4/30/21

30 เม.ย.64 ขจรเกียรติ อุปยโสธร ผอ.รพร.ห้องข่า เลื่อนเป็น นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ

วันที่ 30 เมษายน 2564  ณ ห้องพญาแถน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร 

นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง สาธารณสุขอำเภอเลิงนกทา และคณะ ผู้บริหาร สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร   ร่วมแสดงความยินดี เนื่องในโอกาส ที่ นายขจรเกียรติ อุปยโสธร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลห้องข่า อำเภอเมืองยโสธร ได้รับการประดับ อินทรนู เลื่อนระดับสูงขึ้น เป็น นักวิชาการสาธารณสุข ระดับ

ชำนาญการพิเศษ

ประธานการประชุม โดย นพ.ธีระพงษ์ แก้วภมร นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร

ทั้งนี้ นายขจรเกียรติ อุปยโสธร เป็นพี่ชายที่ผมให้ความเคารพ นับถือ และได้ร่วมปฏิบัติงานร่วมกันมานาน กว่า 20 ปี

ขอแสดงความยินดีด้วยครับพี่ หุ่ย 










30 เม.ย.64 ยินดี นพ.เจนวิทย์ เวชกามา ผอ.รพร.เลิงนกทา เลื่อนระดับสูงขึ้นเป็น นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ

 30 เม.ย.64 ยินดี นพ.เจนวิทย์ เวชกามา ผอ.รพร.เลิงนกทา เลื่อนระดับสูงขึ้นเป็น นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ

วันที่ 30 เมษายน 2564 ในเวทีการประชุม กวป. ณ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร

นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง สาธารณสุขอำเภอเลิงนกทา และคณะ ผู้บริหาร สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร   ร่วมแสดงความยินดี เนื่องในโอกาส ที่ นพ.เจนวิทย์ เวชกามา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเลิงนกทา ได้รับการประดับ อินทรนู เลื่อนระดับสูงขึ้น เป็น ตำแหน่ง นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ

 

ทั้งนี้ นพ.เจนวิทย์ เวชกามา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเลิงนกทา มีตำแหน่งทางการบริการ

ด้านการแพทย์และการสาธารณสุขอีกตำแหน่งหนึ่งคือ ตำแหน่ง ประธาน คปสอ. เลิงนกทา






30 เม.ย.64 ครบรอบ 30 ปี รพ.สต.ศรีแก้ว ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับผู้มีพระคุณ

 30 เม.ย.64 ครบรอบ 30 ปี รพ.สต.ศรีแก้ว ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับผู้มีพระคุณ

วันที่ 30 เมษายน 2564 นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง สาธารณสุขอำเภอเลิงนกทา

ประทับใจ ข้อมูลตามที่ นายพัฒนา สุวรรณทิตย์ ผอ.รพ.สต. ศรีแก้ว รายงานความว่า วันนี้ ครอบรอบ 43 ปี

การก่อตั้ง สถานีอนามัยบ้านศรีแก้ว(ก่อตั้งเมื่อ เม.ย.2521)  นายพัฒนา สุวรรณทิตย์และคณะ จนท.รพ.สต.ศรีแก้ว ร่วมทำบุญถวายพระเพล ที่วัดศรีแก้ว เพื่ออุทิศส่วนกุศล ให้ ผู้มีพระคุณ ญาติสนิท มิตรสหาย ที่ล่วงลับไปแล้ว เพื่อระลึกถึงคุณความดีบุญกุศลที่เคยกระทำไว้เมื่อครั้งยังมีชีวิตอยู่...

 








28 เม.ย.64 ใช้ RIT ผ่าน 3 P จาก DHSA เป็น DHA กำลังใจที่ดี จากทีมคุณภาพ ณ รพร.เลิงนกทา

 28 เม.ย.64 ใช้ RIT ผ่าน 3 P จาก DHSA เป็น DHA กำลังใจที่ดี จากทีมคุณภาพ ณ รพร.เลิงนกทา

วันที่ 28 เมษายน 2564 นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง สาธารณสุขอำเภอเลิงนกทา ขอรับคำแนะนำ

จาก นายแพทย์เจนวิทย์ เวชกามา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเลิงนกทา และ คณะผู้บริหาร

ณ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเลิงนก

            เราจะรวมพลังความรัก หลอมรวมพลังความสามัคคี ของทีม คปสอ.เลิงนกทาเรา ขยายผลการบูรณาการ

จากมาตรฐานโรงพยาบาล สู่ "มาตรฐานระบบสุขภาพระดับอำเภอ เพื่อเป้าหมาย เป็นอำเภอแรก

ของเขต 10 ที่ผ่านการประเมินคุณภาพ HA อำเภอ  นพ.เจนวิทย์ เวชกามา กล่าว

                          จาก DHSA ทำไมจึงเป็น DHA  ณ อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร

ชื่อเต็ม มาตรฐานระบบสุขภาพระดับอำเภอ (District Health System Accreditation : DHSA )

ชื่อเต็ม มาตรฐานโรงพยาบาล ( Hospital Accreditation : HA )

            ในครั้งต่อไป เพื่อประสานความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ผมจะใช้ คำว่ามาตรฐานอำเภอเข้มแข็ง(District Healthy Accreditation : DHA )  หรือ ผ่านการประเมิน อำเภอเข้มแข็ง เพื่อให้เหลือ ตัวอักษร 3 ตัว DHA

ตัว D คือ รวมทุกภาคส่วน Health System รวม เป็น Healthy เพราะ คำว่าอำเภอเข้มแข็ง จะได้ความร่วมมือที่มากกว่า

 คำว่า ระบบสุขภาพอำเภอ

 

            ตัวเลข 3 เป้าหมาย Ranking อันดับที่ 3

            กระบวนการ 3 P :  Purpose Process Performance

               ศักยภาพ 3 ตัว ใช้ RIT :  Relationship Information Teamwork

               ในบริบท 3 L บนพื้นฐานของ พลังรัก ด้วยน้ำใจนักกีฬา

3  L        : Loeng Land of Learning บนพื้นฐาน ของ พลังรัก Love

  

เป้าหมาย คุณค่าสำคัญ จาก DHA เลิงนกทา

(1) สร้างความร่วมมือกับภาคส่วนต่าง ๆ  :  Effective Network Management   

(2) การดูแลผู้ป่วยที่เป็นองค์รวม เน้น คน เป็นศูนย์กลาง

(3) ระบบการดูแลที่ ไร้รอยต่อ

(4) ระบบงานสำคัญที่รัดกุมในเครือข่าย

(5) การเสริมพลังคนทำงาน   ที่ไม่ทำให้ผู้รับการเยี่ยมตกใจกับมาตรฐาน แต่เน้นสร้างความเข้าใจในมาตรฐานจากงานและบริบทพื้นที่นั้นๆ "




































30 เม.ย.64 นายกฯ อบต.สนับสนุนเต็มที่ EOC ตำบลโคกสำราญ คุมเข้ม COVID-19 ไข้เลือดออก และ อื่นๆ

 30 เม.ย.64 นายกฯ อบต.สนับสนุนเต็มที่ EOC ตำบลโคกสำราญ  คุมเข้ม COVID-19 ไข้เลือดออก และ อื่นๆ

วันที่ 30 เมษายน 2564 นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง สาธารณสุขอำเภอเลิงนทา ประทับใจตามที่

มอบหมายให้ นายชาญณรงค์ เมืองอามาตย์ ผช.สสอ.เลิงนกทา พร้อมด้วยนายไชยา ปาวะพรม ผู้รับผิดชอบงานควบคุมโรคติดต่อ สสอ.เลิงนกทา ออกร่วมประชุม ตามที่ ที่ นายธวัชชัย มณีวงษ์  ผอ.รพ.สต.โคกสำราญ และคณะ

รพ.สต.บ้านโคกสำราญ ประสานประชุมเพื่อจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือ EOC ตำบลโคกสำราญ

กรอบการประชุม ในเขตรับผิดชอบ รพ.สต.บ้านโคกสำราญ กรณีมีผู้ป่วยและผู้สัมผัสเสี่ยงสูงในพื้นที่ รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านโคกสำราญ ผู้ร่วมประชุมโยภาคีเครือข่ายทุกฝ่าย ทั้ง อบต.โคกสำราญ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน. อสม.ฯลฯ  

มติที่ประชุม  EOC ตำบลโคกสำราญ

1.    มอบหมายให้ นายก อบต.เป็นผู้บัญชาการเหตุการณ์

2.    ให้ อบต.โคกสำราญ  รับผิดชอบหน้าที่ฝ่าย สนับสนุน วัสดุ อุปกรณ์ : logistic เช่น สนับสนุน รถ พร้อมคนขับรถ

เพื่อรับส่งสิ่งส่งตรวจจาก รพร.มาพื้นที่ หรือ จากพื้นที่ส่งไป ให้ รพร.

3.    ให้ อบต. สนับสนุน วัสดุ อุปกรณ์ อื่นๆ เช่น แมส ชุด เฟชชิล ฯลฯ.

     ความประทับใจที่เกินความคาดหวัง คือ ไปร่วมประชุมมา 2 ตำบลไม่เคยผิดหวัง วันนี้ที่ประชุมขอ  นายกบอกได้เลยยินดีเต็มที่ ขอให้บอกมา มีทั้งงบกองทุน. งบฉุกเฉิน. ตอนนี้ไม่รู้จะช่วยเหลือท่านอย่างไร เพราะพวกท่านไม่เคยมาพูดให้ฟัง.  เห็นใจทีมสาสุขที่ทุกท่านต่างทำงานหนักกันในทุกๆพื้นที่ อบต. และหน่วยงานอื่น ๆ ก็มีหน้าที่ดูแลทุกข์สุขของประชาชนเหมือนกัน จึงยินดีที่จะให้การสนับสนุน อย่างเต็มที่ครับนายชาญณรงค์ เมืองอามาตย์ กล่าวด้วยความภาคภูมิใจ

       



               ทั้งนี้ ณ ปัจจุบัน EOC คปสอ. เลิงนกทา รายงานผลการป้องกันและแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาด ของโรค โควิด-19  ข้อมูล ณ  29 เมษายน 2564 ดังนี้

  1) ผู้ป่วย ติดเชื้อ โควิด - 19 จำนวน 10 ราย

               กำลังรักษาตัว ณ รพ. ของรัฐ. / รพ. สนาม. 8 ราย

              รพร. 7 ราย

          รพ.ยโสธร  .. ราย

             รพ.สนาม 1 ราย

       - รักษาหายกลับบ้านแล้ว 2 ราย

      PUI สะสม ตั้งแต่ 1 เม.ย.2564 ถึง ปัจจุบัน 30 ราย

          รักษาตัว ณ รพร 1 ราย

         กลับบ้านแล้ว 27 ราย

          ส่งตัวรักษาต่อ รพ.ยโสธร 2 ราย

 

30 เม.ย.64 กวป. ณ สาธารณสุขจังหวัดยโสธร

 30 เม.ย.64 กวป. ณ สาธารณสุขจังหวัดยโสธร

วันที่ 30 เมษายน 2564 นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง สาธารณสุขอำเภอเลิงนทา ร่วมประชุมคณะกรรมการ กวป. ณ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร

28 เม.ย.64 ผู้ฉีดครบ 2 เข็ม รับใบรับรอง ณ รพร.เลิงนทกทา บุคลากรสาธารณสุข อสม. รับ COVID-19 Passport

 28 เม.ย.64 ผู้ฉีดครบ 2 เข็ม รับใบรับรอง ณ รพร.เลิงนทกทา บุคลากรสาธารณสุข อสม. รับ COVID-19 Passport

วันที่ 28 เมษายน 2564   นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง สาธารณสุขอำเภอเลิงนกทา

นายแพทย์เจนวิทย์ เวชกามา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเลิงนก และ คณะผู้บริหาร  

อำนวยการ ให้กำลังใจ บุคลากรในสังกัดที่  รับการฉีดวัคซีนป้องกัน COVID-19 ชนิด SINOVAC ณ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเลิงนกทา

            ในโอกาสนี้ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเลิงนก ได้มอบเอกสารรับรอง ให้กับทุกคนที่ได้รับ วัคซีนป้องกัน COVID-19 ชนิด SINOVAC ครบ 2 เข็มแล้ว

            เอกสารนี้ผม(พันธุ์ทอง)ได้ยินจากหลายคน บอกว่า เป็น COVID-19 Passport เลยทีเดียว

 ฉีด หรือไม่ ฉีด อ่านให้ถึงคำว่าแยกแยะ แล้วพิจารณาเองว่าจะฉีด หรือไม่ วัคซีนป้องกัน โรค COVID -19  

            วัคซีนป้องกัน โรค COVID -19  มีคุณประโยชน์มากมาย ในการป้องกันและควบคุมโรค COVID-19     

 

วัคซีน SINOVAC COVID-19 นี้สามารถ

-      ป้องกันการเจ็บป่วยรุนแรงและป้องกันการเสียชีวิตได้ 100%

-      ป้องกันการเจ็บป่วย ได้ 83.7%  และ

-      ป้องกันการติดเชื้อได้ 50.7%"

 

ข้อมูลเพิ่มเติม วัคซีน SINOVAC COVID-19

จะเริ่มมีผลป้องกันโรคได้ 2 สัปดาห์หลังฉีดเข็มแรก

การเพิ่มระยะห่างระหว่างเข็มที่หนึ่งและเข็มที่สอง 4 สัปดาห์ จะกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้มากขึ้น

การให้วัคซีนในคนที่มีอายุมากกว่า 60 ปี  ให้ผลในการป้องกันโรคใกล้เคียงกับในคนอายุ 18-60 ปี

 

หากติดเชื้อ ก็สามารถลดความรุนแรงของการเกิดโรค  COVID-19 ได้ ที่สำคัญลดการตายได้ เกือบ100 %

               หมายเหตุ กรณี มีผลข้างเคียงที่เกิดขึ้น ในต่างประเทศ ก็คล้ายกับวัคซีนอื่นๆ ซึ่งมีผลข้างเคียงน้อยและไม่รุนแรง มีอัตราการเกิดได้ เพียง 1 ใน ล้าน Dose เท่านั้น

 

กรณีมีข่าวว่าฉีดวัคซีนไม่ดี  เปรียบเทียบง่ายๆ กับ มีคนบอกว่านั่งรถยนต์ไม่ เพราะมีคนตายด้วยรถยนต์วันละ 56 คน  แล้ว บอกว่าไม่ควรใช้รถยนต์ จริงหรือไม่ ต้อง แยกแยะโทษ เปรียบเทียบประโยชน์ แล้วมาชั่งดู

หรือ ไฟฟ้าซ๊อตคนตายหลายคน รวมถึงไฟฟ้าลัดวงจร ไหม้บ้านวันละหลายหัง ไม่ควรใช้ไฟฟ้า จริงหรือไม่ ต้อง แยกแยะโทษ เปรียบเทียบประโยชน์ แล้วมาชั่งดู

            วัคซีนป้องกันโควิด-19  เช่นกัน ฉีดไป 5-6 แสนคน มีอาการไม่พึงประสงค์ระยะสั้นๆบ้าง คนสองคน ถือเป็นเรื่องปกติ แม้แต่กินยาพาราลดไข้ บางคนยังมีแพ้ กินตั๊กแตนทอด บางคนก็แพ้ เดินผ่านต้นไม้บางต้น บางคนก็แพ้

            รับวัคซีนเป็นเชื้อที่ปลอดภัย สามารถป้องกันเชื้อจริงได้ ลดความรุนแรงได้ เกือบ 100 %  

อย่างไรก็ดีกว่า รับเชื้อจริง แล้วต้องใส่ท่อช่วยหายใจ ต้องนอนให้ออกซิเจน ต้องเสียบสายระโยงรยางค์

เครื่องช่วยหายใจที่ใส่ ใช่ว่าใส่แล้วจะรอด มีโอกาสเสียชีวิตได้มากกว่าไม่ใส่หลายเท่ายิ่งนัก

ท่อช่วยหายใจ ดีหรือไม่ดี ลองคิดดู ก้างปลาเล็กๆ ใส่เข้าไป หรือติดในลำคอ เราทรมานแค่ไหน  ท่อช่วยหายใจ

ใหญ่กว่าก้างปลากี่เท่า ความทรมานจะทวีคูณมากแค่ไหน

เครื่องช่วยหายใจ  แม้จะใส่ได้ ลองตรวจสอบดู ประเทศไทยมีกี่เครื่อง แล้วศักยภาพของเรา คิดว่าจะมีโอกาสได้ใส่ไหม

            ต้อง แยกแยะโทษ เปรียบเทียบประโยชน์ แล้วมาชั่งดู

ผม (นายพันธุ์ทอง) แยกแยะโทษ เปรียบเทียบประโยชน์ แล้ว จึงนำหน้า พาบุคลากรในสังกัดทุกคน ฉีดวัคซีนก่อนเพื่อนๆเลยครับ