1/12/14

10มค.2557: ประชุมสรุปผลเครือข่ายลดปัจจัยเสี่ยง (อุบัติเหตุ):ยโสธร

10มค.2557: ประชุมสรุปผลเครือข่ายลดปัจจัยเสี่ยง (อุบัติเหตุ):ยโสธร
            วันที่ 10 มกราคม 2556 ผม นายพันธุ์ทอง  จันทร์สว่าง ดำเนินการประชุม ตัวแทนเครือข่าย ลดอุบัติเหตุ อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร ณ ห้องประชุมม่านเมฆา สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว
ซึ่งเป็นการประชุมสรุปผลการดำเนินงานตามโครงการพัฒนาเยาวชนต้นแบบสุขภาพดี ขับขี่ปลอดภัย สวมหมวกนิรภัย มีวินัยจราจร อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร ประจำปี งบประมาณ 2556
ซึ่งเป็นการประชุมสรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ โครงการพัฒนาเยาวชนต้นแบบสุขภาพดี ขับขี่ปลอดภัย สวมหมวกนิรภัย
ตามที่สมาคมหมออนามัย ได้สนับสนุน งบประมาณ สนับสนุน โครงการจำนวน 27,000 บาทนั้น
สมาคมหมออนามัยจังหวัดยโสธรและภาคีเครือข่ายลดอุบัติเหตุ อำเภอคำเขื่อนแก้ว ได้นำไป ดำเนินงานในพื้นที่ต้นแบบคือ พื้นที่อำเภอคำเขื่อนแก้ว  ในชื่อ โครงการพัฒนาเยาวชนต้นแบบสุขภาพดี ขับขี่ปลอดภัย สวมหมวกนิรภัย
มีวินัยจราจร อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร ประจำปี งบประมาณ 2556
            จัดกิจกรรม ขับเคลื่อนตามโครงการ ดังสรุปไว้ด้านล่างนี้

ขอขอบพระคุณทุกๆแนวคิดจากการสรุปผลการปฏิบัติงานในครั้งนี้  อาทิเช่น
            เป็นโครงการที่ดีมาก ที่น่าประทับใจคือ เรามีเงินงบประมาณ ตั้งต้น โครงการเพียง 27,000 บาท แต่ เราสามารถนำไปขยายผล นำงบประมาณ เข้าพื้นที่ของเราได้อีกกว่า 300,000 บาท ( นายอรุณ ฉายแสง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบกน้อย)
พื้นที่ตำบลย่อ ส่วนมากติดกับถนน 4 เลน ได้โครงการนี้มา ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี ในการให้เยาวชน และชุมชน เป็นแกนนำในการลดอุบัติเหตุ ซึ่งพวกเราจะนำไขยายผลให้ครอบคลุมทุกหมู่บ้านต่อไป ( นางอุศมา นามแก้ว ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลย่อ)
ดิฉันเห็นประโยชน์จากโครงการนี้ที่สำคัญคือ เยาวชนหากเขาสามรถเป็นแบบอย่างในทางที่ดีแก่เพื่อนๆได้ หรือมีเยาวชนต้นแบบมากๆ เราก็ใสเรื่องอื่น ที่ยากๆเข้าไป เช่นเรื่อง ยาเสพติด หากเราบอกว่าเป็นโครงการเกี่ยวกับยาเสพติด ก็ไม่มีใครอยากเข้ามามีส่วนร่วม เพราะ เขามองว่าเป็นเรื่องในทางลบ แต่กิจกรรมลักษณะนี้ เป็นกิจกรรมเชิงบวก ที่สามารถระดมความร่วมมือจากภาคส่วนต่างๆได้ดี (นางอริยวรรณ จันทร์สว่าง พยาบาลวิชาชีพ หมออนามัยโรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว)
ผมประทับใจการขับเคลื่อนกิจกรรมตามโครงการนี้ ที่มีทุกระดับทั้งระดับอำเภอ ระดับตำบล และระดับชุมชน
สิ่งที่เครือข่ายตำบลเราจะต้องทำต่อคือ ทำต่อเนื่องไปเรื่อยๆ (นายรพีภัทร มั่นจิตร ครู โรงเรียนกู่จานวิทยาคม)
เรื่องจะทำให้ยั่งยืนนั้น ผมเห็นว่าควรเปรียบเทียบกับการปลูกต้นไม้ หากเราปลูกแล้ว ทิ้งไว้ ก็มี 2 ต. คือ โต กับ ตาย ส่วนมากจะตาย แต่ถ้าเรา ปลูกแล้ว ดูแล รดน้ำพรวนดิน ใส่ปุ๋ย ป้องกันการรบกวนของสัตว์ แมลงต่างๆ ส่วนมาก็จะโต โครงการนี้ก็เช่นกัน ต้องเริ่มที่เยาวชนแกนนำของเราก่อน หากเขาสามารถดูแลได้ด้วยตนเองก็จะยั่งยืน ยกตัวอย่างตัวผมเอง เมื่อก่อนก็ไม่ใส่ เพราะมองว่าไม่สะดวก มันยุ่งยาก ที่สำคัญในชุมชนเราไม่มีตำรวจ แต่พอมาร่วมโครงการนี้ ผมใส่ทุกวัน ใส่ทุกครั้ง แม้ไปซ้อมกีฬาใกล้ๆ ก็ใส่ โดยการเปลี่ยนความคิดว่า ไม่ได้ใส่ป้องกันตำรวจ แต่เป็นการให้ความปลอดภัยแก่ตนเอง อย่างน้อยก็ป้องกันแมลง ป้องกันฝุ่น ผงเข้าตาได้ (นายสมศักดิ์ ทองทา ครู โรงเรียนชุมชนดงแคนใหญ่)
            ถือเป็นโครงการที่สามารถสร้างกระแสการขับขี่ปลอดภัยได้ดีมาก เพราะเรื่องหมวกกันน๊อค ในวัยรุ่นเป็นเรื่องที่ยากมาก กิจกรรมนี้เราให้เยาวชนเป็นแกนนำ จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจและแปลกใหม่ ดิฉันยังคิดต่อไปว่าจะต้องหาแนวทางร่วมกับชุมชน ให้ชุมชนมีมาตรการต่างๆให้สามารถใช้ได้ผลจริงๆ เช่น อบต.ทำป้ายจราจร ตามชุมชน และมีมาตรการทางสังคมให้ปฏิบัติร่วมกัน ( นางสนิท สัสสี  พยาบาลวิชาชีพ หมออนามัยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดงแคนใหญ่)
            ดิฉันและเครือข่ายตั้งใจจะขายผลไปถึงว่า จะทำอย่างไร ให้กิจกรรมดีๆเหล่านี้ ยังคงอยู่ และยั่งยืน โดยการขับเคลื่อนของ ชุมชนและเยาวชนเอง ( นางฉลวยศรี ไชยนา  หมออนามัยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโพนทัน)

ดิฉันจะนำเรื่องนี้ไปปรึกษากับ โรงเรียน เพราะกลุ่มเป้าหมายคือเยาวชน หาก เราเริ่มได้ที่ตัวเขาเอง มันจะยั่งยืนต่อไปในอนาคต และที่ง่ายที่สุดคือ ให้โรงเรียนมีมาตรการ เหมือน กับทหาร ทหารทำไมใส่หมวกกันน็อคทุกคน นักเรียนก็ควรจะใส่ได้ (นางแจ่มจิต ไชยนา พยาบาลวิชาชีพ หมออนามัยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกู่จาน)






No comments:

Post a Comment