1/31/14

29 มค.2557: บรรยายดี KKM PCHA มีสาระ ไม่ได้ฟัง หมอจิระวัฒน์ ทำไงดี ดูได้ที่นี่

29 มค.2557: บรรยายดี KKM PCHA มีสาระ ไม่ได้ฟัง หมอจิระวัฒน์ ทำไงดี
วันที่ 29 มกราคม 2557 ภาคเช้าวันนี้ผม นายพันธุ์ทอง  จันทร์สว่าง ทำหน้าที่ project manager เตรียมความพร้อม
สำหรับการจัดประชุม ร่วมกับทีมงาน ณ โรงพยาบาลมหาชนะชัย
ภาคบ่าย เข้าร่วมประชุม เวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การพัฒนาคุณภาพสู่การจัดการสุขภาพอย่างยั่งยืน KKM PCHA ณ ห้องประชุมโรงพยาบาลมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร
ประธานการประชุม โดย นายแพทย์สุใหญ่ หลิ่มโตประเสริฐ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร
กล่าวรายงานโดย พญ.ดุสิตา ชนะชัยวิบูลวัฒน์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาชนะชัย
วิทยากร โดย นายแพทย์จิระวัฒน์ วิเศษสังข์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเมืองจันทร์ จังหวัดศรีสะเกษ
ใครๆ ที่ได้รับฟัง ในเวทีนี้ ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า สุดยอด ยอดเยี่ยม เป็นที่สุด
รายละเอียดโครงการ กิจกรรม Click ดูได้ ที นี่

สำหรับ ผู้ที่ไม่ได้ฟัง หรือฟังไม่จบ ไม่ต้องเสียใจครับ ผมแอบรวบรวมTrick ต่างๆของนายแพทย์จิระวัฒน์ วิเศษสังข์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเมืองจันทร์ จังหวัดศรีสะเกษไว้เป็นวิทยาทาน พอสังเขปที่นี่ อาทิเช่น
...ผม นายพันธุ์ทอง  จันทร์สว่าง ขอชืนชม อาจารย์จิระวัฒน์ ที่มีจิตใจที่ประเสริฐโดยแท้ นอกจากจะมีสำนึกดีในการบริการ และมีสำนึกดีรักบ้านเกิดแล้ว ท่านยังได้นำความรู้แพทย์ศาสตร์เกียรตินิยมออกมาจากใบประกาศนียบัตร แปลงออกมาเป็นคุณภาพบริการที่ดีให้กับประชาชนได้ ประชากรทั้ง CUP 19,000 คน หากบริหารงานตามปกติ อย่างไรก็ต้องขาดทุน รวมถึงที่โรงพยาบาลเมืองจันทร์นี้ด้วย เคยขาดทุนมาโดยตลอดตั้งแต่ตั้งโรงพยาบาลมาตั้งแต่ปี 2537 จนเมื่อ มีผู้บริหาร ที่บริหารงานด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ จากสภาพการขาดทุนกลายเป็นกำไร แต่สิ่งที่ได้มหาศาลมากกว่าเงินคือ ที่นี่ได้ใจทีมงาน ที่ต่างทำงานด้วยความทุ่มเท ได้ความรัก ได้ความศรัทธา และความไว้เนื้อเชื่อถือจากประชาชนผู้รับบริการ ความคิดอุดมการณ์ที่ส่งผ่านการบรรยายล้วนออกมาจากสิ่งที่เกิดจากากรกระทำด้วย หัวใจความเป็นมนุษย์โดยแท้จริง อาทิเช่น...
”แม้ผมจะมีหน้าตาไม่เหมือนหมอ ผมไม่ใช่หมอผู้ดี(รูปหล่อ)แต่ผมเป็นหมอที่ดีได้ ผมเป็นหมอผู้ฮ่าย แต่บ่เคยฮ่ายไผ มีแต่จริงใจกับเพื่อนร่วมงานและผู้รับบริการทุกคน
” ผมสร้างทีมว่า ไม่ต้องทำอะไรมาก ทำเหมือนกับที่เราทำให้พ่อให้แม่ให้พี่น้อง หรืออย่างน้อยให้เหมือนกับที่เราให้บริการญาติของเรา
หากเมื่อใดก็ตามที่แพทย์พยาบาลและทีมงานโรงพยาบาลของเราพูดเอาชนะคนไข้ โปรดรู้ไว้ด้วยว่าเราแพ้แล้วในความเชื่อถือศรัทธาของเรา และนั่นหมายถึงว่า องค์กรของเราแพ้แล้ว โดยยังไม่ได้ทำงานใดๆเลย
“หน้าที่ของผม คือทำอย่างไรก็ได้ เมื่อคนไข้หรือผู้รับบริการกลับออกไป เขาต้องไม่ได้รับ 5 D กลับไป
ทั้ง 1Dead          2Disease           3Discomfort 4Disabilityและ 5Dissatisfaction ต้องมีระบบที่ประกันความเสี่งได้ว่า ไม่เกิด 5Dแน่นอน”
มาตรฐานการรับโทรศัพท์ของเจ้าหน้าที่ทุกคน ผมเขียนเป็นมาตรฐานเอาไว้ว่า 1. ยิ้ม แล้ว จึง 2.ยกหู -3. สวัสดีคะ นี่คือ แผนก.. โรงพยาบาลเมืองจันทร์ ดิฉัน... รับสายคะ ทำเท่านี้มันหมายถึงการประชาสัมพันธ์ที่ดีที่สุด โดยไม่จำเป็นต้องไปจ้างไปเสียเงินค่าโฆษณา เพราะ ประชาชนเขาจะบอกปากต่อปากไปว่า เรามีพฤติกรรมที่ดี หากเราไม่ยิ้ม คนที่คุยด้วยเขาจะสัมผัสได้ถึงความไม่จริงใจ บางครั้งก็มีกระทบกระทั่งกัน จากการโทรศัพท์ หากไม่ประทับใจเขาก็จะบอกปากต่อปาก ในทางเสียหายต่อองค์กรเช่นกัน
“District Health System:DHS คืออะไร เฮ็ด ให้ดี อย่างมีระบบ เอ็ด คือเฮ็ดด้วยกัน อย่างเป็นระบบ แล้วจะได้ดี คือ ผลดี 3 ดี สุขภาพดี รายได้พอดี และเป็นคนดี
ผมเคยถูกญาติคนไข้ถามว่าทำไมคุณหมอไม่ถอดหมวก กรณีที่ผมจำเป็นต้องขออนุญาต ช่างตัดผม เพื่อไปดูคนไข้หนัก ในขณะที่ผมพึ่งตัดผมไปได้ครึ่งเพียงหัว
ผมต้องใช้รถตนเอง ขนต้นไม้ที่มีคนเขาบริจาคให้ หรือขายลดราคา เพื่อนำมาปรับปรุงภูมิทัศน์ของโรงพยาบาล และผมต้องลงมือปลูกต้นไม้และดูแลต้นไม้เหล่านั้นด้วย
เพื่อประหยัดงบประมาณ ผมและพนักงานต้องไป ล้อมต้นไม้มาปลูก โดยไม่ต้องซื้อ เมื่อเขาเห็นว่าเราทำด้วยความตั้งใจ เขาจะช่วยเราเอง แต่เขาต้องมั่นใจว่าเรามีความจริงใจกับเขา
ผมต้องใช้พื้นที่รอบๆสระน้ำปลูกพืช ปลูกสมันไพร ปลูกผัก เพื่อวัตถุปนระสงค์ ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ในการสร้างสุขภาพ ในด้านโภชนาการ ที่ไม่ที่บอกผ่านเพียงคำแนะนำเท่านั้น
เมื่อโรงพยาบาลขนาดเล็กไม่มีโรงครัว แล้วคนไข้จะกินอะไร อาหารที่เราแนะนำเป็นอย่างไร ผมจำเป็นต้องใช้ใต้ถุนบ้านพักแพทย์ เป็นโรงครัว ทั้งๆที่ผมก็มีภรรยาและภรรยาผมก็มีลูกน้อยด้วย
ถังดับเพลิง ถังออกซิเจน บ่อบำบัดน้ำเสีย ยานพาหนะ ยาช่วยชีวิต เครืองกระตุกหัวใจ เครื่องปั่นไฟ เครื่องอบ เครื่องนึ่ง เครื่องซักผ้า ระบบเก็บสำรองข้อมูล สิ่งเหล่านี้ ผมต้องรู้เกือบทุกเรื่อง และทดลองถามเจ้าหน้าที่อยู่เสมอๆ”
“พยาบาลผมมี 18 คน ผม Train ให้เป็น ผู้เชี่ยวชาญ 18 กลุ่มโรคสำคัญ คนละโรค ”
“การบริการแบบองค์รวม ที่ดี คือ ทุกองค์ ทุกคนต้องรวมกันทำงานเพื่อเป้าหมายร่วมกัน เป้ามหมายสูงสุดของเราคือวิสัยทัศน์”
“ทำทำไม ทำให้วัดได้ ใน 4 คำ นี้คือ รู้ว่าอะไรเป็นอะไร 1.Out put 2.Out come 3.efficiency 4.effectiveness
“ปลูก บักหุ่ง ได้บักหุ่ง เรียกว่า  Out put
“ปลูก บักหุ่ง ได้บักหุ่ง เนื้อหอม หวาน กรอบ เรียกว่า  Out Come
“เดิมปลูก บักหุ่ง ได้บักหุ่ง 2 กก.ต่อต้น ทำแล้ว ได้ 4 กก.ต่อต้น เรียกว่า ประสิทธิภาพefficiency
“ปลูก บักหุ่ง ได้บักหุ่ง 4 กก.ต่อต้น หวาน กรอบ หอม อร่อย เนื้อไม่เน่าง่าย เก็บได้นาน มี order สั่งมามากมาย เรียกว่า ประสิทธิผล effectiveness
 “องค์รวม คือรวมเอาทุกองค์ มารวมกันทำงาน องค์ไหนไม่ทำต้องมีระบบให้เขาสามารถทำงานรวมกันได้ รวมกันทำงานเพื่ออะไร เพื่อ 3 P  Purpose Process Performance
“เหนื่อยไหม ..เคยร้องไห้ก็หลายครั้ง เคยท้อก็หลายคน แต่เพื่อประชาชน ต้องทำต่อไป ทั้งๆที่ คุณพ่อคุณแม่ยังเป็นหนี้ ธกส. แต่ก็ต้องทำ เพราะผมรักในสิ่งที่ผมทำ และผมได้ทำในสิ่งที่ผมรักมัน ผมรักที่จะมาเป็นแพทย์ ผมต้องทำ สิ่งที่ได้ ผมได้แล้ว ผมเรียกมันว่า ความสุข และความภูมิใจ”
“องค์รวม เท่ากับ หัวใจความเป็นมนุษย์ ประกอบด้วย ให้การดูแลทั้ง ความเจ็บป่วย ความเป็นคน และความเป็นธรรม
Illness = Disease + Suffering   ทั้ง Chief Complain + Chief Concern”
“หัวใจความเป็นมนุษย์ เริ่มง่ายได้เพียงเรารู้จักฟัง ... ฟังที่ดีคือ Deep Listening หรือ Active Listening
“คนขับรถไม่มี ผมต้องขับรถไปรับคนไข้ จอดรถไว้คันแทนา แล้วไปช่วยกันลำเลียงคนไข้มาขึ้นรถ ..ผมทำได้ทุกอย่าง”
“ประชาสัมพันธ์ธรรมดา เข้าไม่ถึง ผมต้องฝึกร้องหมอลำ ลำให้ได้ ตามที่เขาขอ ผมต้องฝึกลำกลอนใหม่อยู่เสมอ ทั้ง ไผ่ พงศธร มนต์แคน เป็นต้น แล้วออกไปกับทีมงานในตอนเย็น ”
“การสร้างทีมของผม ไม่ง่ายแต่ไม่ยาก ผมใช้วิธี Set Zero ลืมอดีต ใส่ใจปัจจุบัน หันมามองอนาคตร่วมกัน ”

“ภูมิใจมากที่สุด คือภูมิใจทีมงานของผม เขามี Core Value ร่วมแรงร่วมใจ โดยที่ผมไม่ทราบมาก่อน ครั้งนั้นผมร้องไห้ 2 ครั้ง เย็นวันนั้น เราจัดสถานที่พร้อมรับประเมิน HA เป็นครั้งแรก เตรียมพร้อม 100% แล้ว ทุกคนกลับไปนอน  4 ทุ่ม ลมพายุ ฝนตกหนัก ฟ้าร้อง ไฟดับมืดมิด สิ่งที่เราเตรียมเอาไว้อย่างสวยงาม หายวับไปกับตา จากภาพที่เห็น ผมเห็นว่า คงจะไม่ผ่านแล้ว คงแก้ไขอะไรไม่ได้ ผมมองไปทางไหน ไม่ได้ร้องไห้ แต่น้ำตามันไหล ... ประกอบกับ มีโทรศัพท์จากอาจารย์ที่จะมาประเมินว่า คุณหมอไปนอนได้แล้ว ..เหมือนรู้ว่า ผมยังไม่นอน  ดึกแล้ว ขณะที่ผมยังนอนไม่หลับ ไฟโรงพยาบาล สว่างไสว Sport light และไฟฟ้าถูกเปิดเกือบทุกดวง ผมตกใจลุกขึ้นลงไปดู ... น้ำตาไหล ออกมา โดยที่ผมไม่ได้ร้องไห้ ..ผมเห็นทีมงานของผม พยาบาล คนงาน ทุกๆคนที่สามารถมาช่วยกันได้ ผมว่าเกือบทุกคน ช่วยกัน จัดตกแต่ง เก็บกวาดให้เข้าที่เข้าทางเหมือเดิม .. เป็นภาพแห่งความภาคภูมิใจทีมงาน โรงพยาบาลเมืองจันทร์ของผมมาก”




















นายแพทย์จิระวัฒน์ วิเศษสังข์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเมืองจันทร์ จังหวัดศรีสะเกษ


29 มค.2557: KKM PCHA นวตกรรมเด่น สาธารณสุขยโสธร(Zoneวังคำชัย)

29 มค.2557: KKM PCHA นวตกรรมเด่น สาธารณสุขยโสธร(Zoneวังคำชัย)
วันที่ 29 มกราคม 2557 ภาคเช้าวันนี้ผม นายพันธุ์ทอง  จันทร์สว่าง ทำหน้าที่ project manager เตรียมความพร้อม
สำหรับการจัดประชุม ร่วมกับทีมงาน ณ โรงพยาบาลมหาชนะชัย
ภาคบ่าย เข้าร่วมประชุม เวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การพัฒนาคุณภาพสู่การจัดการสุขภาพอย่างยั่งยืน KKM PCHA ณ ห้องประชุมโรงพยาบาลมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร
ประธานการประชุม โดย นายแพทย์สุใหญ่ หลิ่มโตประเสริฐ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร
กล่าวรายงานโดย พญ.ดุสิตา ชนะชัยวิบูลวัฒน์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาชนะชัย
วิทยากร โดย นายแพทย์จิระวัฒน์ วิเศษสังข์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเมืองจันทร์ จังหวัดศรีสะเกษ
จุดเด่น การจัดประชุมในครั้งนี้ คือ
๑.      มีผู้บริหาร คปสอ.ทั้ง อำเภอ เข้าร่วมประชุม ครบ 100%  
( พญ.ดุสิตา ชนะชัยวิบูล์วัฒน์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาชนะชัย  นาย วิระมิตร บุญโถน สาธารณสุขอำเภอ มหาชนะชัย นายวิทยา เพชรรัตน์ สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว   แพทย์หญิง เพชรวันชัย จางไววิทย์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว นาย ณัฐวุฒิ จันทร์สว่าง สาธารณสุขอำเภอค้อวัง   นพ.ภาณุพันธุ์   ธนปฐมสินชัยผู้อำนวยการโรงพยาบาลค้อวัง)
๒.      มีผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุกแห่ง เข้าร่วมประชุม
๓.      มีแพทย์ ที่ปฏิบัติงานใน โรงพยาบาล ๓ แห่ง เข้าร่วมรับฟังทุกคน (โรงพยาบาลค้อวัง โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว โรงพยาบาลมหาชนะชัย)
๔.     มีวิทยากร ระดับประเทศ ให้ความรู้ เรื่องการปฏิบัติงานด้วย หัวใจความเป็นมนุษย์ สู่เป้าหมาย PCHA ร่วมกัน
๕.     มีผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน ๒๐ แห่ง พร้อมที่จะนำร่องในการประเมิน การปฏิบัติงาน PCHA
๖.      แม่ว่าจะมีเวลาน้อยในการรับฟังการบรรยายอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ 14.00-18.00 น. แต่ก็แน่นด้วยเนื้อหา นานาด้วยสาระ จนพวกเราไม่อยากจะเลิก
๗.     ผู้ร่วมประชุมส่วนมากบอกว่า ประทับใจมากมาก
“เป็นไปได้อยากจะให้แพทย์และทีมงานที่ทำงานบริการด้านการแพทย์และสาธารณสุขของเราได้รับฟังการบรรยายของ  นพ.จิระวัฒน์ วิเศษสังข์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเมืองจันทร์ จังหวัดศรีสะเกษ ผู้ซึ่งเป็นวิทยากรผู้มีชื่อเสียง ระดับประเทศ เรื่องการสนับสนุนระบบบริการปฐมภูมิ นี้สักครั้ง ” นายวิทยา  เพชรรัตน์ สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว
“หากอาจารย์จะกรุณา จังหวัดยโสธรอยากจะขอเป็นพันธมิตรที่ดีกับ โรงพยาบาลเมืองจันทร์ ดิฉันในนามประธาน โซน วังคำชัย จะได้นำ ทีมงานไปเยี่ยมชมให้กำลังใจ อาจารย์จิระวัฒน์ ถึงถิ่น เพื่อจะได้นำไฟที่มีมากมายในหัวใจของ คุณหมอจิระวัฒน์ มาเติมเป็นกำลังใจให้กับตนเองและทีมงานในการทำงานบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์”  พญ.ดุสิตา ชนะชัยวิบูล์วัฒน์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาชนะชัย
เป็นครั้งแรกของจังหวัดยโสธร เป็นครั้งแรกของเขต 10 เป็นครั้งแรกของภาคอีสาน และอาจจะเป็นครั้งแรกของประเทสไทย ที่มีเวทีการพัฒนาคุณภาพงาน HA ของ โรงพยาบาล และ PCA ของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เข้าร่วมกันเป็น PCHA  โดยมีแพทย์ที่ปฏิบัติงานทุกคนมาร่วมรับฟังในเวทีเดียวกัน พร้อมกับผู้บริหารคปสอ.ทั้ง3อำเภอ
นางสุวรรณี   แสนสุข         หัวหน้างกลุ่มงานพัฒนาคุณภาพบริการและ สสม. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร
บรรยายดี KKM PCHA มีสาระ ไม่ได้ฟัง หมอจิระวัฒน์ ทำไงดี  ง่ายๆเลย

Click ดูได้ ที่นี่   http://ptjsw.blogspot.com/2014/01/29-2557-kkm-pcha.html





































ทั้งนี้ มีรายละเอียด ดัง คำกล่าวรายงาน ที่ พญ.ดุสิตา ชนะชัยวิบูลวัฒน์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาชนะชัย
กล่าวใน“เวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การพัฒนาคุณภาพสู่การจัดการสุขภาพอย่างยั่งยืน”
วันที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๕๗ ณ ห้องประชุมโรงพยาบาลมหาชนะชัย ดังนี้
เรียน ท่านนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร นายแพทย์สุใหญ่ หลิ่มโตประเสริฐ

ดิฉัน พญ.ดุสิตา ชนะชัยวิบูลวัฒน์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาชนะชัย ในฐานะประธานเครือข่ายบริการ โซนใต้ ๓ อำเภอ หรือเครือข่าย วัง คำ ชัย ประกอบด้วย อำเภอคำเขื่อนแก้ว อำเภอค้อวัง และอำเภอมหาชนะชัย ขอขอบพระคุณท่านเป็นอย่างยิ่ง ที่ให้เกียรติมาเป็นประธาน ในการประชุมในวันนี้
เครือข่ายบริการ โซนใต้ ๓ อำเภอ คำเขื่อนแก้ว ค้อวัง และมหาชนะชัย หรือใช้อักษรย่อว่า Zone KKM ขอขอบพระคุณท่าน นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธรจังหวัดยโสธร ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณสำหรับให้โซน KKM ๓ อำเภอพัฒนางานร่วมกัน จำนวน ๓ แสนบาท  ซึ่ง Zone KKM ได้มีเป้าหมายในการพัฒนา
เป็นหนึ่งเดียวร่วมกันคือ การพัฒนาคุณภาพ สู่การจัดการสุขภาพอย่างยั่งยืน โดยการผสมผสานให้การพัฒนาคุณภาพของโรงพยาบาล หรือ HA ให้เป็นเนื้อเดียวกันและสอดประสานกับการพัฒนาคุณภาพ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล หรือ PCA  ทั้งนี้โดยมีเป้าหมายการพัฒนาร่วมเพื่อให้ประชาชนสามารถดูแลสุขภาพตนเอง ที่เชื่อมโยงตั้งแต่โรงพยาบาลแม่ข่ายเชื่อมโยงสู่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ภาคีเครือข่าย ชุมชน ครัวเรือน และบุคคลนำไปสู่การจัดการสุขภาพแบบยั่งยืนต่อไป หรือ ใช้ตัวย่อ ว่า  KKM  PCHA
            ผู้ร่วมประชุมในวันนี้ คือคณะกรรมการบริหารของ Zone KKM ประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงพยาบาล สาธารณสุขอำเภอ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล คณะกรรมการบริหารโรงพยาบาล และแพทย์ทุกคน รวมจำนวน ๑๐๐            คน
วิทยากร ได้รับความร่วมมือด้วยดีจาก นพ.จิระวัฒน์ วิเศษสังข์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเมืองจันทร์ จังหวัดศรีสะเกษ ผู้ซึ่งเป็นวิทยากรผู้มีชื่อเสียง ระดับประเทศ เรื่องการสนับสนุนระบบบริการปฐมภูมิ
เครือข่าย วัง คำ ชัย มีความหมายว่า ในวังนี้ วัง ๓ อำเภอนี้ มีแต่คนที่มีคุณภาพดุจดั่งทองคำ หากพวกเราร่วมมือกันทำงานด้วยดีแล้ว ทำอะไรก็จะมีแต่ชัยชนะ
หลังจากอบรมในวันนี้แล้ว คณะกรรมการ คปสอ.ทั้ง ๓ อำเภอจะได้พัฒนาสถานบริการและหมู่บ้าน
นำร่อง ร้อยละ ๕๐ ของสถานบริการ จำนวน ๒๐ แห่ง ให้บรรลุตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ต่อไป

และจาก คำกล่าวเปิด ของ นายแพทย์สุใหญ่ หลิ่มโตประเสริฐ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร
ใน“เวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การพัฒนาคุณภาพสู่การจัดการสุขภาพอย่างยั่งยืน”
วันที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๕๗ ณ ห้องประชุมโรงพยาบาลมหาชนะชัย  ดังนี้
เรียน      ท่าน ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาชนะชัย พญ.ดุสิตา ชนะชัยวิบูลวัฒน์ ประธานเครือข่ายบริการ
KKM โซนใต้ ๓ อำเภอ   ท่านสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว สาธารณสุขอำเภอค้อวัง 
สาธารณสุขอำเภอมหาชนะชัย   ท่านผู้อำนวยการโรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว 
ผู้อำนวยการโรงพยาบาลค้อวัง         ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล แพทย์ และ
คณะกรรมการบริหารผู้ร่วมประชุมทุกคน
 ผมรู้สึกเป็นเกียรติ และยินดีมากที่ได้มาเป็นประธาน ใน เวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การพัฒนาคุณภาพสู่การจัดการสุขภาพอย่างยั่งยืน ของ เครือข่ายบริการKKM โซนใต้ ๓ อำเภอ ค้อวัง คำเขื่อนแก้ว และอำเภอมหาชนะชัย หรือ Zone KKM ในวันนี้
            จากการกล่าวรายงาน ผมขอชื่นชมคณะกรรมการบริหารโซนใต้ ๓ อำเภอ ที่ได้ร่วมกันใช้งบประมาณ จำนวน ๓ แสนบาท ในการพัฒนางานร่วมกัน เพื่อให้ประชาชนสามารถพึ่งตนเองได้ ภายใต้กระบวนการพัฒนางานคุณภาพร่วมกัน ทั้ง โรงพยาบาล และ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ที่เรียกว่า PCHA ซึ่งถือว่าเป็น
นวตกรรมเด่น ของจังหวัดยโสธร หรือ ในระดับเขต ๑๓ ของเรา นอกจากนั้นจุดเริ่มที่ดีมากๆ ซึ่งถือได้ว่าเป็นครั้งแรกของประเทศไทยคือ มีคณะกรรมการบริหารโซน และแพทย์ทุกคน เข้าร่วมในเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกัน
ขอบพระคุณ คปสอ.คำเขื่อนแก้ว ที่เป็นส่วนเลขานุการจัดการโครงการ
ขอบพระคุณ คปสอ.มหาชนะชัยที่เป็นเจ้าภาพอำนวยความสะดวก สถานที่ห้องประชุม
ขอบพระคุณ คปสอ.ค้อวังและผู้ร่วมประชุมทุกท่าน
ขอบพระคุณ วิทยากรผู้มีชื่อเสียง ระดับประเทศ เรื่องการสนับสนุนระบบบริการปฐมภูมิ
นพ.จิระวัฒน์ วิเศษสังข์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเมืองจันทร์ จังหวัดศรีสะเกษ ที่ให้เกียรติเป็นวิทยากร ในวันนี้
บัดนี้ได้เวลาอันสมควรแล้ว ผม ขอเปิด เวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การพัฒนาคุณภาพสู่การจัดการสุขภาพอย่างยั่งยืน KKM PCHA  
ขออำนวยพรและเป็นกำลังใจ ให้ คปสอ.ทั้ง ๓ อำเภอ ทั้งคำเขื่อนแก้ว ค้อวัง และอำเภอมหาชนะชัย

ร่วมกันพัฒนาคุณภาพให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ต่อไป