10/14/14

13 ตค 2557 PCA_3C3P_PDCA_ LP2S_CTFR_ LIM _11CoreValue_ PCAยโสธร_นพ.จิระวัตร วิเศษสังข์

13 ตค 2557 PCA_3C3P_PDCA_ LP2S_CTFR_ LIM _11CoreValue_ PCAยโสธร_นพ.จิระวัตร วิเศษสังข์
วันที่ 13 ตุลาคม 2557 วันนี้ผม นายพันธุ์ทอง  จันทร์สว่าง เข้าร่วม ประชุมเชิงปฏิบัติการ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “เหลียวหน้าแลหลัง : การพัฒนางานสู่มาตรฐานคุณภาพการบริการ ตามเกณฑ์มาตรฐานเครือข่ายบริการปฐมภูมิ (Primary Care Award : PCA ) จังหวัดยโสธร ณ ห้องมรกต โรงแรมเจพี เอมเมอรัลด์ อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร
ประธานการประชุม โดย นายแพทย์สุใหญ่ หลิ่มโตประเสริฐ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร
กล่าวรายงาน โดย ภก.องอาจ  แสนศรี รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร (นักวิชาการสาธารณสุขเชี่ยวชาญ)
วิทยากรระดับประเทศโดย นายแพทย์จิระวัตร วิเศษสังข์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเมืองจันทร์ จังหวัดศรีสะเกษ
            และ ผู้เยี่ยมสำรวจและประเมินรับรองมาตรฐานคุณภาพโรงพยาบาล จาก สรพ.)
(ในรอบปี มีเวลาว่างสำหรับ จังหวัดยโสธร เพียง วันนี้ วันเดียวเท่านั้น)
กิจกรรมที่ประทับใจ ประกอบด้วย สรุปบทเรียน การพัฒนางานสู่มาตรฐาน PCA ที่เริ่มการพัฒนา โดย
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล กุดแห่
นำเสนอโดย นางวาณีรัตน์ ไชยสัจ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล กุดแห่  อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร
และ นางสุนัญญา แสงแก้ว พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล กุดแห่
และสรุปบทเรียน การพัฒนางานสู่มาตรฐาน PCA ที่พัฒนาแล้ว มีผลการประเมินอยู่ในระดับดี โดย
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ทุ่งนางโอก อำเภอเมืองยโสธร
นำเสนอโดย นางสมกิจ ลากวงศ์ พยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ทุ่งนางโอก

คำถาม  เรื่อง PCA กลับไปนี่ รพสต.จะเริ่มทำอะไรก่อนคะ มี step ขั้นตอนง่ายๆ อะไรบ้าง
คำตอบ   อันดับแรก ต้องทำใจก่อน
            ทำใจให้หายกลัวก่อน        ความกลัว มาจาก อวิชชา อวิชชา คือไม่รู้ หรือรู้ไม่จริง
            ก็ทำใจเปิดรับศึกษาให้หายกลัว แล้วจะเกิด Self-Empowerment ในตัวเอง
ทำเรื่องอะไรก่อน ก็ทำ เรื่องที่เป็น Priority แรกๆ ที่เห็นร่วมกัน
            ทำคนเดียวได้ไหม ถ้าไม่ได้ ใครบ้าง แต่ละคนต้องทำอะไร ก็ เสริมศักยภาพซึ่งกันและกัน ศักยภาพแต่ละคนก็นำมาจาก IDP : Individual Development Plan มาเสริม การพัฒนาทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน

Because Imagination is more importance than knowledge
คำตอบที่มีคุณค่า มาจาก การตั้งคำถามที่มีคุณค่า

คำถามที่มีคุณค่า ในงานคุณภาพ PCA คือ เราจะทำอะไรเพื่อให้งานที่รับผิดชอบของตนเองมีคุณค่า
           
บทบาทผู้ให้คำแนะนำ เมื่อคิดจะต่อว่า ให้เพียงแค่คิด ถ้ากระตุ้นเชิงบวกให้เขาอยากพัฒนาไม่ได้ ให้อยู่เฉยๆ

ตัวอย่างคำถาม เพื่อส่งผลให้เกิดการพัฒนา เช่น
มีคนไข้หวัดธรรมดา ไปรับการรักษา ที่ สถานพยาบาลอื่น ร้อยละ เท่าไร
มีคนไข้ล้างแผล ต้องไปรับการรักษา ที่สถานพยาบาลอื่น ร้อยละ เท่าไร
รู้ไหมว่า ในนแต่ละครั้งที่เขาไป เขาต้องมี Cost เท่าไร
เคยรู้ไหมว่า ทำไมเขาจึงไม่มาหาเรา
            ไม่มั่นใจว่าจะพบ พบแล้ว ไม่มั่นใจว่าจะโดนด่าหรือไม่
            ได้ยาแล้วไม่มั่นใจว่าจะได้ยาที่มีคุรภาพหรือไม่
            มาแล้วไม่มั่นใจว่าแผลจะติดเชื้อหรือไม่
สัดส่วน 60:40 รายละเอียดแต่ละโรคนั้น โรคไหนมากที่สุด

PCA สรุป ง่ายๆคือ การทำงานประจำของตนให้มีคุณค่า
PCA     ให้รู้ว่าทุกสิ่งที่ทำไป ทำไปเพื่ออะไร ให้มีแต่คนได้ประโยชน์ งานเป็นผล คนทำงานเป็นสุข

หัวใจสำคัญ ที่เป็นคุณภาพของหน่วยบริการปฐมภูมิ หัวใจสำคัญPCA คือ ต้องเป็นบริการองค์รวม
ต่อเนื่อง ผสมผสานและสนับสนุนการพึ่งตนเองของประชาชนอย่างสมดุล
เป้าหมาย ของระบบการพัฒนาคุณภาพหน่วยบริการปฐมภูมิ เป้าหมายของPCAคือการกระตุ้นให้หน่วย
บริการปฐมภูมิ เกิดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างผู้ปฏิบัติในหน่วยบริการปฐมภูมิ ผู้บริหาร
และผู้เกี่ยวข้องในระดับอำเภอ และเครือข่ายบริการปฐมภูมิ (CUP) ตลอดจนหน่วยงานที่
เกี่ยวข้องและชุมชน เพื่อพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิให้ตอบสนองความต้องการ ความจำเป็น
ด้านสุขภาพของประชาชน และนำไปสู่การมีสุขภาพดี ชุมชนพึ่งตนเองได้ อย่างมีประสิทธิภาพ

การประเมิน คุณภาพ PCA นั้น  ให้ยึด หรือ ปฏิบัติตาม หลัก 3C 3P+PDCA
            3C ใน PCA 
Criteria             คือ ยึดตาม เกณฑ์คุณภาพ PCA
Core Value        ยึด ตาม Core Value หลัก งานคุณภาพ 11 ประการ
Core Value ดูได้จาก Competency      สมรรถนะของบุคลากร ที่จะปฏิบัติให้เป็นไปตาม Criteria และ Core Value

3P ใน PCA 
Purpose เป้าประสงค์        
Process กระบวนการ
Performance     ผลลัพธ์
PDCA    Plan Do Check Act การพัฒนาคุณภาพหน่วยบริการปฐมภูมิได้นำแนวคิด CQI (Continuous Quality
Improvement) มาใช้ ซึ่งจะเน้นการประเมินเพื่อการพัฒนาระบบบริการอย่างต่อเนื่อง โดยใช้ มาตรฐานและการประเมินตนเองเป็นเครื่องมือให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ / พัฒนา ให้กับหน่วยบริการ
ผลลัพธ์การประเมิน PCA คุณภาพ 4 มิติ หรือ จำง่ายๆว่า E Q E SA
            มิติด้านประสิทธิผล            Effectiveness
            มิติด้านคุณภาพ                Quality
            มิติด้านประสิทธิภาพ          Efficiency
            มิติด้านการพัฒนา ด้านการพัฒนาองค์กรเครือข่าย บริการปฐมภูมิ Social Accountability

แก่นคุณค่าของการทำงานพัฒนาคุณภาพของเครือข่ายบริการปฐมภูมิ PCA11Core Value_ LP2S_CTFR_ LIM
การนำองค์กร Strategic Leadership _LP2S
1. การนำหน่วยบริการปฐมภูมิและเครือข่ายบริการปฐมภูมิอย่างมีวิสัยทัศน์ Leadership
2. ความรับผิดชอบต่อชุมชน และสังคม Social & Community Responsibility
3. มุมมองเชิงระบบ Systemic
4. การมุ่งเน้นอนาคต และการใช้ประโยชน์จากการคาดการณ์แนวโน้มในอนาคต Proactive
การบริหารจัดการองค์กร Execution Excellence _CTFR
5. การมองประชาชนเป็นศูนย์กลาง หรือ ความเป็นเลิศที่ต้องได้มาจากการให้ความสำคัญ
กับประชากรเป้าหมาย Customer Focus
6. การทำงานเป็นทีม และมีส่วนร่วมกับกลุ่มเป้าหมาย รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐและเอกชน
            Teamwork
7. การมีความคล่องตัว Flexible
8. การยึด ผลสัมฤทธิ์และ การสร้างคุณค่าเป็นเป้าหมายในการทำงาน Result & Value
การปรับปรุงและพัฒนาองค์กร Organizational Learning  _ LIM
9. การบริหารจัดการเพื่อสร้างนวัตกรรม Innovation
10. การเรียนรู้ของหน่วยบริการปฐมภูมิ เครือข่ายบริการปฐมภูมิ และทีมสุขภาพ Learning
11. การบริหารจัดการด้วยการใช้ข้อมูล และข้อเท็จจริง Management by fact
            เนื้อหาสำคัญของเกณฑ์คุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิ

ประกอบด้วย ส่วนพื้นฐาน และองค์ประกอบขององค์กร 3 ส่วน 7 หมวด คือ
หมวด P ส่วนพื้นฐาน ลักษณะสำคัญขององค์กร Unit Profile:P
P1 ลักษณะองค์กร
P2 ความท้าทายขององค์กร Challenge
            Note_ความท้าทาย คือ สิ่งที่คิดว่าจะทำให้พันธกิจเราจะไม่บรรลุ แล้วเราจะสามารถทำให้มันบรรลุได้
พ.ศ.2300           พม่ามีวิสัยทัศน์ ว่าจะต้องตีกรุงศรีอยุทธยาให้แตก
            ความท้าทาย คือ ระยะทางไกล       
ภูมิประเทศลำบาก
เกิดโรคระบาด
ระยะเวลาจำกัด(มีฤดูน้ำหลาก)
ความฮึกเหิม ขวัญ กำลังใจ ของกำลังไพร่พล
            ความท้าทายประกอบด้วย 2 ส่วน คือ
1.ความท้าทายจากการเปรียบเทียบเพื่อการพัฒนา (Benchmarking Challenge)
2.ความท้าทายเชิงกลยุทธ์ (Strategic Challenge)
ท้าทายเชิงกลยุทธ์ประกอบด้วย ความท้าทาย 3 ด้าน ( อาจจะสรุปเป็น MPH หรือ MOH ก็ได้ )
ก.      ความท้าทายเพื่อให้บรรลุผลตามพันธกิจของหน่วยบริการปฐมภูมิและเครือข่ายบริการปฐมภูมิ
ที่ตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน ชุมชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ( Mission Challenge)
. ความท้าทายด้านปฏิบัติการ เพื่อให้เกิดกระบวนการพัฒนาภายในองค์กรและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ( Practice Challenge) หรือ ( Operation Challenge)
. ความท้าทายด้านทรัพยากรบุคคล เพื่อพัฒนาบุคลากร( Mission Challenge)


ส่วนที่ 1 การบริหารจัดการองค์กร Execution Excellence
หมวด 1 การนำองค์กร
1.2 ความรับผิดชอบต่อสังคม
หมวด 2 การวางแผนเชิงกลยุทธ์
2.1 การจัดทำยุทธศาสตร์และกลยุทธ์
2.2 การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ
            Note_การบริหารเชิงกลยุทธ มี 3 ประการ คือ
ประการที่ 1 การวางแผนเชิงกลยุทธ ๆ คือ สิ่งที่ทำแล้ว สามารถตอบคำถาม 3 อย่างนี้ได้
            A          ขณะนี้เราอยู่ที่ไหน
            B          เราจะไปสู่ที่ใด
            C          ทำอย่างไร เราจึงจะไปถึงได้
ประการที่ 2         การถ่ายทอดแผนปฏิบัติให้แก่ผู้รับผิดชอบนำไปปฏิบัติภายในเวลาที่กำหนด ( เพื่อให้เกิดความยั่งยืน ผู้บริหารมักจะ เน้นติดตาม ME Monitoring & Evaluation การดำเนินงานตาม 4 ด้าน ของ BSC )
ประการที่ 3         มีการประเมินผล และ นำผลการประเมินไปใช้ประโยชน์

หมวด 3 การให้ความสำคัญกับประชากรเป้าหมาย ชุมชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
3.1 ความรู้เกี่ยวกับประชากร เป้าหมาย ชุมชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
3.2 ความสัมพันธ์และความพึงพอใจของประชากร เป้าหมาย ชุมชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
หมวด 4 การวัดวิเคราะห์และการจัดการความรู้
4.1 การวัด วิเคราะห์และพิจารณาผลการดำเนินงานขององค์กร
4.2 การจัดการสารสนเทศ และการจัดการความรู้
Note_ข้อมูลที่ดีคือ เพียงพอ พร้อมใช้ ถูกต้อง เชื่อถือได้
หมวด 5 การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล
5.1 ระบบบริหารงานบุคคลที่ก่อให้เกิดการมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ของงาน ตาม
ภาระหน้าที่ความรับผิดชอบ
5.2 การเรียนรู้ และการสร้างแรงจูงใจ บุคลากรในเครือข่ายบริการปฐมภูมิ
5.3 การสร้างความผาสุก และความพึงพอใจแก่บุคลากร
Note_ Empowerment ที่มี มาจาก Attitude ที่ดี
            วิธีการ Empowerment ให้คนทำงานดีที่สุดคือ การสร้างทัศนคติที่ดี
เพราะ ทัศนคติ ทำให้คน เต็ม 100 พอดี ขอบคุณข้อมูล จาก   Attitude is more important than knowledge!   (รายละเอียด ด้านล่างครับ)
            เหตุการณ์เดียวกัน คน อาจคิดไม่เหมือนกัน เช่น
ตายาย 2 คน มองเห็น ก้อนหินหล่นทับรถที่พึ่งจอดให้ทั้งคู่ลงเมื่อไม่กี่นาที ตกเหวไปต่อหน้าต่อตา
ตา         ดีนะ ที่เราลงก่อน ไม่งั้นเราก็ต้องตายเหมือนคนในรถนั้น
ยาย       หากเขาไม่จอดส่งเรา พวกเขาคงไม่ตาย
ส่วนที่ 2 กระบวนการสำคัญของเครือข่ายบริการปฐมภูมิ
หมวด 6 ด้านระบบบริการ
6.1 กระบวนการให้บริการที่สร้างคุณค่าของระบบบริการปฐมภูมิ
            เช่นระบบยา ต้องคำนึงถึง เพียงพอ ปลอดภัย พร้อมใช้ ได้มาตรฐาน
            Essential Care คือ Care ที่ Customer ต้องมาขอรับริการจากเรา เขาไม่สามารถจัดเองได้ ถ้าเขาจัดเองได้ เรียกว่า Self-Care
            เป้าหมายสูงสุดของ ทั้ง Essential Care และ Self-Care รวมกัน คือ 3 ดี สุขภาพดี เป็นคนดี รายได้ดี

6.2 กระบวนการสนับสนุนการให้บริการที่สร้างคุณค่าของระบบบริการปฐมภูมิ

Note_1A4C บริการปฐมภูมิ 3CHA
ดูแลแต่แรกทุกเรื่อง ต่อเนื่อง เบ็ดเสร็จ ผสมผสาน บริการเข้าถึงสะดวก บวกระบบปรึกษาและส่งต่อ”
A มีการจัดระบบบริการเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการได้ง่ายอย่างเท่าเทียม (Accessibility)
C จัดระบบงาน และบุคลากรที่พร้อมให้บริการอย่างผสมผสาน เบ็ดเสร็จ เป็นองค์รวม เสริมการพึ่งตนเองของประชาชน (Comprehensive and holistic care)
C มีการจัดการด้านต่างๆ ที่ส่งเสริมให้ประชาชนมีศักยภาพในการดูแลตนเองได้เหมาะสม (Community Empowerment)
C มีการจัดระบบให้ดูแลผู้ป่วยหรือประชากรเป้าหมายแบบต่อเนื่อง (Continuity care)
C ประสาน และเชื่อมต่อการดูแล ทั้งภายในหน่วยบริการและกับหน่วยบริการอื่น เมื่อหน่วยบริการไม่สามารถดูแลได้เอง (Co-ordination)

ส่วนที่ 3 ผลลัพธ์การดำเนินงานของเครือข่ายบริการปฐมภูมิ
หมวด 7 ผลลัพธ์การดำเนินการของเครือข่ายบริการปฐมภูมิ  ประเมิน 4 มิติ ตาม Balance Score Card
7.1 ผลลัพธ์การดำเนินการด้านประสิทธิผล Finance
7.2 ผลลัพธ์การดำเนินการด้านคุณภาพการให้บริการ Customer
7.3 ผลลัพธ์การดำเนินการด้านประสิทธิภาพของกระบวนการให้บริการ Internal Process
 7.4 ผลลัพธ์การดำเนินการด้านการพัฒนาองค์กรเครือข่ายบริการปฐมภูมิ Learning & Growth
            Note_ ผลลัพธ์การดำเนินการ มี 2 ส่วน ต้องทำให้สมดุลกัน
ส่วนที่ 1  Clinical Outcome
ส่วนที่ 2  Psycho Social Outcome
            Note_ Key Performance: KPI มี 2 กลุ่ม ใหญ่ๆคือ
กลุ่มที่ 1 KPI ด้าน Process
กลุ่มที่ 2 KPI ด้าน Outcome

สรุปผลการพัฒนางาน PCA ในรอบปี 2557 ของ สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดยโสธร ดังนี้
การประเมินตนเอง สรุปผลการประเมินตนเอง จากหน่วยบริการปฐมภูมิ จำนวน 122 แห่ง ผ่านการประเมิน ขั้น 3 จำนวน 88 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 81.1
การประเมินจากทีม QRT ระดับจังหวัด โดยการประเมินไขว้ระหว่างอำเภอ ออกประเมินจำนวน 60 แห่ง ผ่านการประเมิน ขั้น 3 จำนวน 55 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 91.66
การนำเสนอผลงานPCA รางวัลรองชนะเลิศ ระดับเขตบริการสุขภาพที่ 10

ผลงานการนำเสนอผลงาน PCA รายหมวด หมวดที่ 6 การจัดกระบวนการ  โดย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ทุ่งนางโอก อำเภอเมืองยโสธร 








 ผอ.วราชัย สมคะเณย์ จากเลิงนกทา รับรางวัล ลงทะเบียนเข้าประชุม คนแรก ของรุ่น ครับผม









                   การประชุมวันนี้ นพ.จักราวุธ จุฑาสงฆ์ รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร (นายแพทย์เชี่ยวชาญ)
ภก.องอาจ  แสนศรี รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร (นักวิชาการสาธารณสุขเชี่ยวชาญ)
นางเยาวดี ชาญศิลป์ รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร (นักวิชาการสาธารณสุขเชี่ยวชาญ)
นำผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย ผู้บริหารทุกระดับ เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย
หัวหน้ากลุ่มงานในสำนักงานสาธารณสุข จังหวัดยโสธร
โรงพยาบาลยโสธร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลชุมชน สาธารณสุขอำเภอ
ผู้รับผิดชอบงานพัฒนาคุณภาพหน่วยบริการปฐมภูมิ จากทุกอำเภอ
ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุกแห่ง และบุคลากรใน รพ.สต.
และทีมผู้เยี่ยมสำรวจและประเมินรับรองมาตรฐานเครือข่ายบริการปฐมภูมิ (Primary Care Award) จังหวัดยโสธร
            นายวิทยา  เพชรรัตน์ สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว นำคณะจาก อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร เข้าร่วมกิจกรรม 49 คน
ประสานงานจัดการประชุมด้วยดีโดย นางสุวรรณี   แสนสุข          หัวหน้ากลุ่มงานพัฒนาคุณภาพทรัพยากรบุคคล และ สสม. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร
นางรักชนก น้อยอาษา นักวิชาการสาธารณสุข ชำนาญการ กลุ่มงานพัฒนาคุณภาพทรัพยากรบุคคล และ สสม.
นายรัฐพล อินทรวิชัย นักวิชาการสาธารณสุข ชำนาญการ กลุ่มงานพัฒนาคุณภาพทรัพยากรบุคคล และ สสม.
นางศุภลักษณ์ มีแวว พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ กลุ่มงานพัฒนาคุณภาพทรัพยากรบุคคล และ สสม.
นางศิริกัลยา อุปนิสากร จพ.เภสัชกรรมชำนาญงาน กลุ่มงานพัฒนาคุณภาพทรัพยากรบุคคล และ สสม.
นางละอองดาว ไชยนา นักวิชาการสาธารณสุข ชำนาญการ กลุ่มงานพัฒนาคุณภาพทรัพยากรบุคคล และ สสม.
นางอารีรัตน์ เนติวัชรเวช พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ กลุ่มงานพัฒนาคุณภาพทรัพยากรบุคคล และ สสม.
นายธนาตย์ อมาตย์มุลตรี นักวิชาการสาธารณสุข กลุ่มงานพัฒนาคุณภาพทรัพยากรบุคคล และ สสม.


ขอบคุณข้อมูล จาก   Attitude is more important than knowledge!   
"ถ้าตัวอักษร ภาษาอังกฤษ คำใดแปลงเป็น ตัวเลข แล้ว บวกรวมกันได้ 100"

คำๆนั้นจะทำให้เกิด ปาฏิหาริย์ และสร้าง ความสำเร็จ ให้กับเราได้
A    =    1    B    =    2                C    =    3
ไปเรื่อยๆ …X    =    24     Y    =    25        Z    =    26

แล้วคำว่าอะไร อะไร ???  ที่ทำให้คนเราประสบความสำเร็จ ....

S  M  A  R  T =19+13+1+18+20 =     71

C  R  E  A  T  I  V  E = 3+18+5+1+20+9+22+5  =    83

F  A  I  T  H = 6+1+9+20+8  =    44

B  E  L  I  E  V  E  = 2+5+12+9+5+22+5  =    60

L  O  V  E = 12+15+22+5         54

A  T   T  I  T  U  D  E  = 1+20+20+9+20+21+4+5    =    100

100 = ATTITUDE =ทัศนคติ



"ทัศนคติ สามารถเปลี่ยนแปลงโลกได้" ATTITUDE can change the World

คนทำงานก็ มี พฤติกรรม ต่างกัน

พนักงานคนหนึ่ง  เงินเดือนแค่นี้ทำมันทุกอย่างเลยใช้คุ้มจริงๆ

พนักงานสอง  เดือนนี้มาสายแค่ห้าครั้งเองแล้วตอนบ่ายจะ chat กับใครดี

พนักงานสาม  ถ้าขอเจ้านายไปอบรมสัมมนา เพื่อเติมความรู้ท่านจะอนุมัติมั้ยนะ

พนักงานสี่  เราต้องสร้างงานของเราให้มีคุณภาพเป็นที่เชื่อถือศรัทธาจากประชาชนให้มากกว่าเดิม


ทัศนคติต่างกันเพราะ... เรามี 3 สิ่งที่ต่างกัน

หนึ่ง   อายุ        ต่างกัน
สอง  ความรู้การศึกษา   ต่างกัน
สาม  ประสบการณ์ ต่างกัน

เหตุ     และ    ผล  เมื่อ ทัศนคติ  เปลี่ยน  ความคิด   ก็จะเปลี่ยน
เมื่อ ความคิด  เปลี่ยน    พฤติกรรม       ก็จะเปลี่ยน
เมื่อ พฤติกรรม เปลี่ยน   การกระทำ      ก็จะเปลี่ยน
เมื่อ การกระทำ   เปลี่ยน    ผลลัพธ์     ก็จะเปลี่ยน


Attitude is more important than knowledge! 

No comments:

Post a Comment