11/30/14

17 พย.2557: DHML Team จังหวัดยโสธร Share ประสบการณ์ เรียนรู้ ร่วมกัน 4 เรื่อง

17 พย.2557: DHML Team จังหวัดยโสธร Share ประสบการณ์ เรียนรู้ ร่วมกัน 4 เรื่อง  
วันที่ 17 พฤศจิกายน 2557 วันนี้ ผมนายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง  ไปพร้อมกับ นายวิทยา  เพชรรัตน์ สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว แพทย์หญิง เพชรวันชัย จางไววิทย์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว นายวสันต์ ชัยภูมิ นายก อบต.ลุมพุก และคณะ เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการ เสริมสมรรถนะการบริหารจัดการระบบสุขภาพอำเภอ (District Health System Management Learning : DHM ) ในอำเภอต้นแบบ จังหวัดยโสธร ณ โรงแรมเจพี เอมเมอรัลด์ อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร
ประธาน โดย นายแพทย์สุใหญ่ หลิ่มโตประเสริฐ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร
วิทยากร AI โดย ดร.สุทิน ชนะบุญ อาจารย์จากวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น 
กล่าวรายงานโดย นพ.จักราวุธ จุฑสงฆ์ รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร(นายแพทย์เชี่ยวชาญด้านเวชกรรมป้องกัน)
            ภก.องอาจ  แสนศรี รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร (นักวิชาการสาธารณสุขเชี่ยวชาญด้านส่งเสริมและพัฒนา) นำคณะ จาก อำเภอต้นแบบ 4 อำเภอ เข้าร่วมประชุม โดยพร้อมเพียงกัน
            ในโอกาสนี้  รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร ทั้ง 2 ท่าน ร่วมให้คำแนะนำ และให้ข้อคิดเห็นที่ดี ในเวที
การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การนำเสนอผลการดำเนินงาน ประสบการณ์ การดำเนินงาน โครงการในพื้นที่ การลงมือทำ ( Implementation ) ซึ่งนำไปสู่การพัฒนา ( Development ) ที่เป็นประสบการณ์ใหม่ และที่ เป็นการต่อยอด การเรียนรู้ ผ่านประสบการณ์เดิมที่มี จาก DHML Team ทั้ง 4 อำเภอ (อำเภอคำเขื่อนแก้ว มหาชนะชัย กุดชุม ป่าติ้ว)
            ฝ่ายเลขานุการ การจัดประชุม โดย  นางสุวรรณี   แสนสุข หัวหน้างกลุ่มงาน นางอารีรัตน์ เนติวัชรเวช พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ และคณะจาก พัฒนาคุณภาพบริการและ สุขภาพภาคประชาชน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร
            โดยสรุป เป็น Work Shop ครั้งที่ 2 ของ DHML Team จังหวัดยโสธร

ทั้งนี้ Pre Training Work Shop ของ DHML Team จังหวัดยโสธร  จัดขึ้น วันที่ 18 กรกฎาคม 2557 ที่นี่

เวที Work Shop ครั้งที่ 1 ของ DHML Team จังหวัดยโสธร  จัดขึ้น ณ ราชาวดี จังหวัดขอนแก่น วันที่ 20-22 สิงหาคม 2557 ที่นี่


วัตถุประสงค์หลัก คือ การเรียนรู้เป็นทีม อย่างมีความสุข เพื่อแก้ปัญหาสุขภาพภายใต้บริบทของพื้นที่นั้นๆ
จากการเรียนรู้ทีมุ่งเน้น การใช้บริบทเป็นฐาน ( Cotext Base Learning )
           
เรื่องที่ 1 DHML Team คำเขื่อนแก้ว นำเสนอ เรื่อง เกษตรปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย
            นายวิทยา  เพชรรัตน์ สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว นำคณะ ผู้เรียน Learning Team จาก ทุกภาคส่วน เข้าร่วมเรียนรู้ ประกอบด้วย หัวหน้ากลุ่มงาน สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุกแห่ง และ Learning Team จาก โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว รวม 27 คน
ขอชื่นชมและขอบพระคุณ เลขานุการทีมที่จัดทำ Powerpoint พร้อมเป็นตัวแทน DHML Team คำเขื่อนแก้ว ในการนำเสนอ โดย นายสุนทร วิริยะพันธ์ นักวิชาการสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว
ซึ่งเป็นการนำเสนอสิ่งที่ DHML Team คำเขื่อนแก้ว เราได้ทำร่วมกันมาเป็นระยะ ตามลำดับดังนี้
ขั้นตอนที่ 1. กำจัดลำดับความสำคัญของปัญหา ร่วมกันทั้งอำเภอ  วันที่ 14 พฤษภาคม 2557
โดย กรรมการ DHS ประธาน โดย นายอำเภอคำเขื่อนแก้ว  นำเสนอ เรื่องการลดการใช้สารเคมีในเกษตรกร 
           
ขั้นตอนที่ 2.ไตร่ตรองปัญหา โดย Stake Holder ทั้งหมด  วันที่ 14 มิถุนายน 2557 
วิธีการโดย PAIC วิทยากร โดย ดร.นงนภัส เที่ยงกมล อาจารย์คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ดร.จากมหาวิทยาลัยมหิดล  ( Participatory Appreciation Influence Control)
ที่เน้น การวาดภาพ ทั้งภาพฝัน แนวทางการแก้ และแนวทางที่จะปฏิบัติร่วมกัน
            ระดับการมีส่วนร่วม 5 ขั้นตอน นั้น อำเภอคำเขื่อนแก้ว อยู่ในขั้นที่ 3 หรือ ระดับ ที่ 3
(ระดับการมีส่วนร่วม 5 ขั้นตอน ICICE
ระดับที่ 1. ระดับการให้ข้อมูลข่าวสาร (to inform)
ระดับที่ 2. ระดับการให้คำปรึกษาหารือ (to consult)
ระดับที่ 3. ระดับการเข้าไปเกี่ยวข้อง (to involve)
ระดับที่ 4. ระดับการร่วมมือ (to collaborate)
            ระดับที่ 5. ระดับการมอบอำนาจการตัดสินใจ (to empower)
ขั้นตอนที่ 3.ถ่ายทอด เทคโนโลยีการมีส่วนร่วม ทั้ง 3 กระบวนการ  วันที่ 27 ตุลาคม 2557  ณ โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว
            กระบวนการที่ 1. วิธีการถกปัญหาหรือสนทนาแบบมีส่วนร่วม Discusstion (ORID)
            กระบวนการที่ 2. วิธีการประชุมเชิงปฏิบัติการ Worksop Meeting
            กระบวนการที่ 3. วิธีการวางแผนปฏิบัติการ Action Plan
วิทยากรจาก มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ผศ.ดร.วิรัติ ปานศิลา ภายใต้คำถามหลัก 4 คำถาม คือ
คำถามที่ 1 ท่านเห็นอะไร  คำถามที่ 2 ท่านคิดอย่างไร 
คำถามที่ 3 เราจะทำอะไรต่อไป  คำถามที่ 4 ท่านจะร่วมทำอะไร ได้บ้าง

ขั้นตอนที่ 4. รพ.สต.ย่อ นำเทนโนโลยี กการมีส่วนร่วม ลงสู่การปฏิบัติในพื้นที่ บ้านสว่าง ตำบลย่อ
วันที่ 30 ตุลาคม 2557
            ในรูปแบบ หมู่บ้านจัดการสุขภาพ ภายใต้ Concept ยโสธร โมเดล กินอิ่ม นอนอุ่น มีเงินออม พร้อมมีการใช้สมุนไพร
            ขั้นตอนที่ 5. กรรมการ DHS นำน้อมูล มาวางแผนงาน  วันที่ 30 ตุลาคม 2557 โดยมีมติร่วมกันให้ดำเนินการ ดังนี้
กำหนดเป็นวาระอำเภอ
ดำเนินการตามาตรการ 3 มาตรการ ประกอบด้วย
มาตรการที่ 1 การสร้างความตระหนักให้กับประชาชน
มาตรการที่ 2 การสร้างนโยบายสาธารณะ (เจ้าภาพโดยระดับอำเภอ )
มาตรการที่ 3 การกำหนดพื้นที่ต้นแบบ จำนวน 17 หมู่บ้าน

ขั้นตอนที่ 6. ประชุมกรรมการ DHS ในเวที หัวหน้าส่วนราชการ  ณ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว วันที่ 13 พฤศจิกายน 2557
กำหนดเป็นวาระอำเภอ  ออกคำสั่ง โดยนายอำเภอ
ดำเนินการตามาตรการ 3 มาตรการ ประกอบด้วย
ข้อเสนอ จาก วิทยากร AI โดย ดร.สุทิน ชนะบุญ อาจารย์จากวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น 
            ข้อดี คือ ทีมาของปัญหานั้น มาจากการค้นหาปัญหาร่วมกัน
            ข้อเสนอคือ เมื่อลงทือปฏิบัติจริง หากพบปัญหา ก็ให้นำปัญหาเหล่านั้น มาร่วมเรียนรู้ร่วมกันได้ ไปอย่างต่อเนื่อง

เรื่องที่ 2 DHML Team มหาชนะชัย นำเสนอ เรื่อง การพัฒนาระบบบริการแพทย์แผนไทยยุคใหม่แบบมีส่วนร่วม
            นำเสนอโดย พญ.ดุสิตา ชนะชัยวิบูลวัฒน์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาชนะชัย ประธาน DHML Team มหาชนะชัย
            ภายใต้วิสัยทัศน์ เครืออข่ายบริการสุขภาพอำเภอมหาชนะชัย เป็นเครือข่ายบริการแพทย์แผนไทย ที่ได้มาตรฐาน สืบสานภูมิปัญญา แพทย์พื้นบ้าน สู่การพึ่งพาตนเอง อย่างยั่งยืน ภายในปี 2560
ด้วย Slogan ชาวมหาชนะชัย ลดเจ็บ ลดป่วย ด้วยแพทย์แผนไทย ปลูกสมุนไพร กิน ใช้ ทุกกครัวเรือน
การระดมการมีส่วนร่วมด้วยวิธีการที่หลากหลาย ทั้งจากนายอำเภอ และเครือข่ายในระดับพื้นที่ ผ่านการทำงานร่วมกัน โครงการนายอำเภอของประชาชน ( นายอำเภอแหวนเพชร)
            โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ประชาชนสามารถพึ่งตนเองได้ ด้วยการแพทย์แผนไทย
            “สิ่งที่ประทับใจในการทำงานโครงการนี้ร่วมกัน คือ ได้เห็นคุณค่าของกันและกัน ในหลากหลายมิติ ทั้งทีมงานวางแผน ทีมปฏิบัติ ปราชญ์ชาวบ้าน ทุกคนล้วนมีคุณค่าที่ควรได้รับการชื่นชม ซึ่งการเห็นคุณค่าของกันและกันนั้น ทำให้พวกเรามีความสุขในการทำงานร่วมกันพญ.ดุสิตา ชนะชัยวิบูลวัฒน์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาชนะชัย
            ข้อเสนอแนะจาก นายวิทยา  เพชรรัตน์ สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว ครูที่ปรึกษา  คือ  รพ.สต.แต่ละแห่ง
ควรจะ Focus เรื่องที่ตนเองจะทำ หรือเน้นเป็นการเฉพาะในแต่ละแห่ง ลึกลงไปอีก แล้วร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ต่อยอดไปอย่างต่อเนื่อง
            ข้อเสนอ จาก วิทยากร AI โดย ดร.สุทิน ชนะบุญ อาจารย์จากวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น 
ควรศึกษา เป็นการวิจัยย่อยๆไปด้วย ใน หมู่บ้านต้นแบบ ทั้ง 14 หมู่บ้าน
           
เรื่องที่ 3 DHML Team กุดชุม นำเสนอ เรื่อง ลหวาน มัน เค็ม เติมเต็มสุขภาพ ผู้ป่วยเบาหวาน
            นำเสนอโดย นางทองจันทร์ บุตรจันทร์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านแดง
อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร
            ดำเนินการผ่าน Stake Holder ทุกส่วนทั้ง ผู้ลิต ผู้ค้า ผู้บริโภค
            วิธีการที่หลากหลาย เช่นการสนับสนุนจากกระดับอำเภอ
ป้ายบอกความหวาน ( มาก ปานกลาง น้อย ) ในผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น อาหาร กาแฟ เครื่องดื่ม เป็นต้
ผ้ากันเปื้อน ป้ายประชาสัมพันธ์ เป็นต้น
            การปฏิบัติในระดับชุมชน
                        ดำเนินการเต็มพื้นที่ และ ประกวดหมู่บ้านต้นแบบ
เรื่องที่ 4 DHML Team ป่าติ้ว นำเสนอ เรื่อง การแก้ปัญหาการตั้งครรภ์ ก่อนวัยอันควร
            (Teenage Pregnancy)
ตามโครงการ การแก้ปัญหาอนามัยแม่และเด็ก เชิงระบบแบบบูรณาการ
ซึ่งถือเป็นโครงการที่มีความยุ่งยากซับซ้อน
            นำเสนอโดย นพ.พรพล รัตนอาภา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลป่าติ้ว ประธาน DHML Team ป่าติ้ว  

นพ.จักราวุธ จุฑสงฆ์ รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร ประธาน LCC ยโสธร ให้ข้อมูลที่ดีสำหรับการบริหารโครงการ ทั้ง 4 อำเภอ โดยใช้ การบริหารโครงการ 8 ขั้นตอน มาพิจารณาด้วย
1.     การวิเคราะห์ สถานการณ์ Situation analysis
2.     การวางแผนงาน Planning
3.     การดำเนินการ Implementing
4.     การควบคุมกำกับ Mornitoring
5.     การประเมินผล Evaluating
6.     หากไม่ได้ผล ก็พิจารณาหยุด End of Program
7.     หากได้ผล ก็พิจารณาทำต่อเนื่อง Continuing
8.     การนำไปใช้ประโยชน์ Utilizing

ซึ่ง ทั้ง 8 ขั้นตอน นั้น สามารถ รวมอยู่ใน  3 ส่วนใหญ่ 3 ส่วน คือ
ส่วนที่ 1 การวางแผนโครงการ
1.     การวิเคราะห์ สถานการณ์ Situation analysis
2.     การวางแผนงาน Planning
ส่วนที่ 2 การดำเนินการโครงการ
1.     การดำเนินการ Implementing
2.     การควบคุมกำกับ Mornitoring  
ส่วนที่ 3 การประเมินผลโครงการ
1.     การประเมินผล Evaluating  
2.     หากไม่ได้ผล ก็พิจารณาหยุด End of Program  
3.     หากได้ผล ก็พิจารณาทำต่อเนื่อง Continuing  

4.     การนำไปใช้ประโยชน์ Utilizing  
















No comments:

Post a Comment