10/22/22

3 ต.ค.65 หลัก ททท ทำ 6 ขอ เป้า “สุขภาพดี เศรษฐกิจมั่งคั่ง” (Health for Wealth) บุคลากรคุณภาพชีวิตดี 4 T : Trust Team Technology Target โดย นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัด สธ.

3 ต.ค.65 หลัก ททท ทำ 6 ขอ เป้า “สุขภาพดี เศรษฐกิจมั่งคั่ง”  (Health for Wealth)  บุคลากรคุณภาพชีวิตดี 4 T : Trust Team Technology Target โดย นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัด สธ.

3 ตุลาคม 2565  นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง สาธารณสุขอำเภอเลิงนกทา  และ คณะ

ประชุม  ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 4  สสจ.ยโสธร

กิจกรรม รับทราบ การมอบนโยบายและทิศทางการดำเนินงาน กระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ผ่านระบบ  VDO Conference WebEx Meeting     ไปยังผู้บริหารส่วนภูมิภาค

ประธานโดย นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข คนใหม่

 เป้าหมาย “สุขภาพดี เศรษฐกิจมั่งคั่ง”  (Health for Wealth)  ภายใต้หลักการทำงาน "ททท"

ททท คือ 3 ท.   ทำทันที  ทำต่อเนื่อง  ทำและทำให้ดีขึ้น(พัฒนา)

มุ่งเน้น 6 ประเด็น  1.ยกระดับสื่อสารสร้างความรอบรู้สุขภาพ (Health Literacy ) 2.    ยกระดับบริการรองรับสังคมสูงวัย 3.    ลดอัตราตายโรคสำคัญ 4.    นการแพทย์ดิจิทัลสร้างความมั่นคงสุขภาพ 5.    ส่งเสริมศูนย์กลางการแพทย์และสุขภาพ 6.    เสริมสมรรถนะองค์กร สร้างความไว้วางใจกับประชาชนและเจ้าหน้าที่

 

VUCA: situation for Change

ท่ามกลางโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว (VUCA World) เช่น การเปลี่ยนแปลง การเมืองระดับโลก อำนาจทางเศรษฐกิจ การขาดแคลนทรัพยากรและอาหาร, การเปลี่ยนแปลงทางสังคม ประชากรอายุยืนขึ้น เด็กเกิดใหม่และวัยแรงงานน้อยลง เมืองเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ความหนาแน่นของประชากรเพิ่มขึ้น ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี,สภาวะโลกร้อน ภัยธรรมชาติ มลพิษ, และด้านสาธารณสุข ที่มีทั้งโรคอุบัติใหม่อุบัติซ้ำ โรคติดต่อไม่เรื้อรังปัญหาสุขภาพจิต และค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง การรวมกลุ่มประเทศตามภูมิรัฐศาสตร์ของโลก จึงต้องทำความเข้าใจและปรับตัวให้ทัน

       สำหรับทิศทางที่จะร่วมกันพัฒนากระทรวงสาธารณสุขและสุขภาพของคนไทยต่อไป จะนำนโยบายมุ่งเน้น
5
ประการ ของ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข มาปฏิบัติเพื่อให้เกิดประโยชน์กับประชาชน ได้แก่ 1 การทำให้ประชาชนเข้าถึงบริการสุขภาพได้มากขึ้น, 2การยกระดับการเสริมสร้างสุขภาพเพื่อคนไทยแข็งแรง, 3 ผู้สูงอายุได้รับการดูแลอย่างเป็นระบบและทั่วถึง, 4นำสุขภาพขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และ5ข้อมูลสุขภาพต้องเป็นของประชาชนและเพื่อประชาชน

วิธีการ พัฒนาระบบสาธารณสุขให้เข้มแข็ง ครอบคลุมทั้งมิติสุขภาพ สังคม และเศรษฐกิจ

ด้วยแนวนโยบาย “จากสุขภาพคนไทย เพื่อสุขภาพประเทศไทย” มุ่งเน้น 6 ประเด็นหลัก ได้แก่

1.เพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสาร ยกระดับการ สร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ ทุกมิติ ทั้งการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันควบคุมโรค รักษาพยาบาล ฟื้นฟู และความเสี่ยงต่อสุขภาพ เข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้อย่างถูกต้อง เป็นปัจจุบัน สะดวกรวดเร็ว พัฒนาศักยภาพคนไทยทุกช่วงวัย ดูแลสุขภาพกาย-ใจตนเอง ครอบครัว และชุมชนให้แข็งแรง

2.ยกระดับบริการ รองรับสังคมสูงวัยและลดอัตราตายโรคสำคัญ โดยเสริมความเข้มแข็งของระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ เพิ่มศักยภาพ 3 หมอ ทั้ง อสม.หมอคนที่ 1 เป็นผู้นำด้านสุขภาพชุมชน เพิ่มศักยภาพ รพ.สต.
หมอคนที่ 2 เป็นจุดเชื่อมต่อดูแลสุขภาพจากชุมชนสู่ระบบบริการ โดยใช้การแพทย์ทางไกล และเพิ่มประสิทธิภาพเชื่อมโยงกับหมอคนที่ 3 ดูแลแบบ “ใกล้ตัว ใกล้บ้าน ใกล้ใจ” ปรับโฉมโรงพยาบาลทุกแห่งเป็น “โรงพยาบาลของประชาชน” มีสถานที่ สิ่งแวดล้อม สะอาด สวยงาม เข้าถึงง่าย รับบริการสะดวก ลดความแออัด ลดขั้นตอน
ที่ไม่จำเป็น ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม ทันสมัย บริการมีคุณภาพ ใส่ใจดุจญาติ และเพิ่มขีดความสามารถระบบบริการและเครือข่ายไร้รอยต่อ  “ผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง” โดยเฉพาะผู้สูงอายุ อุบัติเหตุ โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจ โรคไต มะเร็ง สุขภาพจิต ซึ่งเป็นสาเหตุการตายที่สำคัญของคนไทย

      3.ผลักดันบริการทางการแพทย์และ สาธารณสุขสู่ยุคดิจิทัล ให้โรงพยาบาลทุกแห่งใช้การแพทย์ทางไกล (Telemedicine) พัฒนาระบบข้อมูลสุขภาพให้เอื้อต่อการบริการอย่างไร้รอยต่อ และเร่งพัฒนานวัตกรรมการแพทย์โดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology) การแพทย์ระดับอณู (Molecular medicine) เพื่อการวินิจฉัยโรคที่แม่นยำ ดูแลรักษาสร้างเสริมสุขภาพป้องกันโรคตามลักษณะเฉพาะทางพันธุกรรม และใช้ยาเฉพาะบุคคล (Personalized medicine)

4.ยกระดับความมั่นคงทางสุขภาพ เตรียมพร้อมรับภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์และสาธารณสุขของประเทศในอนาคต รวมถึงผลักดันกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

5.ส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์และสุขภาพนานาชาติ สนับสนุนการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก สมุนไพร ภูมิปัญญาไทย และการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ    และ

6.พัฒนาสู่องค์กรสมรรถนะสูงและบุคลากรมีคุณภาพชีวิตในการทำงานที่ดีขึ้น ด้วยแนวทาง 4T

ได้แก่ Trust สร้างความไว้เนื้อเชื่อใจกับประชาชน เจ้าหน้าที่ ฝ่ายนโยบาย ฝ่ายต่างประเทศและเครือข่าย,

Teamwork &Talent ทำงานเป็นทีม สนับสนุนคนเก่ง,

Technology ใช้เทคโนโลยีเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และ

Targets ทำงานแบบมุ่งเป้าหมาย จัดการทรัพยากรให้เกิดผลิตภาพและบริการที่มีคุณค่า

ขณะที่บุคลากรมีคุณภาพชีวิตในการทำงานที่ดีขึ้น มีความสมดุลของชีวิตกับการทำงาน

สามารถยืดหยุ่นปรับตัวได้ในภาวะวิกฤต

       หลักปฏิบัติในการทำงาน “ททท” คือ “ทำทันที” “ทำต่อเนื่อง” “ทำและพัฒนา” และร่วมกันเดินหน้าขับเคลื่อนและพัฒนาสาธารณสุขไทยสู่การยกระดับบริการและการดูแลสุขภาพด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม เป็นระบบสาธารณสุขที่เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับประชาชน” 

 




           

ทั้งนี้ สำหรับการแบ่งงานรองปลัดกระทรวงสาธารณสุข(สธ.)   ประกอบด้วย  

1.นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน รองปลัด สธ.รับผิดชอบด้านบริหาร 

2.นพ.พงศ์เกษม ไข่มุกด์ รองปลัด สธ.ดูแลกลุ่มภารกิจด้านส่งเสริมสนับสนุน เช่น อย. กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ

3.นพ.ณรงค์ สายวงศ์ รองปลัด สธ.ดูแลภารกิจด้านพัฒนาสาธารณสุข กรมควบคุมโรค กรมอนามัย  

4.นพ.ยงยศ ธรรมวุฒิ รองปลัด สธ.ดูแลภารกิจด้านพัฒนาการแพทย์ กรมการแพทย์ กรมการแพทย์แผนไทยฯ และกรมสุขภาพจิต

No comments:

Post a Comment