1/30/17

23มค.2560 ข้อเสนอเชิงนโยบาย DHS ณ กระทรวงสาธารณสุข

23มค.2560 ข้อเสนอเชิงนโยบาย DHS ณ กระทรวงสาธารณสุข
               วันที่ 23มกราคม 2560 วันนี้ ผมนายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง และคณะ เข้าร่วมประชุม ระดมความคิดเห็น ณ ห้องประชุม กำหนดการกระชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบาย District Health System : DHS วันที่ 23 มกราคม 2560 ห้องประชุมสำนักตรวจและประเมินผล อาคาร 2 ชั้น 5 ตึกสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
                นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวง เขตสุขภาพที่ 2 และคณะ นำเสนอ
ข้อค้นพบจาการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ได้จากการเยี่ยมติดตามการดำเนินงาน DHS ในจังหวัดต่างๆ ด้วย














                ระบบสุขภาพระดับอำเภอ District Health System : DHS คือ ระบบการทำงานด้านสุขภาพระดับอำเภอร่วมกันของทุกภาคส่วนด้วยการบูรณาการทรัพยากรภายใต้บริบทของพื้นที่ผ่านกระบวนการชื่นชม และการจัดการความรู้ ส่งเสริมให้ประชาชนและชุมชนพึ่งตนเองได้ และไม่ทอดทิ้งกัน โดยมีเป้าหมายร่วมเพื่อสุขภาวะของประชาชน
คำถาม ทำไมต้อง ระดับ อำเภอ
                ๑. เป็นระดับเชื่อมต่อที่เหมาะสมต่อการดำเนินงานด้านสุขภาพจากนโยบายสู่การปฏิบัติ ซึ่งระดับอำเภอมีความใกล้ชิดมากพอต่อการรับรู้ถึงปัญหา ความต้องการ และความจำเป็นในพื้นที่ (local needs) โดยสามารถกำหนดนโยบาย วางแผนการพัฒนาทั้งอำเภอได้อย่างเหมาะสม
๒.เป็นระดับประสานงานและกระจายทรัพยากรได้อย่างเหมาะสมทั้งด้านบุคลากร งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ และการสนับสนุนทางวิชาการ การจัดการและใช้ประโยชน์ระบบข้อมูลร่วมกับองค์กรภาคีในพื้นที่อย่างครอบคลุมและเป็นธรรมสอดคล้องกับบริบทพื้นที่
๓.เป็นระดับที่เหมาะสมบูรณาการของทุกภาคส่วนเพื่อการพัฒนาทั้งในเชิงบริหารจัดการและการบริการสุขภาพและสังคมได้อย่างเป็นระบบ

เป้าหมายการพัฒนาร่วมกัน ของ ระบบสุขภาพระดับอำเภอ
๑.     ทำให้คุณภาพชีวิตของประชาชนดีขึ้น สามารถพึ่งตนเองและดูแลสุขภาพตนเองได้ดีเพิ่มมากขึ้น ชุมชนไม่ทอดทิ้งกัน
๒.     สถานะสุขภาพ ของประชาชนในอำเภอดีขึ้น สามารถจัดการปัญหาสุขภาพได้ด้วยตนเอง ลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล และมีศักยภาพพอที่จะเผชิญกับปัญหาสุขภาพที่เปลี่ยนแปลงไป

หลักการดำเนินงาน DHS (U-CARE)
             การทำงานร่วมกันในระดับอำเภอ (Unity District Health Team)
             การมีส่วนร่วมของเครือข่ายและชุมชน (Community participation)
             การทำงานจนเกิดคุณค่า ทั้งกับผู้รับบริการ และตัวผู้ให้บริการเอง  (Appreciation)
   การแบ่งปันทรัพยากร และการพัฒนาบุคลากร (Resource sharing and human development)
             การให้บริการสุขภาพที่จำเป็น (Essential care ) ตอบสนองต่อปัญหาและความต้องการของประชาชนในพื้นที่ สอดคล้องตามบริบทและวัฒนธรรม


หลักการดำเนินงาน DHS (U-CARE)

๑.     การทำงานร่วมกันในระดับอำเภอ (Unity District Health Team) ของภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ให้ความสำคัญกับ Working relationship คือความสัมพันธ์ที่นำไปสู่ผลลัพธ์ทางสุขภาพที่ดีขึ้นของประชาชน มีการกำหนดผู้รับผิดชอบในการขับเคลื่อนและกำหนดบทบาทหน้าที่ของทีมอย่างชัดเจน และมีการบริหารจัดการที่ดี (Good governance)
๒.     การมีส่วนร่วมของเครือข่ายและชุมชน (Community participation)เน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในระดับอำเภอ ในทุกขั้นตอนของการพัฒนา (ร่วมรับรู้ ร่วมคิด ร่วมดำเนินการ ร่วมประเมินผล) โดยมีเป้าหมายร่วมกัน คือการทำงานด้านสุขภาพเพื่อยกระดับการพึ่งตนเอง ทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและไม่ทอดทิ้งกัน
๓.     การทำงานจนเกิดคุณค่า ทั้งกับผู้รับบริการ และตัวผู้ให้บริการเอง (Appreciation and Quality) คุณค่าที่สำคัญของการบริการปฐมภูมิคือ เป็นคุณค่าที่เกิดขึ้นทั้งฝ่ายผู้ให้บริการและผู้รับบริการ การสร้างคุณค่าทำได้หลากหลายวิธี เช่น การพัฒนาคุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิโดยไม่นิ่งดูดายต่อความทุกข์ของผู้ป่วย การพัฒนาคุณภาพไม่เน้นที่เชิงปริมาณเพียงอย่างเดียว แต่ต้องเน้นที่เนื้อหาและคุณภาพบริการที่ประชาชนได้รับร่วมด้วย จึงเป็นการสร้างคุณค่าให้เกิดขึ้น เป็นเหมือนน้ำหล่อเลี้ยงจิตใจให้เข้มแข็ง เกิดกำลังใจ เป็นความสุขและทำให้เกิดพลังที่จะก้าวเดินไปข้างหน้า ขณะเดียวกันผู้รับบริการ ก็มีความพึงพอใจต่อบริการที่ได้รับ
๔.    การแบ่งปันทรัพยากร และการพัฒนาบุคลากร (Resource sharing and human development) โดยให้ความสำคัญกับการระดมทรัพยากรมาใช้ร่วมกันภายใต้การบริหารจัดการที่ดีและมีการแบ่งปันทรัพยากรทั้งคน เงิน เครื่องมือ ความรู้  เทคโนโลยี และฐานข้อมูล เพื่อใช้ในภารกิจทางสุขภาพ  ส่วนการพัฒนาบุคลากร ให้ความสำคัญกับการพัฒนาโดยวิเคราะห์ส่วนขาดและเติมเต็มตามสภาพปัญหาและความต้องการทั้งของบุคคลและหน่วยงาน รูปแบบการพัฒนาทำได้หลากหลายวิธีการ เช่น การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การฝึกอบรม การดูงาน การใช้ระบบพี่เลี้ยง เป็นต้น
๕.    การให้บริการสุขภาพตามบริบทที่จำเป็น (Essential care ) เน้นการจัดบริการที่ตอบสนองต่อปัญหาของประชาชนในพื้นที่ สอดคล้องตามบริบทและวัฒนธรรม รวมทั้งสภาพปัญหาสุขภาพครอบคลุมทั้งด้านการส่งเสริม ป้องกัน รักษาและฟื้นฟู ตามหลักมาตรฐานการบริการปฐมภูมิ (1A 4Cs)คือ การเข้าถึงบริการ (Accessibility) การให้บริการอย่างต่อเนื่อง (Continuity) การเชื่อมโยงประสาน (Coordination) การให้บริการแบบเบ็ดเสร็จ(Comprehensiveness) และชุมชนมีส่วนร่วม (Community Participation)
























No comments:

Post a Comment