10/31/14

30ตค2557DHSลดสารเคมีในร่างกาย_เป้าหมายร่วม_ภาคีคำเขื่อนแก้วร่วมกันขับเคลื่อน

30ตค2557DHSลดสารเคมีในร่างกาย_เป้าหมายร่วม_ภาคีคำเขื่อนแก้วร่วมกันขับเคลื่อน
วันที่30ตุลาคม2557วันนี้ผมนายพันธุ์ทอง  จันทร์สว่าง และคณะ เข้าร่วมประชุมคณะกรรมคณะกรรมการพัฒนาระบบสุขภาพระดับอำเภอ(กรรมการ District Health System: DHS) ณ  ห้องประชุมสำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว  
ประธานการประชุม โดย นายวิทยา  เพชรรัตน์ สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว
คณะผู้เข้าร่วมประชุมจากโรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุกแห่ง
และจากกองค์การบริหารส่วนตำบล รวมจำนวน 30 คน
กิจกรรมสำคัญสำคัญคือ การหาแนวทางเพื่อขับเคลื่อนให้เป็นรูปธรรมเพื่อลดปัญหาการใช้สารเคมีในเกษตรกร
ภายใต้การศึกษาร่วมกัน ตามโครงการ เรื่อง การพัฒนารูปแบบ การใช้สารเคมีกำจัดศรัตรูพืช โดยบรณาการ หลักการสิ่งแวดล้อม ศึกษาสำหรับเกษตรกร อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร
No using Agricultural Chemicals Participation of Famers: The Case Study Famers in
Kumkhueankaeow District Yasothon Province







ซึ่ง คณะกรรมการ DHS อำเภอคำเขื่อนแก้ว ได้ศึกษาร่วมกัน ในรูปแบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อเสริมสมรรถนะการบริหารจัดการระบบสุขภาพระดับอำเภอ (District Health Management Learning:DHML)
มติที่ประชุม
1.    เสนอให้ส่งเสริมเป็นวาระอำเภอ ออกคำสั่งโดยนายอำเภอ
ที่ประกอบด้วยทั้งคณะทำงานระดับตำบล คณะทำงานระดับอำเภอ
2.    ดำเนินการตามมาตรการที่เราจะทำร่วมกัน 3 ประการ คือ
มาตรการที่ 1 การสร้างความตระหนักให้กับประชาชน
            โดยมีตัวชี้วัดที่ชัดเจนคือ 1 จำนวนครัวเรือนที่เข้าร่วมกลุ่ม หรือร่วมกิจกรรม  
            วิธีการที่หลากหลายในการสร้างความตระหนัก เช่น  
การคืนข้อมูลความเสี่ยงในภาพรวมให้กับ แต่ละพื้นที่ เพื่อสร้างความตระหนัก
            เจ้าภาพหลัก โดย
            เมื่อป่วยด้วยเบาหวาน ความดัน โรงพยาบาลยังสามารถนัดกลุ่มเป้าหมายมาดูแล เป็นระยะทุกเดือนได้
เมื่อเขาเจ็บป่วยจากสารเคมี เราก็สามารถจำลองการนัดมาตรวจที่สถาบริการสาธารณสุขได้
มาตรการที่ 2 ด้านเศรษฐกิจ
            การหาตลาดหรืออำนวยความสะดวกในการจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตร
มาตรการที่ 3 การสร้างนโยบายสาธารณะ ( เจ้าภาพโดยระดับอำเภอ )

มาตรการที่ 3 การกำหนดพื้นที่ต้นแบบ
            ให้กำหนดพื้นที่ต้นแบบจำนวน 17 หมู่บ้านตาม จำนวนสถานบริการสาธารณสุข จำนวน 17 แห่ง


ภายใต้ Concept ใครสามารถทำอะไรได้ ก็ช่วยกันทำ ภายใต้การให้กำลังใจซึ่งกันและกัน
ต่อไปนี้ ข้าพเจ้า...จะทำการเกษตรทุกวิธี ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
มติการประชุม ในครอบครัวของทุกคนที่ร่วมประชุมในวันนี้ จะเป็นผู้นำในชุมชน ในการดำรงชีวิต เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และลดการใช้สารเคมีกำจัดศรัตรูพืช ขับคลื่อนพร้อมกันทั้งอำเภอ ลงนามในคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงาน โดย นายพิสิษฐ์ แร่ทอง นายอำเภอคำเขื่อนแก้ว

เกษตรอินทรีย์ ทำง่าย หรือ ทำยาก
คำตอบ เกษตรอินทรีย์ ทำไม่ง่ายแต่เกษตรอินทรีย์ก็ทำได้ไม่ยาก
แต่ เกษตรอินทรีย์ สามารถทำได้ด้วยความใส่ใจของเกษตรกร
ขอบพระคุณแขกผู้มีเกียรติที่เข้าร่วมประชุม เช่น
นายสุกล กิจเกียรติ์นายกองค์การบริหารส่วนตำบล(อบต).แคนน้อย
นายวสันต์ ชัยภูมิ นายกองค์การบริหารส่วนตำบล(อบต.)ลุมพุก
นางนัยนา   ดวงศรี พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว
นางอริยวรรณ   จันทร์สว่าง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว
นาง นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร สำนักงานเกษตรอำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร
นาง นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร สำนักงานเกษตรอำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร

นาง นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร สำนักงานเกษตรอำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร เป็นต้น

พื้นที่หมู่บ้านต้นแบบ หมู่บ้านนำร่อง โครงการลดสารเคมีในเกษตรกร อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร
นางมนัชยา  กองทำ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแคนน้อย เสนอบ้าน หนองเลิง หมู่ที่ 3
นายขจรเกียรติ   อุปยโสธร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ดงแคนใหญ่ เสนอบ้านผักบุ้ง หมู่  6
นายอรุณ  ฉายแสง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บกน้อย เสนอบ้านบกน้อย หมู่  7
นางเดือน ตั้งจิต    ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล นาหลู่ เสนอบ้านหองเทา หมู่  4
นายคมสัน  อดกลั้น ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล นาแก เสนอบ้านนาแก หมู่ 1
นางโสภิดา  พลไชย ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล นาคำ เสนอบ้านปักแฮด หมู่  4
นางเครือวัลย์  คนชม ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล นาเวียง เสนอบ้านนาเวียง หมู่  6
นายอุทิศ ฝูงดี ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล กู่จาน เสนอบ้านหนองกบ หมู่  4
นายพ้น  ปัญญาใส ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เหล่าไฮ เสนอบ้านหนองแวง หมู่  1
นายอาณัติ ศรีเธาว์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ทุ่งมน เสนอบ้านทุ่งมน หมู่  3
นางอุศมา นามแก้ว ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ย่อ เสนอบ้านดอนดู่ หมู่  9
นายสาคร  ขอสุข  ผู้ อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ดงเจริญ เสนอบ้านดงเจริญ หมู่  3
นางสุภาวดี ขอสุข ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โพนทัน เสนอบ้านโพนทัน หมู่  5
นางป้อมเพชร  สืบสอน ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล สงเปือย เสนอบ้านสงเปือย หมู่  6
นายสมัคร  พุ่มทอง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล กุดกุง เสนอบ้านทรายงาม หมู่  5
นายบัณดิษฐ สร้อยจักร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โพนสิม เสนอบ้านโพนสิม หมู่ 4

30ตค2557บ้านสว่างตำบลย่อ_หมู่บ้านจัดการสุขภาพด้วยตนเอง

30ตค2557บ้านสว่างตำบลย่อ_หมู่บ้านจัดการสุขภาพด้วยตนเอง
วันที่29ตุลาคม2557 วันนี้ ผม นายพันธุ์ทอง  จันทร์สว่าง ร่วมชื่นชม กิจกรรม บ้านสว่างตำบลย่อ_หมู่บ้านจัดการสุขภาพด้วยตนเองที ณ บ้านสว่าง หมู่ที่ 4 ตำบลย่อ อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร
            ประธานในงาน โดย นายวิทยา  เพชรรัตน์ สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว โดยมีภาคีเครือข่ายขากทุกภาคส่วนเข้าร่วมกิจกรรมอย่างอบอุ่น
            กิจกรรมที่น่าชื่นชมคือ กรรมการการประกวดคุ้มหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงดีเด่น ในงาน ชุมชนบ้านสว่างสดใส หัวใจไม่เครียด ผลงานที่น่าประทับใจ ของ ผู้ใหญ่บ้านอุดร โพธิ์สาขา  ผู้ใหญ่บ้านสว่าง หมู่ที่ 4 ตำบลย่อร่วมกับชาวบ้านทั้ง 4 คุ้ม ประกอบด้วย  
คุ้มคำเกษตรสมบูรณ์  หัวหน้าคุ้ม นายวิชัย  สว่างแสง
คุ้มกลางสามัคคี   หัวหน้าคุ้มนาย ไพบูลย์ สว่างแสง
คุ้มหนองบัวแดง  หัวหน้าคุ้มนาย ทองคำ  ทองทศ
คุ้ม ตะวันยอแสง  หัวหน้าคุ้มนาย วิชิต  ก้อนผา
ขอแสดงความยินดีกับ คุ้มกลางสามัคคี  ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ การประกวดกิจกรรมคุ้มดีเด่น ประจำปีนี้
บริหารงานคุณภาพโดย หัวหน้าคุ้มนาย ไพบูลย์ สว่างแสง










สร้างสรรค์กิจกรรมที่ดีนี้ โดยทีมงานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ย่อ
นางอุศมา นามแก้ว ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ย่อ
นางจงจิต สร้อยจักร นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ย่อ
นส.ทานตะวัน  คำวัง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ย่อ
นส.อุทัยวรรณ  สุภี จพ.ทันตสาธารณสุข  ชำนาญงาน    โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ย่อ
นส.จิราภรณ์  ขอสุข พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ย่อ
            ผลงานที่น่าประทับใจของชาวบ้านในงานวันนี้ เช่น การทำความสะอาดบ้านเรือน ทุกหลังคาเรือนสะอาดสะอ้าน สิ่งแวดล้อมดี มีความสามัคคีประชาชนทุกหลังคาเรือนมีส่วนร่วมและเต็มใจให้ความร่วมมือในการพัฒนาครัวเรือนและคุมของตน ต่างนำของดีประจำคุ้มออกมาแสดง ทั้งพืชผัก สวนครัว รั้วกินได้ ผักปลอดสารพิษ ผลไม้ตามฤดูกาล การเกษตรอินทรีย์ ปุ๋ยชีวภาพ การเลี้ยงสัตว์ กลุ่มปลูกเห็ด

สรุปว่า ตลาดสด ใน อำเภอ คำเขื่อนแก้ว  และอำเภอใกล้เคียง ส่วนมากจะได้ผักจากหมู่บ้านนี้ป้อนสู่ตลาด ถือได้ว่า บ้านสว่าง หมู่ที่ 4 ตำบลย่อ เป็นครัวของจังหวัดยโสธร ก็ได้ ซึ่ง ควรที่ประชาชนในหมู่บ้านนี้จะได้รับการสนับสนุนในการพัฒนาที่ดีขึ้นต่อไป ทั้งจาก ในระดับ ท้องถิ่น และในระดับจังหวัดต่อไป นอกจากนั้น มีผลิตภัณฑ์ชุมชนที่น่าประทับใจ

29ตค2557องค์กรงดเหล้า_เยาวชนแคนน้อย_ร่วมมือกับผู้ค้า_ปฏิบัติตามกฎหมาย

29ตค2557องค์กรงดเหล้า_เยาวชนแคนน้อย_ร่วมมือกับผู้ค้า_ปฏิบัติตามกฎหมาย
วันที่29ตุลาคม2557 วันนี้ผม นายพันธุ์ทอง  จันทร์สว่าง เข้าร่วมการจัดกิจกรรม ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแคนน้อย
กิจกรรม เรื่อง การดำเนินงานแอลกอฮอล์และยาสูบ ในหมู่บ้านชุมชน ตำบลแคนน้อย
ประกอบด้วย กิจกรรมสำคัญ 2 ส่วนคือ
กิจกรรมที่ 1 การให้ความรู้ ผู้ปรกอบการร้านค้า ร้านชำ และสหการหมู่บ้าน
กิจกรรมที่ 2 การอบรมการเยาวชน เพื่อทำหน้าที่คณะทำงานออกติดตามให้กำลังใจแก่ ผู้ปรกอบการร้านค้า ร้านชำ และสหการหมู่บ้าน ให้ปฏิบัติตาม พระราชบัญญัติ 3 ฉบับ ในการดำเนินงานแอลกอฮอล์และยาสูบ ในหมู่บ้านชุมชน ตำบลแคนน้อย
ขอบพระคุณ ผู้นำชุมชนและคณทำงานทุกท่าน ที่ให้ข้อคิดเห็นที่ดี อาทิเช่น  นายสุพรรณ เหล็กกล้า ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 1 ตำบลแคนน้อย บอกว่า เป็นโครงการที่ดี ลดปัญหาสุขภาพในชุมชนได้
นายสุพรรณ เหล็กกล้า ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 1 ตำบลแคนน้อย บอกว่า ทุกกิจกรรมที่พวกเราทำโดยผ่านกิจกรรมที่มีเยาวชนมีส่วนร่วม ถือว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่ามาก เพราะจะเกิดผลดีต่อไปในอนาคตได้อีกยาวนาน
นายรำไพร สุดเฉลี่ยว รองประธานสภา อบต.แคนน้อย บอกว่าปัญหาครอบครัวลดลงมาก ที่ชัดเจนที่สุดคือ ผัวเมียทะเลาะกันเนื่องจากการดื่มเหล้าแทบไม่มีให้เห็น  
นายทำนอง พางาม ส.อบต.แคนน้อย บอกว่าลดการใช้จ่ายเงินที่ไม่จำเป็นลงได้มาก และมีส่วนทำให้ประชาชนที่ดื่มเหล้าลดน้อยลงด้วย นายทิพากร ไพเราะ           ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 1 ตำบลแคนน้อย บอกว่า ประชาชนมีระเบียบวินัย ชาวบ้านมีความเข้มแข็ง เคารพเชื่อฟังซึ่งกันและกัน รวมทั้งปฏิบัติตามมติของหมู่บ้านด้วยดี
นายจุมพล มุธุสิทธิ์            ผมเคยดื่มขนาดชาวบ้านเรียกว่าเป็นขี้เหล้า มันยากมากที่จะเลิกดื่มเหล้า เพราะคนชวนมีมาก งานเหตุการณ์ที่เหมาะแก่การดื่มมีทุกวัน แต่ผมก็สามารถเลิกได้ ด้วยโครงการนี้ ลูกๆ เด้กๆ มาขอให้ช่วยเป็นแกนนำหลักในการลดการบริโภคแอลกอฮอล์ โดยเริ่มจากงานศพปลอดเหล้าและขยายไปงานอื่นๆ จนเป็นต้นแบบที่ดีให้กับหลายๆจังหวัด









จัดโดย ทีมงานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแคนน้อย
นางมนัชยา  กองทำ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแคนน้อย
นางอรวรรณ  แสงทอง       พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแคนน้อย
นส.สุภาพร  บุญเชื้อ          นักวิชาการสาธารณสุข       โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแคนน้อย
นส.ปาริชาติ อารีย์เอื้อ        พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแคนน้อย
นางวิยะดา หินทอง            จพ.สาธารณสุข    โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแคนน้อย
น.ส.ศศิธร สมสะอาด         จพ.ทันตสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแคนน้อย
สรุปเนื้อหาการประชุมชี้แจงการ ดำเนินงานภายใต้พระราชบัญญัติ 3 ฉบับ
1.   วัตถุประสงค์การประชุม
เพื่อให้การดำเนินงานบังคับใช้กฎหมายระดับพื้นที่มีความเข้มแข็ง ต่อเนื่องและเป็นรูปธรรม
เพื่อเชื่อมประสานการดำเนินงานควบคุมการบริโภคสุรา-ยาสูบระหว่างภาครัฐและหน่วยงานอื่นๆ
เพื่อให้ประชาชน ผู้ประกอบการ มีความรู้ความเข้าใจ ตระหนักถึงโทษพิษภัยของสุรา-ยาสูบ และให้ความร่วมมือในการปฏิบัติตามกฎหมาย
เพื่อควบคุมการบริโภคสุรา-ยาสูบ ลดจำนวนผู้บริโภค ลดปริมาณการบริโภค และลดผลกระทบด้านต่าง ๆ
2.   ขอบเขตการดำเนินงาน  ดำเนินงานภายใต้พระราชบัญญัติ 3 ฉบับ ดังนี้
2.1  พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 โดยมีสาระสำคัญ ประกอบด้วย
มาตรา ๒๖ ให้ผู้ผลิตหรือนำเข้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ปฏิบัติดังต่อไปนี้
(๑) จัดให้มีบรรจุภัณฑ์ ฉลาก พร้อมทั้งข้อความคำเตือนสำหรับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ผลิตหรือนำเข้า ทั้งนี้ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการควบคุมประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการและประกาศในราชกิจจานุเบกษา
(๒) การอื่นตามที่คณะกรรมการควบคุมกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการและประกาศในราชกิจจานุเบกษา
(ฝ่าฝืน ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ)
มาตรา ๒๗ ห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสถานที่หรือบริเวณดังต่อไปนี้
(๑) วัดหรือสถานที่สำหรับปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนา
(๒) สถานบริการสาธารณสุขของรัฐ สถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลและร้านขายยาตามกฎหมายว่าด้วยยา
(๓) สถานที่ราชการ ยกเว้นบริเวณที่จัดไว้เป็นร้านค้าหรือสโมสร
(๔) หอพักตามกฎหมายว่าด้วยหอพัก (ห้ามขาย แต่ ดื่ม ในหอพักได้)
(๕) สถานศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ (ยกเว้น งานแต่งงานเท่านั้นที่สามารถดื่มได้)
(๖) สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง หรือร้านค้าในบริเวณสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง
(๗) สวนสาธารณะของทางราชการที่จัดไว้เพื่อการพักผ่อนของประชาชนโดยทั่วไป
(๘) สถานที่อื่นที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ
(ฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ)
มาตรา ๒๘ ห้ามมิให้ผู้ใดขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในวัน หรือเวลาที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยคำแนะนำของคณะกรรมการ ทั้งนี้ ประกาศดังกล่าวจะกำหนดเงื่อนไขหรือข้อยกเว้นใด ๆ เท่าที่จำเป็นไว้ด้วยก็ได้
บทบัญญัติในวรรคหนึ่ง มิให้ใช้บังคับกับการขายของผู้ผลิตผู้นำเข้าหรือตัวแทนของผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าไปยังผู้ขายซึ่งได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยสุรา( การขายส่งทำได้)
วันที่ห้ามขาย ปัจจุบัน มี 4 วัน คือวันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอาฬหบูชา วันเข้าพรรษา
(ยกเว้นการขายในโรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม)
            สถานที่ห้ามขาย ปัจจุบันห้ามขายในเวลาอื่น นอกจากตั้งแต่เวลา  11.00 – 14.00 และ
            เวลา 17.00 – 24.00 น.
(ฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ)
มาตรา ๒๙ ห้ามมิให้ผู้ใดขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แก่บุคคลดังต่อไปนี้
(๑) บุคคลซึ่งมีอายุต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์
(๒) บุคคลที่มีอาการมึนเมาจนครองสติไม่ได้
(ฝ่าฝืน ๒๙ หรือมาตรา ๓๐ (๑) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ)
มาตรา ๓๐ ห้ามมิให้ผู้ใดขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยวิธีการหรือในลักษณะ ดังต่อไปนี้
(๑)  ใช้เครื่องขายอัตโนมัติ 
(ฝ่าฝืน ๒๙ หรือมาตรา ๓๐ (๑) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ)
(๒) การเร่ขาย
(๓) การลดราคาเพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมการขาย
(๔) ให้หรือเสนอให้สิทธิในการเข้าชมการแข่งขัน การแสดง การให้บริการการชิงโชคการชิงรางวัล หรือสิทธิประโยชน์อื่นใดเป็นการตอบแทนแก่ผู้ซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือแก่ผู้นำหีบห่อหรือสลากหรือสิ่งอื่นใดเกี่ยวกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มาแลกเปลี่ยนหรือแลกซื้อ
(๕) โดยแจก แถม ให้ หรือแลกเปลี่ยนกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือกับสินค้าอื่น หรือการให้บริการอย่างอื่นแล้วแต่กรณี หรือแจกจ่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในลักษณะเป็นตัวอย่างของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือเป็นการจูงใจสาธารณชนให้บริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมถึงการกำหนดเงื่อนไขการขายในลักษณะที่เป็นการบังคับซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยทางตรงหรือทางอ้อม
(๖) โดยวิธีหรือลักษณะอื่นใดตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยคำแนะนำของคณะกรรมการ
(ฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ)
มาตรา ๓๑ ห้ามมิให้ผู้ใดบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสถานที่หรือบริเวณดังต่อไปนี้ (หอพักไม่ห้ามดื่ม)
(๑) วัดหรือสถานที่สำหรับปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนา เว้นแต่เป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมทางศาสนา
(๒) สถานบริการสาธารณสุขของรัฐ สถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลและร้านขายยาตามกฎหมายว่าด้วยยา ยกเว้นบริเวณที่จัดไว้เป็นที่พักส่วนบุคคล
(๓) สถานที่ราชการ ยกเว้นบริเวณที่จัดไว้เป็นที่พักส่วนบุคคล หรือสโมสร หรือการจัดเลี้ยงตามประเพณี
(๔) สถานศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ ยกเว้นบริเวณที่จัดไว้เป็นที่พักส่วนบุคคลหรือสโมสร หรือการจัดเลี้ยงตามประเพณี หรือสถานศึกษาที่สอนการผสมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ
(๕) สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิงหรือร้านค้าในบริเวณสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง
(๖) สวนสาธารณะของทางราชการที่จัดไว้เพื่อการพักผ่อนของประชาชนโดยทั่วไป
(๗) สถานที่อื่นที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยคำแนะนำของคณะกรรมการ
ซึ่งปัจจุบันมีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี 3 ฉบับ
๑.      ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดสถานที่หรือบริเวณห้ามขายหรือบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในรัฐวิสาหกิจและหน่วยงานอื่นของรัฐ พ.. ๒๕๕๕ ลงวันที่ วันที่ ๑ สิงหาคม พ.. ๒๕๕๕
๒.      ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดสถานที่หรือบริเวณห้ามบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บนทาง พ.. ๒๕๕๕  ลงวันที่ วันที่ ๒๓ กรกฎาคม พ.. ๒๕๕๕  กำหนดว่า ห้ามผู้ใดบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บนทางในขณะขับขี่หรือในขณะโดยสารอยู่ในรถ หรือ บนรถ ( ปัจจุบัน ไม่ครอบคลุมถึง รถไฟ เพราะมี กม.เฉพาะ)
๓.      ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องเรื่อง ห้ามขายหรือห้ามบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในพื้นที่ประกอบกิจการโรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน  ลงวันที่ วันที่ ๒๓ กรกฎาคม พ.. ๒๕๕๕
(ฝ่าฝืนมาตรา ๓๑ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ)
มาตรา ๓๒ ห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือแสดงชื่อหรือเครื่องหมายของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อันเป็นการอวดอ้างสรรพคุณหรือชักจูงใจให้ผู้อื่นดื่มโดยตรงหรือโดยอ้อม
การโฆษณาหรือประชาสัมพันธ์ใด ๆ โดยผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกประเภทให้กระทำได้เฉพาะการให้ข้อมูลข่าวสาร และความรู้เชิงสร้างสรรค์สังคม โดยไม่มีการปรากฏภาพของสินค้าหรือบรรจุภัณฑ์ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้น เว้นแต่เป็นการปรากฏของภาพสัญลักษณ์ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือสัญลักษณ์ของบริษัทผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้นเท่านั้น ทั้งนี้ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
บทบัญญัติในวรรคหนึ่งและวรรคสอง มิให้ใช้บังคับกับการโฆษณาที่มีต้นกำเนิดนอกราชอาณาจักร
(ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๓๒ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินห้าแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ)

2.2  พระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ.2535 รวมถึงกฎกระทรวง และประกาศ เพิ่มเติมที่ออกตามความในพระราชบัญญัติดังกล่าว   โดยมีสาระสำคัญประกอบด้วย
การห้ามจำหน่ายผลิตภัณฑ์ยาสูบแก่ผู้ที่อายุต่ำกว่า 18 ปี (มาตรา 4)
การห้ามจำหน่ายผลิตภัณฑ์ยาสูบโดยใช้เครื่องขาย (มาตรา 5)
การห้ามขาย แจก แถม แลกเปลี่ยน ให้ ผลิตภัณฑ์ยาสูบกับสินค้า/บริการอื่นๆหรือในทางกลับกัน  (มาตรา 6).
การห้ามแจกจ่ายตัวอย่างผลิตภัณฑ์ยาสูบ (มาตรา 7)
การห้ามโฆษณาผลิตภัณฑ์ยาสูบผ่านทางสื่อต่างๆและสิ่งอื่นใดที่ใช้เป็นการโฆษณาได้ (มาตรา 8)
การห้ามโฆษณาสินค้าที่ใช้ชื่อหรือเครื่องหมายของผลิตภัณฑ์ยาสูบ (มาตรา 9)
การห้ามผลิต นำเข้าเพื่อขาย จ่ายแจก โฆษณาสินค้าเลียนแบบผลิตภัณฑ์ยาสูบ(มาตรา 10)
การแสดงฉลากที่หีบห่อผลิตภัณฑ์ยาสูบ และห้ามจำหน่ายผลิตภัณฑ์ยาสูบที่มิได้แสดงฉลากตามที่
กำหนด (มาตรา 12 และ 13 และประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง)
2.3  พระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ.2535 และประกาศเพิ่มเติมที่ออกตาม
ความในพระราชบัญญัติดังกล่าว  โดยมีสาระสำคัญประกอบด้วย
การจัดสถานที่สาธารณะให้เป็นเขตปลอดบุหรี่และเขตสูบบุหรี่ตามวิธีการและหลักเกณฑ์ที่กำหนด
(มาตรา 5 และประกาศกระทรวงฯ ฉบับที่ 9,19  และประกาศฯเพิ่มเติม)  
การห้ามสูบบุหรี่ในเขตปลอดบุหรี่ (มาตรา 6)
            ข้อเสนอแนะและข้อคิดเห็นที่ดีจากที่ประชุม
ขายส่ง ขายได้ตลอด 24 ชั่วโมง ขายส่ง คือ ขายยกลัง
ผู้ซื้อเลือกซองที่มีรูปน่ารักๆ เช่น รูป อุ้มเด็กเล็ก ไม่เอา รูป เจาะคอ
ผู้ซื้อ จะนิยมซื้อเป็น มวน มากกว่า และการขายเป็นมวน จะได้กำไรดีกว่า
ยาเส้น ก็ต้องมีคำเตือนในซองด้วยเสมอ แต่ ปัจจุบัน มีรถเร่ ออกขาย ชั่งขายเป็นขีด หรือแบ่งขายเป็นขีด ในตลาดสด
ที่ไม่ได้มี การพิมพ์คำเตือน

            กฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง พระราชบัญญัติยาสูบ พ.ศ. ๒๕๐๙ พรบ.สรรพสามิต ห้ามแยกจำหน่ายบุหรี่ เป็น มวน  

31ตค2557คณะทำงานยาเสพติดประชุมพร้อมลุยงานปี2558

31ตค2557คณะทำงานยาเสพติดประชุมพร้อมลุยงานปี2558
วันที่31ตุลาคม2557 วันนี้  ผมนายพันธุ์ทอง  จันทร์สว่าง ประชุม คณะทำงาน ผู้รับผิดชอบงานยาเสพติด
ณ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร

เพื่อระดมความคิดเห็นร่วมกันในการปฏิบัติงาน ด้านยาเสพติด การลดการบริโภคแอลกอฮอล์ และ ยาสูบ ในพื้นที่ อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร