5 พย.2557: นโยบาย_ประกอบการทำแผน2558_สาธารณสุขยโสธร
วันที่ 5 พฤศจิกายน 2557 ผม นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง
เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการการบูรณาการแผนปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ 2558
ณ ห้องประชุม โรงแรม ภูดารา รีสอร์ท อำเภอภูเรือ จังหวัดเลย
ประธานการประชุมและมอบนโยบาย โดย
นายแพทย์สุใหญ่ หลิ่มโตประเสริฐ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร
ในโอกาสนี้ นายแพทย์สุใหญ่
หลิ่มโตประเสริฐ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร ได้มอบนโยบายและบรรยายพิเศษ
เกี่ยวกับ นโยบายและทิศทางประกอบการจัดทำแผนปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ 2558
ซึ่ง ผม ขอสรุป
เพื่อง่ายแก่การจดจำและทบทวน ของตัวผู้บันทึกเอง สรุปได้ดังนี้
ปัจจัยนำเข้า ในการประชุม
แนวทางการทำางานของนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์
จันทร์โอชา
4 ประการ คือ
4 ทำ ประกอบด้วย ทำทันที ทำจริง ทำให้เห็นผลสัมฤทธิ์
ทำต่อเนื่อง
หลักการสำคัญของนโยบาย
นายกรัฐมนตรี
พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
๑. มุ่งเน้นประโยชน์ที่จะเกิดกับประชาชนอย่างเป็นรูปธรรมและมีความเสมอภาค
๒. มุ่งเน้นดำเนินการให้เสร็จในหนึ่งปี
และมีผลต่อเนื่องในระยะยาวอย่างยั่งยืน
๓. มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนอย่างกว้างขวาง
บนพื้นฐานของข้อมูลเชิงประจักษ์
๔. มุ่งเน้นการพัฒนาบุคลากรสุขภาพ
ให้สามารถทำงานได้อย่างมีความสุขและภาคภูมิใจ
ระบบการแพทย์และสาธารณสุข
กระทรวงสาธารณสุขต้องประสานความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายในระบบการแพทย์และสาธารณสุข
ทั้งโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหม
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย โรงพยาบาลเอกชนและกลุ่ม NGOs คลินิคเอกชน โรงพยาบาลสังกัดกทม., องค์กรปกครองท้องถิ่นอื่น เครือข่ายสุขภาพและชมรมต่างๆ
นโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข 10 ข้อ MK SAP MCARG
นโยบายข้อที่
1 King ให้ความสำคัญสูงสุดต่อการพัฒนางานสาธารณสุขตามแนวพระราชดำริ
และโครงการเฉลิมพระเกียรติ เพื่อเทิดพระเกียรติพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ เช่น
Iodine_
โครงการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี
เพื่อแก้ปัญหาการขาดไอโอดีน
เป้าหมาย:
ร้อยละ
๑๐๐ ของหญิงตั้งครรภ์ได้รับยาเสริมไอโอดีน
ดำเนินการภายใน เดือนเมษายน 2558
ร้อยละ
๑๐๐ ของเกลือและอาหารมีคุณภาพมาตรฐานไอโอดีนตามที่กฎหมายกำหนด ดำเนินการภายใน เดือนเมษายน
2558
Dental_โครงการรากฟันเทียม และฟันเทียมพระราชทาน เนื่องในโอกาสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญ
พระชนมพรรษาครบ
๗ รอบ
เป้าหมาย
ให้บริการ รากฟันเทียมผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส ๘,๔๐๐ ราย
ให้บริการฟันเทียมผู้สูงอายุ
๓๕,๐๐๐ ราย
Immunization_โครงการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ เนื่องในโอกาสเจริญพระชนมายุครบ ๖๐
พรรษา เพื่อคุ้มครองคนไทยจากโรคร้ายด้วยวัคซีน
มีเป้าหมายของโครงการ 2 ประการสำคัญคือ
1.
ความครอบคลุมการได้รับวัคซีน dT ในประชากรอายุ 20-50 ปี ไม่น้อยกว่าร้อยละ
85
2.
ความครอบคลุมการได้รับวัคซีน MR ในประชากรเด็กอายุ 2.5 ปี – 7 ปี ไม่น้อยกว่าร้อยละ 95
โครงการนี้แบ่งการทำงานออกเป็น
4 ระยะเวลาคือ
ระยะที่
1 Phase 1
โครงการนำร่องรณรงค์ dT จ.มุกดาหาร ใช้วัคซีน (1.6
แสนโด๊ส)
ระยะเวลา ดำเนินการ มี.ค
– เม.ย. 2557
ระยะที่
2 Phase 2 ขยายการรณรงค์ dT ไปอีกทั้งภาคอีสาน 19 จังหวัด ใช้วัคซีน(~10
ล้านโด๊ส)
ระยะเวลา
ดำเนินการ ตุลาคม – ธันวาคม
2557
ระยะที่
3 Phase 3 ขยายการรณรงค์ dTภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ รวม 57จังหวัด ใช้วัคซีน(~ 18 ล้านโด๊ส
ระยะเวลา
ดำเนินการ มีนาคม –
เมษายน 2558
ระยะที่
4 Phase 4 ให้วัคซีน MR 2 .5 ปี - 7 ปี
ทั่วประเทศ
ระยะเวลา
ดำเนินการ พฤษภาคม – กันยายน
2558
วัคซีน dT ในประชากร
๒๐-๕๐ ปี ไม่น้อยกว่า ๘๕% ดำเนินการภายใน
เดือน ตุลาคม – ธันวาคม 2557
ดำเนินการ ๑๙ จังหวัดในภาคอีสาน
มค. ๕๘ ทั่วประเทศ
วัคซีน MR ในประชากรเด็กอายุ๒.๕-๗ ปีไม่น้อยกว่า ๙๕%.....พค.-ธค. ๕๘
นโยบายข้อที่
2 Service พัฒนาระบบบริการสุขภาพให้ทุกคนบนแผ่นดินไทยสามารถเข้าถึงการ
บริการที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึง
โดยมีการใช้ทรัพยากรสุขภาพอย่างมี ประสิทธิภาพ และเป็นระบบที่ยั่งยืน
๒.๑ พัฒนาบริการปฐมภูมิ
พัฒนา
“ทีมหมอประจำครอบครัว (Family care team:FCT)” ดูแลประชาชน
ทุกครัวเรือนในเขตชนบท โดยแบ่งหมู่บ้านให้บุคลากร รพ.สต.และ รพช. แต่ละคนดูแลให้คำปรึกษา ดูแลถึงบ้าน และประสานการส่งต่อ
โดยมีแพทย์
รพช. เป็นที่ปรึกษา
ทำครอบคลุมทุกพื้นที่ วันที่ ๑ มค. ๒๕๕๘
พัฒนาระบบบริการปฐมภูมิเขตเมืองโดยให้ฝ่ายเวชกรรมสังคมเป็นหลักในการ
ประสานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและคลินิกเอกชน จัดบริการปฐมภูมิให้ ครอบคลุมประชากรเขตเมือง
เดือน กย.
๒๕๕๘
๒.๒ พัฒนาระบบบริการในแต่ละเขตพื้นที่
เน้นระบบเครือข่ายการส่งต่อระหว่าง ภาครัฐและภาคเอกชนที่มีประสิทธิภาพ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
๒.๓ พัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพให้ทุกกองทุนมีความกลมเกลียวเป็นหนึ่งเดียวกัน
(harmonization) ในเรื่องสิทธิประโยชน์ การเข้าถึงบริการ การสนับสนุนทางการเงิน
และระบบข้อมูล
๒.๔ เร่งรัดดำเนินการให้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน
ตามนโยบาย “ใช้บริการได้ทุกที่ฟรีทุกสิทธิ์ิ” มีความเป็นจริงในทางปฏิบัติ
๒.๕ เร่งรัดการดำเนินการระบบสร้างเสริมสุขภาวะสำหรับผู้สูงอายุ
และผู้ที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง รวมทั้งผู้ป่วยในระยะท้ายของชีวิต
การคัดกรองเพื่อจำแนกกลุ่มผู้สูงอายุตามภาวะพึ่งพิง
และประเมินความจำเป็นด้านการสนับสนุนบริการและการจัดบริการด้านสุขภาพและสังคม รวมถึงมี Care giver และ Care manager อย่างพอเพียง เพื่อช่วยดูแลผู้สูงอายุ
ที่อยู่ในภาวะพ่งพิง ดำเนินการจังหวัดละ ๑-๓ อำเภอ อำเภอละ ๑-๓ ตำบล
ดำาเนินการ
๒๐ จังหวัด ภายในเดือน ธันวาคม ๒๕๕๗
ดำเนินการทั่วประเทศ ภายในเดือน เมษายน ๒๕๕๘
ในปี 2557มีจำนวนผู้สูงอายุที่พึ่งพาทั้งหมด
70,000 คน และมีผู้สูงอายุพี่งพิงมาก 110,000 คน
และมีแนวโน้มจะเพิมขึนในปี
2561 โดย มีจำนวนผู้สูงอายุที่พึ่งพาทั้งหมดเพิ่มเป็น 86,000 คนและ
มีผู้สูงอายุพี่งพิงมาก
134,000 คน
(คำที่ควรสังเกต คือ ผู้สูงอายุที่พึ่งพาทั้งหมด และ คำว่า ผู้สูงอายุพี่งพิงมาก)
การตรวจคัดกรองและผ่าตัดต้อกระจก
ประเภท
Blinding cataract ในผู้ป่วย ๓ จังหวัดชายแดนใตั(นำร่อง
จาก
โครงการแสงทองแห่งความหวัง )
พื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนใต้ ดำเนินการ
ภายในเดือน ธันวาคม ๒๕๕๗
ทั่วประเทศ
ดำเนินการ ภายในเดือน กย.
๒๕๕๘
() พัฒนา Palliative care unit * ขึ้นใน รพ.ของกรม
รพศ./รพท. ทุกแห่งโดยมี พยาบาลที่ผานการอบรมอย่างน้อย
1 คน ปฏิบัตงานเต็มเวลา
รพ.ของกรม รพศ./รพท.ทุกแห่ง
ดำเนินการ ภายในเดือน ธค. ๒๕๕๗
ขยายเครือข่ายไปสู่ รพช. ๓๐๐ แห่ง
ดำเนินการ ภายในเดือน กย. ๒๕๕๘
* การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง
(Palliative care) องค์การอนามัยโลก (WHO 2005) ได้ให้ความหมายของ Palliative care ว่า “การดูแลเพื่อทำให้ผู้ป่วยและครอบครัวที่กำลังเผชิญหน้ากับความเจ็บป่วยที่คุกคามชีวิต
มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
ผ่านกระบวนการป้องกันและบรรเทาความทุกข์ทรมานด้วยการค้นหา
ประเมินและให้การรักษาภาวะเจ็บปวดของผู้ป่วยรวมไปถึงปัญหาด้านอื่นๆ
ทั้งด้านร่างกาย
จิตใจ
สังคม และจิตวิญญาณตั้งแต่เริ่มต้น เป็นการดูแลแบบองค์รวมที่ต้องอาศัย การทำงาน
ของสหสาขา
ให้การดูแลต่อเนื่องจนกว่าผู้ป่วยจะเสียชีวิตและดูแลประคับประคองผู้สูญเสีย”
๒.๖ เร่งรัดพัฒนาระบบการเข้าถึงบริการสุขภาพและพัฒนาหน่วยบริการสุขภาพสำหรับประชากรที่มี
ความต้องการบริการรูปแบบพิเศษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเข้าถึงบริการสำหรับคนพิการ ประชากรที่มีปัญหา
สถานะและสิทธิ์ ประชากร
ต่างด้าว/แรงงานต่างด้าว
ประชาชนตามพื้นที่พิเศษ
๒.๗ พัฒนาประสิทธิภาพและการมีส่วนร่วมในการจัดการและการใช้ทรัพยากรของระบบบริการ
๒.๘ สนับสนุนการบูรณาการแพทย์แผนไทยและสมุนไพรเข้าสู่ระบบบริการสุขภาพอย่างครบวงจร
๒.๙ เร่งรัดการดำเนินการพัฒนาคุณภาพการบริการ
นโยบายข้อที่
3 Age Group_สร้างเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชากรไทยตลอดช่วงชีวิต
๓.๑ การกำจัดปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพตามกลุ่มวัย
กลุ่มทารกในครรภ์และมารดา
กลุ่มเด็กปฐมวัยและวัยก่อนเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียน
กลุ่มวัยรุ่น
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มผู้ป่วยในระยะสุดท้าย
๓.๒ โภชนาการและอาหารปลอดภัย
เช่น การขจัดปัญหาการใช้ steroid ไม่ถูกต้องในอาหารและยา
๓.๓ การป้องกันและการควบคุมการบาดเจ็บ
โดยเฉพาะช่วงเทศกาลต่างๆ
๓.๔ การคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ
เช่น การผลักดัน ร่าง พรบ.เยียวยาผู้ประสบภัยจากบริการสาธารณสุข
พ.ศ. ....
นโยบายข้อที่
4 PartnerShip _ สร้างเสริมความเข้มแข็งของกลไกนโยบายสาธารณะ
โดยมุ่งเน้นการทำงาน
อย่างมีส่วนร่วมระหว่างภาครัฐ (กระทรวงสาธารณสุข
และกระทรวงอื่นๆ หน่วยงานด้านสุขภาพ) ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม
และชุมชน
นโยบายข้อที่
5 Manforce_พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการบุคลากรสุขภาพ
สนับสนุนการวางแผนกำลังคนด้านสุขภาพ
ให้มีทั้งปริมาณและการกระจายอย่างทั่วถึง โดยเฉพาะในพื้นที่ชนบทที่ห่างไกล
สนับสนุนการผลิตบุคลากรสุขภาพให้เพียงพอต่อความต้องการ
และพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง
เสริมสร้างประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรสุขภาพ
โดยใช้แรงจูงใจทั้งทางด้านการเงินและไม่ใช่การเงิน พร้องปรับปรุงสภาพแวดล้อมการทำางาน
นโยบายข้อที่ 6 Medicine Technology_พัฒนาความมั่นคงของระบบยา
วัคซีน เวชภัณฑ์ เทคโนโลยีทางการแพทย์
เร่งรัดให้การก่อสร้างโรงงานผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่
แล้วเสร็จภายใน ๑ ปี
นโยบายข้อที่
7 Communicable Disease จัดการโรคติดต่อและภัยคุกคามด้านสุขภาพ
ห้องปฏิบัติการ รพ.ศูนย์ทุกแห่ง และ รพท. ในจังหวัดที่มีสนามบิน
(๓๐) ได้รับการ รับรอง Designated
Receiving Area: DRA เพื่อรองรับการตรวจวินิจฉัยโรคติดต่ออุบัติใหม่
ภายในเดือน ธค. ๒๕๕๗
นโยบายข้อที่ 8 Asean_สนับสนุนการพัฒนาระบบสุขภาพโลก
(Global health)
จัดทำแผนยุทธศาสตร์เพื่อรองรับการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียนและประชาคมโลก
พัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางผลิตบุคลากรสุขภาพในระดับภูมิภาค
พัฒนาระบบสารสนเทศให้พร้อมเชื่อมโยงข้อมูล
จากระดับพื้นที่สู่ระดับประเทศและระดับภูมิภาค
นโยบายข้อที่ 9 Research_สนับสนุนการวิจัยสุขภาพอย่างครบวงจร
นโยบายข้อที่
10 Good Governance_สร้างระบบธรรมาภิบาลในกระทรวงสาธารณสุข
กำหนดกติกาการโยกย้ายที่เป็นธรรม
โปร่งใส ตรวจสอบได้
กำาหนดกลไกที่เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล
เช่น whistleblower (คนส่งสัญญาณ คนเป่านกหวีด
กลไกการช่วยกันตรวจสอบ)
ประทับใจการยกตัวอย่าง สายการบินให้บริการคนไทย(เมียฝรั่งพูดฝรั่งไม่ได้
จะกลับมาคลอดที่ประเทศไทย เพื่อใช้บริการที่แพง แต่ต้องเดินทาง โดยสายการบินสหรัฐอเมริกา
ผ่านสนามบินหลายแห่ง ตกเคื่องที่ ตะวันออกกลาง สายการบินให้บริการจนสามารถกลับประเทศไทยได้
อย่างเกินควาคาดหมาย ทั้งๆที่เธอพูดภาษาอื่นไม่ได้เลย)
เรียบง่าย
สามัคคี มีธรรมาภิบาล
หลักการสามประการในการทำางานของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข 3 ประการ
เรียบง่าย สามัคคี
มีธรรมาภิบาล
นิทานการปรับตัวเข้าสู่ ASEAN
แมวจับหนู
หนูเข้ารู หนูออกมา เพราะได้ยินเสียงเห่าของหมา แมวจับหนู ที่ปากรู
เอ้า
หมาเห่า ทำไม แมวยังอยู่อีก นึกว่า แมวกลัวหมา และหนีไปแล้ว
แมวตอบว่า
ทุกวันนี้รู้ภาษาเดียวทำมาหากินไม่ได้ ต้องสามารถพูดได้ อย่างน้อย 2 ภาษา
แมวจึงเห่าเป็นเสียงหมาได้ด้วย
วลีสรุปส่งท้าย
“คนเราถ้าไม่พะวงห่วงกับการรักษาเก้าอี้
มักจะตัดสินใจได้ถูกต้อง” ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์
No comments:
Post a Comment