9 ธค.2561_กำเนิด_วิมานพญาแถน จ.ยโสธร_เล่าโดย
นายบุญธรรม เลิศสุขขีเกษม
วันที่ 9 ธันวาคม 2561 วันนี้นายพันธุ์ทอง
จันทร์สว่าง ร่วมกิจกรรม ปั่น Bike อุ่นไอรัก ณ จ.ยโสธร
รวมระยะทาง 29 กม. ภาคค่ำ ผมนำรูปขี่จักรยานผ่านวิมานพญาแถน อาคารพญาคันคาก ขึ้นในกลุ่ม line Chula
Yaso
มีข้อความจาก รุ่นพี่คนสำคัญ ลงบันทึกความทรงจำ
วิมานพญาแถนกว่าจะถึงวันนี้
(ท่านเป็นใคร อ่านไปเรื่อยๆ จะทราบเองครับ) ข้อความว่า
ก่อนตุลาคม 2558 พื้นที่บริเวณนี้เพิ่งก่อสร้างอาคารพญาคันคาก
อาคารพญานาค
เสร็จใหม่ๆบริเวณพื้นที่รอบนอกอาคารยังมีเศษปูนทรายสิ่งก่อสร้างทิ้งระเกะระกะไม่น่ามาเดินเที่ยว ข้างในอาคารก็ยังไม่มีอะไรเพราะขณะที่ทางจังหวัดกำลังหาผู้รับจ้าง
แต่เกิดมีกรณีทักท้วงจากหน่วยตรวจสอบเป็นข่าวดังพอสมควร ทำให้ทุกอย่างชะงักไปหมด
หลังตุลาคม 2558 เมื่อมาดำรงตำแหน่งที่ยโสธรแล้ว
โจทย์ใหญ่ข้อหนึ่งคือทำอย่างไรจะทำให้พื้นที่วิมานพญาแถน
เป็นกุญแจให้กับเมืองยโสธร ในการดึงนักท่องเที่ยวเข้ามาในจังหวัด
ก่อนเชื่อมต่อไปยังจุดต่างๆ ทั้งในตัวจังหวัดและอำเภอรอบนอก
เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางด้านเศรษฐกิจให้กับคนยโสธร เริ่มต้นจากการนั่งคิดนอนคิดหาจุดเด่น
จุดขายของจังหวัด จนได้ออกมาเป็น “เจ็ดสิ่งหนึ่งเดียวในไทย
พบได้ที่ยโสธร”
ได้ไปตรวจดูพื้นที่ทุกวัน จึงได้ชวน
พี่อี๊ดนายกเทศมนตรีเมืองยโสธร ผู้การณัฐ (ร.16
ค่ายบดินทรเดชา) และหลายๆ คนไปดูไปพูดคุยกันที่วิมานพญาแถนว่าจะทำยังงัยกันดี ได้ข้อสรุปอย่างแรกสุดคือ
การปรับภูมิทัศน์รอบนอก ให้น่าดูน่าเดิน กำหนดให้ทันก่อนปีใหม่ 2559 ทางเทศบาลเมืองยโสธร
ได้ลงมาปรับปรุงพื้นที่ริมน้ำ ทำสวน ทำทางเดิน ทำระเบียงให้คนไว้ถ่ายภาพ เสร็จทันก่อนปีใหม่พอดี และเพื่อให้คนมาเดินเที่ยว
เลยให้พัฒนาการจังหวัดปรับงาน
เทศกาลกระเช้าของขวัญปีใหม่ที่เคยจัดที่ศาลากลางจังหวัด
ให้มาจัดเป็นเทศกาลของขวัญปีใหม่ที่วิมานพญาแถนแทน ทางพัฒนาการจังหวัด (ดิเรก) เลยเสนอชื่องานฤดูหนาววิมานพญาแถน เป็นชื่องานขึ้นมา
และได้เริ่มจัดเมื่อช่วงปีใหม่ 2559
ทำให้พี่น้องชาวโอทอปจากทั้ง 9 อำเภอ
มีรอยยิ้มที่มีรายได้จากการขายสินค้าในบ้านตัวเอง
ในช่วงเวลานั้น รอบตัวอาคารพญาคันคากยังมีแต่ทราย ขอบๆ
ตัวพญาคันคากยังไม่ได้เป็นขั้นบันไดแบบปัจจุบัน รอบตัวพญานาคด้านติดถนนยังเป็นทรายไม่มีทางเดิน
แต่ได้รับความอนุเคราะห์จากภาคเอกชนในจังหวัดยโสธร ไม่ว่าจะเป็น Global House , โรงพยาบาลนายแพทย์หาญ โดยพี่หาญกับพี่ประภาศรี , ธนาคารออมสิน
ห้างจั่วเซ้ง ของอดีตนายกเล็ก
ช่วยสนับสนุนปูทางเดิน ทำขอบตัวพญาคันคากให้โดยไม่ได้ใช้งบประมาณของราชการ สำหรับฝั่งตรงข้ามพญานาค
ผู้การณัฐอาสารับจัดสวนให้ดูเป็นระเบียบสวยงาม
กันนักท่องเที่ยวเอารถมาจอดตรงหัวมุมทางเลี้ยว
ข้างในอาคารยังโล่งๆ เลยคิดทำภาพ 3
มิติสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดยโสธรมาให้คนไว้ถ่ายภาพระหว่างยังแก้ปัญหาการหาผู้รับจ้างดำเนินการตกแต่งและจัดนิทรรศการถาวรภายในอาคารตามแผนงานที่ค้างคาอยู่ ทางประชาสัมพันธ์จังหวัด (กมลพร)
เลยแนะนำเพื่อนที่สำนักงานประชาสัมพันธ์เขตอุบลให้ช่วยทำให้
และโชคดีที่ทางสำนักงานประชาสัมพันธ์เขตอุบลมีภาพ 3 มิติ
เกี่ยวกับประเทศอาเซียน จะไม่ใช้แล้ว
เลยขอรับเอามาติดตั้งภายในอาคารพญานาคให้คนได้ถ่ายภาพไปพลางๆ ก่อน (พลางๆ
ก้เกือบ 2 ปี)
เรื่องการตกแต่งและจัดนิทรรศการถาวรภายในอาคาร
ก็พยายามปรึกษากันและหาแนวทางแก้ไขต่างๆ ตามคำแนะนำเพื่อให้สามารถดำเนินการไปได้
เนื่องจากงบประมาณพับไปแล้ว เลยปรับแผนการทำในอาคารพญาคันคากเป็น 2 ระยะ
ระยะแรกทำชั้น 3 และ 4 ก่อนตามงบประมาณที่มี
และระยะที่สองของบประมาณใหม่ทำในส่วนที่เหลือ พร้อมกับอาคารพญานาค
ปัญหาต่อมาของการอำนวยความสะดวกนักท่องเที่ยวคือ ที่จอดรถ เลยชวนนายกอี๊ด
นายกเมืองยโสธรกับทีมงานไปยืนเล็งพื้นที่กัน
ตอนที่คุยกันยืนอยู่ตรงหาพญานาค
นายกอี๊ดชี้ให้ดูและบอกว่า
ถ้าถมดินตรงที่เป็นตัวยูเว้าเข้าไปตั้งแต่พญาคันคากตรงมาถึงพญานาค จะทำให้มีพื้นที่ไว้คนยโสธรได้ใช้ประโยชน์
และเพิ่มพื้นที่จัดกิจกรรม
ทุกคนเห็นดีงามด้วยทุกคน
เมื่อทางกรมโยธิการและผังเมือง
ได้รับงบประมาณโครงการทำเขื่อนป้องกัาตลิ่งริมลำทวนตั้งแต่สะพานที่ถนนแจ้งสนิทมาจนถึงศาลเยาวชน ผมก็ได้บอกกับ หัวหน้าปรีชา สำนักงานโยธายโสธร ไปให้ปรับแบบแนวเขื่อนให้ตัดตรงจากพญาคันคากมาพญานาคเลย
ก็คิดว่าคงปรับแบบแจ้งทางกรมแล้ว
วันหนึ่งกลางๆ ปี 2560 ลงไปตรวจดูหน้างานเพื่อดูการตอกเข็ม
ตอนนั้นทางคนงานกำลังตอกเข็มต้นสุดท้ายตรงแถวๆ ต้นไม้เดียวดาย
(ต้นที่อยู่ริมน้ำมุมซ้ายของตัวพญาคันคาก ถ้าหันไปทางลำทวน
พยายามให้ทีมเกษตรบำรุงตกแต่งให้เป็นรูปหัวใจ แต่ไม่สำเร็จ) กำลังจะตีโค้งตอกเข็มมาแนวดินเดิม
เลยพูดคุยสอบถามอะไรต่างๆ ไป เรื่อย จึงทราบว่าแบบตอกเข็มยังเป็นของเดิมคือ
ทำตามแนวดินเดิม ไม่ได้ตัดตรงไปพญานาค
จึงต้องบอกให้ผู้รับจ้างหยุดตอกเข็มตรงนี้ก่อน ไปทำตรงส่วนอื่นก่อน
แล้วรีบให้ทางโยธายโสธร รีบประสานกรมโยธาไปขอแก้ไขแบบ และปรับเนื้องาน
ลดงานตอกเสาเข็ม มาเพิ่มการถมทราย
ยังคิดไม่ออกเหมือนกันว่า ถ้าวันนั้นไม่ออกไม่ตรวจดูหน้างาน
พื้นที่สาธารณะตรงนี้ก็คงไม่ได้เกิดขึ้นมาแน่ๆ
แต่ถึงตอนนี้ปีหน้า 2562
พื้นที่ริมน้ำระหว่างพญาคันคากกับพญานาค ก็คงจะเสร็จสมบูรณ์
ภายในอาคารทั้งสองก็คงพร้อมเปิดให้นักท่องเที่ยวได้เข้าชมเต็มรูปแบบ และอีกไม่เกินปี 2565 เมื่อเรือนจำยโสธร
ย้ายไปอยู่ที่ใหม่แล้ว
พื้นที่วิมานพญาแถนคงจะได้มีอะไรใหม่ๆเพิ่มมากขึ้นไปอีก
ส่วนเรื่องย้ายเรือนจำจังหวัดยโสธร ออกไอยู่นอกเมือง
ไว้วันข้างหน้าย้ายเสร็จแล้วค่อยเล่าต่อ
ขอบพระคุณ
ผู้บอกเล่าความภาคภูมิใจ เนื้อเรื่องดีดี นี้ โดย นายบุญธรรม เลิศสุขขีเกษม
รองปลัดกระทรวงมหาดไทย อดีต ผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร อดีต นายอำเภอไทยเจริญ
มีสมาชิกในจังหวัดให้ความเห็นเพิ่มเติม
..ประวัติศาสตร์วิมานพญาแถน อ่านสนุกจังเลยค่ะ ท่านทำงานเยอะมากจริงๆ
ลงรายละเอียดทุกงานทั้งที่ทำอะไรเยอะมาก
แต่ดูแล้วท่านดูสนุกกับการทำจินตนาการให้เป็นจริง
น่าทึ่งที่สุดที่คนคนนึงที่มีหน้าที่ภารกิจมากมายมหาศาล จะสามารถลงรายละเอียดและทำอะไรได้มากมายขนาดนี้
ขอบพระคุณท่านมากค่ะที่ทำแต่สิ่งดีๆไว้ให้ชาวยโสธร
ภาพล่างนี้ ทพ.อำนวยศิลป์ ครุสันต์ บอกว่า ลำทวนในอดีต ตรงคอสะพานฝั่งตัวเมือง ด้านซ้ายมือ จะมีสะพานไม้แยกออกไปในลำทวน ไปยังศาลานี้.ชื่อศาลาสุขใจ หน้าแล้งน้ำจะแห้งเหลือเป็นลำน้ำแคบๆ .มีจุดทีเป็นหาดทรายขาวละเอียด เป็นที่เล่นของเด็กๆ เลยขึ้นไปประมาณหน้าศาลเยาวชน จะมีฝายเล็กๆที่ชาวบ้านทำไว้.หลายชั้นเหมือนน้ำตกเล็กๆ ให้เล่นกัน
รวมถึงบรรยากาศการแห่บั้งไฟประมาณปี 2500
ภาพล่างนี้ ทพ.อำนวยศิลป์ ครุสันต์ บอกว่า ลำทวนในอดีต ตรงคอสะพานฝั่งตัวเมือง ด้านซ้ายมือ จะมีสะพานไม้แยกออกไปในลำทวน ไปยังศาลานี้.ชื่อศาลาสุขใจ หน้าแล้งน้ำจะแห้งเหลือเป็นลำน้ำแคบๆ .มีจุดทีเป็นหาดทรายขาวละเอียด เป็นที่เล่นของเด็กๆ เลยขึ้นไปประมาณหน้าศาลเยาวชน จะมีฝายเล็กๆที่ชาวบ้านทำไว้.หลายชั้นเหมือนน้ำตกเล็กๆ ให้เล่นกัน
รวมถึงบรรยากาศการแห่บั้งไฟประมาณปี 2500
No comments:
Post a Comment