
สติ เปรียบได้ดั่ง กระจกเงา ทำหน้าที่สะท้อน อย่างเดียว 100 %  โดยไม่มี อารมณ์ ความรู้สึก มาเกี่ยวข้อง











ด้าน กระบวนการ หรือ Process  ใช้ ADLI  เป็นประเด็น ในการตอบคำถาม  

Approach : แนวทาง

Deployment : การถ่ายทอดเพื่อนำไปปฏิบัติ

Learning : การเรียนรู้ (ทบทวนและปรับปรุง)

Integration การบูรณาการ


คาถา ย. สำหรับผู้นำ   พระธรรมฐิติญาณ เจ้าคณะภาค 10 ธ.  ให้ ไว้   คาถา 7 ย.

หลัก ย. ผู้นำนั้น ต้องมีอะไรที่ตรึกตรองเป็นสำคัญ หรือผู้ที่ตอนนี้เป็นผู้นำอยู่แล้ว แต่อยากจะพัฒนาความเป็นผู้นำ ที่ไม่ใช่แค่ตำแหน่งอย่างเดียว ก็สามารถนำไปปรับใช้ได้ ซึ่งคาถา ย.  ฝรั่งเรียก ผู้นำ ประเภท Y  ( วาย ) ประกอบด้วย
ยิ้มแย้ม ยกย่อง ยืดหยุ่น ยืนหยัน หยิบยื่น ยินยอม อย่าหยิ่ง
ย. หนึ่ง 
ยิ้มแย้ม: ยิ้มแย้ม ทั้งหน้าและใจ
ย. สอง ยกย่อง ไม่ใช่ยกยอ: ยอ คือลูกยอ ที่ผลแห้งลอยน้ำได้ และ ญอ ที่ใช้ดักปลาของชาวประมง
คำพูดของคนเป็นได้ทั้ง เสน่ห์ และ เสนียด ให้คิดทุกคำที่พูด แต่อย่าพูดทุกคำที่คิด คำว่า ยกย่อง ทีดีที่สุดคือ การพูดที่มีดี ประการ คือ
1. รู้กาลเทศะ
2. พูดเรื่องจริง
3. พูดไพเราะ อ่อนหวาน
4. พูดสมานสามัคคี 
5. พูดแล้วมีประโยชน์

ย. สาม ยืดหยุ่น : เหมือนดั่งไผ่ อ่อนโยน แต่ไม่อ่อนแอ แข็งแรงแต่ไม่แข็งกร้าว เรียนรู้กัน ฝรั่ง เรียก ยืดหยุ่นว่าเป็น ( ความสามารถทางการเมืองในองค์กร Politic )
ย. สี่ ยืนหยัด : ไม่ท้อแท้ ท้อถอย มีความเพียร มุ่งสู่ เป้าหมายเดียวกัน  ฝรั่งเรียก Performance 
ย. 5ห้า หยิบยื่น : เอื้ออาทร ช่วยเหลือ เกื้อกูล เสียสละ ยึดหลักยิ่งให้ยิ่งได้  ฝรั่งเรียก Service & Sharing 
ย. 6หก ยินยอม : รู้แพ้ รู้ชนะ   รับฟัง  ยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่าง   
ย. 7เจ็ดอย่าหยิ่ง   ให้เกียรติคนอื่น จริงใจ รักษาสัญญา  รับผิดชอบ 
แต่ผู้นำ หลายคน มี ย. แต่ไม่ค่อยได้ปฏิบัติตาม ย.  ฝรั่งเรียก ผู้นำ ประเภท X เอ็กซ์ ไม่ทำ เพราะ มีเหตุผล ต่างๆ ทั้ง
1. หลงละเลิงกับการเป็นผู้นำ
2. เชื่อฟังบุคคลรอบข้าง ที่ประจบประเเจง
3. ไม่เห็นโลงศพ ไม่หลั่งน้ำตา
4. ไม่มีธรรมะ ประจำใจ
5. ไม่รับฟังสิ่งที่ดีๆ จากคนอื่น
หาก อยากจะเป็นผู้นำที่ดี ต้องมี คาถา ย ประจำใจ และนำไปปรับใช้ รับรองว่า ท่านจะเป็นผู้นำที่ดีในดวงใจของประชาชนตลอดไป


หากทำได้ ตัว ย. ทั้ง 7 ได้ครบ หรือ เกือบครบ  ท่านก็จะเป็นคน ยอดเยี่ยม
หากขาด ทั้ง 7 ย. หรือ มี ตัว ย. น้อยลงเท่าไร ผลที่เกิดตามมา ท่านก็จะเป็นคน เย่อหยิ่ง หรือรับผลเป็น เยิ่นเย้อ ยุ่งยาก ยุ่งเหยิง ยับเยิน (ย่อยยับ)   โดยเฉพาะ หากไม่มี ทั้ง 7 ย. เลย ท่านก็จะ เป็นคน ยอดแย่ เลยทีเดียว










Basic Infromations  ขอมูลสำคัญ ประกอบการขับเคลื่อนคุณภาพชีวิต และ พัฒนาระบบสุขภาพของประชาชน  































ตัวอย่าง 12 Step to Success ของตัวเรา แล้ว ปรับเข้าสู่การปฏิบัติงาน 

1.     เลือกเป้าหมายเดียวที่สำคัญของชีวิต เช่น หุ่นดี Smart Man  Beauty Lady 

2.     เชื่อว่าคุณทำได้  

3.     เขียนออกมาเป็นหนังสือ    

4.     ระบุจุดเริ่มต้น ลงมือทำทันที เช่น      ชั่งทันที .. กก.    

5.     เขียนประโยชน์ และ ข้อเสีย ของ วิธีการนั้นๆ เช่น เสียเงิน เสียเวลา        

6.     กำหนด Date Line  ภายใน 6 เดือน หรือ เป็น Mile Stone

7.     กำจัด อุปสรรค ออกไปก่อน ตามกฎ 80 : 20 เช่น เอาขนมออกจากตู้เย็น

8.     ระบุ ความรู้ ทักษะ เพื่อสู่เป้าหมาย เช่น อาหาร อารมณ์ ออกกำลังกาย อนามัยสิ่งแวดล้อม

9.     ระบุคนที่จะมาช่วยเรา  Connection

10.   วางแผน เพื่อสู่เป้าหมาย    

11.   จินตนาการถึงวันที่เราถึงเป้าหมาย   

12.   ลงมือทำทันที อย่ายอมแพ้ อย่ายกเลิก เช่น ทุกเช้า ออกกำลังกาย

 ปร         ปรับเข้าสู่การปฏิบัติงาน เช่น  ภาวะอ้วน ผอม งานโภชนาการ  เริ่มง่ายๆ จาก ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงเด้ก 5 ปี ทุกคน 

จากนั้น ปรับปรุง พัฒนา คนที่ มีภาวะโภชนาการผิดปกติ ( ซึ่งมีไม่กี่คน) จะทำให้เรา  ประหยัด คน ประหยัดเงิน ประหยัดแรงงาน เป็นต้น