10/3/14

2ตค 2557 Learn together_DHML_คำเขื่อนแก้ว

2ตค 2557 Learn together_DHML_คำเขื่อนแก้ว 
วันที่ 2 ตุลาคม 2557 วันนี้ผม นายพันธุ์ทอง  จันทร์สว่าง เข้าร่วมประชุม คณะการบริหารจัดการระบบสุขภาพระดับอำเภอ (DHML คำเขื่อนแก้ว)  ณ ห้องประชุมเล็ก สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร
ประธานการประชุม โดย นายวิทยา  เพชรรัตน์ สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว 
มติที่ประชุม
มติเรื่องที่  1 ให้ประชุมเชิงปฏิบัติการการจัดทำแผนแบบมีส่วนร่วม โครงการลดการใช้สารเคมีในเกษตร
วันที่ 9 ตุลาคม 2557
สถานที่ ณ ห้องประชุมสำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร
วิทยากร โดย ดร.วิรัตน์ ปานศิลา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
เนื้อหาหลัก  การจัดทำแผนแบบมีส่วนร่วม โครงการลดการใช้สารเคมีในเกษตร  วิทยากรผู้มีความเชี่ยวชาญ เทคโนโลยีการมีส่วนร่วม เทคโนโลยีเพื่อการมีส่วนร่วม (Technology of Participation: TOP) โดยใช้ 3 เทคนิค คือ ORID method, Work ship method, Action planning
เลขานุกา ผู้ประสานงาน มอบหมายให้ นายสุนทร  วิริยะพันธ์  หัวหน้างานควบคุมโรคติดต่อ สสอ.คำเขื่อนแก้ว
การประสานวิทยากร และ รับรอง วิทยากร มอบหมายให้ นายบัณดิษฐ   สร้อยจักร  ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โพนสิม เป็นหัวหน้าทีม
กลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วมประชุม รวม 75 คน จากผู้แทนภาคส่วนต่างๆ ดังนี้
1.     ผู้บริหาร คปสอ. วิทยากร และผู้ช่วยวิทยากร   จำนวน 4 คน
2.     โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว    จำนวน 4 คน
3.     สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว จำนวน 4 คน
4.     จนท.สาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 16 คน
5.     เกษตรกร ในพื้นที่  โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 16 คน
6.     ส่วนราชการ(พัฒนาการอำเภอ เกษตรอำเภอ) จำนวน 2 คน
7.     กลุ่มตลาดเขียว โรงสีข้าว ผู้จำหน่ายสารเคมี    จำนวน 3 คน
8.     กำนัน หรือ ผู้ใหญ่บ้าน จำนวน 13 คน
9.     HTML Team จำนวน 10 คน
มติเรื่องที่  2 การให้ความรู้ทางวิชาการสนับสนุนโครงการ
มอบหมายให้ ภญ.ดนียา ชนะชัยวิบูลวัฒน์ สืบค้นเพื่อนำเสนอความรู้ เรื่อง ผลกระทบจากการใช้สารเคมีต่อมนุษย์  ในระยะยาว ให้กับที่ประชุมในเวทีดังกล่าวด้วย  
ทีมงานผู้ร่วมประชุม
ขอบพระคุณ คณะผู้เข้าร่วมประชุม และให้คำแนะนำที่ดี ประกอบด้วย
ภญ.ดนียา ดนียา ชนะชัยวิบูลวัฒน์ เภสัชกร โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว
นางนัยนา   ดวงศรี พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว
นายสุนทร  วิริยะพันธ์  หัวหน้างานควบคุมโรคติดต่อ สสอ.คำเขื่อนแก้ว
นายประจักษ์ จุ้ยนิ่ม  จพ.เภสัชกรรม โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว

หมายเหตุ บันทึกเพื่อการสืบค้นเพิ่มเติม
ORID Method การสนนทนาแบบมีส่วนร่วม ประกอบด้วย
Objective           Level (ระดับวัตถุวิสัย)
Reflective          Level (ระดับสะท้อนความรู้สึก)
Interpretative    Level (ระดับการตีความหรือแปลความหมาย)
Decisional          Level (ระดับตัดสินใจ)

ปัจจัยหลักแห่งความสำเร็จ ขึ้นอยู่กับ บทบาทของผู้เอื้ออำนวยกระบวนการกลุ่ม
ที่ใช้ วิธีการสนทนาแบบมีส่วนร่วม
    เพื่อมุ่งผลสัมฤทธิ์  ..  ที่เรียกว่า ORID   Method

คุณลักษณะและบทบาทของผู้เอื้ออำนวยกระบวนการกลุ่ม
บทบาทของผู้เอื้ออำนวยกระบวนการกลุ่ม

แบบดั้งเดิม
เปรียเทียบกับ
แบบเอื้ออำนวย
การใช้อำนาจ
ยึดถือ
มุมมองหลากหลาย 
จะทำอะไร
รู้ว่า
จะไปถึงได้อย่างไร (วิธีการ)
มิติที่ถูกต้อง
แสวงหา
มติร่วมกันของทุกคน(ฉันทานุมัติมติ)
ความเก่งของแต่ละคน
พึ่งพา
ความเก่งของกลุ่ม
( หากเป็น DHML คือ 4 Competency แฝง หรือ ARCP )

PT_3CA พีที 3 กล้า ค่านิยมพื้นฐานของผู้นำแบบเอื้ออำนวยกระบวนการกลุ่ม PT_3CA พีที 3 กล้า
P การมีส่วนร่วม Participation
T การทำงานเป็นทีม Teamwork
C การสร้างสรรค์ Creative
            C การไตร่ตรอง Consider
C การเห็นพ้องร่วมกัน Consensus
A การนำไปปฏิบัติ Action
( หลักการคล้ายกับ PILLA ใน DHML แต่เรียกคนละแบบเพราะคนละสำนัก)

ขยายความหมาย ORID Method การสนนทนาแบบมีส่วนร่วม
ที่ใช้ วิธีการสนทนาแบบมีส่วนร่วม  เพื่อมุ่งผลสัมฤทธิ์  ..  ที่เรียกว่า ORID   Method

Objective Level (ระดับวัตถุวิสัย)
ให้ข้อเท็จจริงและข้อมูล ตั้งคำถามที่ปลุกเร้าประสาท
การรับรู้---มองเห็น ได้ยิน รู้สึก ลิ้มรส สัมผั
ท่านค้นพบ สิ่งที่ท้าทายต่อการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง?

Reflective Level (ระดับสะท้อนความรู้สึก)
สำรวจปฏิกิริยาต่อข้อมูลในเบื้องต้น   
ตั้งคำถามที่ปลุกเร้าหัวใจ : อารมณ์ ความจำ
การเกี่ยวโยง
ท่านรู้สึกอย่างไรกับสิ่งที่ได้ยิน/เห็น ?

Interpretative Level
(ระดับการตีความหรือแปลความหมาย)
ท่านคิดว่าเราจะมีแนวทาง วิธีการดี ๆ ที่จะทำให้เกิดผลที่ดีกว่าได้อย่างไร

Decisional Level (ระดับตัดสินใจ
เราจะดำเนินการในหมู่พวกเราอย่างไร?” แต่ละวิธีนั้นเราจะทำกันอย่างไร?



No comments:

Post a Comment