3 เมย.2561 เข้มข้น_งานวัณโรค ตามเป้าหมาย ณ อ. คำเขื่อนแก้ว จ.ยโสธร
วันที่ 3 เมษายน 2561 ผมนายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง บันทึก กิจกรรม สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว
ร่วมกับ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร
การติดตาม สอบทาน
ผลการปฏิบัติงาน ที่สอดคล้อง เชื่อมโยงการดูแล ผู้ป่วย วัณโรค ในทุกระดับ
ตั้งแต่ admit 14 วัน โรงพยาบาล ณ หอผู้ป่วยใน แล้วส่งไปดูแลต่อเนื่อง ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
ชุมชน ครัวเรือน และบุคคล ขอบคุณทีมงาน
โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกุดกุง
“วัณโรคยุติได้แน่ เพียงแค่
ทำได้เป็นระบบที่ดีดั่งเช่น ที่อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร นี้ครับ ”
เกียรติติศักดิ์ พงษ์ประเสริฐ งานควบคุมวัณโรค
สสจ.ยโสธร
ทั้งนี้ อำเภอคำเขื่อนแก้ว
ได้การดำเนินงานของศูนย์ปฏิบัติการยุติวัณโรคแห่งชาติ อำเภอคำเขื่อนแก้ว Kick off K-NOC for TB หรือ KNOC
TB (Kumkhuaenkaeo Network Operation Center) เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานและประสานความร่วมมือด้านวัณโรค คำขวัญการรณรงค์ คือ “ค้นให้พบ จบด้วยหาย ตายน้อยกว่า 5 ขาดยาเป็น 0”
โดยมีเป้าหมายค้นหาผู้ป่วยวัณโรคในกลุ่มเสี่ยง ได้แก่
ผู้สัมผัสโรค ผู้ต้องขังในเรือนจำ ผู้สูงอายุมากกว่า 65 ปี ผู้ติดเชื้อเอซไอวี ผู้ป่วยเบาหวาน แรงงานข้ามชาติ และบุคลากรสาธารณสุข
ให้ครอบคลุมร้อยละ 90 เพิ่มอัตราการค้นพบให้ได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 90 และเพิ่มอัตราการรักษาสำเร็จผู้ป่วยรายใหม่ให้ได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 90 ค้นหาผู้ป่วยวัณโรคในกลุ่มเสี่ยง เพิ่มอัตราการค้นพบ
และเพิ่มอัตราการรักษาสำเร็จในผู้ป่วยรายใหม่ให้ได้ ร้อยละ 90 ภายในปี 2561
จุดเด่นอำเภอคำเขื่อนแก้ว
ในการดูแลป่วยวัณโรค คือดูแล ด้วย DOT by Heart
: ซึ่งแปลเป็น
ภาษาการปฏิบัติง่ายๆ
ว่าวัณโรคแก้ไขได้ ด้วยหัวใจ 5 ต. ประกอบด้วยขั้นตอนปฏิบัติจำง่ายๆว่า 5 ต.
ที่สำคัญคือ
กินยาต่อหน้า รักษาต่อเนื่อง ครบเรื่อง ติ๊กบัตร ขาดนัดติดตาม ด้วยความเต็มใจ และ
จุดเน้นการดูแลผู้ป่วยด้วยการ Admit ผู้ป่วยในโรงพยาบาลเป็นเวลา 14 วัน
No comments:
Post a Comment