21 สค.2557DHML 6 สมรรถนะหลัก 4
สมรรถนะเงา_ระบบสุขภาพระดับอำเภอ VIP
CUT ARCP
วันที่
21 สิงหาคม 2557 ผมนายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง และคณะ
เข้าร่วม กิจกรรม การประชุมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาเครือข่ายสุขภาพอำเภอ (DHS) สู่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อเสริมสมรรถนะการบริหารจัดการระบบสุขภาพระดับอำเภอ
(DHML) จังหวัดยโสธร ปี 2557 ซึ่ง จัดขึ้น ในระหว่างวันที่ 20.22 สิงหาคม 2557 ณ ห้องประชุมโรงแรมราชาวดี จังหวัดขอนแก่น
วิทยากรหลัก
โดย ที่ปรึกษาโครงการ รศ.นพ.สุรเกียรติ อาชานานุภาพ ประธานกรรมการมูลนิธิหมอชาวบ้าน อดีตคณะแพทยศาสตร
โรงพยาบาลรามาธิบดี นพ.ยงยุทธ พงษ์สุภาพ
สมรรรถนะหลัก ที่ต้องการขงทีมผู้เรียน
สมรรถนะการบริหารจัดการระบบสุขภาพอำเภอทั่วไป
(General
DHS management competencies)
มีพื้นฐานมาจากสมรรถนะการบริหารจัดการทั่วไปประกอบด้วย VIP CUT & PARC
V การมีวิสัยทัศน์ Vision ความสามารถในการทำเข้าใจ (มากกว่าการรับรู้อย่างผิวเผินในลักษณะของคำขวัญ: Slogans)) คุณลักษณะพึงประสงค์ของระบบสุขภาพอำเภอและระบบสุขภาพของประเทศโดยรวม เช่น E.Q.E.SA, ใกล้บ้านใกล้ใจ, 1A4C, และ UCAREC เป็นต้น โดยสามารถเชื่อมโยงกับการบริหารจัดการในทางปฏิบัติ เพื่อการวางยุทธศาสตร์และการขับเคลื่อนระบบสุขภาพอำเภอ ให้มีคุณลักษณะใกล้เคียงกับคุณลักษณะระบบสุขภาพพึงประสงค์ดังกล่าว
ข้อสังเกต Vision คือแสงส่องทาง หาก Clear แล้ง Team จะเดินไปได้เร็ว ชัดแค่ไหน เทียบได้กับ เทียนไข ใต้ คบเพลิง ดวงจันทร์ พรือดวงตะวัน
I การควบคุมตัวเอง Individual Control
ในที่นี้หมายถึงการรู้เท่าทันอารมณ์ของตนเองและควบคุมได้อย่างเหมาะสม
สามารถจัดการกับความเครียดหรือภาวะที่เกิดความกดดันทางอารมณ์อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การมีพฤติกรรมการตอบโต้ที่สงบ-สร้างสรรค์ แม้จะถูกยั่วยุ
สามารถแก้ไขสถานการณ์โดยไม่เกิดความรุนแรงทางอารมณ์
รวมถึงการควบคุมตนเองมีผลให้ผู้อื่นสามารถสงบลงได้ เป็นต้น เป็นคุณลักษณะที่สร้างความเชื่อถือให้กับผู้นำได้ วิธีง่ายๆคือ การฟัง และ Positive Thinking
P การวางแผน Planning ความสามารถในการดำเนินการตามวงจรของการวางแผน
(Planning cycle) ได้อย่างครบวงจร ซึ่งประกอบด้วย การวิเคราะห์ปัญหา-การวางแผน-การให้การสนับสนุนการดำเนินการเพื่อการแก้ปัญหา-การควบคุมกำกับ-การติดตามผล-และการประเมินผล
C การนำการเปลี่ยนแปลง Change Agent การกระตุ้นหรือผลักดันการเปลี่ยนแปลงเพื่อทำให้คุณลักษณะของระบบสุขภาพอำเภอเข้าใกล้คุณลักษณะของระบบสุขภาพพึงประสงค์
บนพื้นฐานของการรับรู้ เรียนรู้ และทำความเข้าใจองค์ประกอบต่างๆ
ที่เป็นแรงต้านต่อการเปลี่ยนแปลง (Resistance to change) เช่น
ความเคยชิน (Habitude) Comfort zone ความกลัวต่อความไม่แน่นอนของการเปลี่ยนแปลง
(Fear of uncertainty) เป็นต้น ทำให้สามารถโน้มน้าว
สร้างขวัญกำลังใจ เสริมศักยภาพบุคคล ในการทำให้ในที่สุดการเปลี่ยนแปลงสามารถเกิดขึ้นได้อย่างราบรื่น
U การใช้เครื่องมือการบริหารจัดการ Utility Tools ในที่นี้ให้ความสำคัญกับ “เครื่องมือการบริหารจัดการระบบสุขภาพอำเภอ (DHS management tools)” เช่น กลไกการเงิน, การใช้ข้อมูลทางสุขภาพ, การสร้างทีมและการส่งเสริมการทำงานเป็นทีมทั้งแนวราบ (ภายในสถานบริการ) และแนวดิ่ง (โรงพยาบาล-สถานบริการปฐมภูมิในชุมชน-ผู้ให้บริการที่เป็นสมาชิกในชุมชน-และสมาชิกในครอบครัว), การมีส่วนร่วมของชุมชน, การดำเนินการบนพื้นฐานของการร่วมมือกับภาคส่วนต่างๆ เป็นต้น เพื่อส่งเสริมให้พลังของการมีปฏิสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่างๆ ที่มีอยู่ทั้งหมดภายในระบบสุขภาพอำเภอ (Interconnectedness) บนพื้นฐานของการเป็นระบบที่มีความผันผวน Volatility ซับซ้อนและมีการปรับตัว (Complex and adaptive system) เช่น ความอดทน ความมุ่งมั่น ( ความทรหด ) การซ่อมแซม การเชื่อมต่อ การสร้างเสริม การสร้างใหม่ การสร้างสมดุลในความหลากหลาย เกิดขึ้นอย่างเต็มศักยภาพภายในระบบสุขภาพอำเภอ ทางลัดคือศักยภาพ การบูรณาการ Resource Sharing
ข้อคิด เราคงไม่เอาทุเรียนที่เราชอบ ไปตกปลา
T การทำงานเป็นทีม Teamwork ในที่นี้หมายถึง
ความสามารถในการดำเนินการบริหารจัดการร่วมกันเป็นทีมของทีมบริการจัดการระบบสุขภาพอำเภอ
(District Health Management Team: DHMT) บนพื้นฐานของความถนัดและการมีสมรรถนะที่แตกต่างของสมาชิกภายในทีม ซึ่งแม้จะหลากหลาย แต่ต้องมีเป้าหมายเดียวกัน แม้กิจกรรมแก้ปัญหาสุขภาพที่แตกต่าง เช่น การดำเนินการหรือการแก้ปัญหาที่มีความยากเชิงเทคนิควิชาการ
(Technically complicated problems and interventions), การดำเนินการหรือการปัญหาที่มีความยากเชิงสังคม
(Socially complicated problems and interventions), การดำเนินการหรือการแก้ปัญหาที่มีความยุงยากซับซ้อน
(Complex problems and interventions) มีความไม่แน่นอน ของสถานการณ์และทรัพยากร เป็นต้น บนพื้นฐานของการสร้างความร่วมมือกับทีมงานและผู้ปฏิบัติที่หลากหลายภายในระบบสุขภาพอำเภอ เทคนิคสำคัญคือ การไว้เนื้อเชื่อใจซึ่งกันและกัน เข้าใจ และเคารพการตัดสินใจของสมาชิก ผ่านการปฏิบัติของ การกระทำ และ คำพูด การกระทำที่เป็นมิตร คำพูดที่เป็น ปิยะวาจา (ครบ 4 องคืประกอบ 1.พูดจริง2. พูดไพเราะอ่อนหวาน3.พูดแล้วสมัครสมานสามัคคี4.พูดแล้วดีมีประโยชน์ )
สมรรรถนะหลัก ด้านบน 6 ประการ
คือ สิ่งที่คาดหวัง แต่ มีสิ่งที่เกิดขึ้น จากการทำงานร่วมกัน เปรียบเสมือนเงาตามตัว
ที่เรียกว่า สมรรถนะเงา 4 ประการ ที่เกิดขึ้น จากการ
ทำงานร่วมกัน ARCP
Appreciation การเห็นคุณค่า ของ ตน ของคน
ของงาน ที่ทำร่วมกัน
Relationship สัมพันธภาพที่ดี ทุกสิ่งปรารถนา ไมตรียื่นให้ด้วยใจจง ใช้คลื่นพลังบวก ดึงดูดพลังสุข
Communicable การสื่อสารที่ดี เข้าใจง่าย สั้น กระชับ ตรงประเด็น ผ่านทั้ง วจนะ และ อวจนะภาษา
Power เกิด พลังอำนาจ Power จากการทำงาน
ทั้ง Power ในแนวราบและในแนวตั้ง ทั้งจาก อำนาจหน้าที่และจาก
คุณค่าการทำงาน Power ที่สำคัญ คือ ความภาคภูมิใจ Pride to Power
ความรู้ที่สำคัญ คือ
ความรู้จากการปฏิบัติงาน จงให้ความสำคัญกับความรู้จากการปฏิบัติ
มากกว่าความรู้ทางทฤษฎี
Reseach ที่ดี คือ Action Reseach หรือ Learning by Doing
การทำงานให้มีความสุข ทั้ง 4 สุข ให้ครบ DOSE คือ สุขภาพ สุขสัมพันธ์ สุขสำเร็จ ภายใต้ สุขสนุก
ให้ร่างกายหลั่งสาร สุขภาพ Serotonin สุขสัมพันธ์Oxytocin สุขสำเร็จDopamine ภายใต้ สุขสนุก Endorphins
พัฒนาจากการรู้จริง
จากการปฏิบัติงานจริงของเรา
ในเรื่องความสัมพันธ์
พึงเคารพความเป็นมนุษย์ พึงให้ความสำคัญและระวังกับ น้ำเสียง กริยา ท่าทาง ที่ส่อไป ในทางให้เข้าใจได้ว่า
เป็นไปในทางตำหนิ การตำหนิ หรือ โต้เถียง ได้เพียง สะใจ แต่ ในระยะยาวจะ เสียใจ ควรเลือกแนวทาง สุขใจ โดย Internal Control หรือ เคารพตนเอง Self Esteem
ข้อเท็จจริง คือ เราไม่สามารถ
ค;บคุมคนอื่นได้ แต่เรา สามารถควบคุมตนเองได้ ด้วยการมีสติ ตื่นรู้
วิธีการเรียนรู้ ที่ดีที่สุด คือ
เรียนรู้ โดย การสอนบุคคลอื่น
7 อุปนิสัย
ที่ทำให้ เป็น คนเก่ง คนดี และมีความสุข (... รายละเอียดด้านล่าง )..
หลักการของการจัดการเรียน DHML
การเรียนในโครงการ DHML
อยู่บนพื้นฐานของการเรียนโดยใช้บริบทเป็นฐาน (Context Based Learning: CBL)
โดยกิจกรรมการเรียนส่วนใหญ่ เกิดขึ้นในบริบทของระบบสุขภาพอำเภอของทีมผู้เรียน
ในที่นี้คือ “การดำเนินโครงการในพื้นที่” ซึ่งเป็นกิจกรรมหลักของกระบวนการเรียน
ทั้งนี้รวมถึงการให้ความสำคัญกับการเรียนรู้จากบริบทที่ใกล้เคียง เช่น
การแลกเปลี่ยนเรียนรู้หรือศึกษาดูงานในระบบสุขภาพอำเภอที่เป็นกรณีศึกษา
โดยมีการพัฒนาเป็นเมนูวิชาการ (Learning Menu) เพื่อแสดงให้เห็นถึงการใช้หลักการ-แนวคิด-และทฤษฎีที่สามารถใช้ร่วมกัน
อันมีผลต่อการกำหนดทิศทางของการพัฒนา ซึ่งสามารถเชื่อมโยงกับการดำเนินการในพื้นที่
ซึ่งการดำเนินการอาจมีความแตกต่างตามความจำเพาะของแต่ละบริบท
โดยหลักการสำคัญของการเรียนประกอบด้วย
การเรียนรู้จากการปฏิบัติ (Learning by Doing) โดยเรียนผ่านประสบการณ์การดำเนินโครงการในพื้นที่ ทั้งที่เป็นประสบการณ์ใหม่
และที่เป็นการต่อยอดการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์เดิมที่มี (Experiential Learning) เรียนจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Interactive Learning and
Sharing) ทั้งภายในพื้นที่เดียวกัน-และระหว่างพื้นที่
ระหว่างประชาชน-ผู้ปฏิบัติ-ผู้บริหารจัดการ-ผู้เชี่ยวชาญ-นักวิชาการ-รวมถึงผู้กำหนดและวางนโยบาย
โดยมีหลักการและทฤษฎีเชิงวิชาการในรูปของเมนูวิชาการ (Learning menu) ให้เลือกใช้ตามความจำเป็นในทุกขั้นตอนของกระบวนการเรียน
ในที่นี้เรียกการเรียนในลักษณะนี้ว่า “การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติอย่างมีส่วนร่วม
(Participatory Interactive Learning
through Action: PILA)” หรืออาจเรียกกระบวนการนี้เพื่อให้เข้าใจง่ายในทางปฏิบัติว่าเป็นการ “ร่วมคิด
ร่วมทำ ร่วมเรียนรู้” ถือเป็นกระบวนการหลักของการจัดการเรียนของ DHML
ประสานการจัดการประชุม
ด้วยดี โดย นางสุวรรณี แสนสุข หัวหน้างกลุ่มงาน
นางอารีรัตน์ เนติวัชรเวช พยาบาลวิชาชีพชำนาญ และคณะจาก พัฒนาคุณภาพบริการและ สสม.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร
กิจกรรม การทำความเข้าใจร่วมกัน
(สร้างฐานร่วม) ความคิดเชิงระบบ การเรียนในบริบทที่เหมือน หรือใกล้เคียงกับบริบทการทำงานปกติของผู้เรียน
วิทยากร
AI โดย ดร.สุทิน ชนะบุญ อาจารย์จากวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร
จังหวัดขอนแก่น และ ดร.ประเสริฐ ประสมรักษ์
วันนี้ เลิกประชุม เวลา 18.29 น.
7 อุปนิสัย ที่ทำให้ เป็น คนเก่ง คนดี และมีความสุข
อุปนิสัย ที่ 1. Be
Proactive การทำงานเชิงรุก ป้องกัน ดีกว่าแก้ไข
จะไม่ร้องโวยวาย
หรือกล่าวโทษว่าเป็นความผิดของใคร หากมีสิ่งแย่ๆ เกิดขึ้น แต่คนเหล่านี้มีพลัง
มีกำลังใจ มีใจรัก ที่จะมองหาโอกาสเริ่มต้นลงมือทำ
ไม่รอให้คนอื่นมาช่วยแก้ไขปัญหาให้ คนเหล่านี้รู้จักมองและประเมินสถานการณ์
แล้วลงมือทำ จะไม่สนใจสิ่งที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของตนเอง
จะสนใจแต่สิ่งที่ควบคุมได้เท่านั้น
คนประเภท Proactive รู้ดีว่าตนเองไม่ได้สมบูรณ์แบบ
แต่จะต้องพัฒนาตนเองอยู่เสมอ รู้จักเปลี่ยนแปลงตัวเองตามแต่ละสถานการณ์
เพื่อให้เหมาะและทำให้สามารถจูงใจคนอื่นๆ ทำให้เกิดสภาวะที่ตัวเองต้องการขึ้นได้
อุปนิสัย ที่ 2. Begin
with the End in Mind
ให้คนอื่น
จดจำเราได้ในรูปแบบใด
บางคนใช้เวลาทั้งชีวิต ดั้นด้น ปีนป่ายภูเขา
ปีนขึ้นไปเพียงเพื่อที่จะพบว่า แท้จริงแล้ว
การยืนอยู่บนจุดสูงสุดไม่ใช่เป้าหมายที่แท้จริง
บางคนปีนขึ้นไปแล้วพบว่าความสุขไม่ได้อยู่บนที่สูง
แต่มองลงไปกลับพบว่าความสุขที่ตามหานั้นอยู่บนที่ราบ
อุปนิสัย ที่ 3. Put
First Things First
กิจที่เราทำ
นำไปสู่เป้าหมายได้หรือไม่ ...
วิเคราะห์ จาก ความสำคัญ และ ความเร่งด่วน
ให้เวลากับ งานที่สำคัญ แต่ไม่เร่งด่วน
งานเร่งด่วน แต่ไม่สำคัญ มอบหมายคนอื่นทำได้
ไม่สำคัญ และไม่เร่งด่วน ควรเลิกทำ
อุปนิสัย ที่ 4. Think Win-Win
Zero-sum game
คือสถานการณ์แข่งขันที่ผู้ชนะจะได้
และผู้แพ้ที่จะเสีย
การบวกเพิ่มและหักลบผลประโยชน์
ทำให้ผลรวมกลายเป็น 0
หลีกเลี่ยงการแย่งชิงหรือการต่อสู้เพื่อเอาชนะกัน
และเปลี่ยนไปร่วมมือกัน
ก่อนที่จะเริ่มแย่งชิงกัน
ให้ลองคิดและประเมินสิ่งเหล่านี้ก่อน
ดูว่ามันมีความเป็นไปได้หรือเปล่าที่จะได้รับผลประโยชน์ร่วมกัน
·
ความต้องการของแต่ละฝ่าย
·
วิธีการที่จะทำให้ได้ผลลัพธ์
·
ทรัพยากรที่จำเป็นต้องใช้
·
ประสิทธิภาพของการทำงาน
·
ผลที่ตามมาทั้งในด้านดีและไม่ดี
อุปนิสัย ที่ 5. Seek First to Understand, Then to Be Understood
เข้าใจคนอื่น ก่อนที่จะให้คนอื่นเข้าใจเรา รู้จักรับฟังความเห็นของคนอื่น พยายามเข้าใจความต้องการของคนอื่นๆ สิ่งที่เราต้องทำอันดับแรกไม่ใช่การทำให้คนอื่นๆ เข้าใจตัวเราหรือความต้องการของเรา แต่เป็นการทำความเข้าใจความต้องการของคนอื่นๆ และถ้าตั้งใจฟังอย่างดี ก็จะทำให้ตอบสนองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อุปนิสัย ที่ 6. Synergize สามัคคีคือพลัง ฟังดูเป็นแค่คำเชยๆ
Synergy คือร่วมแรงร่วมใจกันทำงานเป็นทีม
สองหัวดีกว่าหัวเดียว นำเอาความแตกต่างมารวมกันไม่ใช่หักล้างกัน
Synergy คือการเปิดใจยอมรับความแตกต่างทางความคิด
มุมมองและแนวทางการแก้ไขปัญหา
รวมใจเป็นหนึ่งเดียวและทำงานร่วมกันเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพ
เชื่อว่าผลรวมของพลังจากทุกคนจะทำให้เกิดผลที่ดีกว่าแยกกัน
อุปนิสัย ที่ 7. Sharpen the Saw หากงานที่ได้รับมอบหมายคือการตัดต้นไม้ 50 ต้น หลายคนก็คงเริ่มต้นจากการลงมือตัดต้นไม้ทีละต้น วันแรกๆ อาจตัดได้เยอะหน่อย แต่หลังจากเลื่อยเริ่มทื่อลง ก็จะทำงานได้ช้าลงตามไปด้วย
อย่าเริ่มต้นลงมือทำงานทันที แต่ให้เริ่มจากการฝึกฝนตนเองให้พร้อม ยกระดับตัวเองขึ้นไป มันจะทำให้ทำงานได้ราบรื่นและมีประสิทธิภาพ ก้าวข้ามระดับที่คนทั่วไปทำอยู่
·
ในด้านร่างกาย
ให้คำนึงถึงเรื่องการกินอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายเพื่อทำให้ร่างกายฟิต
เพิ่มความสามารถในการฟื้นฟู นอนหลับให้เพียงพอ และรู้จักพักระหว่างการทำงาน
·
ในด้านอารมณ์
ให้คำนึงถึงการสร้างและรักษาความสัมพันธ์กับคนอื่นๆ
ฝึกฝนให้เป็นคนมีความฉลาดทางอารมณ์
·
ในด้านจิตใจ
ให้คำนึงถึงการฝึกฝนจิตใจ ฝึกจิตให้แข็ง ฝึกใจให้แกร่ง
จิตใจที่เข้มแข็งจะทำให้ฟันฝ่าอุปสรรคและไม่ท้อแท้ง่ายๆ
·
ในด้านจิตวิญญาณ
ใช้เวลาอยู่กับธรรมชาติ ซึมซับรับรู้ความงามและความยิ่งใหญ่ของธรรมชาติ
ฝึกฝนเรียนรู้หรือชื่นชมศิลป
สรุป ความสำเร็จขององค์กรขึ้นอยู่กับความสามารถของแต่ละคน ไม่ใช่แค่ระดับบริหาร แต่จะต้องอาศัยคนทำงานที่มีประสิทธิภาพสูงในทุกระดับ ทุกคนทุกทีม จะต้องมีลักษณะนิสัย มีพฤติกรรมการทำงาน มีจุดร่วมเดียวกัน คุณค่าของแต่ละคนสอดคล้องกับแนวทางขององค์กร ผู้นำควรจะแชร์ความรู้เกี่ยวกับลักษณะนิสัยทั้ง 7 อย่างนี้ ทำให้คนทั้งองค์กรได้รู้จักและเปิดโอกาสให้แต่ละคนได้ใช้เวลาในการพัฒนาตนเองให้กลายเป็นคนที่มีประสิทธิภาพสูงเช่นกัน
กิจกรรม นำเสนอสิ่งดี ๆ ที่ได้เรียนรู้ และ สะท้อนการพัฒนาของตนเอง (Self - reflection) ภายใต้บริบท และทรัพยากรที่มีอยู่จริง แล้วสามารถกำหนดเป้าหมายต่าง ๆ เป็นขั้นตอน เห็นผลการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง (Continuous quality improvement) ไม่เน้นความ สมบูรณ์ในครั้งเดียวแต่เน้นการพัฒนาเป็นขั้น ๆ จากเดิมที่ดีอยู่แล้ว
การนำเสนอผลงาน โดยผู้แทนเครือข่ายบริการสุขภาพระดับอำเภอ
อำเภอมหาชนะชัย เรื่อง การพัฒนาระบบบริการแพทย์แผนไทยยุคใหม่แบบมีส่วนร่วม
อำเภอคำเขื่อนแก้ว เรื่อง ชุมชนปลอดภัยไร้สารพิษตกค้างในร่างกายเกษตรกร และสิ่งแวดล้อม
อำเภอ กุดชุม เรื่อง การพัฒนาระบบการดำเนินงานเชิงรุกในการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน ประเด็นภาคีร่วมคิด ชุมชนร่วมใจต้านภัยเบาหวาน ด้วยการ ลดหวาน มันเค็ม เติมเต็ม ออกกกำลังกาย
อำเภอป่าติ้ว เรื่อง การพัฒนาระบบบริการ การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ ก่อนวัยอันควร
กิจกรรม แนวทางการดำเนินงานและการแก้ปัญหาสุขภาพที่แตกต่างในขบวนการ DHML (โดย AI ที่ปรึกษา : รศ.นพ.สุรเกียรติ อาชานานุภาพ ประธานกรรมการมูลนิธิหมอชาวบ้าน อดีตคณะแพทยศาสตร โรงพยาบาลรามาธิบดี และ นพ.ยงยุทธ พงษ์สุภาพ)
( คณะจาก อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร นายสุรินันท์ จักรวรรณพร ผู้ช่วยสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว นายสุนทร วิริยะพันธ์ หัวหน้างานควบคุมโรคติดต่อ สสอ.คำเขื่อนแก้ว
นายขจรเกียรติ อุปยโสธร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ดงแคนใหญ่
นายกันตภณ รัตนปัญญา หัวหน้ากลุ่มงานการพยาบาล โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว
ภก.กาญจนพงษ์ เพ็ญทองดี เภสัชกรชำนาญการพิเศษ โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว
นางอริยวรรณ จันทร์สว่าง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว )
วิทยากร ประจำกลุ่ม
นางรักชนก น้อยอาษา Facilitator ประจำกลุ่ม อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร
นางพนิฐา อุปนิสากร Facilitator ประจำกลุ่ม อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร
นางพรพิไล วรรณสัมผัส Facilitator ประจำกลุ่ม อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร
นายรัฐพล อินทรวิชัย Facilitator ประจำกลุ่ม อำเภอป่าติ้ว จังหวัดยโสธร
No comments:
Post a Comment