8/15/21

6 ส.ค.64 บ้านหลังที่ 5 รักษา COVID-19 รับ 52 คนแรก ณ CI บ้านด่าน ต้นกำเนิด ศูนย์พักฟื้นก่อนกลับบ้าน

วันที่ 6 สิงหาคม 2564 นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง สาธารณสุขอำเภอเลิงนกทา และคณะ ไปพร้อมกับ นายสุพิช สามารถ นายอำเภอเลิงนกทา  นพ.เจนวิทย์ เวชกามา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเลิงนกทา และคณะ ร่วมอำนวยการการ กิจกรรม เตรียมความพร้อม รับ ประชาชน เข้าศูนย์พักฟื้นก่อนกลับบ้าน

ณ โรงเรียนปริยัติธรรมเทพสถิตวิทยาลัย  วัดสุมังคลาราม บ้านด่านใต้ ตำบลสามแยก อำเภอเลิงนกทา

ทั้งนี้ ได้ส่งมอบ  พื้นที่ ศูนย์พักฟื้นก่อนกลับบ้าน หรือ ศูนย์พักคอย ( Community Isolations : CI) แห่งนี้ ให้กับ

บุคลากรทางการแพทย์ และคณะกรรมการชุมชน ได้ใช้ บริการ ฟื้นฟู เตรียมคงามพร้อมประชาชน รวมถึง แนะนำการปฏิบัติตน ก่อนกลับบ้าน ต่อไป

               ตั้ง ผู้อำนวยการโรงพยาบาล ขนาด 180 เตียง

            ผู้ประสานการสั่งการหลัก ศูนย์พักฟื้นก่อนกลับบ้าน หรือ CI จุดนี้ มอบหมายให้

1.    นายชาญณรงค์ เมืองอามตย์ ผู้ช่วยสาธารณสุขอำเภอเลิงนกทา  ทำหน้าที่ ผู้อำนวยการโรงพยาบาล

2.    นายคมสันต์ กาลจักร ผอ.รพ.สต.สามแยก ทำหน้าที่ ผู้จัดการ หรือ พ่อบ้าน CI แห่งนี้

3.    นางพัชรีภรณ์ พูลทวี พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการ ทำหน้าที่ หัวหน้าฝ่ายการพยาบาล CI แห่งนี้

 

ซึ่ง นายชาญณรงค์ เมืองอามตย์ หรือ ผอ.โรงพยาบาล CI 180 เตียง  ท่านกล่าวด้วยความภาคภูมิใจว่า

               วางระบบไว้คือ เวรเช้า 2 คน เวรบ่าย 1 คน แต่ละเวร มีพยาบาล และ สหวิชาชีพ ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเข้าเวร  ส่วนทีมสนับสนุน ได้รับความร่วมมือจาก กำนัน จัดเวร รปภ.ฝ่ายปกครอง  นายกฯ จัด อปพร. มาร่วมปฏิบัติงาน

               สภาพปัญหาในพื้นที่จริง คือ ห้องพักเจ้าหน้าที่มืด และร้อนอบอ้าวมาก ต้องติดไฟฟ้าส่องสว่าง ติดแอร์ เบื้องต้น ได้เสนอ นายก อบต.สามแยก ท่านชัชชัย พันธ์สวัสดิ์ ทราบแล้ว ท่านแจ้งว่า ไฟฟ้า พรุ่งนี้เสร็จ ส่วนแอร์ น่าจะเสร็จวันอาทิตย์นี้ครับ

            วันนี้ เป็นวันแรก ที่เปิดบริการ มีผู้เข้าฟื้นฟู จำนวน 52 คน ทั้งหมด ทานข้าวเย็น ที่ รพ.สนามบ้านดอนฮีเสร็จ จึงเคลื่อนมาที่ บ้านหลังที่ 5 นี้   ภารกิจเป็นไปด้วยความเรียบร้อย รับเข้าที่พักเสร็จ เวลา 21.30 น. นายชาญณรงค์ เมืองอามตย์  ผอ.โรงพยาบาล CI 18 เตียง














วิถีชีวิต การอยู่ร่วมกันของผู้ป่วยใน CI บ้านด่าน ค่ะ

1. แต่งตั้งผู้นำทีม ( ผู้ใหญ่บ้าน ) แต่ละฝ่าย ทั้ง ฝ่ายชาย ฝ่ายหญิง

2. แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบในการทำความสะอาด ของแต่ละโซน แต่ละวัน อย่างชัดเจน

3. มีผู้รับผิดชอบเก็บขยะ มัดปากถุงให้เรียบร้อย ในแต่ละวัน วางเรียงกันไว้ให้เป็นระเบียบ

4. แยกขยะให้ถูกถัง ลดขยะที่ไม่จำเป็นลง ให้มากที่สุด

5. ทำราวตากผ้ากันเอง ให้เพียงพอ

6. ทำระบบเครื่องกรองน้ำใช้เอง นโยบายประหยัด อยู่แบบพอเพียง พึ่งพากัน

7. มีผู้รับผิดชอบช่วยกันในการวัดสัญญาณชีพ ส่งให้รายงานให้กับเจ้าหน้าที่ทีมปฏิบัติการ ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติ อาการเปลี่ยนแปลง ก็จะแจ้งเจ้าหน้าที่ทันที

 

สร้างชุมชนผู้ป่วยให้เกิดการดูแลตนเองที่เข้มแข็ง แบบพอเพียงในสภาวะที่จำกัด  

 

แบ่งเวรทำความสะอาดห้องน้ำ ที่กินข้าว

คัดแยกขยะ แยกเศษอาหารออกมา และเรียงกล่องโฟมใหม่ เพื่อลดปริมาณขยะ

และมีกฏระเบียบในชุมชนของตัวเอง

เรียงกล่องโฟมแบบบนี้เพื่อลดขนาดของขยะ

 แยกเศษอาหารออกมา เราเอาไปฝังได้ เป็นต้น

 นางพัชรีภรณ์ พูลทวี พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการ ทำหน้าที่ หัวหน้าฝ่ายการพยาบาล CI  กล่าว 



ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2564  นายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน ผู้ตรวจราชการกระทรวงเขตสุขภาพที่ 10

อีกตำแหน่งหนึ่ง ที่ประชาชนรู้จัก จากหน้า จอโทรทัศน์ คือ โฆษก ศบค. ท่านกล่าวว่า

การให้บริการ ผู้ติดเชื้อ หรือ ผู้ป่วย COVID-19 นั้น มาตรการด้านสาธารณสุขด้านการรักษาพยาบาล แบ่ง ออกเป็น 3 กลุ่ม หรือ 3 สี  สีเขียว คือ ไม่มีอาการ สีเหลือง มีอการเล็กน้อย สีแดง คืออาการหนัก

เพื่อให้รองรับผู้ป่วย 3 สี เดิม มีการจัดบริการสถานที่รักษา ไว้รองรับดังนี้

ระยะที่ 1 จัดไว้ 3 ประเภท ตามสี หรืออาการของผู้ป่วย

สีเขียว คือ ไม่มีอาการ เข้า โรงพยาบาลสนาม

สีเหลือง มีอการเล็กน้อย เข้าโรงพยาบาลอำเภอ

สีแดง คืออาการหนัก เข้าโรงพยาบาล จังหวัด

เมื่อเกิดการระบาดในวงกว้าง จำนวนเตียง ไม่พอ จึงปรับใหม่

ระยะที่ 2 จัดไว้ 4 ประเภท ตามสี หรืออาการของผู้ป่วย  หรือ เรียกว่า บ้าน 4 หลัง ตามศรีสะเกษ Model

บ้านหลังที่ 1  เข้า ศูนย์แยกกัก (Quarantine )  สำหรับผู้สัมผัสเสี่ยงสูง หรือ มาจากพื้นที่เสี่ยง

บ้านหลังที่ 2  เข้า ศูนย์พักคอย สำหรับ ผู้ตรวจพบเชื้อ ที่ไม่มีอาการ (สีเขียว)  เพื่อพัก และ รอคอยให้เตียงโรงพยาบาลว่าง  บ้านหลังนี้ มี 2 ประเภท

ประเภทห้องพิเศษ ไม่ต้องนอนปะปนกับใคร ๆ เรียกว่า Home Isolations  : HI

ประเภทห้องรวม ไม่ต้องนอนปะปนกับใคร ๆ เรียกว่า Community Isolations : CI

บ้านหลังที่ 3  เข้าโรงพยาบาลสนาม สำหรับ ผู้ตรวจพบเชื้อ ที่ไม่มีอาการเล็กน้อย (สีเหลือง)

บ้านหลังที่ 4  เข้าโรงพยาบาล  (อำเภอ จังหวัด หรือโรงพยาบาลศูนย์) สำหรับ ผู้ตรวจพบเชื้อที่มีอาการหนัก(สีแดง)

บ้านหลังที่ 5  ออกไปอยู่ศูนย์ฟื้นฟูก่อนกลับบ้าน สำหรับ ผู้ที่รักษามาแล้ว 7-10 วัน (สีเขียว) เตรียมตัวกลับบ้าน

เดิม CCRT คัดกรองแล้ว พิจารณาให้เข้า บ้าน 4 หลัง ตามศรีสะเกษ Model ณ วันนี้ ต้องจารึกไว้ว่า

ได้ถือกำเนิด ก่อ เกิด Idea บ้านหลังที่ 5 ขึ้น ณ ที่นี่ ศูนย์ฟื้นฟูก่อนกลับบ้าน CI บ้านด่าน

อำเภอเลิงนกทา จ.ยโสธรครับ

            ซึ่งบ้านหลังที่ 5 นี้ ก่อกำเนิด เกิด ขึ้นที่นี่ ณ CI บ้านด่าน อำเภอเลิงนกทา จ.ยโสธร แห่งนี้

ภาษาทางการที่ใช้เบิกงบประมาณ ก็ยังเรียก เรียกว่า Community Isolations : CI  หรือศูนย์พักคอย

ในอนาคต จะให้บริหารจัดการ โดย คณะทำงานป้องกันแก้ไขปัญหาโควิด 19 ระดับอำเภอ (Comprehensive Community Response Team : CCRT )  หรือ ระดับตำบล ต่อไป

            ที่มาของการเรียกชื่อ ศูนย์พักฟื้นผู้ป่วยก่อนกลับบ้าน  หรือ กำเนิด ก่อเกิด บ้านหลังที่ 5 รักษา COVID-19

ที่นี่   http://ptjsw.blogspot.com/2021/07/29-64-ci-4.html

 

 

ถาม ทำไม ชื่อ ทำไมจึงเป็น   ศูนย์พักฟื้นก่อนกลับบ้าน และ ศูนย์พักคอย

ตอบ  ในระเบียบ การเบิกจ่ายทางราชการ ใช้คำเดียว คือ ศูนย์พักคอย ( Community Isolations : CI)

เจตนาเดิม ใช้สำหรับ พักคอย ก่อนเข้ารับการรักษา ใน โรงพยาบาลสนาม หรือ โรงพยาบาล

สถานการณ์ต่อมา ผู้ป่วย ล้น โรงพยาบาลสนาม หรือ โรงพยาบาล จึง มีแนวคิด กระจายผู้ที่รักษาหาย หรือ ใกล้ครบกำหนด เหลือ 4-7 วัน ออกมาพักฟื้นก่อนกลับบ้าน  เพื่อให้เตียง ใน โรงพยาบาลสนาม หรือ โรงพยาบาล ว่าง รับผู้ป่วย ที่อาการหนักได้

แต่ระเบียบทางราชการ ไม่สามารถออกรองรับ ได้ ในทางการ งบประมาณ จึงใช้ชื่อ ศูนย์พักคอย( Community Isolations : CI)

ส่วนในการดูแลผู้ป่วย ไม่ใช้พักคอย แต่เป็นการพักฟื้น จึงใช้ชื่อ ศูนย์พักฟื้นก่อนกลับบ้าน ( Community Isolations : CI)

เพื่อให้ เรียกต่างกัน จึง ปรับ CI ( step down ) เป็น บ้าน หลังที่ 5  ศูนย์พักฟื้นก่อนกลับบ้าน ( Community Isolations : CI)

ส่วน บ้านหลังที่ 3 CI ( step up )ยังคงเรียก ศูนย์พักคอย( Community Isolations : CI)

No comments:

Post a Comment