4/10/21

4 เม.ย.64 ดูงาน 2P2R_ผู้บริหารในสถานการณ์วิกฤติ ณ ถ้ำหลวง ขุนน้ำนางนอน จ.เชียงราย

 4 เม.ย.64 ดูงาน 2P2R_ผู้บริหารในสถานการณ์วิกฤติ ณ ถ้ำหลวง ขุนน้ำนางนอน จ.เชียงราย

วันที่ 3 เมษายน 2564  ภาคบ่ายนายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง สาธารณสุขอำเภอค้อวังและคณะ  ผบส.1  

ดูงานภาคสนาม ผู้บริหารในสถานการณ์วิกฤติ ณ ถ้ำหลวง ขุนน้ำนางนอน จ.เชียงราย

           การจัดการ Risk ตัวอย่างที่ดีคือ กรณี 13 หมูป่า ติดถ้ำหลวง 17 วัน






















 ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข (Public Health Emergency-PHE)

เหตุการณ์ที่เป็นโรคและภัยคุกคามสุขภาพ มีเกณฑ์อย่างน้อย 2 ใน 4 ประการ

l  เกิดผลกระทบทางสุขภาพที่มีความรุนแรง : ร้ายแรง

l  มีโอกาสแพร่ไปสู่พื้นที่อื่น : ต่อติด

l  เป็นเหตุการณ์ที่ผิดปกติหรือไม่เคยพบมาก่อนผิดธรรมชาติ

l  ต้องจำกัดการเคลื่อนที่ของผู้คนหรือสินค้า : จำกัดเคลื่อนที่

เข้าเข้าหลักเกณฑ์อย่างน้อย 2 ใน 4 ประการ ต้องประกาศเป็น PHE

เมื่อประกาศ เป็น PHE แล้ว ต้อง มี การจัดการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข Public Health Emergency Management :PHEM เพื่อ ตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข

(Public health Emergency response:PHER)

            โดยทั่วไป ใช้หลัก 2P2R ในการจัดการภาวะฉุกเฉิน PHEM หรือการจัดการภัยพิบัติต่างๆ

2P2R คือระยะ หรือ Phase ของการปฏิบัติงาน แบ่งเป็น 4 ระยะ

คือ Prevention Preparation Response Recovery

คำถาม เหตุการณ์ 2 ใน 4 ที่จะนำมาพิจารณา ได้มาจากไหน

คำตอบ ได้มาจาก SRRT ทีมเฝ้าระวังเหตุการณ์ ในแต่ละระดับ

ซึ่ง SRRT มี ตั้งแต่ในระดับ หมู่บ้าน จนถึง ประเทศ  ทำหน้าที่ เฝ้าระวังเหนตการณ์ สำคัญ 4 ประการนี้

            คือเกิดหลาย(ร้ายแรง) ต่อติด ผิดธรรมชาติ จำกัดการเคลื่อนที่

 

ส่วน การตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข PHER มีวัตถุประสงค์หลัก 3 ประการ

ตามลำดับความสำคัญ  คือ Safety Recovery Efficiency

1)    ให้มีความปลอดภัยทั้งผู้ปฏิบัติงานและผู้เสี่ยงต่อภัยสุขภาพ : Safety

(หากยังไม่มั่นใจในความปลอดภัยจะยังไม่ออกปฏิบัติงาน)

2)    เพื่อหยุดยั้งและ/หรือลดผลกระทบจากภาวะฉุกเฉินหรือสถานการณ์รุนแรงจากโรคและภัยสุขภาพ

และเพื่อให้เหตุการณ์กลับสู่สภาวะปกติในระยะเวลาที่สั้นที่สุด : Recovery

3)    เพื่อระดมทรัพยากร และบริหารจัดการ  อย่างคุ้มค่าและ มีประสิทธิภาพ :  Efficiency

และ PHEM

ลำดับที่ 2. เกิด ระบบ Incident Command System : ICS   เพื่อแก้ปัญหา เหตุการณ์ฉุกเฉิน

จึงต้องมีผู้ผู้รับผิดชอบตามภารกิจต่างๆ และผู้รับผิดชอบหากใช้โครงสร้างตามภารกิจปกติจะไม่ทันเหตุการณ์

จึงต้องมี ระบบบัญชาการ เกิดขึ้น ระบบ ICS เกิดขึ้น เพื่อ Command ให้ เป็นไปตามวัตถุประสงค์ 3 ข้อด้านบน

คือ Safety Recovery Efficiency  ที่ว่า Command นั้น Command ใคร คำตอบคือ Command กลุ่มหรือกล่องต่างๆ ใน EOC  ตามหลักแต่ละกล่องต้อง  Command  3 – 7  มากสุดไม่ควรเกิน 7 คน

ข้อสังเกต ต้อง ให้ความสำคัญกับคำว่า Safety  เป็นอันดับแรก

 ทำไมต้องตั้ง EOC 

ลำดับที่ 3. เกิด Emergency Operations Center:EOC  หลักการคือ ICS จะทำงานไม่ได้เลย

หากไม่มีมือ ไม่มีไม้ สนับสนุนการทำงานของ ICS  ฉะนั้นผู้มีอำนาจตามกฎหมายในแต่ละละระดับ

จึงต้องประกาศ ตั้ง Center หรือ ศูนย์ ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินทาง Emergency Operations Center:EOC 

            ICS จะตั้งกี่แผนก กี่กล่องก็ได้ ตามความเหมาะสม แต่ละกล่อง แต่ละแผนกที่ตั้งขึ้น จะขึ้นกับสายบังคับบัญชาของใคร ให้เป็นไปตามความเหมาะสม ของแต่ละพื้นที่แต่ละเหตุการณ์ แต่ ต้องอยู่ในหลัก

Line of Command 3-7   ซึ่ง EOC ที่ตั้งขึ้นนี้ จะต้อง ปฏิบัติหน้าที่ ทั้ง 4 Phase ตาม2P2R  เป็นวัฏจักร

       

วัตถุประสงค์ 3 ประการ ด้านบนเพื่อ ลด ผลเหล่านี้

ผลกระทบของภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข

l  มีการป่วย การตายเพิ่ม

l  ผลกระทบต่อสุขภาพจิต

l  ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

l  การสัมผัสสารพิษ สารเคมี รังสี

l  การทำลายระบบบริการพื้นฐานที่สำคัญต่อชีวิต

l  การทำลายระบบบริการและผู้ให้บริการพื้นฐานต่างๆ

l  การอพยพย้ายที่อยู่ของประชากร

l  การล่มสลายของระบบสังคม

l  การสูญเสียระบบข้อมูลข่าวสาร

l  ผู้ให้บริการทางการแพทย์และสาธารณสุข

 

หลักระบาดวิทยา

บันทึกเพิ่มเติม.. หลักระบาดวิทยา ไม่มีอะไรเกิดขึ้นได้โดยบังเอิญ

การเจ็บ การป่วย ทุกเหตุการณ์ที่เกิดล้วนเกิดแต่ การลงตัวของปัจจัย ทั้งนั้น

การลงตัวของปัจจัย หรือ ความสัมพันธ์ หรือ การสมรู้ร่วมคิดของ Host Hazards Environment 3 สิ่งนี้ เสมอ

            3 สิ่งสำคัญ หรือ 3 เหลี่ยมระบาดวิทยา คือ

เดิมใช้คำว่า Host Agent Environment  ในครั้งนี้ ใช้คำว่า Host Hazards Environment

(Agent : Hazards  ความหมายเดียวกัน)

 

       การเจ็บ การป่วย ไม่ได้เกิดโดยบังเอิญ  แต่เป็นการลงตัวของปัจจัย

     Host , Harzard , Environment

 

·         ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง

            ทำให้เสี่ยงเป็นโรคมากขึ้น เรียก ปัจจัยเสี่ยง    Risk Factor

            ป้องกันไม่ให้เกิด เรียก ปัจจัยป้องกัน             Protective Factor

(การจัดการ Risk ตัวอย่างที่ดีคือ กรณี 13 หมูป่า ติดถ้ำหลวง 17 วัน)

 

No comments:

Post a Comment