4/30/21

27 เม.ย.64 ประดับขีด สุมณทา จันทร์อ่อน เลื่อนขึ้นเป็น ระดับชำนาญงาน ณ สาธารณสุขอำเภอเลิงนกทา

27 เม.ย.64 ประดับขีด สุมณทา จันทร์อ่อน เลื่อนขึ้นเป็น ระดับชำนาญงาน  ณ สาธารณสุขอำเภอเลิงนกทา

วันที่ 27 เมษายน 2564 นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง สาธารณสุขอำเภอเลิงนกทา และคณะ ผู้บริหาร สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเลิงนกทา   ประดับอินทรนู ให้กับ  นางสาวสุมณฑา  จันทร์อ่อน ในโอกาสเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้น เป็น เจ้าพนักงานเภสัชกรรมชำนาญงาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล สามแยก     

 อำนวยพรให้ สุมณฑา มีสุขภาพกาย สุขภาพใจที่แข็งแรง มีความเจริญรุ่งเรือง ในหน้าที่การงาน ยิ่งๆ ขึ้นไปครับ

เกร็ด ข้อคิดสั้นๆ ให้น้อง

เริ่มต้น ด้วย Why ก้าวไป ด้วย HOW

 

Start with Why

             ข้าราชการบรรจุใหม่ บรรจุจาก ผู้มีความรู้ ความสามารถ 

ศักยภาพ ต้อง ตอบคำถามได้  ว่า  Why  ทำไม จึง....  มาถึง ณ จุดปัจุจุบัน  

ก้าวไป ด้วย HOW

             ข้าราชการที่เลื่อนระดับ จากการบรรจุใหม่แล้ว ถือว่าเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ และ ประสบการณ์

ศักยภาพต้องสูงขึ้น  ต้องตอบคำถามได้  ว่า How to   ทำอย่างไร จึง....  จะเป็นไปได้ เพื่อก้าวต่อไปให้ถึงจุดหมาย

                ข้าราชการ ระดับ ชำนาญงาน ถือเป็น ระดับหัวหน้างาน

ระดับ ปฏิบัติงาน สามารถ อธิบาย หรือ ตอบคำถามสาเหตุที่ไม่ประสบผลสำเร็จได้

ระดับ ชำนาญงาน ถือเป็น ระดับหัวหน้างาน ต้องใช้ทักษะ ความรู้ ความสามารถที่สูงขึ้นกว่าเดิมคือ

1. นำสาเหตุที่อธิบายได้นั้นมาเป็นข้อมูลนำเข้า เพื่อหาวิธี หรือหาแนวทาง ไปสู่ผลสำเร็จของงานให้ได้

2. วางกลวิธี ที่จะขจัด ปัญหา หรือ อุปสรรค ของงานได้

3. ประสานความร่วมมือ ระดมทรัพยากร หรือ ใช้ทรัพยากร สำหรับการปฏิบัติงานให้บรรลุผลสำเร็จ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

                       

ข้าราชการ ถูกบรรจุมาเพื่อ ทำงานให้เสร็จ มาเพื่อ ทำงานให้สำเร็จ อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อราชการและประชาชน

ภาษาชาวบ้าน สั้นๆว่า บรรจุมาเพื่อ ทำให้ได้  ไม่ได้บรรจุมา เพื่ออธิบายว่า ทำไมถึงทำไม่ได้

ข้าราชการ ไม่ได้ต้องการคนที่ดีที่สุด มาทำงาน ข้าราชการ ม่ได้ต้องการคนที่เก่งที่สุดมาทำงาน

หากเปรียบ ข้าราชการ หรือ สั้น ๆว่า ราชการ เป็นครอบครัว  วัฒนธรรมของ ราชการ คือ

ราชการต้องการสมาชิกครอบครัวที่ดี  มีคุณสมบัติความดี หากทำได้หลายข้อ ถือว่ามีดีมาก

1.   1 เป็นสมาชิกที่สามารถปรับตัวเข้ากับสมาชิกคนอื่นๆ ได้ 

2.    2 ภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของครอบครัว

3.    3 รับผิดชอบภารกิจตามที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มกำลัง

4.    4 ช่วยเหลืองานกันตามบทบาทหน้าที่

5.    5 ให้ความเคารพ นับถือ ให้เกียรติกัน ตามบริบทราชการ

บริบทราชการ : ให้เกียรติประชาชน เคารพพี่ รักน้อง สนองนโยบาย ไม่ขายเพื่อน  

เมื่อเลือกแล้ว ราชการ ถือเป็นงานที่ใช่  รายได้อาจจะไม่ชื่นชอบ  แต่ราชการมีเวลา ให้เชยชมกับความสุขของชีวิต

 

อินทรธนูข้าราชการพลเรือน  บนบ่าเป็นลักษณ์ การแบกรับ หน้าที่ ความรับผิดชอบ สำคัญคือ

เป็นผู้นำเอาการ หรือ งาน ของพระราชา มาปฏิบัติ เพื่อ เป้าหมาย การบำบัดทุกข์ บำรุงสุข ให้กับประชาชน

เป็นผู้ที่ปฏิบัติงาน ที่ต้องแบกรับทั้งหน้าที่ และ ความรับผิดชอบ อันยิ่งใหญ่ต่างพระเนตร พระกรรณ แทนองค์พระราชา

               ประดับบนเครื่องแบบสีกากี ซึ่งเป็นสีแห่งดิน นั่นมีความหมายว่า ต้องทำงานอย่างติดดิน ใกล้ชิด กับประชาชน รับฟัง พร้อมที่จะร่วมมือกับประชาชนทุกภาคส่วน ในการปฏิบัติงาน

            ข้าราชการเราพึงสำนึกอยู่เสมอว่า จงภาคภูมิใจ ในความเป็นข้าราชการ จงภาคภูมิใจที่ได้มีโอกาสปฏิบัติหน้าที่ อันมีเกียรติยิ่งแก่ตนเอง ครอบครัว และวงศ์ตระกูล ที่ได้เป็นหนึ่งในผู้นำเอาการ หรือ งาน ของพระราชา มาปฏิบัติ เพื่อ เป้าหมาย การบำบัดทุกข์ บำรุงสุข ให้กับประชาชน

 

ชำนาญงาน >> วางระบบและแผนการปฏิบัติงานของตนเอง เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่าง มีประสิทธิภาพ

อาวุโส >> แสวงหาความร่วมมือจากภาคส่วนต่างๆ เพื่อสนับสนุนงานด้านสาธารณสุขที่ มีความซับซ้อน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

หลากมุมมอง  เลือกใช้ตามที่ท่านชื่นชอบ ได้เลย

ประสิทธิผล คือการทำงานให้บรรลุ ผล ในปริมาณตามเวลาที่ต้องการ

ข้อแตกต่างประสิทธิผล ประสิทธิภาพ หลักการ คือ

ประสิทธิผลคือ (Effectiveness) การทำให้ ผล งานออกมาดี

ประสิทธิภาพคือ (Efficiency) การทำให้ ภาพ งานออกมาดี

(ภาพจะออกมาดีต้องทำถูกวิธี  ประหยัดทรัพยากร ประหยัดเวลา มีคุณภาพ ทุกระบวนการ ตั้งแต่ input process output )

 

ปฏิบัติงาน  >> ทำงาน ให้เสร็จ  

ชำนาญงาน >> ทำงาน ให้สำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ ( ประสิทธิผล + คุณภาพ )

ชำนาญการ หรือ อาวุโส >> อำนวยการให้งานได้ทั้ง ประสิทธิผล และประสิทธิภาพ

(เพื่อตัดสินใจหรือแก้ปัญหาที่ยุ่งยากและซับซ้อน) 

ชำนาญการพิเศษ >> กำหนดยุทธศาสตร์ ข้อเสนอเชิงนโยบาย นำ ชี้ ทิศทางองค์กร

(เพื่อตัดสินใจหรือแก้ปัญหาที่ยุ่งยากมากและซับซ้อนมาก) 

  

เปรียบเทียบระดับการตัดสินใจ

              

ชำนาญการการ ใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความชำนาญสูงในงานวิชาการสาธารณสุข ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาที่ยาก

ชำนาญการพิเศษ ต้องใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความชำนาญในงานสูงมากในงานวิชาการ ด้านวิชาการสาธารณสุข ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาที่ยากมาก 

 












No comments:

Post a Comment