8/10/14

6 ส.ค.2557 ยินยอมบำบัดหรือกึ่งบำบัดยาเสพติด _ประกาศ คสช.108/2557

6 ส.ค.2557 ยินยอมบำบัดหรือกึ่งบำบัดยาเสพติด _ประกาศ คสช.108/2557
วันที่ 6 สิงหาคม 2557 ผมนายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง และคณะ เข้ารับการฝึกอบรม หลักสูตร ดูแล ช่วยเหลือต่อเนื่อง ผู้ผ่านการบำบัดรักษายาเสพติด (หลักสูตร วิทยากร ครู ข. ) จังหวัดยโสธร
ณ โรงแรม เดอะกรีนปาร์ค ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร
ประธานและบรรยายพิเศษโดย นายประวัติ ถีถะแก้ว ผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร

ระบบการบำบัดรักษายาเสพติดในประเทศไทย ปัจจุบัน แบ่งเป็น 3 ระบบ ดังนี้
1.     ระบบสมัครใจ หมายถึง การที่ผู้ติดยาเสพติดสมัครใจเข้ารับการบำบัดรักษา ในสถานพยาบาลต่าง ๆ ซึ่งดำเนินการรักษาทั้งระบบแพทย์แผนปัจจุบัน และแผนโบราณ
2.     ระบบต้องโทษ หมายถึง การที่ผู้ติดยาเสพติดกระทำความผิดและถูกคุมขัง ต้องเข้ารับการบำบัดรักษาภายใต้กฎข้อบังคับของกฎหมาย เช่น ทัณฑสถานบำบัดพิเศษต่าง ๆ ของกรมราชทัณฑ์ กระทรวงมหาดไทย กรมคุมประพฤติ และสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน สังกัดศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง กระทรวงยุติธรรม
3.     ระบบบังคับ หมายถึง การใช้กฎหมายบังคับให้ผู้ติดยาเสพติดเข้ารับการบำบัดรักษา ในศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพที่จัดตั้งขึ้น ตามพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 2534
จากนี้ไป นับ ตั้งแต่ วันที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๗ เป็นต้นไป นั้น จะต้องเพิ่มการบำบัด ขึ้นมาอีก ประเภทหนึ่ง คือ
การบำบัดระบบยินยอมบำบัด หรือ ระบบกึ่งบำคับบำบัด  ตาม ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๐๘/๒๕๕๗ ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา หน้า ๑๘  เล่ม ๑๓๑ ตอนพิเศษ ๑๔๓ ง ราชกิจจานุเบกษา ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๕๗ ดังนี้ ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๐๘/๒๕๕๗  ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา หน้า ๑๘  เล่ม ๑๓๑ ตอนพิเศษ ๑๔๓ ง ราชกิจจานุเบกษา ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๕๗
            เรื่อง การปฏิบัติต่อผู้ต้องสงสัยว่ากระทําผิดตามกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติดเพื่อเข้าสู่การบําบัดฟื้นฟูและการดูแลผู้ผ่านการบําบัดฟื้นฟู
เพื่อให้การดําเนินการบําบัดฟื้นฟูผู้เสพยาเสพติดเป็นไปโดยเหมาะสม สมควรกําหนดให้ผู้ต้องสงสัยว่ากระทําความผิดฐานเสพยาเสพติดหรือเสพและมียาเสพติดไว้ในครอบครอง ตามลักษณะ ชนิด ประเภท และปริมาณที่กําหนดตามบัญชีท้ายประกาศนี้ ซึ่งไม่มีพฤติกรรมที่อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้อื่นหรือสังคม ได้รับการบําบัดฟื้นฟูโดยการยินยอม และได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องภายหลังผ่านการบําบัดฟื้นฟู รวมทั้งกําหนดอํานาจหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดําเนินการดังกล่าว เพื่อให้การบําบัดฟื้นฟูเป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีประสิทธิภาพ และมีประสิทธิผลสูงสุด คณะรักษา
ความสงบแห่งชาติจึงมีประกาศ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในกรณีที่ผู้ใดต้องสงสัยว่ากระทําความผิดฐานเสพยาเสพติด หรือเสพและมียาเสพติดไว้ในครอบครองตามลักษณะ ชนิด ประเภท และปริมาณที่กําหนดตามบัญชีท้ายประกาศนี้ ถ้าไม่ปรากฏว่าผู้นั้นเป็นผู้ต้องหาหรืออยู่ในระหว่างถูกดําเนินคดีในความผิดฐานอื่นซึ่งเป็นความผิดที่มีโทษจําคุกหรืออยู่ในระหว่างรับโทษจําคุกตามคําพิพากษาของศาล และไม่มีพฤติกรรมที่อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้อื่นหรือสังคม หากผู้นั้นยินยอมเข้ารับการบําบัดฟื้นฟู ให้เจ้าหน้าที่ตามกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติดดําเนินการให้ผู้นั้นเข้ารับการบําบัดฟื้นฟู ในกรณีที่ผู้เข้ารับการบําบัดฟื้นฟูปฏิบัติครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ที่เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดกําหนดเกี่ยวกับการบําบัดฟื้นฟู และได้รับการประเมินเป็นผู้ผ่านการบําบัดฟื้นฟู ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบออกหนังสือรับรองเพื่อเป็นหลักฐาน การนําตัวผู้ต้องสงสัยเข้ารับการบําบัดฟื้นฟู การบําบัดฟื้นฟู และการประเมินเป็นผู้ผ่านการบําบัดฟื้นฟู ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดประกาศกําหนด
ข้อ ๒ ในกรณีที่ข้อเท็จจริงปรากฏภายหลังว่าผู้เข้ารับการบําบัดฟื้นฟูนั้นต้องหาหรืออยู่ในระหว่างถูกดําเนินคดีในความผิดฐานอื่นซึ่งเป็นความผิดที่มีโทษจําคุกหรือต้องคําพิพากษาให้จําคุก ให้ส่งตัวผู้นั้นดําเนินคดีตามกฎหมายต่อไป
ข้อ ๓ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดและผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจัดตั้งศูนย์เพื่อการคัดกรองผู้เข้ารับการบําบัดฟื้นฟูในทุกอําเภอและทุกเขต และจัดตั้งศูนย์เพื่อประสานการดูแลผู้ผ่านการบําบัดฟื้นฟูในระดับอําเภอหรือเขต และระดับจังหวัดหรือกรุงเทพมหานคร
ข้อ ๔ ให้ศูนย์เพื่อการคัดกรองผู้เข้ารับการบําบัดฟื้นฟูมีอํานาจหน้าที่ดําเนินการคัดกรองและจัดทําข้อมูลเกี่ยวกับการคัดกรองเพื่อจําแนกผู้เข้ารับการบําบัดฟื้นฟู และการส่งต่อผู้เข้ารับการบําบัดฟื้นฟูไปยังสถานบําบัดฟื้นฟูหรือสถานที่อื่นตามที่หัวหน้าศูนย์กําหนด ทั้งนี้ ให้กระทรวงสาธารณสุขและกรุงเทพมหานครประสานการดําเนินงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๕ ให้ศูนย์เพื่อประสานการดูแลผู้ผ่านการบําบัดฟื้นฟูมีอํานาจหน้าที่จัดระบบดูแล ช่วยเหลือ และสนับสนุนผู้ผ่านการบําบัดฟื้นฟู ในจังหวัดให้มอบหมายกํานัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นําองค์กรชุมชน อาสาสมัครคุมประพฤติ หรืออาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน เป็นผู้ติดตามดูแลและช่วยเหลือผู้ผ่านการบําบัดฟื้นฟู สําหรับกรุงเทพมหานครให้มอบหมายผู้อํานวยการเขต ผู้นําองค์กรชุมชน อาสาสมัครคุมประพฤติ หรืออาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร ดําเนินการดังกล่าว
ข้อ ๖ เพื่อประโยชน์ในการดําเนินการบําบัดฟื้นฟู ให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องแจ้งชื่อตัว ชื่อสกุล เลขประจําตัวประชาชน และที่อยู่ของผู้ผ่านการบําบัดฟื้นฟู ต่อสํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด เพื่อใช้ในการดําเนินการจัดส่งข้อมูลไปยังหน่วยงานที่มีหน้าที่ดําเนินการดูแลผู้ผ่านการบําบัดฟื้นฟูต่อไป
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

บัญชียาเสพติดท้ายประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๐๘/๒๕๕๗
______________________
๑. ลักษณะชนิดและประเภทของยาเสพติดสําหรับความผดฐานเสพติดมีดังต่อไปนี้
(๑) ยาเสพติดให้โทษในประเภท ๑ มี๖ ชนิด ได้แก่
 (ก) เฮโรอีน
 (ข) เมทแอมเฟตามีน
 (ค) แอมเฟตามีน
 (ง) ๓, ๔ -เมทิลลีนไดออกซีเมทแอมเฟตามีน
 (จ) เมทิลลีนไดออกซีแอมเฟตามีน
 (ฉ) เอ็น เอทิล เอ็มดีเอ หรือเอ็มดีอี
(๒) ยาเสพติดให้โทษในประเภท ๒ มี ๒ ชนิด ได้แก่
 (ก) โคคาอีน
 (ข) ฝิ่น
(๓) ยาเสพติดให้โทษในประเภท ๕ มี๑ ชนิด ได้แก่กัญชา
(๔) สารระเหยตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันการใช้สารระเหย
ยาเสพติดให้โทษตาม (๑) และ (๒) ให้รวมถึงวัตถุที่เรียกชื่อเป็นอย่างอื่น แต่มีสูตร
โครงสร้างทางเคมีอย่างเดียวกันกับยาเสพติดให้โทษดังกล่าว และเกลือใด ๆ ของยาเสพติดให้โทษดังกล่าวด้วย
๒. ปริมาณของยาเสพติดตาม ๑. สําหรับความผิดฐานเสพและมีไว้ในครอบครอง
มีดังต่อไปนี้
(๑) ยาเสพติดให้โทษในประเภท ๑
 (ก) เฮโรอีนมีน้ําหนักสุทธิไมเกินหนึ่งร้อยมิลลิกรัม
 (ข) เมทแอมเฟตามีนมีปริมาณ ไม่เกินห้าหน่วยการใช้ ตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติด
ให้โทษ หรือมี น้ําหนักสุทธิไม่เกินห้าร้อยมิลลิกรัม
 (ค) แอมเฟตามีนมีปริมาณ ไม่เกินห้าหน่วยการใช้ ตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ
หรือมีน้ําหนักสุทธิไม่เกินห้าร้อยมิลลิกรัม
 (ง) ๓,๔-เมทิลลีนไดออกซีเมทแอมเฟตามีนมีปริมาณ ไม่เกินห้าหน่วยการใช้
ตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ หรือมีน้ําหนักสุทธิไม่เกินหนึ่งพันสองร้อยห้าสิบมิลลิกรัม
 (จ) เมทิลลีนไดออกซีแอมเฟตามีนมีปริมาณ ไม่เกินห้าหน่วยการใช้ ตามกฎหมาย
ว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ หรือมีน้ําหนักสุทธิไม่เกินหนึ่งพันสองร้อยห้าสิบมิลลิกรัม
 (ฉ) เอ็น เอทิล เอ็มดีเอ หรือเอ็มดีอี มีปริมาณ ไม่เกินห้าหน่วยการใช้ ตามกฎหมาย
ว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ หรือมีน้ําหนักสุทธิไม่เกินหนึ่งพันสองร้อยห้าสิบมิลลิกรัม
(๒) ยาเสพติดให้โทษในประเภท ๒
 (ก) โคคาอีนมีน้ําหนักสุทธิไม่เกินสองร้อยมิลลิกรัม
 (ข) ฝิ่นมีน้ําหนักสุทธิไม่เกินห้าพันมิลลิกรัม
(๓) ยาเสพติดให้โทษในประเภท ๕ ได้แก่กัญชามีน้ําหนักสุทธิ ไม่เกินห้าพันมิลลิกรัม
ยาเสพติดให้โทษตาม (๑) และ (๒) ให้รวมถึงวัตถุที่เรียกชื่อเป็นอย่างอื่น แต่มีสูตร

โครงสร้างทางเคมีอย่างเดียวกันกับยาเสพติดให้โทษดังกล่าว และเกลือใด ๆ ของยาเสพติดให้โทษดังกล่าวด้วย 

No comments:

Post a Comment