11/30/17

28 พย.2560อ.คำเขื่อนแก้ว135ราย_ตลาดประชารัฐ_จ.ยโสธรจัดใหญ่4-6ธ.ค.60

28 พย.2560อ.คำเขื่อนแก้ว135ราย_ตลาดประชารัฐ_จ.ยโสธรจัดใหญ่4-6ธ.ค.60
            วันที่ 28 พฤศจิกายน 2560 ผมนายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง  บันทึกกิจกรรม
การเข้าร่วมประชุม คณะกรรมการ เตรียมความพร้อม สนับสนุน ตลาดประชารัฐ 
ณ ห้องประชุม ที่ว่าการอำเภอคำเขื่อนแก้ว จ.ยโสธร 
นายสมเกียรติ แก้วรัตน์ มอบหมายให้ นายสรพงษ์ ชายแก้ว ปลัดอำเภอ (อาสุโส) ทำหน้าที่ประธานการประชุม
เลขานุการ โดย นางสุรภีร์ ทองมี พัฒนาการอำเภอคำเขื่อนแก้ว
นโยบาย รัฐบาล   ให้ส่วนราชการ สนับสนุน และ ปชส.  ตลาดประชารัฐ:ตลาดแห่งโอกาสผู้ประกอบการ
เพื่อขับเคลื่อน ตลาดประชารัฐ”  ช่วยเหลือประชาชนที่เดือดร้อน ไม่มีพื้นที่ค้าขาย  ให้หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน
สนับสนุน ในรูปแบบประชารัฐ  เพื่อส่งเสริมให้เกิดพื้นที่ตลาดใหม่  และขยายพื้นที่ตลาดเดิมที่มีอยู่แล้ว เพื่อให้เกษตรกร
กลุ่มเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน กลุ่ม OTOP กลุ่มผู้ประกอบการ SMEs  ผู้มีรายได้น้อย ผู้ประกอบการที่ได้รับความเดือดร้อนจากการไม่มีสถานที่ค้าขาย ให้มีพื้นที่ค้าขาย อันจะนำมาซึ่งการกระจายรายได้สู่เศรษฐกิจฐานรากต่อไป
เช่น  ส่วนราชการ อปท. ทุกแห่ง เชิญชวนบุคลากรในสังกัด ให้การสนับสนุน ในฐานะผู้ซื้อ ตามความเหมาะสม
โรงพยาบาล ควรจัดซื้อผลิตภัณฑ์ พืช ผัก ผลไม้ อินทรีย์ สำหรับประกอบอาหารให้กับผู้ป่วย เป็นการประจำ
แล จัดสถานที่ สำหรับ ให้ประชาชน สามารถนำ ผลิตภัณฑ์ พืช ผัก ผลไม้ อินทรีย์ ไปจำหน่ายได้ ตามความเหมาะสม

            มติที่ประชุม  
อำเภอคำเขื่อนแก้วไม่เปิดตลาดใหม่  แต่ ขยายพื้นที่ตลาดเดิม และ สนับสนุน ตลาดที่มีอยู่แล้ว เช่น ตลาดนัด วันศุกร์ ตลาดคลองถมวันจันทร์ ตลาดสีเขียว วันพุธ เป็นต้น และ ตลาด ของ อบต. และ ตลาด เทศบาล ที่มีอยู่แล้ว ในทุกตำบล เป็นต้น
ขอเชิญ หัวหน้าส่วนราชการ ผู้บริหาร เข้าร่วมงาน การเปิดงาน ณ สนามหน้าสำนักงานเทศบาลตำบลคำเขื่อนแก้ว วันที่ 5 ธันวาคม 2560
มอบหมายให้ พัฒนาการอำเภอคำเขื่อนแก้ว ประสาน ผู้ขึ้นทะเบียน ทั้งหมด 135 ราย ให้ส่งตัวแทน มาร่วมกิจกรรม นำสิ้นค้ามาจำหน่าย จำนวน 30 ราย จำหน่าย สินค้า  3 วัน ( 4- 6 ธันวาคม 2560)
ทั้งนี้ ในช่วงเวลาดังกล่าว มีเทศกาล ตลาด ของดี สี่ภาพ และ หมอลำคณะ คำผุน ร่วมมิตร แสดง ด้วย 







ตลาดประชารัฐ 9 ประเภท ตลาดประชารัฐมีกี่ประเภท  
ทั้งนี้ในภาพรวมของประเทศ ตลาดประชารัฐ มีตลาดตามโครงการ รวม 9 ประเภท ดังนี้ 
1.     ตลาดประชารัฐ Green Market ดำเนินการโดย องค์การตลาด กระทรวงมหาดไทย เป็นการขยายพื้นที่ตลาดที่ตลิ่งชัน ตลาดบางคล้า ฉะเชิงเทรา ตลาดลำพูน จำนวน 3 แห่ง เป้าหมายเพิ่มผู้ประกอบการรายใหม่เกษตรกร  อาหารปลอดภัย กว่า 847  ราย 
2.     ตลาดประชารัฐคนไทยยิ้มได้ ดำเนินการโดย กรมการพัฒนาชุมชน มีตลาดที่ดำเนินการอยู่แล้ว จำนวน  2,155  แห่ง โดยจะมีการเพิ่มจำนวนวันที่ขาย และจำนวนผู้ประกอบการรายใหม่ด้านเกษตร สินค้าชุมชน OTOP หาบเร่ แผงลอย จำนวนประมาณ 21,550  ราย 
3.     ตาดประชารัฐท้องถิ่นสุขใจ ดำเนินการโดย กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศที่มีตลาดในความรับผิดชอบ จำนวน 3,822  แห่ง โดยการบริหารจัดการพื้นที่ตลาดเดิมให้มีประสิทธิภาพมากเพิ่มขึ้นเพื่อให้มีผู้ประกอบการรายใหม่ๆ ด้านเกษตร อาหาร หาบเร่ แผงลอย จำนวน  45,864  รายเข้าไปค้าขายได้ 
4.     ตลาดประชารัฐ กทม. คืนความสุข ดำเนินการโดย กรุงเทพมหานคร จำนวน 14 จุด ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เพื่อให้ผู้ประกอบการอาหาร หาบเร่ แผงลอย ที่เดือดร้อนเนื่องจากไม่มีพื้นที่ค้าขาย จำนวน 11,033  ราย 
5.     ตลาดประชารัฐของดีจังหวัด ดำเนินการโดย จังหวัดและบริษัท ประชารัฐรักสามัคคีจังหวัด....(วิสาหกิจเพื่อสังคม) จำกัด ดำเนินงานจัดพื้นที่ขายสินค้าเกษตรที่ล้นตลาด สินค้าเด่นของจังหวัด เป็นระยะๆ เพื่อระบายสินค้าช่วยเหลือเกษตรกร สินค้าชุมชน อาหาร เพิ่มพื้นที่ให้เกษตรที่เดือดร้อน ผู้ประกอบการสินค้าชุมชนทั้งรายเก่าและรายใหม่ๆ ได้มีพื้นที่ระบายสินค้าในที่ศาลากลางจังหวัด ที่ว่าการอำเภอ สถานที่ท่องเที่ยว หรือพื้นที่ชุมชนที่มีศักยภาพด้วยตัวเอง ซึ่งจะดำเนินการใน 76 จังหวัด มีผู้ประกอบการใหม่ๆ กว่า จำนวน 15,200  ราย 
6.     ตลาดประชารัฐ Modern Trade ดำเนินการโดย กระทรวงพาณิชย์ บริษัท ประชารัฐรักสามัคคี  (ประเทศไทย) จำกัดและจังหวัดโดยร่วมมือกับห้างสรรพสินค้าในพื้นที่จังหวัด 76 จังหวัด ทั่วประเทศจัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาดในห้างสรรพสินค้าทั้งแบบถาวร หรือเป็นครั้งคราวในลักษณะการสร้างคุณค่าร่วมกัน ( Creating Share Value ) ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการเกษตร สินค้าชุมชน รายเก่าและรายใหม่มีพื้นที่ค้าขายมากเพิ่มขึ้นกว่า  3,800   ราย 
7.     ตลาดประชารัฐของดีวิถีชุมชน ธ.ก.ส. ดำเนินการโดย ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ที่ได้เปิดพื้นที่ค้าขายอยู่แล้ว 147 แห่งทั่วประเทศหน้าธนาคาร ธ.ก.ส. ซึ่งจะมีการบริหารจัดการพื้นที่ให้มีผู้ประกอบการรายใหม่ที่เป็นเกษตรกร ผู้มีรายได้น้อย เข้ามาค้าขายจำนวนกว่า  1,470 ราย 
8.     ตลาดประชารัฐต้องชม ดำเนินการโดย กระทรวงพาณิชย์ เป็นตลาดที่กระทรวงพาณิชย์เข้าไปส่งเสริมกิจกรรมทางการสร้างแบรนด์ ส่งเสริมการขาย ส่งเสริมการตลาด การประชาสัมพันธ์ในดลาดเดิมเพื่อให้มีนักท่องเที่ยวเข้ามาจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น เพื่อเพิ่มรายได้แก่ชุมชน โดยจะดำเนินการครอบคลุมทั้ง 76 จังหวัด ซึ่งจะมีผู้ประกอบการรายใหม่ได้รับโอกาสเข้าไปค้าขายกว่า  3,080  ราย 
9.     ตลาดประชารัฐ ตลาดวัฒนธรรม ถนนสายวัฒนธรรม ดำเนินการโดย กระทรวงวัฒนธรรม เป็นตลาดที่กระทรวงวัฒนธรรมเข้าไปส่งเสริมการตลาดสินค้าวัฒนธรรม สร้างแบรนด์ ส่งเสริมการขาย การประชาสัมพันธ์ และการจัดแสดงประเพณีวัฒนธรรม ครอบคลุม 76 จังหวัด 

รวมตลาดทั้ง 9 ประเภท จำนวน6,447 แห่งทั่วประเทศ ที่จะมาร่วมเปิดพื้นที่ใหม่ ขยายพื้นที่เดิม ให้โอกาสผู้ประกอบการรายใหม่ๆที่เป็นเกษตรกร สินค้าชุมชน อาหาร หาบเร่ แผงลอย  มีโอกาส มีพื้นที่ค้าขาย ซึ่งจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็ง นำไปสู่การพัฒนาประเทศให้มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน 

No comments:

Post a Comment