8/29/14

26-28 สค.2557 “สาธารณสุขสามัคคี ทำคุณความดีเพื่อประเทศไทย” คุณธรรม จริยธรรม ครั้งที่ 9

26-28 สค.2557 สาธารณสุขสามัคคี ทำคุณความดีเพื่อประเทศไทย คุณธรรม จริยธรรม ครั้งที่ 9
วันที่ 26-28 สิงหาคม 2557 ผมนายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง ไปพร้อมกับ นายวิทยา  เพชรรัตน์ สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว และคณะ เข้าร่วม การประชุม สัมมนา พัฒนา คุณธรรม จริยธรรม กระทรวงสาธารณสุข ครั้งที่ ๙ ประจำปี ๒๕๕๗
ซึ่งจัดขึ้น ในระหว่าง วันที่ 26-28 สิงหาคม 2557 ณ ห้อง มิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น ชั้น 4 โรงแรม มิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น ถนนกำแพงเพชร ๖ เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร
วันที่ 27 สิงหาคม 2557  ประธาน โดย พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ
กราบทูลรายงานโดย นาย แพทย์ ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ปฏิบัติหน้าที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข 
ในโอกาสนี้ องค์ประธานในพิธี ได้ประทานโล่รางวัลให้กับผู้ได้รับคัดเลือกเป็น คนดีศรีศาธารณสุข และ ประทานโล่รางวัลหน่วยงานที่มีคุณธรรมจริยธรรมดีด่น จากทั่วประเทศด้วยอาทิเช่น
             
นายวิทยา  เพชรรัตน์ สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว รับประทานโล่ รางวัล เกียรติคุณสดุดี คนดีศรีสาธารณสุข ประจำปี 2557

นายพันธุ์ทอง  จันทร์สว่าง ผู้ช่วยสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว รับประทานโล่ รางวัล เกียรติคุณสดุดี หน่วยงานดีเด่นด้านการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ประจำปี 2557 ครั้ง ที่ เป็นต้น 




























หมายเหตุ : หน่วยงานดีเด่นด้านการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ประจำปี 2557 จากเขต 10 ทีเข้ารับประทานโล่รางวัลวันนี้ร่วมกันประกอบด้วย
1.    สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร
2.    เครือข่ายบริการสุขภาพวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
3.    โรงพยาบาลหว้านใหญ่ จังหวัดมุกดาหาร

4.    โรงพยาบาลกันทรลักษณ์ จังหวัดศีสะเกษ 










อำนวยการจัดงาน โดย นพ.อภิชาติ รอดสม ผู้อำนวยการสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
ผู้บริหารที่ร่วมสนุบสนุนโครงการดีดีนี้ อาทิเช่น นพ.ทรงยศ ชัยชนะ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข
นพ.ปภัสสร เจียมบุญศรี ประธานคณะกรรมการดำเนินการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม กระทรวงสาธารณสุข
นพ.เสรี หงส์หยก นากสมาคมนักบริหารสาธารณสุข
ฝ่ายเลขานุการการจัดกิจกรรม โดย นางเพียรพันธ์ อัสวพิทยา ผู้อำนวยการแก้วกัลยาสิกขาลัย สถาบันพระบรมราชชนก
ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กราบทูลฯ รายงานว่า กระทรวงสาธารณสุข มีเจ้าหน้าที่ ประมาณ 300,000 คน ได้ดำเนินการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม มาอย่างต่อเนื่อง และมีนโยบายส่งเสริมโรงพยาบาลในสังกัดที่มีประมาณ 1,000 แห่งทั่วประเทศให้เป็นโรงพยาบาลแห่งคุณธรรม สนับสนุนเจ้าหน้าที่ในเรื่องความซื่อสัตย์ ความรับผิดชอบ การมีจิตอาสาที่เป็นประโยชน์แก่สังคม มั่นใจจะเกิดผลอย่างน้อย 4 เรื่อง ได้แก่ ความรัก ความสามัคคี การลดการสูญเสียทรัพยากร และเพิ่มคุณภาพบริการรักษาพยาบาล ช่วยคลายทุกข์ สร้างความสุขใจแก่ผู้ป่วยผู้ใช้บริการทุกคน เจ้าหน้าที่มีความสุข เป็นบรรทัดฐานของสังคมในเรื่องของการเป็นผู้ให้บริการด้วยความรู้ควบคู่คุณธรรม
ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์ พัฒนาคุณธรรมจริยธรรม พ.ศ.2555-2559 เพื่อส่งเสริมองค์กรบริหารจัดการภายใต้หลักธรรมาภิบาล โปร่งใส ประกอบด้วย 3 ยุทธศาสตร์ ได้แก่
1. การสร้างและพัฒนาคุณภาพบุคลากรสาธารณสุขสร้างเสริมคุณธรรมจริยธรรมที่ดีงามให้เป็นวิถีชีวิต ปฏิบัติหน้าที่ด้วยการเคารพศักดิ์ศรีและคุณค่าการเป็นมนุษย์ น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมานำทางชีวิต
2. การสร้างวัฒนธรรมองค์กรธรรมาภิบาล และส่งเสริมวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงามในสังคมสาธารณสุข และ
3. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมและสร้างความเข้มแข็งด้านคุณธรรม จริยธรรมของเครือข่ายสาธารณสุขและทุกภาคส่วนของสังคม โดยขณะนี้มีชมรมจริยธรรมในสถานบริการสาธารณสุขแล้ว 886 ชมรม
ในการนี้ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ทรงประทานโล่ประกาศเกียรติคุณ ผู้นำข้าราชการพลเรือนที่เป็นตัวอย่างในการยืนหยัด รักษาจริยธรรมของกระทรวงสาธารณสุข แก่นายแพทย์ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข รางวัลผู้ให้การสนับสนุนต่อกระทรวงสาธารณสุขด้านการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม จำนวน 8 ราย รางวัลคนดีศรีสาธารณสุข แก่ข้าราชการพลเรือน พนักงานราชการ ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราว ที่มีความประพฤติที่ดีงาม มีคุณงานความดีต่อสังคมและเป็นแบบอย่างที่ดี จำนวน 66 ราย รางวัลหน่วยงานต้นแบบด้านการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม 2 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลบุรีรัมย์ ซึ่งนำหลักไตรสิกขา คือ ทาน ศีล ภาวนา มาใช้กับเจ้าหน้าที่ การจัดโครงการสมาธิบำบัดสำหรับผู้ป่วย ช่วยเหลือผู้ป่วย ด้านจิตวิญญาณในช่วงสุดท้ายของชีวิต โครงการพัฒนาคุณธรรมบุตรหลานเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล โครงการสู้มะเร็งด้วยมิตรภาพบำบัด พาผู้ป่วยโรคมะเร็งเข้าวัดปฏิบัติธรรม ช่วยให้ผู้ป่วยเข้าใจธรรมชาติของชีวิต ยอมรับความเจ็บป่วยได้ มีสุขภาพจิตดีขึ้น มีรอยยิ้มได้ และวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดราชบุรี จากโครงการจุตรธรรมนำชีวี วิถีไทย ส่งเสริมบุคลากร นักศึกษาบ่มเพาะความดีในตัวเอง และขยายผลสู่ชุมชน นอกจากนี้ ทรงประทานรางวัลหน่วยงานที่มีผลงานดีเด่นในการพัฒนางานด้านคุณธรรมจริยธรรมระดับกรม เครือข่ายบริการ ระดับจังหวัด 78 ราย รางวัลบทประพันธ์เรียงความดีเด่น และรางวัลผู้ชนะเลิศการประกวด การกล่าวสุนทรพจน์ ในประเด็น "สาธารณสุขสามัคคี ทำคุณความดี เพื่อประเทศไทย
            เนื้อหาการประชุมอบรม/สัมมนา อื่นๆ โดยสรุปที่ประทับใจ  
ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง สาธารณสุขสามัคคี ทำคุณความดีเพื่อประเทศไทย โดย ศ.ดร.ประยูร ธัมมจิตโต อธิการมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย สรุปเนื้อหาได้ดังนี้

            การปฏิบัติหน้าที่ให้ดี นำสุขมาให้
ธมฺมํ จเร สุจริตํ พึงประพฤติธรรมให้สุจริต  ธัมมัง จะเร สุจริตัง
ธมฺมจารี สุขํ เสติ   ผู้มีปกติประพฤติธรรม  ย่อมอยู่เป็นสุข ในโลกนี้และโลกหน้า
           
การประพฤติหน้าที่สุจริต  หมายความรวมถึง 4 ประการคือ
1.    ไม่ละทิ้งหน้าที่
2.    ไม่บกพร่องในหน้าที่
3.    ไม่ทุจริตต่อหน้าที่
4.    ไม่สอดแทรกให้แตกสามัคคี(ไม่แส่เรื่องที่ไม่ใช่หน้าที่)
สามัคคี ที่ดีที่สุดคือ การที่บุคคลทำหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด โดยสุจริต
และ ประสานหน้าที่ของแต่ละคนให้เป็นระบบสอดประสานซึ่งกันและกัน
- ให้หันหน้ายิ้มให้กัน สามัคคีกัน
- กรณีตัวอย่างชาย 3คน ได้แก่ นาย รวย นายรุ่ง นายรัก ถ้าจะเชิญเข้าบ้าน ควรเลือกเชิญนายรัก จะส่งผลให้มีความรัก สามัคคีเกียรติคุณความดี ความรุ่งเรือง เกิดความร่ำรวย
- การทำดีให้ได้ดี คือ ทำดีให้ถูกต้อง ทำดีให้ถึงดี อย่าเป็นไฟไหม้ฟาง และทำดีให้พอดี
- เน้นการบริหารโดยใช้หลักธรรมาภิบาล 
ทั้งนี้ หลักธรรมาภิบาล  ประการ ประกอบด้วย Good governance หรือ หลัก การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
กอบด้วยหลักพื้นฐาน 6 ประการ หรือ Good governance : ผมขอ แปลงเป็น Slogan ให้จำง่ายๆ เป็น MR APLE ดังนี้
Good governance: MR APLE
            แต่จะขอยกอา ตัว L ขึ้นมาก่อน เพราะ การบริหาราชการ ต้องปฏิบัติตามระเบียบ กฎหมาย หากไม่มีระเบียบ กฎหมาย กำหนดจะปฏิบัติไม่ได้  (ต่างจาก กม.เอกชน คือ ถ้าไม่มีข้อห้ามสามารถปฏิบัติได้)
1.หลักนิติธรรม Legislative หมายถึง การตรากฎหมายที่ถูกต้อง เป็นธรรม การบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย การกำหนดกฎ กติกาและการปฏิบัติตามกฎ กติกาที่ตกลงกันไว้อย่างเคร่งครัด โดยคำนึงถึงสิทธิ เสรีภาพความยุติธรรมของสมาชิก
2.หลักคุณธรรม 
Morality หมายถึง การยึดมั่นในความถูกต้องดีงาม การส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนพัฒนาตนเองไปพร้อมกัน เพื่อให้คนไทยมีความซื่อสัตย์ จริงใจ อดทน มีระเบียบวินัย ประกอบอาชีพสุจริตจนเป็นนิสัยประจำชาติ
3.หลักความพร้อมรับผิด 
Responsibility หมายถึงความตระหนักในสิทธิหน้าที่ความสำนึกในความรับผิดชอบต่อสังคม การใส่ใจปัญหา
4.หลักความโปร่งใส Accountability หมายถึง การสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกันของคนในชาติ
5.หลักความมีส่วนร่วม 
Participation หมายถึง การเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้และเสนอความคิดเห็นในการตัดสินใจในปัญหาสำคัญของประเทศ เช่น การประชาพิจารณ์ การแสดงประชามติ
สาธารณะของบ้านเมือง การกระตือรือร้นในการแก้ปัญหา ตลอดจนเคารพในความคิดเห็นที่แตกต่าง และมีความกล้าที่จะยอมรับผลดีและผลเสียจากการกระทำของตน

6.หลักความคุ้มค่า Economize หมายถึง การบริหารจัดการและใช้ทรัพยากรที่มีจำกัดเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนร่วม เช่น รณรงค์ให้คนไทยมีความประหยัด ใช้ของอย่างคุ้มค่า สร้างสรรค์สินค้าและบริการที่มีคุณภาพ 









No comments:

Post a Comment