วันที่ 08 มกราคม 2562 ภาคบ่าย
นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง ในฐานะเลขานุการ
พชอ.ไทยเจริญ และคณะ
ประชุม คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิต (พชอ.) ครั้งที่ 1
ปีงบประมาร 2562 ณ ห้องประชุมอำเภอไทยเจริญ
ประธานการประชุม โดย นายจักรพงษ์ พันธุ์โชติ
นายอำเภอไทยเจริญ ประธาน พชอ.ไทยเจริญ
วัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาคุณภาพชีวิต โดยให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียคือ
“ พื้นที่เป็นฐาน ประชาชนเป็นศูนย์กลาง บูรณาการในพื้นที่ ”
3
ก้อนเส้า 4 เสาหลัก พลัง การขับเคลื่อน พชอ.
ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับพื้นที่
พ.ศ. 2561 (ประกาศใน ราชกิจจานุุเบกษา 9 มีนาคม
2561) กำหนดให้รวมพลังจาก บุคคล 3 กลุ่มหลัก* กลุ่มที่ 1ภาคราชการ กลุ่มที่ 2 ภาคเอกชน กลุ่มที่ 3ภาคประชาชน ร่วมกันคิด ร่วมกันทำ หนุนเสริมซึ่งกันและกัน โดยมีการปักหมุดหมายเดียวกันคือ
ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน
*ซึ่ง
พชอ.ไทยเจริญ ขอปรับจาก 3 กลุ่ม หลัก เป็น 4 เสาหลัก เพื่อให้จดจำง่าย และ สอดคล้องกับ
ประเด็น พชอ. ซึ่งมี4ประเด็น หรือ วาระคุณภาพชีวิตดี 4 เจริญ (เจริญตา เจริญวัย เจริญใจ เจริญสุข)
บวร
ความยิ่งใหญ่ : 4 เสาหลัก ประกอบด้วย ท้องที่ ท้องถิ่น วัด ราชการ
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับพื้นที่ พ.ศ. 2561 รายละเอียดhttps://multi.dopa.go.th/legal/news/cate1/view43
ทุกประตูที่ความมืดมนได้ปิดไว้ เปิดได้ด้วยใจคนไทยเจริญ
จึงปรับแนวคิด UCAREC ใช้ ใน พชอ.ไทยเจริญ ว่า TCR
คำว่า ไทยเจริญ Thai Cha Roen ตัวย่อคือ TCR
ซึ่ง พชอ.ไทยเจริญ เราจะรวมพลังสังคมทุกภาคส่วน
ขับเคลื่อนด้วย TCR Model
การขับเคลื่อนสู่ความยั่งยืน
คำตอบ คือ..
การขับเคลื่อน พชอ.
ก็เฉกเช่น การบริหารองค์กรทั่วไป กล่าวคือ อยู่ภายใต้ Concept
กลยุทธ์
นำพาให้สำเร็จ ส่วนบริหารคน ทำให้ยั่งยืน (การบริหารคน : การบูรณาการ)
หาก2
สิ่งประกบกัน เป็นฟันเฟือง จะเป็นระบบที่เข้มแข็ง
คำว่าระบบ คือ มีการขับเคลื่อน การขับเคลื่อนต้องมีคนขับ
และมีกลไก
คนขับคือ ประธานในแต่ละระดับ ระดับอำเภอมี
นายอำเภอเป็นคนขับ
คนขับจะขับได้ ต้องมีองค์ประกอบที่พร้อมสรรพ
หรือทุกกลไกที่มีใน หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ
แต่ละกลไก ของบุคคล 3 กลุ่มหลัก ต้องมี ฟันเฟือง
เปลี่ยน เรียนรู้ สู่ความยั่งยืน
TCR Model ใช้ กลยุทธ์ 3ก้อนเส้า 4 เสาหลัก
ในการขับเคลื่อน
หัวใจแต่ละดวง คือ ก้อนเส้า 1 ก้อน มี หัวใจ
3 ดวง หรือ 3 ก้อนเส้า
3
ก้อนเส้า ประกอบด้วย 3 ระยะคือ เปลี่ยน เรียนรู้ สู่ความยั่งยืน
4 เสาหลัก แต่ละก้อนเส้า หรือหัวใจแต่ละดวง
มี 4 องค์ประกอบ
หัวใจดวงที่ 1 บวร : รวมเป็นพลังที่ยิ่งใหญ่จาก 4 ภาคส่วนหลัก ท้องที่ ท้องถิ่น วัด ราชการ
หัวใจดวงที่ 2 เรียนรู้ : เพื่อความต่อเนื่อง แต่ละภาคส่วน ต้องมีส่วนร่วมสำคัญ 4 ประการ
คือ
ร่วมคิด ร่วมพัฒนา ร่วมรับผิดชอบ ร่วมรับผลประโยชน์
หัวใจดวงที่ 3 สู่ความยั่งยืน
: เพื่อให้เกิดความยั่งยืน ต้องมีการบูรณาการจากทุกภาคส่วน
และมีผู้รับผิดชอบหลักในทุกระดับ ทั้งในระดับ อำเภอ ระดับตำบล ระดับ หมู่บ้าน (
พชอ. พชต. พชบ.)
ทั้งนี้เป็นการบูรณาการ
กิจกรรม คน เงิน ของ ภายใต้ ข้อมูลข่าวสารที่มีคุณภาพ
หัวใจดวงที่ 3 คือ ยั่งยืนดีมี 4 PART (Plan
Activity Result Team)
มี แผนชุมชน Plan ที่มาจากข้อมูลข่าวสารที่มีคุณภาพ
มี กิจกรรม Activity บูรณาการ
คน เงิน ของ
มี ผลลัพธ์ Result ตามที่ตกลงกัน กี่ตัวก็ได้ และที่สำคัญ คือต้อง
มี ทีมงาน Team ทำงาน และทีม กำกับประเมินผล
เป้าหมายหลักร่วมกัน ให้ อำเภอไทยเจริญเรา เป็นอำเภอน่าอยู่ ผู้คนน่ารัก
เป้าหมายสร้าง3สุข4เจริญ
เพื่อประชาชนมี 3 สุข จึงขับด้วย วาระดี 4 เจริญ
แนวทาง และมาตรฐาน ที่ใช้ ในการพัฒนา ตำบลจัดการคุณภาพชีวิต เริ่ม จาก ชุมชนสร้างสุข ซึ่งวัดง่ายๆ
ตั้งแต่ในระดับบุคคลในครัวเรือน ต้อง มี 3 สุข คือ สุขกาย สุขใจ สุขเงิน
ตั้งแต่ในระดับบุคคลในครัวเรือน ต้อง มี 3 สุข คือ สุขกาย สุขใจ สุขเงิน
สุขกาย รู้กิน รู้นอน รู้ออกกำลังกาย
สุขใจ รู้ตน รู้สิทธิ์ รู้หน้าที่
สุขเงิน รู้หา รู้ใช้ รู้ออม
คำหลักแต่ละวาระ 1 ต่อ 1 ประเด็นสำคัญ ที่ใช้ บูรณาการร่วมกัน จาก 4 วาระ
ประกอบด้วย ขยะ นมแม่ บุหรี่ มีบำนาญ
เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคน อำเภอไทยเจริญให้ดีขึ้น
พชอ.ไทยเจริญ มีมติ กำหนด วาระคุณภาพชีวิตดี 4 เจริญ
หรือ ประเด็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตดีร่วมกัน 4 ประเด็น คือ
เจริญตา ด้านสิ่งแวดล้อมสะอาด ปราศจากโรค ( พยาธิ DHF)
ระดับครัวเรือน หน้าบ้านน่ามอง ในบ้านน่าอยู่ หลังบ้านน่าดู
ระดับอำเภอ บ่อบำบัดสิ่งปฏิกูล ณ พื้นที่ ตำบลคำเตย
ระดับส่วนราชการ สถานที่ทำงานน่าอยู่ น่าทำงาน
เจริญวัย ด้านส่งเสริมพัฒนาการเด็ก IQ EQ
ภายใต้ concept 100 วัน 1,000 ผูกเพื่อลูกรัก
(เตรียมแม่100 วันก่อนปฏิสนธิ 270 วันในครรภ์ 180 วัน ดื่มนมแม่อย่างเดียว 550 วัน ส่งเสริมโภชนาการและส่งเสริมพัฒนาการเด็ก):ทุกพลังมุ่งตรงไปยังเด็กในครรภ์ ผู้เป็นอริยทรัพย์สำคัญของโลก
เจริญใจ ด้านผู้สูงอายุ ( การดูแล รวมผู้เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย)
เจริญสุข บำนาญประชาชน คนไทยเจริญ :การส่งเสริมการออม (นอกจากสุขกาย สุขใจแล้ว ต้องมี สุขเงินด้วยจึงจะสมบูรณ์) และ ลดการตายด้วย อุบัติเหตุทางถนน
สูตรสำเร็จ ของการออม คือ รายได้ – การออม = รายจ่าย
จะต้องจ่าย
หลังจากการออม(ออมทุกเดือน) แล้วเท่านั้น
ผลลัพธ์ เป้าหมายการพัฒนาและ วัดผลในระดับ ครัวเรือน
การรายงาน โดย อสม ร่วมกับ หมอครอบครัว และ ในแบบรายงาน ของ อสม ให้ระบุ บ้านที่มี จำนวนเป้าหมาย ตามวาระ ทั้ง 4 เจริญด้วย
คนขับ ระดับอำเภอ: ทำไม ต้องเป็น นายอำเภอหน้าที่ นายอำเภอ ตามระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน มาตรา 65 (1) บริหารราชการตามกฎหมายและระเบียบแบบแผนของทางราชการ ถ้ากฎหมายใดมิได้บัญญัติว่าการปฏิบัติตามกฎหมายนั้นเป็นหน้าที่ของผู้ใดโดยเฉพาะ ให้เป็นหน้าที่ของนายอำเภอที่จะต้องรักษาการให้เป็นไปตามกฎหมายนั้นด้วย
ทุกข์ของประชาชน ไม่ได้มีเฉพาะที่อยู่ในแผนงาน
โครงการของส่วนราชการ ส่วนท้องถิ่น ส่วนการศึกษา เท่านั้น หากประชาชนมีทุกข์ด้านใด หรือ
ประชาชน ประสงค์จะร่วมกัน สร้างสุข ในด้านใด ที่นอกเหนือจากส่วนราชการคิด พชอ.สามารถ
ยกขึ้นมาเป็นปัญหาร่วมกันของแต่ละพื้นที่ได้ ภายใต้การมีความเห็นร่วมจากทุกภาคส่วนต่อไป
มติกรรมการ มอบหมาย ให้หน่วยงานต่างๆ ร่วมเป็นคณะทำงาน
และเลขานุการในการขับเคลื่อนในระดับอำเภอดังนี้
เจริญตา เลขานุการโดย ท้องถิ่นอำเภอไทยเจริญ
เจริญวัย เลขานุการโดย โรงพยาบาลไทยเจริญ
เจริญใจ เลขานุการโดย สำนักงานสาธารณสุขอำเภอไทยเจริญ
เจริญสุข การส่งเสริมการออม เลขานุการโดย พัฒนาการอำเภอไทยเจริญ
เป้าหมายให้ประชาชนทุกคนมีหลักประกันความสุขหลังเกษียณ
อายุ 60 ปี มีบำนาญ
ระยะแรก
เริ่มที่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อสม. ลูกจ้างส่วนราชการ
ระยะที่
2 ครอบครัว ของ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อสม. ลูกจ้างส่วนราชการ
ระยะที่
3 ประชาชนทั่วไป
การเบิกจ่ายค่าเบี้ยประชุม สำหรับ พชอ. ให้ใช้ตามแผนงานโครงการ
และงบประมาณที่ได้รับในแต่ละปี
คณะทำงานระดับตำบล
(พชต.) และ คณะทำงานระดับหมู่บ้าน (พชบ.) ให้เบิกจ่ายจาก
กองทุน สปสช.ท้องถิ่นหรือพื้นที่ ในตำบลนั้นๆ
3 Phase สู่ความสำเร็จร่วมกัน
โดยในภาคปฏิบัติ
ตาม วาระคุณภาพชีวิตดี 4 เจริญ นั้น แบ่งการทำงานเป็น 3ระยะ คือ หรือ 3 Phase
ระยะที่ 1 สร้างการรับรู้ ( มกราคม –
มีนาคม 2562)
ระดับอำเภอ
ในเวทีประชุม พชอ. หัวหน้าส่วนราชการ กำนันผู้ใหญ่บ้าน และอื่นๆ(ถ้ามี)
ระดับตำบล
ในเวทีประชุม พชต. และการประชุมอื่นๆของตำบล(ถ้ามี)
ระดับหมู่บ้าน
ในเวทีประชุม พชบ. และการประชุมอื่นๆของหมู่บ้าน(ถ้ามี)
ระยะที่ 2 สู่การพัฒนา ( มกราคม –
สิงหาคม 2562)
ระดับตำบล หมู่บ้าน
บูรณาการร่วมกัน กับ คณะกรรมการ กองทุน สปสช. ขับเคลื่อนโดย
คณะทำงานตามคำสั่ง
พชอ.ที่ 7 /2562 และ ระดับ หมู่บ้าน ตามคำสั่ง พชอ.ที่ 8 /2562
ระยะที่ 3 นำมาร่วมชื่นชม (พฤษภาคม -สิงหาคม
2562) เวทีเชิดชูเกียรติระดับอำเภอ
คำว่าพื้นที่เป็นฐาน หมายถึง พื้นที่ 3 ระดับ คือ (อำเภอ ตำบล
หมู่บ้าน)
ระดับอำเภอ ขับเคลื่อนโดย คณะกรรมการ พชอ.
ตามคำสั่งอำเภอไทยเจริญ ที่ 6/ 2562 ลงวันที่ 7 มค.2562
ระดับตำบล ขับเคลื่อนโดย คณะทำงาน พชต. ตามคำสั่ง
พชอ.ไทยเจริญ ที่ 7/ 2562 ลงวันที่ 7 มค.2562
ระดับหมู่บ้าน ขับเคลื่อนโดย คณะกรรมการ พชบ. ตามคำสั่ง
พชอ.ไทยเจริญ ที่ 8/ 2562 ลงวันที่ 7 มค.2562
ระดับหมู่บ้านมีหมอครอบครัวผู้รับผิดชอบพื้นที่เป็นเลขานุการ
ในรูปแบบของ OMOA
( One Man One Area)
ฟันเฟือง : ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน
คำว่า ฟันเฟือง คือ จะขาดส่วนใดส่วนหนึ่งไปไม่ได้เลย มิฉะนั้น กลไกก็จะไม่ทำงาน
ฟันเฟือง ในระดับย่อยที่สุดในชุมชน คือ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สท. ส.อบต. อสม. คุณครู นักเรียน พระ และ ประชาชนจิตอาสาต่างๆ ร่วมกันปฏิบัติหน้าที่ของตนเองด้วยดี ภายใต้หลักคิดทฤษฏี เศรษฐกิจพอเพียง
แก้ปัญหาจนถึงรากเหง้าของปัญหา ด้วยหัวใจ ด้วยน้ำมือ ของทุกคนที่เป็นหุ้นส่วนสุขภาพร่วมกัน
แม้ว่าจะเป็นการแก้ปัญหาภายใต้ ความขาดแคลน ทั้งคน เงิน ของ แต่เปี่ยมล้นด้วย น้ำใจที่มีให้กันและกัน
ลดการพึ่งพาจากรัฐ สู่การพึ่งพากันและกัน ด้วยต้นทุนทุกอย่างในชุมชน ให้ทุกทุกข์ที่มีในชุมชน
เป็นภาระของทุกๆคนที่จะร่วมกันปลดทุกข์ให้เป็นความสุขร่วมกันต่อไปรายละเอียด เนื้อหาวิชาการที่ใช้ ในการขับเคลื่อน พชอ.ไทยเจริญ แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ ( Strategy Route Map: SRM)
ประเทศไทยกำหนดจะเป็นประเทศชั้นนำด้านคุณภาพชีวิต ๑ ใน ๓ ของเอเชีย ในปี
๒๕๗๓
โดยมีเป้าหมายคุณภาพชีวิตส่วนบุคคล
มีอายุเฉลี่ยเมื่อแรกเกิด ๘๐ ปี และ อายุเฉลี่ยการมีสุขภาพดี ๗๕ ปี
เพื่อสนับสนุนเป้าหมายดังกล่าว
จังหวัดยโสธร โดยผู้ว่าราชการจังหวัด กำหนดแนวทางการพัฒนาจังหวัด ๔ ด้าน ( ๔ ดี )
ประกอบด้วย เป็นคนดี การศึกษาดี สุขภาพดี และมีรายได้ดี
เพื่อให้มั่นใจในทิศทางการพัฒนาคุณภาพชีวิต
ระหว่างเป้าหมายที่ต้องการ สาธารณสุขอำเภอไทยเจริญ ในฐานะ เลขานุการพชอ.ไทยเจริญ
จึงจำเป็นต้องใช้เครื่องมือ เพื่อช่วยทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
ในระดับอำเภอ
และในชุมชน เพื่อให้เกิดการสนับสนุนระหว่างหน่วยงาน ทั้งกำลังคน งบประมาณ
และการจัดการ ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน จึงใช้
แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ ( Strategy Route Map: SRM) ในการขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพชีวิต
ในระดับอำเภอ
ความหมายของแผนที่ยุทธศาสตร์ คือ
ทุกคนในท้องถิ่น ชุมชน หรือ อำเภอไทยเจริญ ตอบคำถามข้อเดียวได้ว่า “เรากำลังทำอะไรที่เป็นสิ่งสำคัญสำหรับท้องถิ่น
ชุมชน หรืออำเภอไทยเจริญของเรา”
แผนที่ทางเดินยุทธศาตร์
เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการบริหารการเปลี่ยนแปลง ของ พชอ.ไทยเจริญ
โดยมีประชาชน หรือ คน
เป็นศูนย์กลางในการพัฒนา เปิดโอกาสให้คนชุมชน ได้ใช้สมรรถนะ
ที่มอยู่ได้อย่างเต็มที่ ช่วยทำให้ทุกๆภาคส่วน มองเห็นจุดหมายปลายทาง
หรือสิ่งที่ต้องการให้เกิดขึ้นในระยะเวลาที่กำหนด และมีวิธีการที่จะร่วมกัน ทำให้บรรลุผลเหล่านั้น
ได้โดยง่ายและเป็นระบบ กล่าวคือ เราต้องการเห็นอะไรให้เกิดขึ้น เราต้องเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง
และในการเปลี่ยนแปลงนั้น เราจะทำอำร และทำอย่างไร
มีอะไรเป็นเครื่องชี้วัดบ่งบอกความก้าวหน้าของงาน ใคร จะมีส่วนร่วมรับผิดชอบ
ในกิจกรรมใด เมื่อไร จำนวนเท่าใด ใช้งบประมาณจากที่ใด กำหนดเวลาแล้วเสร็จเมื่อไร
เป็นต้น
No comments:
Post a Comment