2/27/20

24ก.พ.63อสม. อรวรรณ ทำมา คัดเลือก อสม.ดีเด่น สาขาส่งเสริมสุขภาพ ระดับชาติ ณ อำเภอป่าติ้ว


24ก.พ.63อสม. อรวรรณ ทำมา คัดเลือก อสม.ดีเด่น สาขาส่งเสริมสุขภาพ ระดับชาติ ณ อำเภอป่าติ้ว
วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2563 นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง และคณะ ร่วมให้กำลังใจ นายณัฐวุฒิ จันทร์สว่าง สาธารณสุขอำเภอป่าติ้ว อสม. อรวรรณ ทำมา และ ทีมงาน กิจกรรมรับการ คัดเลือก อสม.ดีเด่น ระดับชาติ สาขาการส่งเสริมสุขภาพ  ณ บ้านกระจาย ตำบลกระจาย อำเภอป่าติ้ว จังหวัดยโสธร กับผลงานเด่น  6 สหาย กระจายสุข  3 มหัศจรรย์กระจายสุข รวมถึงทองอุไร กระจายสุข เป็นต้น
ประธานกรรมการโดย นายแพทย์บัญชา ค้าของ รองอธิบดีกรมอนามัย
นายแพทย์จักราวุธ จุฑาสงฆ์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร นำผู้บริหารและคณะผู้เกี่ยวข้อง จากจังหวัดยโสธร  ทุกภาคส่วนร่วมต้อนรับอย่างอบอุ่น
            คณะกรรมการ ประกอบด้วย เรืออากาศเอกหญิงฐาปนพร สิงหโกวินท์ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ  กรมอนามัย นางสาวมะลิ ไพฑูรย์เนรมิต นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ นางสาวภิรมณ์พร ถือพลอย คณะกรรมการชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขแห่งประเทศไทย
และนายชัชวาลย์ น้อยวังฆัง กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน กระทรวงสาธารณสุข

ส่งกำลังใจให้กับ อสม. อรวรรณ ทำมา และ ทีมงานป่าติ้ว ทุกๆท่านครับ





















23ก.พ.63กับลูกๆทำความสะอาด ถนน หนทาง ณ บ้านบกน้อย ประตู สู่บ้านอื่นๆ


23ก.พ.63กับลูกๆทำความสะอาด ถนน หนทาง ณ บ้านบกน้อย  ประตู สู่บ้านอื่นๆ
วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2563 นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง กับคณะลูกๆบ้านบกน้อย ทำความสะอาด ถนน หนทาง
ณ บ้านบกน้อย  อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร
เส้นทางนี้เป็นประตูทางผ่าน ไปยังหลายๆหมู่บ้าน อาทิเช่น บ้านหนองแปน บ้านนาแก บ้านปลาอีด บ้านนาหลู่ บ้านเหล่าตอง บ้านหนองเทา หรือทางผ่านข้ามไปอำเภอหัวตะพาน ได้ครับ





22ก.พ.63อายุย่าง 82 ปี ณ บ้านสีสุก กราบ พ่อถวิล ผู้เป็นดั่งพระอรหันต์ ประจำครอบครัว


22ก.พ.63อายุย่าง 82 ปี ณ บ้านสีสุก กราบ พ่อถวิล ผู้เป็นดั่งพระอรหันต์ ประจำครอบครัว
วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2563 นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง และคณะ ญาติมิตร
ร่วมรับประทานอาหารร่วมกัน ณ บ้านคุณพ่อถวิล จันทร์สว่าง บ้านสีสุก อำเภอทรายมูล
เนื่องในโอกาส วันแรกที่ย่างอายุเข้าปีที่ 82 ของคุณพ่อถวิลจันทร์สว่าง



2/24/20

21ก.พ.63ระดับชาติครั้งแรก ณ อ.ค้อวัง อสม.ศรีวิไล คำโทน สาขาป้องกันละควบคุมโรคไม่ติดต่อ

21ก.พ.63ระดับชาติครั้งแรก ณ อ.ค้อวัง อสม.ศรีวิไล คำโทน สาขาป้องกันละควบคุมโรคไม่ติดต่อ
วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2563 นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง และคณะ ร่วมให้กำลังใจ อสม. ศรีวิไล คำโทน และคณะ
ในการเตรียมความพร้อม รับการ คัดเลือก อสม.ดีเด่น ระดับชาติ สาขาป้องกันละควบคุมโรคไม่ติดต่อ
ณ บ้านศิริพัฒนา ตำบลน้ำอ้อม อำเภอค้อวัง จังหวัดยโสธร กับผลงานเด่น อสม.ศรีวิไล ใส่ใจประชาชน รู้ตน ลดเสี่ยง เลี่ยงภัยโรคไม่ติดต่อ  (รายละเอียดด้านล่าง)
            ประธานกรรมการคือนายแพทย์อัษฎางค์ รวยอาจิณ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค
คณะกรรมการประกอบด้วยนายแพทย์อรรถเกียรติ กาญจนพิบูลวงศ์ นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ กรมควบคุมโรค รองศาสตราจารย์มณฑา เก่งการพานิช คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นางจันทร์ฉาย สุภากาวี คณะกรรมการชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขแห่งประเทศไทย และนางสาวนพวรรณ อัศวรัตน์ กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข
            นายแพทย์จักราวุธ จุฑาสงฆ์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร นำผู้บริหารและคณะผู้เกี่ยวข้อง จากจังหวัดยโสธร  ร่วมต้อนรับ นพ.ภาณุพันธุ์ ธนปฐมสินชัย รอง นพ.สสจ.ยส. นำคณะจาก คปสอ.ค้อวังเข้าร่วมงาน โดยมีหัวหน้าส่วนราชการ ผู้นำท้องที่ ท้องถิ่น อสม.เข้าร่วมกิจกรรมอย่างอบอุ่น ตามกำหนดการ   ที่นี่  https://ptjsw.blogspot.com/2020/02/2063.html

           






















































            ทั้งนี้ อสม.ดีเด่น ระดับชาติ สาขา NCD นี้ อำเภอค้อวังจังหวัดยโสธรเป็นตัวแทนภาคตะวันออกเฉียงเหนือจากทั้งหมด4ภาค คณะกรรมการได้เดินทางไปแล้วสามภาคคือ ภาคเหนือจังหวัดสุโขทัย ภาคกลางจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ภาคใต้จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อเข้ารับมอบรางวัลใน วัน อสม.แห่งชาติ 20 มีนาคมของทุกปี ต่อไป
           
อสม.ศรีวิไล ใส่ใจประชาชน รู้ตน ลดเสี่ยง เลี่ยงภัยโรคไม่ติดต่อ
อสม.ศรีวิไล ค าโทน อสม.นักพัฒนา เป็น อสม. 9 ปี ได้รับแรงบันดาลใจใน การ ท างาน จากการที่แม่และพ่อเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดสมอง และมะเร็ง ปอด อีกทั้งคนในชุมชนป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อ มากขึ้น มีพฤติกรรมที่ไม่ เหมาะสม อย่างชัดเจน อสม.ศรีวิไล ค าโทน ทีม อสม. และแกนน าชุมชน ๕ คน ได้เขียนโครงการขอรับงบประมาณสนับสนุนจาก สสส. ตั้งแต่ปี ๒๕๕๙ มีเป้าหมาย ศิริพัฒนาชุมชนสะอาดน่าอยู่ กินอยู่สุขภาพดี ปลอดภัย ใส่ ใจเกษตรอินทรีย์ ก่อเกิดสภาผู้น าชุมชนขับเคลื่อน ๓๐ คน ร่วมกันเก็บ ข้อมูล วิเคราะห์ปัญหา และจัดท าแผนพัฒนา ติดตามประเมินผล ขับเคลื่อน การพัฒนาชุมชน ๔ ด้าน(ด้านเศรษฐกิจ สังคม สุขภาพ สิ่งแวดล้อม) เกิดกฎกติกาชุมชนน่าอยู่ ๑๐ ข้อ เพื่อให้ชุมชนได้ยึดปฏิบัต
ผลงานด้านการป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อ ๑) ด้านอาหาร ในระดับครัวเรือน มีกฎกติกาชุมชน ข้อ ๓.ปลูกสมุนไพรและผัก ปลอดสารเคมีไว้ บริโภค อย่างน้อยครัวเรือนละ ๔ ชนิด ในระดับชุมชน ได้มีการจัดสรรที่ดินสาธารณะ ๔๐ ไร่ ให้ทุกหลังคาเรือน ได้ปลูกผักอินทรีย์ และมีกระบวนการติดตามประเมินผลการกินผักถึงระดับครัวเรือน เกิดคุ้มต้นแบบ และหลังคา เรือนต้นแบบ ๔๐ หลังคาเรือน และขยายการด าเนินการถึงโรงเรียนและศูนย์เด็กเล็ก ๒) ด้านการออกก าลังกาย มีกฎกติกาชุมชน ข้อ ๑๐ ให้มีการออกก าลังกาย สัปดาห์ละ ๑ ครั้ง อสม.ศรีวิไล เป็นแกนน าการออกก าลังกาย แบบแอโรบิค คีตะมวยไทย และ การร าวง ๓ ส และขยายเครือข่ายร า วง ๓ ส ทั้งอ าเภอ เกิดชมรม ออกก าลังกายในทุกกลุ่มวัย มีการการประเมินผลค่า BMI อย่างเป็นรูปธรรม ๓) ด้านอารมณ์ มีกิจกรรมถนนสายบุญ การใช้SKT ในกลุ่มป่วย แปลงผักสร้างสุข คลายทุกข์ของ ชุมชน การออกก าลังกาย ร าวง ๓ ส ๔) ด้านสุรา/บุหรี่ เกิดมาตรการในชุมชนในการ ลด ละ เลิกสุรา สามารถเลิกสุรา ได้ ๑๐ คน ๕) ด้านบุหรี่ เกิดมาตรการในชุมชนในการ ลด ละ เลิก บุหรี่ เกิดชุมชนคนใจ หิน เลิกบุหรี่ ได้ ๒ คน
ด้านการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง อสม.ศรีวิไล ค าโทน ร่วมกับ CG เป็นบั้ดดี้ ดูแลผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง ที่ควบคุมไม่ได้ ร่วมกับ อสค. โดยใช้เครื่องมือเยี่ยมบ้าน Inhomess ฉบับ อสม. /การจัดท าผังเครือญาติ ท าให้สามารถดูแลผู้ป่วยรายบุคคล ได้อย่างเป็นองค์รวม และผู้ป่วยในชุมชน สามารถควบคุมโรค ได้ตามเกณฑ์ นวัตกรรม เชือกฟางวัดรอบเอวเกิดขึ้นจากการประเมิน BMI และการใช้ สายวัดรอบเอว ประชาชนยังเข้าถึงได้ยาก และมีความยุ่งยากในการค านวณ อสม.ศรีวิไล ค าโทน จึงได้ใช้สาย เชือกฟาง วัดส่วนส่วนสูง และพับครึ่ง น ามาวัดรอบเอว เพื่อสร้างความตระหนัก และเป็นการเฝ้าระวังภาวะลดพุง ลดโรค ส่งผลให้กลุ่มเสี่ยง อ้วนลงพุง สามารถลดพุง ลงได้อย่างชัดเจน ผลส าเร็จที่ภาคภูมิใจ ในปี ๒๕๖๑,๒๕๖๒ ไม่มีผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิต รายใหม่ และผู้ป่วย เบาหวานและความดันโลหิตสูง สามารถควบคุมได้ เพิ่มขึ้น กลุ่มเสี่ยงสามารถกลับมาเป็นกลุ่มปกติได้เพิ่มขึ้น นับเป็นความภาคภูมิใจ ซึ่งเกิดจากความร่วมมือของทุกภาคส่วน