10/30/21

31 ต.ค.64 รพ.สต.โคกสำราญ อันดับ 1 ฉีดวัคซีน เดือนตุลาคม 2564 อำเภอเลิงนกทา

31 ต.ค.64 รพ.สต.โคกสำราญ  อันดับ 1 ฉีดวัคซีน เดือนตุลาคม 2564  อำเภอเลิงนกทา

31 ตุลาคม 2564   นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง สาธารณสุขอำเภอเลิงนกทา

ขอชื่นชมทีมงานที่สามารถระดมสรรพกำลังทุกภาคส่วน 

จนสามารถฉีดวัคซีน ป้องกัน โควิด 19 ให้กับประชาชนในเขตรับผิดชอบ

ได้ตามศักยภาพ ดังนี้ 

 อันดับที่ 1 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โคกสำราญ ครอบคลุม ปชก. ร้อยละ 46.36  

            โดย นายนายธวัชชัย  มณีวงษ์ ผู้อำนวยการ รพ.สต.และคณะ





 อันดับที่ 2 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ช่องเม็ก  ครอบคลุม ปชก. ร้อยละ 45.19

            โดย นายอุดร พรหมคุณ   ผู้อำนวยการ รพ.สต.และคณะ

 อันดับที่ 3 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล หนองยาง ครอบคลุม ปชก. ร้อยละ 43.76

            โดย นายวราชัย สมคะเณย์   ผู้อำนวยการ รพ.สต.และคณะ

 อันดับที่ 4 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล สมสะอาด ครอบคลุม ปชก. ร้อยละ 43.53

            โดย น.ส. ระยอง มีดี   ผู้อำนวยการ รพ.สต.และคณะ

 อันดับที่ 5 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล น้อมเกล้า ครอบคลุม ปชก. ร้อยละ 43.33

            โดย กฤษฎา สมคะเณย์   ผู้อำนวยการ รพ.สต.และคณะ

 ทั้งนี้ นพ.ธีระพงษ์ แก้วภมร นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร          

             กำหนดนโยบาย ผลงานการฉีดวัคซีน COVID-19 ในจังหวัดยโสธร ดังนี้

เดือน ตุลาคม 2564 เข็มที่ 1 ครอบคลุมประชากร ร้อยละ 50

เดือน พฤศจิกายน 2564 เข็มที่ 1 ครอบคลุมประชากร ร้อยละ 70

ในระดับจังหวัด  อำเภอเลิงนกทา ผลงาน อันดับที่ 4  (เลื่อนจาก อันดับที่ 9 เมื่อ ต้นปีงบประมาณ )





29 ต.ค.64 ประชุม กวป. เดือน ตุลาคม ณ สาธารณสุขจังหวัดยโสธร เน้นฉีดวัคซีนให้ครอบคลุม 70 % ในเดือน พ.ย. 2564

29 ต.ค.64 ประชุม กวป. เดือน ตุลาคม ณ สาธารณสุขจังหวัดยโสธร เน้นฉีดวัคซีนให้ครอบคลุม 70 % ในเดือน พ.ย. 2564

วันที่ 29 ตุลาคม 2564 นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง สาธารณสุขอำเภอเลิงนกทา

และคณะ ร่วม ประชุมคณะกรรมการ  วางแผนและประเมินผล  กวป. ครั้งที่ 10 / 2564  ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 4

(ห้อง Conference อาคารหลังใหม่) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร

ประธานโดย นพ.ธีระพงษ์ แก้วภมร  นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร

ขอแสดงความยินดีกับข้าราชการที่ได้รับการเลื่อนระดับสูงขึ้น 3 คน

            นายสงวน บุญธรรม สาธารสุขอำเภอไทยเจริญ

            นางสิริพร พงษ์พัฒนโชติ หัวหน้ากลุ่มงานประกันสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร

            นางจินตนา พลมีศักดิ์ หัวหน้ากลุ่มงานส่งเสริมสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร

ในโอกาสนี้ ขอแสดงความยินดีกับ  เทศบาลตำบลเลิงนกทา

รับมอบเกียรติบัตรการพัฒนาคุณภาพระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (EHA) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีการดำเนินงานผ่านระดับเกียรติบัตร ปีงบประมาณ ปี 2563

               ประเภท การจัดการขยะ และ ขยะติดเชื้อ



 







 วาระประธานแจ้งให้ทราบ

            นโยบาย นพ.สสจ.ยส. นำผลงานการฉีดวัคซีน ประกอบการพิจารณาผลการปฏิบัติงานด้วย

เดือน ตุลาคม เข็มที่ 1 ร้อยละ 50

เดือน พฤศจิกายน เข็มที่ 1 ร้อยละ 70

การจัดเก็บเงินจากการรับบริการ เป็น KPI Ranking ต่อไป

จาก อปท.

จาก กองทุน ผู้ประสบภัย

การเรียกเก็บ ผู้รับบริการสิทธิ ข้าราชการ หรือ ผู้เบิกได้

            ให้มารับบริการ ณ โรงพยาบาล ชำระเงิน (รูดบัตร) ณ โรงพยาบาล ทุก 6 เดือน

การเรียกเก็บ ณ รพ.สต.

 

            กำหนดวันที่  25-27 การจัดทำแผนระดับจังหวัด

           

นโยบาย 9 ข้อ ก้าวข้ามความท้าทาย

การถ่ายโอน รพ.สต. ไปสังกัด อบจ. ยโสธร

การถ่ายโอน โอนย้ายจาก ข้าราชการสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ไปเป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่น สังกัด อบจ.ยโสธร

จำนวน ไม่เกิน 25 แห่ง ตามสัดส่วน 2   3  4  ตามขนาดอำเภอ  S M L

 

ให้ทุกอำเภอ แจ้ง บุคลากร สมัครใจเป็นรายบุคคล ผู้ประสงค์สามารถย้ายไปอยู่รวมกันได้  ผู้ไม่ประสงค์ สามารถย้ายออกจาก รพ.สต.แห่งนั้นๆ ได้

            งานกฐิน ผู้ตรวจฯ  6 พฤศจิกายน 2564 วัดหลวง จ. อุบลราชธานี

            งานกฐิน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร 6 พฤศจิกายน 2564 วัดอัมพวัน บ้านน้ำคำ อำเภอไทยเจริญ

            การจำกัดเข้ารับบริการ ในโรงพยาบาล สำหรับผู้ฉีดวัคซีนไม่ครบตามกำหนด

            การตรวจสอบ เอกสารเบิกจ่ายค่าตอบแทน ให้ เรียบร้อย

การเข้าร่วมกิจกรรม จิตอาสา

งานกฐิน  จังหวัดยโสธร 15 พฤศจิกายน 2564 วัดฟ้าห่วน อำเภอค้อวัง

 

งานบุคลากร

พนักงานกระทรวงสาธารณสุข (พกส.) เดิม ไม่สามารถย้ายได้

หากประสงค์ย้ายต้อง ลาออก แล้วไปสมัคร แห่งใหม่ ที่ต้องการไปนั้น

ณ วันนี้ ปี 2564 สามารถขอย้ายได้ มีคำสั่ง ทุกวันที่ 1 ธันวาคม ของทุกปี

 

ประวัติความเป็นมา พกส. ที่มี จ. 18 ใน รพ.สต. เพราะเปลี่ยนมาจากลูกจ้างชั่วคราว

เนื่องจาก ใน อดีต ไม่กำหนดกรอบการจ้าง  โรงพยาบาล จึงจ้างลูกจ้างชั่วคราวตามภารกิจฯ ได้ไม่จำกัดจำนวน ต่อมา ในปี พ.ศ. 2556 กระทรวงสาธารณสุขออกระเบียบ มีการกำหนดกรอบการจ้าง ตามเงื่อนไข S M L

ลุกจ้าง ที่ได้จ้างไว้แล้ว จะเลิกจ้างก็ไม่ได้ ต้องหากรอบให้ลง รพ. ส่วนมาก จ้างคนล้นกรอบ

จังหวัดยโสธร จึงมีมติ การดูแลกันโดยต้องฝาก จ.18 ไว้ที่ รพ. สต.  

            โดยมีข้อตกลงกัน ระหว่าง รพ.สต. กับ สสอ. ไว้ว่า จ.18 เป็นของ รพ.สต. ส่วนคนเป็นของ โรงพยาบาล ตามเดิม ยกเว้น คนนั้น เกษียณ หรือลาออก รพ.สต. จึงจะมีสิทธิ์ได้คนใหม่ ตาม จ. 18 นั้น

            เงินที่ใช้จ้าง พกส. หากเป็นนักเรียนทุน ใช้ เงิน CUP

               นอกนั้น ให้ใช้เงิน บำรุง ของหน่วยที่จ้าง

 

ที่มา     http://ptjsw.blogspot.com/2013/11/22-2556.html

 

พันธุ์ทอง จันทร์สว่างPT NEWS:จารึกทุกความดีที่คุณทำ ไม่จดจำคนที่ทำไม่ดี: 22 พย.2556: จัดลูกจ้างลงตามกรอบ_เพื่อบรรจุเป็นพนักงานกระทรวงสาธารณสุข (ptjsw.blogspot.com)

 

30 ต.ค.64 ไก่กับไข่: คนสำราญ งานสำเร็จ :งานเป็นผล คนมีความสุข : อะไรก่อนก้ได้ความหมายเดียวกัน

30 ต.ค.64  ไก่กับไข่: คนสำราญ งานสำเร็จ :งานเป็นผล คนมีความสุข : อะไรก่อนก้ได้ความหมายเดียวกัน

30 ตุลาคม 2564   นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง สาธารณสุขอำเภอเลิงนกทา

องค์กรแห่งความสุข ต้องมีองค์ประกอบ 3 ก้อนเส้า ที่สมดุล

มีคน 3 คน ที่ทำงานประสานสอดคล้องซึ่งกันและกัน

คนที่ 1 คนเก่ง คนที่ 2 คนดี คนที่ 3 คนมีความสุข

            กลวิธี การนำองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งความสุข

สมาชิกในองค์กร ต้องมีทัศนคติ รู้สึกว่า เราเป็น ครอบครัวเดียวกัน  : ยามดีเราใช้ ยามไข้เรารักษา(เยียวยา)

พี่รังสรรค์ คีละลาย ใช้คำว่า We are the same Blood เพราะเราเป็นเลือดเนื้อ เชื้อไข เดียวกัน

ผม ( พันธุ์ทอง ) สรุปสั้นๆ คนครอบครัวเดียวกัน ต้อง มีคุณลักษณะ 5 ให้ ในตนเอง

5 ให้ ให้ 5 ประการ  ให้ความรัก ให้ความหวัง ให้กำลังใจ ให้ความเข้าใจ ให้อภัย

               หากมุ่งแต่ผลงาน จะเป็นได้เพียง คนที่ประสบความสำเร็จในการทำงาน แต่ทว่ากลับเป็นมนุษย์ที่ล้มเหลว

หากมุ่งแต่ความสำราญ      จะเป็นคนที่หาแก่นแท้ของงานไม่ได้ (ไม่เป็นโล้เป็นพาย)

           

ไก่กับไข่: งานเป็นผล คนมีความสุข : คนสำราญ งานสำเร็จ อะไรก่อนก็ได้ความหมายเดียวกัน

แต่ ในมุมมองของผม (พันธุ์ทอง) ผลงาน มาจากคนทำงาน ฉะนั้น คนต้องมาก่อน

ทำให้ครอบครัวเรา เป็นครอบครัวแห่งความสุข แล้ว คนจะแสดงศักยภาพ(ความเก่ง และความดี) ของเขาออกมา จนงานที่รับผิดชอบ สัมฤทธิ์ผลจนได้ ด้วยตัวเขาเอง และทีมงานของเขาเอง

 

Learning เรียนรู้ กัน ใน 4 สิ่ง  SATA

Spiritual รู้ ผิด ชอบ ชั่ว ดี

Appreciation รู้คุณค่าของการตน คน งาน   ทำดีเชิดชู ชมเชย ผิดพลาดเป็นครู

Team    มีทักษะการทำงานเป็นทีมที่ดี

ส่วน A ตัวสุดท้าย จะใช้ตัวไหนดี

พิจารณาช่วยด้วย

Atmosphere เข้าใจ สร้างบรรยากาศที่ดี ยอมรับซึ่งกันและกันไม่ตำหนิ

Approach คือ คล้ายๆ กับ Coach  ชี้แนะ แนวทางให้งานสำเร็จ

Active   ทันสมัย กับการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

 

28 ต.ค.64 อำเภอเลิงนกทา 5 แห่ง จ.ยโสธร 49 แห่ง ถ่ายโอน รพ.สต. ไป อบจ.ยโสธร : กุดเชียงหมี น้อมเกล้า หนองยาง สร้างมิ่ง ห้องแซง

28 ตุลาคม 2564  นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง สาธารณสุขอำเภอเลิงนกทา  นำส่ง รายชื่อ ตามที่ อบจ.ยโสธร ให้ส่งรายชื่อ รพ.สต.ที่เข้าสู่โครงการ ถ่ายโอน 49 แห่ง ทั้งจังหวัดยโสธรนั้น

อำเภอเลิงนกทา นายวราชัย สมคะเรย์ ผู้แทน ชมรม ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลอำเภอเลิงนกทา

ตัวแทนคณะ นำส่งเอกสารผลการสมัครใจ โอนย้ายจาก ข้าราชการสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ไปเป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่น สังกัด อบจ.ยโสธร จำนวน 5 แห่ง  ประกอบด้วย 1.รพ.สต. กุดเชียงหมี  2. รพ.สต. น้อมเกล้า 3. รพ.สต. หนองยาง  4.รพ.สต. สร้างมิ่ง  5. รพ.สต. ห้องแซง  



--รข้อ มูลเพิ่มเติม   1. การถ่ายดอนครั้งนี้ ไม่ได้ผ่านการทำประชาพิจารณ์จากผู้ที่มีส่วนได้เสียให้รอบด้านในชุมชนก่อนแต่อย่างใด  

การถ่ายโอนครั้งนี้  ส่วนใหญ่เห็นด้วยในหลักการ แต่กังวลผลกระทบ ที่จะตามมา หากไม่มีการเตรียมการให้ดี

ยกตัวอย่าง

1.    ถ้า รพ.สต.ที่มีแพทย์ ขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยบริการ / เครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ ราว 3,000 หน่วย ถ่าย โอนไปยัง อปท. แพทย์ที่มีอยู่จากกระทรวงสาธารณสุข จะไม่สามารถตามไปปฏิบัติงานที่ รพ.สต.ได้ หากไม่สามารถจัดแพทย์มาทดแทนได้ จะทำให้สิ้นสภาพการเป็นหน่วยบริการตาม พรบ.ฯ ซึ่งจะมีผลกระทบต่อประชาชนอย่างมาก แน่นอนว่า อบจ.อาจมีงบประมาณมาก และสามารถจ้าง/บรรจุแพทย์มาทำงานได้ แต่ในเวลาอันสั้น ย่อมไม่สามารถทำได้ทันกับผลกระทบที่เกิดขึ้นกับประชาชน นอกจากนี้ ยังจำเป็นต้องให้แพทย์ดังกล่าว มาอบรมกับ กระทรวงสาธารณสุข ตามกฎหมายด้วย จึงจะเข้าเกณฑ์ ทำงานได้

2. การทำงานของพยาบาลวิชาชีพ/นักวิชาการสาธารณสุข/จพ.สาธารณสุข/ฯลฯ ใน รพ.สต. ล้วนทำงานภายใต้ วิชาชีพเวชกรรมของ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ซึ่งครอบคลุมเฉพาะ หน่วยงานสังกัด กระทรวงสาธารณสุข หมายความว่า หาก รพ.สต. ที่ไม่มีแพทย์ ถ่ายโอนไป อปท. บุคลากรจะทำงานได้เฉพาะภายใต้ วิชาชีพตนเองเท่านั้น ... ผลกระทบ เช่น พยาบาลจะไม่สามารถจ่ายยา โรคเรื้อรังได้ ผู้ป่วยเบาหวานความดันโลหิตสูง ผู้สูงอายุ จะต้องกลับไปรักษาที่โรงพยาบาล แค่คิดก็โกลาหล แล้วครับ  

ซึ่งจริงๆ แล้วยังมีปัญหาเรื่องอื่นๆ อีกมากครับ ที่จะตามมา หากไม่เตรียมการให้ดี ส่วนตัวคิดว่า การถ่ายโอนหรือไม่ถ่ายโอน อย่าอ้างเพียงแต่ว่าเป็นกฏหมาย หากไม่ถ่ายโอน จะโดน ม.157 แต่อยากให้ดูด้วยว่า ถ้าถ่ายโอนไปแล้วผลกระทบมากกว่าผลดี คนถ่ายจะโดน 157 ไหม ?

ข้อเสนอ จาก ชมรมสาธารรสุขอำเภอ จังหวัดยโสธร   หลังถ่ายโอนฯ ไปยัง อบจ.ยโสธร  ให้ รพ.สต. สามารถ ทำตามภารกิจเดิมได้ทุกอย่าง  หากมีภารกิจใด ที่จะมีผลทางกฎหมาย คณะกรรมการถ่ายโอน ระดับชาติ จะต้องแก้ ระเบียบ กฎหมาย ให้สามารถรองรับภารกิจ ของ รพ.สต. ได้ต่อไป 

2ส่


28 ต.ค.64 อำเภอเลิงนกทา ร่วมใจ เน้น พัฒนาการสมวัย IQ เกิน 100

28 ต.ค.64 อำเภอเลิงนกทา ร่วมใจ เน้น พัฒนาการสมวัย IQ เกิน 100

28 ตุลาคม 2564  นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง สาธารณสุขอำเภอเลิงนกทา  

ร่วมกิจกรรมโครงการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย จังหวัดยโสธร

ณ ห้องประชุม สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเลิงนกทา  

วัตถุประสงค์หลักคือ ร่วมมือร่วมใจ ให้พัฒนาการสมวัย IQ เกิน 100

วิทยากร โดย พญ.นพรัตน์ ศรีขาว นางพิสมัย พันธ์ดวง และคณะ จาก รพร.เลิงนกทา

วิทยากร และผู้ประสานงานด้วยดีโดย น.ส.จิตลดาวรรณ โสวะภาสน์ หน.นส่งเสริมสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเลิงนกทา










 

28 ต.ค.64ยินดีกับ วิษณุรักษ์ ศรีมันตะ ปศุสัตว์อำเภอเสนางคนิคม

28 ต.ค.64ยินดีกับ วิษณุรักษ์ ศรีมันตะ ปศุสัตว์อำเภอเสนางคนิคม

28 ตุลาคม 2564  ภาคเที่ยง นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง สาธารณสุขอำเภอเลิงนกทา  และคณะ  

ร่วม ยินดีกับ นาย จีบ หรือ นายวิษณุรักษ์ ศรีมันตะ ในโอกาสรายงานตัวเข้ารับตำแหน่ง ปศุสัตว์อำเภอเสนางคนิคม จ. อำนาจเจริญ



  




27 ต.ค.64 จิตอาสา อำเภอเลิงนกทา ณ วัดบ้านศรีแก้ว

27 ต.ค.64 จิตอาสา อำเภอเลิงนกทา ณ วัดบ้านศรีแก้ว

27 ตุลาคม 2564  นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง สาธารณสุขอำเภอเลิงนกทา  

และคณะ เข้าร่วมกิจกรรมจิตอาสาพัฒนา ณ วัดบ้านศรีแก้ว บ้านศรีชุมพร อำเภอเลิงนกทา  

ประธานโดย นายสุวัฒน์ เข็มเพชร รองผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร

เป็นกิจกรรมเนื่องในวันคล้ายวันสิ้นพระชนม์สมเด็จพระสังฆราช ในรัชกาลที่ 9








27 ต.ค.64 Learning Loving รวมเป็น L Team : แผนสุขภาพ อำเภอเลิงนกทา : ประชาชนสุขภาพดี เจ้าหน้าที่มีความสุข

27 ต.ค.64 Learning Loving รวมเป็น L Team : แผนสุขภาพ อำเภอเลิงนกทา : ประชาชนสุขภาพดี เจ้าหน้าที่มีความสุข

27 ตุลาคม 2564  นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง สาธารณสุขอำเภอเลิงนกทา  

และคณะ ทีมสุขภาพ อำเภอเลิงนกทา

ประชุมเตรียมพร้อม แผนปฏิบัติการ ปี 2565

 เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ประชาชนสุขภาพดี เจ้าหน้าที่มีความสุข ระบบสุขภาพยั่งยืน ต่อไป

อำนวยความสะดวกด้วยดีโดย นายถนอมทรัพย์ อิสระภาพ หัวหน้าฝ่ายบริหาร รพร.เลิงนกทา

นายธนกร วอทอง ผู้ช่วย สาธารณสุขอำเภอเลิงนกทา

นายไชยา อินทะนาม หัวหน้ากลุ่มยุทธศาสตร์ รพร.เลิงนกทา และคณะ

           

กลวิธี เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ อยู่ด้วยกันด้วยรัก Learning with Loving รวมเป็น Lorngnoktha Team : LLL หรือ 3 L คือ Learning  Loving L Team

 

            ผลงาน ขับเคลื่อน โดยพลัง คปสอ. เปลี่ยน Ranking จากที่9 สุดท้ายกลายเป็นที่ 1 ของจังหวัดยโสธร

 ปัญหาสาธารณสุข ของจังหวัดยโสธร เรียงลําดับ จากมากไปหาน้อย 10 อันดับแรก ดังนี้

อันดับ 1) COVID -19

อันดับ 2) ยาเสพติด  

อันดับ 3) โรคเบาหวาน

อันดับ 4) โรคหัวใจและหลอดเลือด

อันดับ 5) โรคความดันโลหิตสูง  

อันดับ 6) โรคไข้เลือดออก  

อันดับ 7) อุบัติเหตุการจราจร  

อันดับ 8) โรคมะเร็ง  

อันดับ 9) IQ เด็กต่ำกว่าเกณฑ์  

อันดับ 10) การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น