7/31/21

31 ก.ค.64 >รูปธรรม คำ มุ่งมั่น ทุ่มเท นาถวิทักษ์ มูลสาร และคณะ ณ รพ.สต.กุดแข้ด่อน ดูแลด้วยหัวใจ CI กุดเชียงหมี

 วันที่ 31 กรกฎาคม 2564   นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง สาธารณสุขอำเภอเลิงนกทา  บันทึกข้อความประทับใจ รายงานจาก นาง นาถวิทักษ์ มูลสาร ผอ. รพ.สต.กุดแข้ด่อน   ความว่า  เรียน สาธารณสุขอำเภอเลิงนกทา

 หลังจากที่ท่านกลับจากร่วมประชุม EOC ตำบลกุดเชียงหมี  เรื่อง เตรียมที่พักคอย เพื่อบริการพี่น้องเราที่จะกลับมาพัก ก่อนเข้ารับการรักษา นั้น   รายงานความก้าวหน้า สถานที่ คณะกรรมการ ได้ปรับปรุงพื้นที่แบ่งโซน สำหรับผู้ที่จะเข้าพักให้เรียบร้อย โดยได้รับความร่วมมือจากหลายฝ่ายในชุมชน  ทั้งด้านสถานที่ ภายใต้อำนวยการสนับสนุนโดย นายสำราญ  สรชัย  นายกเทศมนตรีตำบลกุดเชียงหมี

ด้านการอยู่เฝ้าเวรยาม รักษาความปลอดภัย เป็นบทบาทของฝ่ายปกครอง นำโดยนายพรชัย  ชาลี กำนันตำบลกุดเชียงหมี และคณะ

ด้าน การดูแลติดตามผู้ป่วย โดย รพ. สต.บ้านกุดเชียงหมีและ รพ.สต. บ้านกุดแข้ด่อนพร้อม ทีม อสม. 

รวมถึงภาคปราชการ ภาคประชาชน และ ภาคีอื่นๆ ที่ไม่ได้เอ่ยนาม 

ประชุมเสร็จ แม้วันหยุด เทศกาลเข้าพรรษา คณะเรา ไม่มีหยุด เพราะ ญาติ พี่น้องเรา จะกลับมา เราต้องหาที่พัก ที่ปลอดภัย ไว้รองรับ

            ลงมือ สถานที่และพร้อมใช้ *ทำทันทีนี่ตำบลกุดเชียงหมี *  เริ่มจากสิ่งที่มี ง่ายๆ หาได้ในชุมชน

เพราะพี่น้องเราโทรมาทุกวัน วันละหลายคนว่าจะขอกลับบ้าน  ขอกลับมาหาพี่น้อง เราช้าไม่ได้แล้ว 

-มีการประชาสัมพันธ์ ผ่านผู้นำหมู่บ้าน และ อสม. 

สายธารน้ำใจหลั่งไหลไม่ขาด ที่จะดูแลเบิ่งแยงกัน  ทั้งชุมชน  บ้าน วัด โรงเรียน  

ไม่กี่วัน อัศจรรย์มาก ได้เงินสด ๆ   เกือบสองหมื่น  และ อุปกรณ์  เตียงหมอน เสื่อ ข้าวสาร  แห้ง  ตามสมควร

-ตอนเที่ยง นางนาถวิทักษ์  มูลสาร ไป เยี่ยมให้กำลังใจทีมงาน และตรวจดู ประเมินอาการ ดูแล ผู้ป่วย  6  คน ณ CI (ในจำนวนนี้มี เขต รพ.สต.บ้านกุดแข้ด่อน  3  คน)  ผู้ป่วยบอกว่า หากไม่ได้กลับมารักษาที่บ้าน คงตายอยู่กรุงเทพ แล้วคุณหมอ  เดี๋ยวนี้ อาการดีขึ้น จมูกได้กลิ่นอาหาร เริ่มมีเรี่ยว มีแรง คงบ่ตายแล้ว ขอขอบคุณคุณหมอและทีมงาน หลาย ๆ เด๊อจ้า เสียงบอกเล่าจากผู้ป่วย  ได้เห็นน้ำตาแห่งความปิติของผู้ป่วย  ในขณะที่หมอผู้ดูแลก็กลั้นน้ำตา แห่งความปิติ ไม่ได้เช่นกัน เพียงประโยคสั้น ๆ และ บรรยากาศความร่วมมือที่ดี ยิ่งกระตุ้นเตือน พัฒนา ปรับปรุงให้ดีขึ้น ขาดห้องน้ำ นายกฯ ก็สร้างห้องน้ำ ขาดอาหาร ชุมชนก็สนับสนุน .. คิดว่าคนบ้านเดียวกันต้องช่วยเหลือกัน ต้องไม่ทอดทิ้งกัน  ..ผอ.รพ.สต.บ้านกุดแข้ด่อน รายงานค่ะ



















30 ก.ค.64 จ.ยโสธร ส่งมอบพื้นที่ เปิด โรงพยาบาลสนาม 120 เตียง #บูรณาการผ่านกลไก พชอ.เลิงนกทา#

  วันที่ 30 กรกฎาคม 2564   นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง สาธารณสุขอำเภอเลิงนกทา ไปพร้อมกับ นายชาญณรงค์ เมืองอามาตย์  ผู้ช่วยสาธารณสุขอำเภอเลิงนกทาและคณะ

เข้าร่วมงาน ณ สนามกีฬากลางอำเภอเลิงนกทา บ้านดอนฮี อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร

ประธานฝ่ายสงฆ์ โดย หลวงปู่ ดร.บุญชวน ธัมมโฆสโก  ประธานที่ปรึกษา พชอ. เลิงนกทา

ประธานฝ่ายฆราวาส  นายชลธี ยังตรง ผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร มอบหมายให้ นายสุวัฒน์ เข็มเพชร รองผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร ทำหน้าที่ ประธาน

กิจกรรม ส่งมอบพื้นที่ โรงพยาบาลสนาม 120 เตียง ให้กับ นพ.เจนวิทย์ เวชกามา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเลิงนกทา และคณะ

           

นายสุพิช สามารถ นายอำเภอเลิงนกทา  ประธาน พชอ. เลิงนกทา กล่าวรายงาน และนำเยี่ยมชม ตรวจเยี่ยม ให้กำลังใจบุคลากรทุกระดับ  

   แขกผู้มีเกียรติเข้าร่วมงาน  อาทิ ประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดยโสธร สจ. ในเขตพื้นที่ อำเภอเลิงนกทา บุคลากรทางการแพทย์  หัวหน้าส่วนราชการ  ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ร่วมงาน



 

สถานการณ์ปัจจุบัน จะมอบให้ใคร คนใดคนหนึ่ง ทำหน้าที่ สู้ภัยโรคร้ายนี้ไม่ได้ ทุกคนต้องช่วยกัน ภารกิจพวกเรา ต้องช่วย บุคคลที่ช่วยคนอื่น แพทย์ และบุคลากรสาธารณสุข คือคนที่ช่วยคนอื่น เราต้องช่วยท่าน สิ่งที่ช่วยท่านได้คือ เราต้องไม่ให้ คุณหมอ เหล่านั้นมาพะวง กะบการจัดหา อาคาร สถานที่ ข้าวน้ำ เหล่านี้ พวกเราทำได้ เราต้องช่วยกัน ส่วนคุณหมอและคณะ ปัจจุบันมีอยู่อย่างจำกัด ให้ท่านไปทำหน้าที่ ที่พวกเราทำไม่ได้ ท่านจะได้ ไม่เหน็ดหเนื่อย เมื่อยล้า จนเกินไป ฉะนั้น อาตมา จึงให้ความสำคัญกับจุดนี้ โรงพยาบาลสนาม บ้านดอนฮี แห่งนี้จึงเกิดขึ้นภายใต้แรงศรัทธาของประชาชนคนเลิงนกทา พร้อมนี้ ศิษยานุศิษย์ได้สมทบค่าอาหาร  133,905 บาท ขอมอบผ่าน นายอำเภอ เพื่อใช้ในการประกอบ อาหาร ผู้ป่วยโควิด ซึ่งรับการรักษา ณ โรงพยาบาลสนามอำเภอเลิงนกทา แห่งนี้ต่อไป   หลวงปู่ ดร.บุญชวน ธัมมโฆสโก 

 

            ที่นี่นับเป็น โรงพยาบาลสนาม แห่งที่ 3 ของ จังหวัดยโสธร คาดหมายว่าจะสามารถรองรับบริการ ลดความแออัด ของ เตียง ใน รพร.เลิงนกทา ลงได้พอสมควร รวมถึงสนับสนันบริการ ประชาชน คนอำเภอ กุดชุม และ อำเภอไทยเจริญด้วยนายสุวัฒน์ เข็มเพชร รองผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร

 

ในวันนี้เป็นฤกษ์ดี สถานที่นี้ จะมีผู้เข้ารับบริการ ชุดแรก เข้าพักเย็นนี้ 30 คน ครับ  นพ.เจนวิทย์ เวชกามา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเลิงนกทา


















สภาพภายนอกอาคาร โรงพยาบาลสนามอำเภอเลิงนกทา 












 

30 ก.ค.64 ศรีสุขเกษตรยนต์ วินัย สุวรรณเพชร น้ำใจ ให้ บริการประชาชน ณ รพ.สต. ตำบลศรีแก้ว

  วันที่ 30 กรกฎาคม 2564   นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง สาธารณสุขอำเภอเลิงนกทา  บันทึกข้อความประทับใจ รายงานจาก นายพัฒนา สุวรรณทิตย์ ผอ.รพ.สต.ศรีแก้ว ความว่า  

 นายวินัย สุวรรณเพชร ร้านวินัยวัสดุ ตำบลศรีแก้ว บริจาค ชุดอุปกรณ์ทางการแพทย์ จำนวน 2,000 บาท สาธุ ขออานิสงส์แห่งบุญ จงดลบันดาลให้ท่านและครอบครัว มีความสุข ความเจริญ ร่ำรวย สุขภาพแข็งแรง ตลอดไป เทอญ.

  วันที่ 25 กรกฎาคม 2564 ขอขอบพระคุณ ผู้มีจิตศรัทธาบริจาค ดังรายนามดังต่อไปนี้

1. /เสี่ยเล็กและเจ๊เข็ม ผู้จัดการร้านศรีสุขเกษตรยนต์ ตำบลศรีแก้ว จำนวน 3,000 บาท 

2./คุณคำแหง  ละครชัย ผจก.ร้านโชคสำราญ อำเภอกุดชุม จำนวน 1,000 บาท

3./ และบริษัท เมเจอร์ฟาร์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด โดยคุณสุเทพ เหล่าพิพัฒนภิญโญ ได้มอบ เครื่องอุปโภคบริโภค ให้ รพ.สต.ศรีแก้ว ไว้สู้ภัยโรคโควิด 19

ขอให้กิจการเจริญๆ เฺฮงๆรวยๆยิ่งๆขึ้นไป ครับ








31 ก.ค.64 Next Step จากมติที่ประชุม ระดับ เขต 10 เชิงรุก กลุ่ม 608 ตั้ง ทีมบูรณาการ ต้าน COVID -19 อำเภอเลิงนกทา LN CCRT

 วันที่ 31 กรกฎาคม 2564   นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง สาธารณสุขอำเภอเลิงนกทา

เตรียมความพร้อม สำหรับการปฏิบัติงาน เดือน สิงหาคม 2664  Next Step จากมติที่ประชุม ระดับ เขต 10  

1.สำรวจ กลุ่มเป้าหมาย 608 เตรียมรับวัคซีน ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัว 7 กลุ่มโรค และหญิงตั้งครรภ์

2. ตรวจคัดกรองค้นหาผู้ติดเชื้อโควิด 19 ในชุมชน ด้วยชุดตรวจ Antigen Test Kit

3.ให้การรักษาพยาบาลเบื้องต้นก่อนส่งต่อเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล โดยการจ่ายยาสมุนไพรฟ้าทะลายโจร และให้คำแนะนำในการแยกกักที่บ้าน (HI : Home Isolation) และมอบชุด HI แก่ผู้ป่วยที่สามารถกักตัวที่บ้านได้ สำหรับผู้ที่ไม่สามารถกักตัวที่บ้านได้ ทีมจะนำผู้ป่วยนำส่งศูนย์พักคอยเพื่อส่งต่อ (CI : Community Isolation)

4.ดำเนินการกักกันผู้สัมผัสเสี่ยงสูงที่บ้าน และมอบชุด HQ : Home Quarantine หรือส่งเข้า LQ : Local Quarantine ตามความเหมาะสม

5.เตรียม ให้บริการเชิงรก ฉีดวัคซีนกับกลุ่มเสี่ยง 608  ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัว 7 กลุ่มโรค หญิงตั้งครรภ์

6 เตรียมพร้อม ทีมสนับสนุนการปฏิบัติงาน   Comprehensive Covid-19 Response Team  : CCRT

Loengnoktha Comprehensive Covid-19 Response Team 

ตัวย่อ LN-CCRT

ตัวย่อ ทีม CCR อำเภอเลิงนกทา

ชื่อเต็ม ทีมบูรณาการ ต้าน COVID -19 อำเภอเลิงนกทา

ชื่อเต็ม ทีมบูรณาการ ต้านโควิด 19 อำเภอเลิงนกทา  

 


29 ก.ค.64 กำเนิด เกิด Idea บ้านหลังที่ 5 ณ CI บ้านด่าน มติ 4 หมู่บ้าน ประชาคม ตั้งศูนย์พักพื้นฯ ดูแลประชาชนคนเลิงนกทา#ยินดีต้อนรับ ให้กลับมาพักในที่ปลอดภัย#

วันที่ 29 กรกฎาคม 2564 เวลา 19.30 น.  นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง สาธารณสุขอำเภอเลิงนกทา และคณะ เข้าร่วมเวทีรับฟังความคิดเห็น ณ ศาลากลางบ้าน บ้านด่าน หมู่ 6 ตำบลสามแยก อำเภอเลิงนกทา

ประธานการประชุม โดย นายสุพิช สามารถ นายอำเภอเลิงนกทา ประธาน พชอ. เลิงนกทา

 

กิจกรรม รับฟังความเห็น ของประชาชนในพื้นที่ ตำบลสามแยก เพื่อจัดตั้ง ศูนย์พักฟื้น ดูแลผู้ป่วยสีเขียว  (Community Isolation : CI) ผู้ป่วยที่รักษาอาการดีแล้ว เตรียมความพร้อม ก่อนกลับบ้าน ให้ไปพักกับครอบครัวที่อบอุ่นต่อไป  (หลักการ รายละเอียด ด้านล่าง )

มติการประชุม

1.    เห็นชอบให้ จัดสร้าง ณ อาคาร โรงเรียนพระปริยัติธรรมเทพสถิตวิทยาลัย  วัดสุมังคลาราม

สำหรับ รองรับการบริการ ผู้ป่วย ประมาณ 250 - 300 เตียง  บูรณาการ ผ่านกลไก พชอ. เลิงนกทา

2.    หน่วยดำเนินการหลัก 2 หน่วยคือ

2.1. องค์การบริหารส่วนตำบลสามแยก

2.2. เทศบาลตำบลสามแยก

3.    หน่วยสนับสนุน ฝ่ายปกครอง กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ทุกหมู่บ้าน

4.    หน่วยดูแลผู้ป่วย โดย โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเลิงนกทา สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเลิงนกทา โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล สามแยก

 

ขอบคุณผู้เข้าร่วมเวทีการประชาคม ที่ร่วมให้ข้อมูล ให้คำแนะนำด้วยดี อาทิ

นพ.เจนวิทย์ เวชกามา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเลิงนกทา และคณะ

นายมนต์ชัย พันธ์สวัสดิ์ ท้องถิ่นอำเภอเลิงนกทา

นายวุฒิชัย วงษาเวียง นายกเทศมนตรีตำบลสามแยก

นายชัชชัย  พันธ์สวัสดิ์ นายก องค์การบริหารส่วนตำบลสามแยก

นายคมสันต์ กาลจักร  ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล สามแยก

นายปรัชญา สารสุข ปลัดนายกเทศบาลตำบลสามแยก

ขอบคุณ การเตรียมชุมชนในพื้นที่ด้วยดี โดย นายถะโหน่ง โทบุดดี กำนันตำบลสามแยก

ผู้ใหญ่บ้าน บ้านนาขาม หมู่ 3 บ้านหนองแฝก หมู่ 4 บ้านด่าน หมู่ 6 บ้านด่านใต้ หมู่ 15

นางอรทัย วงศาสนธ์ และ คณะ จนท. คณะ อสม.เขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล สามแยก

            อานิสงส์ ผลบุญ จงบังเกิดแก่ ประชาชน ชุมชนบ้านด่านทั้ง 4 หมู่บ้าน ให้ประสบแต่ความสุข ทุก ๆ คนครับ

 

 

หลักการเหตุผล

เพื่อป้องกันแรงกระทบจากชุมชน ในการจัดตั้ง CI คณะทำงานจึง ใช้ชื่อเรียก ภาษาไทย จากเดิมใช้คำว่า ศูนย์พักคอย

เป็น ศูนย์พักพื้นฯ เพื่อดูแลประชาชนคนเลิงนกทา   ส่วนชื่อภาษาอังกฤษ ยังคงใช้ (Community Isolation : CI)  

และชื่อภาษาไทย ในเอกสารราชการ และการให้บริการทางการแพทย์ ก็ยังหมายถึง ศูนย์พักคอย ให้การดูแลผู้ป่วยสีเขียว  (Community Isolation : CI)  ผู้ป่วยที่รักษาอาการดีแล้ว เตรียมความพร้อม ก่อนกลับบ้าน ให้ไปพักกับครอบครัวที่อบอุ่นต่อไป

ผู้ป่วย COVID-19 สีเขียว สีเหลือง สีแดง

การให้บริการ ผู้ติดเชื้อ หรือ ผู้ป่วย COVID-19 นั้น มาตรการด้านสาธารณสุขด้านการรักษาพยาบาล แบ่ง ออกเป็น 3 กลุ่ม หรือ 3 สี  สีเขียว คือ ไม่มีอาการ สีเหลือง มีอการเล็กน้อย สีแดง คืออาการหนัก

เพื่อให้รองรับผู้ป่วย 3 สี เดิม มีการจัดบริการสถานที่รักษา ไว้รองรับดังนี้

ระยะที่ 1 จัดไว้ 3 ประเภท ตามสี หรืออาการของผู้ป่วย

สีเขียว คือ ไม่มีอาการ เข้า โรงพยาบาลสนาม

สีเหลือง มีอการเล็กน้อย เข้าโรงพยาบาลอำเภอ

สีแดง คืออาการหนัก เข้าโรงพยาบาล จังหวัด

เมื่อเกิดการระบาดในวงกว้าง จำนวนเตียง ไม่พอ จึงปรับใหม่

ระยะที่ 2 เขตสุขภาพที่ 10 จัดไว้ 4 ประเภท ตามสี หรืออาการของผู้ป่วย  หรือ เรียกว่า บ้าน 4 หลัง ตามศรีสะเกษ Model

บ้านหลังที่ 1  เข้า ศูนย์แยกกัก (Quarantine )  สำหรับผู้สัมผัสเสี่ยงสูง หรือ มาจากพื้นที่เสี่ยง

บ้านหลังที่ 2  เข้า ศูนย์พักคอย สำหรับ ผู้ตรวจพบเชื้อ ที่ไม่มีอาการ (สีเขียว)  เพื่อพัก และ รอคอยให้เตียงโรงพยาบาลว่าง  บ้านหลังนี้ มี 2 ประเภท

ประเภทห้องพิเศษ ไม่ต้องนอนปะปนกับใคร ๆ เรียกว่า Home Isolations  : HI

ประเภทห้องรวม ไม่ต้องนอนปะปนกับใคร ๆ เรียกว่า Community Isolations : CI

บ้านหลังที่ 3  เข้าโรงพยาบาลสนาม สำหรับ ผู้ตรวจพบเชื้อ ที่ไม่มีอาการเล็กน้อย (สีเหลือง)

บ้านหลังที่ 4  เข้าโรงพยาบาล  (อำเภอ จังหวัด หรือโรงพยาบาลศูนย์) สำหรับ ผู้ตรวจพบเชื้อที่มีอาการหนัก(สีแดง)

หากรักษาหาย หรือ รักษาครบ ในแต่ละประเภท ก็จะส่งกลับบ้านเลย

            แต่ ใน วันนี้ อำเภอเลิงนกทาเรา มีพี่น้องที่ยังไม่มีเตียงเข้ารับการรักษาเป็นจำนวนมาก  เนื่องจากว่า มีหลายคนรักษาอาการดีแล้ว ไม่มีอาการใดๆ แต่ต้อง นอน ครองเตียงเอาไว้ เพื่อให้ครบตามกำหนด ส่วนมากกำหนดไว้ 14 วัน

เพื่อเป็นการแก้ปัญหาเตียงล้น  ณ สถานที่เวทีประชาคมวันนี้ อำเภอเลิงนกทาเรา จึงจะสร้างบ้านขึ้นอีกหนึ่งหลัง เป็นบ้านหลังที่ 5  เรียกว่า ศูนย์พักฟื้น ผู้ป่วยก่อนกลับบ้าน

บ้านหลังที่ 5  นี้จะรองรับ ผู้ที่รักษาจะหายแล้ว เข้าพักเพื่อฟื้นฟูก่อนกลับบ้าน สำหรับ ผู้ที่รักษามาแล้ว 7-10 วัน (สีเขียว) เตรียมตัวกลับบ้าน

ฉะนั้น ณ วันนี้ ต้องจารึกไว้ว่า  เป็นวันประวัติศาสตร์ สำคัญ ที่ถือได้ว่า ประชาชน คนบ้านด่าน 4 หมู่บ้าน ที่เป็นตัวแทนของประชาชนคนอำเภอเลิงนกทา มีมติ ให้สร้าง  บ้านหลังที่ 5 ขึ้น ณ ที่นี่ ศูนย์พักฟื้นก่อนกลับบ้าน CI บ้านด่าน  อำเภอเลิงนกทา จ.ยโสธรครับ