8/10/14

6 ส.ค.2557 ยโสธร_ ดูแลช่วยเหลือต่อเนื่องหลังการบำบัดยาเสพติด_วิทยากร ครู ข.

6 ส.ค.2557 ยโสธร_ ดูแลช่วยเหลือต่อเนื่องหลังการบำบัดยาเสพติด_วิทยากร ครู ข.
วันที่ 5 สิงหาคม 2557 ผมนายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง และคณะ เข้ารับการฝึกอบรม หลักสูตร ดูแล ช่วยเหลือต่อเนื่อง ผู้ผ่านการบำบัดรักษายาเสพติด (หลักสูตร วิทยากร ครู ข. ) จังหวัดยโสธร
ณ โรงแรม เดอะกรีนปาร์ค ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร
ประธานและบรรยายพิเศษโดย นายประวัติ ถีถะแก้ว ผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร
จัดโดย ศูนย์อำนวยการพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติดจังหวัดยโสธร (ศพส.จ.ยโสธร)
วัตถุประสงค์หลัก คือ ให้ วิทยากร ครู ข. ไปจัดการฝึกอบรมให้กับ ชุดปฏิบัติการพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติด ระดับตำบล และผู้ใหญ่บ้านทุกหมู่บ้าน สำหรับให้การติดตาม ดูแล ช่วยเหลือต่อเนื่อง ผู้ผ่านการบำบัดรักษายาเสพติด ให้แล้วเสร็จ ครบ 3 ครั้ง และส่งเอกสาร สมุดบันทึก ให้กับ ศูนย์ปฏิบัติการพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติด อำเภอ ตามกำหนด โดยเน้นย้ำ ที่สุดคือ การพบตัว จึงบันทึกข้อมูล ดังนี้
ครั้งที่ 1 ออกติดตามดูแล ระหว่างวันที่ 1- 15 สิงหาคม 2557
ครั้งที่ 2 ออกติดตามดูแล ระหว่างวันที่ 16- 31 สิงหาคม 2557
ครั้งที่ 2 ออกติดตามดูแล ระหว่างวันที่ 1- 15 กันยายน  2557
เนื้อหาหลัก ประกอบด้วย เรื่อง ความรู้และทัศนคติ เรื่องสารเสพติด
เรื่อง หลักการบำบัดฟื้นฟู สมรรถภาพผู้มีปัญหาการใช้สารเสพติด และการให้คำปรึกษาเบื้องต้น
เรื่อง การดูแลต่อเนื่องในชุมชน ของผู้มีปัญหาการใช้สารเสพติด ในระบบังคับบำบัด
เรื่อง การติดตามและเฝ้าระวัง ผู้มีปัญหาการใช้สารเสพติด ในชุมชน
เรื่อง      การรายงานผลการ ติดตามและเฝ้าระวัง ผู้มีปัญหาการใช้สารเสพติด ในชุมชน ตามระบบรายงาน สารสนเทศด้านยาเสพติดระดับจังหวัด (Narcotics Information System for Province Agency: NISPA)
            สภาพปัญหา การติดตามเดิม ไม่พบคนบ้าง พบแต่ได้ข้อมูลไม่ครบ บ้าง
ให้ค้นหา คนที่มีความเสียสละ และเข้าใจในพื้นที่จริง ภายใต้ Concept ทีมงานดี มีความพร้อม ยอมรับฟัง
สำหรับไปปฏิบัติงาจริงในพื้นที่







            ทั้งนี้ มีรายละเอียดเพิ่มเติมในการทำงานเป็นทีมแบบบูรณาการจากภาคส่วนต่างๆ โดยให้ กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย เป็นแกนกลางในการประสานงานและรายงานตามระบบ ต่อไป
เรื่อง ความรู้และทัศนคติ เรื่องสารเสพติด
            ให้ความรู้โดย คณะวิทยากร ก. ระดับจังหวัด และ คณะวิทยากร ครู ข. ระดับอำเภอ
เรื่อง หลักการบำบัดฟื้นฟู สมรรถภาพผู้มีปัญหาการใช้สารเสพติด และการให้คำปรึกษาเบื้องต้น
ให้ความรู้โดย ทีมงาน สาธารณสุข ในคณะวิทยากร ก. ระดับจังหวัด และ คณะวิทยากร ครู ข. ระดับอำเภอ
เรื่อง การดูแลต่อเนื่องในชุมชน ของผู้มีปัญหาการใช้สารเสพติด ในระบบบังคับบำบัด
ให้ความรู้โดย คณะวิทยากร ก. ระดับจังหวัด และ คณะวิทยากร ครู ข. ระดับอำเภอ

เรื่อง การติดตามและเฝ้าระวัง ผู้มีปัญหาการใช้สารเสพติด ในชุมชน
            ให้กระทรวงมหาดไทย เป็นผู้ประสานงานหลัก ดำเนินงานตามหลักการ พ่อปกครองลูก เพราะพ่อ ย่อมมีความปรารถนาดี ต่อลูกทุกๆคน ฉะนั้น จึงต้องให้พ่อ เฝาระวังและ ให้คำแนะนำลูกๆ ให้ปฏิบัติให้ถูกต้องต่อไป
            พ่อ ที่ มีความใกล้ชิด กับลูกบ้านมกที่สุด คือ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ฉะนั้น จึงให้ กลไกของ การปกครองท้องที่ โดย กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน รับผิดชอบหลักในเรื่องนี้โดยตรง เพื่อจะได้รับทราบข้อมูล และสามรถแก้ไขปัญหา ให้กับลูกๆได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
เรื่อง      การรายงานผลการ ติดตามและเฝ้าระวัง ผู้มีปัญหาการใช้สารเสพติด ในชุมชน ตามระบบรายงาน สารสนเทศด้านยาเสพติดระดับจังหวัด (Narcotics Information System for Province Agency: NISPA)
            เมื่อ พ่อ คือ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ให้การดูแลต่อเนื่องแล้ว ก็ ให้รายงานผล ไปยัง ศูนย์ปฏิบัติการพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติด อำเภอ เพื่อ นำเข้าระบบรายงานให้กับส่วนกลางต่อไป
            โดยเก็บข้อมูลของผู้เข้ารับการบำบัด ใน 3 ระบบ ทั้ง ระบบสมัครใจ ระบบบังคับบำบัด และระบบต้องโทษ
ระบบสมัครใจ สภาพปัญหาการบำบัดระบบสมัครใจเดิม จุดด้อยคือ
1.     การสมัครใจเข้ารับการบำบัดจริงๆยังมีน้อย ด้วยขาดแรงจูงใจ และเกรงว่าจะส่งผลเสียต่อชื่อเสียงและอนาตของผู้เข้ารับการบำบัด
2.     ผู้ค้นหา คัดกรอง ไม่กล้าแจ้ง รายชื่อ ตามความเป็นจริง ด้วยเกรง จะมเกิดผลเสีย ต่อตนเอง และครอบครัว
ระบบการบำบัด ในปัจจุบันมี 3 ระบบ คือ ระบบสมัครใจ ระบบบังคับบำบัด และระบบต้องโทษ
แต่ ตั้งแต่ วันที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๗ เป็นต้นไป นั้น จะต้องเพิ่มการบำบัด ขึ้นมาอีก ประเภทหนึ่ง คือ
การบำบัดระบบยินยอมบำบัด หรือ ระบบกึ่งบำคับบำบัด  ตาม ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๐๘/๒๕๕๗ ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา หน้า ๑๘  เล่ม ๑๓๑ ตอนพิเศษ ๑๔๓ ง ราชกิจจานุเบกษา ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๕๗
เรื่อง การปฏิบัติต่อผู้ต้องสงสัยว่ากระทําผิดตามกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติดเพื่อเข้าสู่การบําบัดฟื้นฟูและการดูแลผู้ผ่านการบําบัดฟื้นฟู  … ในกรณีที่ผู้ใดต้องสงสัยว่ากระทําความผิดฐานเสพยาเสพติด หรือ เสพและมียาเสพติดไว้ในครอบครอง ตามลักษณะ ชนิด ประเภท และปริมาณที่กําหนดตามบัญชีท้ายประกาศนี้  ถ้าไม่ปรากฏว่าผู้นั้นเป็นผู้ต้องหา หรืออยู่ในระหว่างถูกดําเนินคดีในความผิดฐานอื่นซึ่งเป็นความผิด ที่มีโทษจําคุกหรืออยู่ในระหว่างรับโทษจําคุกตามคําพิพากษาของศาล และไม่มีพฤติกรรมที่อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้อื่นหรือสังคม หากผู้นั้นยินยอมเข้ารับการบําบัดฟื้นฟู ให้เจ้าหน้าที่ตามกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติดดําเนินการให้ผู้นั้นเข้ารับการบําบัดฟื้นฟู ในกรณีที่ผู้เข้ารับการบําบัดฟื้นฟูปฏิบัติครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ที่เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดกําหนดเกี่ยวกับการบําบัดฟื้นฟู และได้รับการประเมินเป็นผู้ผ่านการบําบัดฟื้นฟู ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบออกหนังสือรับรองเพื่อเป็นหลักฐาน การนําตัวผู้ต้องสงสัยเข้ารับการบําบัดฟื้นฟู การบําบัดฟื้นฟู และการประเมินเป็นผูผ่าน
การบําบัดฟื้นฟู ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดประกาศกําหนด

            ขอบขอบพระคุณ วิทยากร ครู ก และ ผู้เข้าร่วมประชุมทุกท่าน
วิทยากร ครู ก. ระดับจังหวัด จาก สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร ประกอบด้วย
นางสุปราณี พลไชย  พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลยโสธร
นายบุญทศ  ประจำถิ่น       จพ.สาธารณสุข ชำนาญงาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ดงเจริญ อำเภอคำเขื่อนแก้ว
นางทวิตรา  สุราวรรณ์        พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ห้องข่า อำเภอเมืองยโสธร  

วิทยากร ครู ข. จากอำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร ที่ร่วมฝึกอบรม ในวันนี้ ประกอบด้วย
นายวสันต์ ระดมเล็ก ปลัดอำเภอหัวหน้าฝ่ายความมั่นคง ที่ทำการปกครองอำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร
พ.ต.ท.วริทธิ์ ศรีสมบัติตระกูล สวป.สถานีตำรวจภูธรคำเขื่อนแก้ว
นางสาวจุฑามาศ เรืองบุตร ครู.กศน.อำเภอคำเขื่อนแก้ว
นางพัชรินทร์ แสนวงษ์ นักวิชาการพัฒนาการอำเภอคำเขื่อนแก้ว
นางนัยนา  ดวงศรี พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว
นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร
            ทั้งนี้ ประสานข้อมูล จาก ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทั้ง 16 ทุกแห่ง ซึ่งเป็นหน่วยบริการสาธารณสุข ในสังกัด เพื่อรวบรวมข้อมูล ตามนโยบาย พลเอกไพบูลย์ คุ้มฉายา หัวหน้าฝ่ายกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม ของ คสช. ที่มีนโยบายเน้นย้ำการแก้ไขปัญหายาเสพติดในประเด็นการติดตามผู้เสพหลังการบำบัดรักษาทุกระบบ โดย รรบวรยมข้อมูล ผู้ผ่านการบำบัดรักษาในระบบสมัครใจ ย้อนหลัง 3 ปี( 2555-2557) ให้กับ ศูนย์ปฏิบัติการพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติด อำเภอคำเขื่อนแก้ว(ศพส.อ.คำเขื่อนแก้ว ) ต่อไป
ทั้งนี้ เพื่อ ตรวจสอบให้การบำบัดรักษาซ้ำ หรือ ตรวจสอบการกระทำผิดกฎหมายซ้ำในเรื่องยาเสพติด และประสานการปฏิบัติกับ ศูนย์อำนวยการพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติด ศพส.จ.ยโสธร ต่อไป
            ข้อมูลในภาพรวม อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร มีผู้เข้ารับการบำบัดรักษาที่รับผิดชอบ จำนวน 310 คน
ปี 2555 จำนวน  188 ราย ปี 2556 จำนวน  89 ราย ปี 2557 จำนวน  33 ราย

ขอบคุณแหล่งข้อมูล จาก นายวสันต์ ระดมเล็ก ปลัดอำเภอหัวหน้าฝ่ายความมั่นคง อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร

No comments:

Post a Comment