4/12/21

8 เม.ย.64 ฉีดวัคซีน COVID-19_ในสถานการณ์ไม่ปกติ วัคซีนที่ดีที่สุดคือ วัคซีนที่มาให้เราฉีดเร็วที่สุด

8 เม.ย.64 ฉีดวัคซีน COVID-19_บุคลารกรสาธารณสุขอำเภอค้อวัง ปลอดภัยป้องกันไว้ จะไม่ได้รับเชื้อโควิด-19

วันที่ 8 เมษายน 2564  นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง สาธารณสุขอำเภอค้อวังและคณะ

รับการฉีดวัคซีนป้องกัน COVID-19 ชนิด SINOVAC ณ โรงพยาบาลค้อวัง

               ทั้งนี้ มีประชาชนกลุ่มเสี่ยง บุคลากรสาธารณสุข และ อสม. เข้ารับการฉีด วัคซีนป้องกัน COVID-19 ชนิด SINOVAC  จำนวน 50 คน  

วัคซีนคือทางออกของการสู้วิกฤตโควิด19 

ในสถานการณ์ที่ไม่ปกติ วัคซีนที่ดีที่สุดคือวัคซีนที่มาให้เราฉีดเร็วที่สุด

วัตถุประสงค์หลักของ การให้วัคซีนทุกประเภท คือ

ป้องกันการเจ็บป่วยรุนแรง และป้องกันการเสียชีวิต


วัคซีน COVID-19 ทุก บริษัท มีคุณสมบัตินี้ทุกตัว

วัคซีน SINOVAC COVID-19 นี้ 

สามารถฉีดได้ตั้งแต่อายุ 18 ขึ้นไป  รวมถึงผู้มีโรคประจำตัว

 -      ป้องกันการเจ็บป่วยรุนแรงและป้องกันการเสียชีวิตได้ 100%

-      ป้องกันการเจ็บป่วยจนต้องนอน โรงพยาบาล ได้ 85% ( ป้องกันการเจ็บป่วย เช่นเหมือนที่เราเป็นอยู่ เป็นหวัด เล็กๆ น้อย ๆ 2-3 วันหาย แบบบี้ก็ป้องกันได้ )

-      แม้ป่วย เข้าโรงพยาบาล ก็ยัง ป้องกันการเข้า ICU เนื่องจากโควิด 89%

 

ส่วนการป้องกันการติดเชื้อ เป็นพฤติกรรมส่วนบุคคล ในการป้องกันตนเองและผู้อื่น  

 แม้ไม่ใช่วัตถุประสงค์หลัก ของวัคซีน แต่ วัคซีน  SINOVAC COVID-19นี้ยัง สามารถ

-      ป้องกันการติดเชื้อได้ 50.7%"

 มติของ SAGE ขององค์การอนามัยโลก :

"High level of confidence" ในเรื่องประสิทธิภาพ (Efficacy) วัคซีน SINOVAC COVID-19


            วัคซีนป้องกัน โรค COVID-19  มีคุณประโยชน์มากมาย ในการป้องกันและควบคุมโรค COVID-19     

 วัคซีน SINOVAC COVID-19 นี้สามารถ

-      ป้องกันการเจ็บป่วยรุนแรงและป้องกันการเสียชีวิตได้ 100%

-      ป้องกันการเจ็บป่วย ได้ 85 %  และ


 ข้อมูลเพิ่มเติม วัคซีน SINOVAC COVID-19

จะเริ่มมีผลป้องกันโรคได้ 2 สัปดาห์หลังฉีดเข็มแรก

การเพิ่มระยะห่างระหว่างเข็มที่หนึ่งและเข็มที่สอง 4 สัปดาห์ จะกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้มากขึ้น

การให้วัคซีนในคนที่มีอายุมากกว่า 60 ปี  ให้ผลในการป้องกันโรคใกล้เคียงกับในคนอายุ 18-60 ปี

 หากติดเชื้อ ก็สามารถลดความรุนแรงของการเกิดโรค  COVID-19 ได้ ที่สำคัญลดการตายได้ เกือบ100 %

               หมายเหตุ กรณี มีผลข้างเคียงที่เกิดขึ้น ในต่างประเทศ ก็คล้ายกับวัคซีนอื่นๆ ซึ่งมีผลข้างเคียงน้อยและไม่รุนแรง มีอัตราการเกิดได้ เพียง 1 ใน ล้าน Dose เท่านั้น

 กรณีมีข่าวว่าฉีดวัคซีนไม่ดี  เปรียบเทียบง่ายๆ กับ มีคนบอกว่านั่งรถยนต์ไม่ เพราะมีคนตายด้วยรถยนต์วันละ 56 คน  แล้ว บอกว่าไม่ควรใช้รถยนต์ จริงหรือไม่ ต้อง แยกแยะโทษ เปรียบเทียบประโยชน์ แล้วมาชั่งดู

หรือ ไฟฟ้าซ๊อตคนตายหลายคน รวมถึงไฟฟ้าลัดวงจร ไหม้บ้านวันละหลายหัง ไม่ควรใช้ไฟฟ้า จริงหรือไม่ ต้อง แยกแยะโทษ เปรียบเทียบประโยชน์ แล้วมาชั่งดู

            วัคซีนป้องกันโควิด-19  เช่นกัน ฉีดไป 5-6 แสนคน มีอาการไม่พึงประสงค์ระยะสั้นๆบ้าง คนสองคน ถือเป็นเรื่องปกติ แม้แต่กินยาพาราลดไข้ บางคนยังมีแพ้ กินตั๊กแตนทอด บางคนก็แพ้ เดินผ่านต้นไม้บางต้น บางคนก็แพ้

            รับวัคซีนเป็นเชื้อที่ปลอดภัย สามารถป้องกันเชื้อจริงได้ ลดความรุนแรงได้ เกือบ 100 %  

อย่างไรก็ดีกว่า รับเชื้อจริง แล้วต้องใส่ท่อช่วยหายใจ ต้องนอนให้ออกซิเจน ต้องเสียบสายระโยงรยางค์

เครื่องช่วยหายใจที่ใส่ ใช่ว่าใส่แล้วจะรอด มีโอกาสเสียชีวิตได้มากกว่าไม่ใส่หลายเท่ายิ่งนัก

ท่อช่วยหายใจ ดีหรือไม่ดี ลองคิดดู ก้างปลาเล็กๆ ใส่เข้าไป หรือติดในลำคอ เราทรมานแค่ไหน  ท่อช่วยหายใจ

ใหญ่กว่าก้างปลากี่เท่า ความทรมานจะทวีคูณมากแค่ไหน  เครื่องช่วยหายใจ  แม้จะใส่ได้ ลองตรวจสอบดู ประเทศไทยมีกี่เครื่อง หากคุณต้องการอยากใส่ท่อช่วยหายใจจริงๆ พิจารณาต่อด้วยว่า เราจะมีเครื่องว่างเพียงพอให้เราได้ใส่ไหม  

            ต้อง แยกแยะโทษ เปรียบเทียบประโยชน์ แล้วมาชั่งดู

ผม (นายพันธุ์ทอง) แยกแยะโทษ เปรียบเทียบประโยชน์ แล้ว จึงนำหน้า พาบุคลากรในสังกัดทุกคน ฉีดวัคซีนก่อนเพื่อนๆเลยครับ





















ภาคปฏิบัติตริง เพิ่มอีก 2 จุดคือ 1 คัดกรอง 2. เตรียมพร้อม รถ ฉุกเฉิน 


ครั้งที่ 1  ณ เวลา 30 นาที  ภายหลังการฉีดวัคซีน ทุกคนต้องรอ ให้ครบ 30 นาที จึงออกจากจุดนี้ไปได้ 

วัคซีนป้องกันโควิด-19 แต่ละคน ให้ 2 เข็ม แต่ละเข็ม ห่างกัน 28 วัน

กระทรวงสาธารณสุขมีการเฝ้าระวังอาการภายหลังได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค Adverse Event Following Immunization (AEFI) Surveillance นำมาปรับใช้ ติดตามความปลอดภัยเชิงรุกสำหรับวัคซีนโควิด-19 (Active surveillance System for COVID-19 Vaccine)     

เตรียมพร้อมช่องทางการติดตามและบันทึก รายงานข้อมูล แบ่งเป็น 2 รูปแบบหลัก คือ

1. App หมอพร้อม ; App-Based Safety Monitoring : รายงานข้อมูลผ่าน Application บนโทรศัพท์สมาร์ทโฟน

2. Hospital-Based Safety Monitoring : การรายงานข้อมูลผ่าน Hospital Information System (HIS)

 

             การติดตามเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ (adverse event(s) : AEs) ให้หมายรวมถึงทั้ง

-      อาการข้างเคียง (side effects : SEs) และหรือ

-      อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา (adverse drug reactions : ADRs)

               แจ้งเตือนอัตโนมัติผ่าน Application บนโทรศัพท์สมาร์ทโฟน ให้บันทึกข้อมูลตามวันเวลาที่กำหนด ทั้ง 2 เข็ม

คือ  ครั้งที่ 1  ณ เวลา 30 นาที  ภายหลังการฉีดวัคซีน

ครั้งที่ 2 ในวันที่  1   ภายหลังการฉีดวัคซีน

ครั้งที่ 3 ในวันที่  7   ภายหลังการฉีดวัคซีน

ครั้งที่ 4 ในวันที่ 20  ภายหลังการฉีดวัคซีน

โดยให้บันทึก ทั้งที่ เกิด AEs และ ไม่เกิด AEs

 

เพื่อเฝ้าระวังเชิงรุกเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ ภายหลังได้รับวัคซีนโควิด AEFI ใน 10 กลุ่มอาการคือ

 1.     ปวด บวม แดง ร้อน บริเวณที่ฉีด

2.     ไข้

3.     ปวดศีรษะ

4.     เหนื่อย อ่อนเพลีย ไม่มีแรง(Fatigue)

5.     ปวดกล้ามเนื้อ(Myalgia)

6.     คลื่นไส้

7.     อาเจียน

8.     ท้องเสีย

9.     ผื่น

10.   อาการอื่น ๆ... (ระบุ...)

เช่น ปวดข้อ ( Joint pain)  หน้ามืด (Faint) หมดสติ(Unconscious) แน่นหน้าอก (Chest tightness) หายใจไม่สะดวก (Shortness of breath) ใจสั่น (Palpitations) หน้าเบี้ยว (Facial paralysis, Facial palsy) ชัก (Seizures)

เลือดไหลไม่หยุด เลือกออกผิดปกติ เป็นต้น

 

ทนเหงาอยู่บ้านดีกว่า มีเพื่อนแปลกตาในโรงพยาบาลสนาม

ประสบการณ์จากคนที่ติดเชื้อโควิด ส่งถึงคนที่ยังไม่ติดว่า ทนเหงาอยู่บ้านดีกว่า มีเพื่อนแปลกตาในโรงพยาบาลสนาม

ความว่า ในเวลาที่กำหนด อย่าออกไปไหนเลย เพราะคุณยังมีโอกาสเลือกได้

 

1. ส่วนใหญ่นอนเตียงรวม ถ้าอาการไม่หนักมากๆ  ในห้องโถงกว้างๆ  ก็ ร.พ.สนาม นั่นแหละ  ร้อนมากๆ นะ ไม่มีแอร์ มีแต่พัดลม เหงื่อไหล ร้อนสุดๆ คนมากๆ กลิ่นเหงื่อ เหม็นเปรี้ยว ๆ ตามมา แต่ก็ต้องทนรักษาตัวให้หาย

2. กลางคืน นอนเตียงใครเตียงมัน เห็นกันหมด บางคนกรนสนั่น นอนฟังไป อุดหูไป

3. เหงามากกว่าอยู่บ้าน 1,000 เท่า แม้จะมีอุปกรณ์ต่างๆ คลายเหงา

4. เตียงไม่ได้นุ่มสบายนะ พอนอนได้

5. ลุกนั่ง ลงนอน ลุกนั่งลงนอน เตียงโน้นไอ เตียงนี้ไข้ขึ้น บางเตียงเหมือนคนไม่ได้ป่วยอะไร

6. ไม่มีกาแฟให้กินทุกวันนะ  

7. ห้องน้ำมีจำกัดมาก ๆ ต้องใช้ร่วมกันกับคนเยอะๆ  จะอาบน้ำต้องรอคิวยาวววว  ปวดขี้ปวดเหยี่ยวต้องอั้นรอคิว  ห้องน้ำใช้นานไม่ได้นะ ต้องแบ่งๆ กัน เห็นใจคนรอ

8. นอนกลางคืนแบบไฟสว่างๆ นะ แสงส่องตาตลอดเวลา มีเจ้าหน้าที่เดินเข้า-ออก คนเดินไป-มา เป็นระยะๆ  ต้องหาวิธีนอนเอาเอง

9. อยู่แบบอกสั่นขวัญแขวน เพราะไม่รู้ว่าอาการเราจะดีขึ้นหรือแย่ลงวันไหน จะไอเป็นเลือดหรือเปล่า ปอดจะติดเชื้อไหม หวั่นใจไปหมด

10. คิดถึงบ้าน คิดถึงลูกแต่กลับไม่ได้  บอกเลย face time  เห็นหน้ากันทุกวันไม่ได้ช่วยอะไรเลย มันต่างกันมากๆ

 

เสียใจและรู้สึกไม่ดีมากๆ ที่ประมาทจนติดเชื้อ ถ้าคุณยังไม่ติด ดูแลตัวเองดีๆ นะ

 แต่ถ้าติดเชื้อแล้วต้องอยู่ ร.พ. สนาม  แบบเราก็ขอให้อดทนนะ  เจ้าหน้าที่หน้างานเค้าก็เต็มที่แล้วหล่ะ มีบางคนโวยวาย งี่เง่ามากๆ ดูไม่น่ารักเลย

เราจะได้เจอคนหลายๆ แบบที่ ร.พ.สนามนะ ทำใจเผื่อไว้ด้วย 

  อย่าไปที่เสี่ยงอยู่บ้านดีที่สุด

 หากมีอาการทรุดหนักลง

หายใจไม่ออก ต้องนอนคว่ำทุรนทุราย

ปวดศีรษะ ปวดทั่วตัว

ไอตลอดเวลา  บางครั้งไอเป็นเลือด

อยู่โดดเดี่ยว ไม่มีญาติเข้ามาเยี่ยม

มีแต่หมอและพยาบาล เข้ามาต้องก็แต่งชุดไอ้โม่งแล้วก็รีบออกไป 

หากเครื่องช่วยหายใจมีไม่พอ

หมอคงต้องตัดสินใจจะให้ใคร

ระหว่างผู้สูงอายุกับคนอายุน้อย

ระหว่างคนรวยกับคนจน

ระหว่างคนทำงานการศึกษาสูงกับชาวบ้าน หาเช้ากินค่ำ

 


No comments:

Post a Comment