6/19/11

ครั้งแรกของโลกที่เมืองไทย: วัคซีนไข้เลือดออก



วันที่ 11 มิถุนายน 2554: ครั้งแรกของโลกที่เมืองไทย: วัคซีนไข้เลือดออก

วันนี้ ผม นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง ขอชื่นชม ข่าวนี้ครับ ครั้งแรกของโลกที่เมืองไทย: วัคซีนไข้เลือดออก

จาก http://thairecent.com/Science/2011/807848/

ข้อความว่า วันที่ 22/02/2554 01:08

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดตัววัคซีนป้องกันไข้เลือดออกจากเชื้อผสมไวรัสไข้เด็งกี่ 4 สายพันธุ์ ครั้งแรกของโลก ผลงานความร่วมมือ 3 หน่วยงาน สวทช.-มช.-มหิดล พร้อมถ่ายทอดเทคโนโลยีให้เอกชนไปพัฒนาวัคซีนต่อ

ดร.วีระชัย วีระเมธีกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พร้อมด้วย ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และคณะนักวิจัยซึ่งประกอบด้วย ดร.พูนสุข กีฬาแปง จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รศ.นพ.นพพร สิทธิสมบัติ จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ รศ.นพ.สุธี ยกส้าน จากมหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกันแถลงข่าวความสำเร็จการพัฒนา วัคซีนลูกผสม เชื้อเป็นอ่อนฤทธิ์ ป้องกันไข้เลือดออกครั้งแรกของโลก ตลอดจนการลงนามอนุญาตให้บริษัท ไบโอเนท-เอเชีย รับสิทธิ์ในการรับไปพัฒนาต่อเป็นวัคซีนป้องกันไข้เลือดออกใช้ในอนาคตอันใกล้

ดร.วีระชัยเปิดเผยในรายละเอียดว่า ปัจจุบันการพัฒนาองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเป็นงานสำคัญที่มีผลต่อการพัฒนา เศรษฐกิจและคุณภาพชีวิต ตลอดจนเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับประเมินความก้าวหน้าของประเทศในสายตานานาชาติ ยิ่งถ้าเราต้องการให้ประเทศไทยพัฒนาแบบก้าวกระโดด ยิ่งจำเป็นต้องใช้งานวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้สามารถไปเพิ่ม ผลผลิต สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์มากขึ้น ประเด็นที่สำคัญที่สุด ที่ผมได้ให้นโยบายไว้ตั้งแต่วันแรกที่เข้ามาทำงานที่กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ คือ ผมเน้นการให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนาด้านเทคโนโลยีชีวภาพอย่างเต็มที่ อนาคตถัดจากนี้ประเทศไทยจะต้องหันมาให้ความสำคัญด้านนี้มากขึ้นเพราะจะ สามารถสร้างคุณประโยชน์ให้กับประเทศและมนุษยชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งด้านการเกษตรและการแพทย์ ดังตัวอย่างหนึ่งที่สำคัญในวันนี้คือการพัฒนาวัคซีนลูกผสมเชื้อเป็นอ่อน ฤทธิ์ป้องกันโรคไข้เลือดออก

สำหรับโรคไข้เลือดออกนี้ เริ่มอุบัติขึ้นมาในโลกในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 หลังจากนั้นได้แพร่กระจายไปทั่วแถบภูมิภาคเขตร้อน โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรค และเมื่อปี 2501 ได้ระบาดเข้ามายังประเทศไทย จนปี พ.ศ. 2515 ได้กลายเป็นโรคประจำถิ่นของประเทศไทย ในปี 2553 ที่ผ่านมา มีรายงานผู้ป่วยจำนวนกว่าหนึ่งแสนราย และเฉพาะเดือนมกราคมของปี 2554 มีผู้ป่วยแล้วประมาณ 1,200 ราย ซึ่งผมเชื่อว่า ตัวเลขผู้ติดเชื้อจริงนี้ ต้องมีมากกว่าตัวเลขที่มีการรายงานอย่างเป็นทางการอย่างแน่นอน รวมทั้งแนวโน้มการระบาดหรืออุบัติการณ์ของโรคน่าจะสูงขึ้นทุกปี เนื่องจากโรคนี้มีแหล่งระบาดอยู่ในเมือง ซึ่งมีจำนวนประชากรเพิ่มขึ้นตามลำดับ การคมนาคมขนส่งที่ดีขึ้นทำให้เชื้อสายพันธุ์ใหม่ๆแพร่กระจายได้อย่างกว้าง ขวาง รวมทั้งสถานการณ์ภาวะโลกร้อนซึ่งอาจทำให้ยุงมีจำนวนมากขึ้นในหลายๆ แห่ง

โรคไข้เลือดออกมีสาเหตุสำคัญจากการติดเชื้อไวรัสเด็งกี่ ซึ่งมีถึง 4 ชนิด เมื่อคนติดเชื้อไวรัสชนิดใดจะสามารถปกป้องไวรัสเฉพาะชนิดนั้นได้ตลอดชีวิต แต่ไม่สามารถปกป้องการติดเชื้อซ้ำโดยไวรัสเด็งกี่ชนิดอื่น และภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นจากการติดเชื้อไวรัสต่างชนิดนี้ อาจทำให้โรคมีความรุนแรงมากขึ้นด้วย ข้อเท็จจริงดังกล่าวทำให้การพัฒนาวัคซีนป้องกันเด็งกี่เป็นไปด้วยความยากลำบาก ซึ่งนอกจากต้องสร้างวัคซีนให้ครบทุกชนิดแล้ว ยังต้องทำให้ภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นจากการได้รับวัคซีนมีระดับที่ใกล้เคียงกันด้วย จึงไม่น่าแปลกใจที่ทำไมขณะนี้เราถึงยังไม่มีวัคซีนไข้เลือดออกใช้กัน แม้ว่าทั่วโลกจะมีความพยายามพัฒนาวัคซีนมาแล้วกว่า 30 ปี

สำหรับประเทศไทย มหาวิทยาลัยมหิดล ภายใต้การนำของ ศ.นพ. ณัฐ ภมรประวัติ เป็นผู้พัฒนาวัคซีนไข้เลือดออก ชนิดเชื้อเป็นอ่อนฤทธิ์ เป็นรายแรก และต่อมามี รศ.นพ.สุธี ยกส้าน เป็นผู้สืบทอดเจตนารมณ์ ด้วยประสบการณ์ด้านการพัฒนาวัคซีนที่มีมานาน และความเชี่ยวชาญของ นพ.สุธี ที่ได้การยอมรับจากนานาชาติด้านไข้เลือดออก ร่วมกับความสามารถทางพันธุวิศวกรรมของ รศ.นพ. นพพร สิทธิสมบัติ จากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประกอบกับการสนับสนุนด้านงบประมาณ รวมทั้งการบริหารจัดการและผลักดันงานวิจัยของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ก่อให้เกิด วัคซีนลูกผสมทางพันธุวิศวกรรมชนิดเชื้อเป็นแต่อ่อนฤทธิ์อีก 1 ชุด ซึ่งบริษัทไบโอเนท-เอเชีย บริษัทของคนไทยได้ขอรับไปพัฒนาต่อเพื่อให้ประชาชนไทยจะได้มีวัคซีน ป้องกันโรคไข้เลือดออกใช้ในอนาคตอันใกล้ต่อไป

ด้าน ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการสวทช. กล่าวเพิ่มเติมว่า วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศไทยก้าวหน้าขึ้นมากเมื่อเทียบกับอดีต แม้จะยังไปได้ไม่เร็วเท่าอัตราของประเทศผู้นำด้านนี้ แต่งานวิจัยของไทยหลายอย่างก็ช่วยให้เราสามารถติดตามความก้าวหน้าต่างๆได้ อย่างเข้าใจมากขึ้น ทั้งนี้ ในส่วนของ สวทช.เองยังมองว่างานวิจัยพื้นฐานเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งในการ พัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ในส่วนตัวอยากเห็นการลงทุนด้านนี้แม้ว่าจะต้องใช้เวลา ความอดทนสูงและรอจังหวะที่จะนำศักยภาพผลงานวิจัยไปใช้ในเชิงพาณิชย์ได้ ซึ่งบทบาททิศทางการดำเนินงานของ สวทช. ในปัจจุบันและอนาคตจะเน้นทั้งบทบาทวิจัยผลิตองค์ความรู้ใหม่ และพัฒนาความรู้ที่ได้ ไปสร้างเทคโนโลยีมาใช้ประโยชน์แก่บ้านเมือง โดยจะรักษาสมดุลระหว่างการวิจัยและพัฒนานี้ไปด้วยกัน

สำหรับความสำเร็จของการวิจัยและอนุญาตใช้สิทธิในการพัฒนาวัคซีนลูกผสมเชื้อเป็นอ่อนฤทธิ์ป้องกันโรคไข้เลือดออกดังกล่าว จะสำเร็จขึ้นไม่ได้หากขาดความร่วมมือจากทั้ง 3 ภาคส่วน คือ สวทช. มหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งความร่วมมือดังกล่าว เป็นการนำความเชี่ยวชาญของแต่ละหน่วยงานมาร่วมกันสร้างสรรค์งานวิจัยที่เป็น ประโยชน์ต่อการแพทย์และสาธารณสุข ลดอัตราการชีวิตของผู้ป่วยเด็กที่ได้รับเชื้อ อีกทั้งยังเป็นการลดค่าใช้จ่ายทางการแพทย์และสาธารณสุขรวมถึงการควบคุม รักษาโรคไข้เลือดออกอย่างมีประสิทธิภาพต่อไปในอนาคตด้วย

ความเป็นมาของการพัฒนาวัคซีนไข้เลือดออก ต้องยก ความดี ความงาม ให้กับ บุคคลนี้ครับ

น.พ.สุธี ยกส้าน ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาวัคซีนไข้เลือดออก โครงการวิจัยและพัฒนาวัคซีน มหาวิทยาลัยมหิดล ท่านศึกษามาอย่างยาวนานและต่อเนื่อง

ขอบคุณ ข้อมูล จาก

http://www.expert2you.com/view_article.php?art_id=2239

นักวิจัยไทยเจ๋ง พัฒนาวัคซีนไข้เลือดออกสูตรค็อกเทล เข็มเดียวกันได้ 4 สายพันธุ์

โดย ผู้จัดการออนไลน์

21 มีนาคม 2548 20:57

นักวิจัยไทยพัฒนาวัคซีนป้องกันไข้เลือดออกสูตรค็อกเทล เข็มเดียวป้องกันเชื้อได้ 4 สายพันธุ์ เตรียมทดลองระยะที่ 3 ทดสอบประสิทธิภาพในคน 2,500 คน ในปี 2551-2553 นี้ ผลจากการบูรณาการงานวิจัย จากหิ้งสู่การปฏิบัติสำเร็จ เชื่อมั่นลดจำนวนผู้ป่วย ลดงบประมาณกำจัดยุง ซึ่งใช้ปีละกว่า 1,000 ล้านบาท ที่สำคัญรักษาชีวิตคนไทยให้ปลอดภัย เป็นวิธีป้องกันไข้เลือดออกง่ายกว่าการกำจัดยุง อธิบดีกรมควบคุมโรคย้ำถือเป็นความหวังเดียวของโลกที่มีความคืบหน้า

น.พ.สุธี ยกส้าน ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาวัคซีนไข้เลือดออก โครงการวิจัยและพัฒนาวัคซีน มหาวิทยาลัยมหิดล ให้สัมภาษณ์ว่า นักวิจัยไทยพัฒนาวัคซีนไข้เลือดออกสูตรรวมเข็มเดียวคุมได้ 4 สายพันธุ์ หรือสูตรค็อกเทล มีความคืบหน้าระดับแถวหน้าของโลก คาดว่าจะทดลองวัคซีนระยะ 3 ในคนเพื่อทดสอบประสิทธิภาพได้ในอีก 3-4 ปีข้างหน้านี้ โดยประสานให้กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เป็นผู้รับผิดชอบการเตรียมความพร้อมของชุมชน
การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้ ถือเป็นความสำเร็จอันเนื่องมาจากนโยบายของรัฐบาลที่ให้บูรณาการหน่วยงานวิจัยต่าง ๆ เข้ามาทำงานร่วมกัน คาดว่าจะทดลองในคนได้ระหว่างปี 2551-2553
มหาวิทยาลัยมหิดลพัฒนาวัคซีนไข้เลือดออก เริ่มศึกษาวัคซีนนี้ตั้งแต่ปี 2523 เป็นวัคซีนเชื้อเป็น คือนำไวรัสเดงกี่ ต้นเหตุของไข้เลือดออก มาทำให้เชื้อเชื่อง ฉีดเข้าร่างกายคนให้เกิดภูมิคุ้มกัน หากรับเชื้อจากธรรมชาติ จะป่วย 3-7 วัน อาการรุนแรง แต่วัคซีนที่เชื้อมันเชื่อง จะมีอาการไม่รุนแรง มีอาการแค่ครึ่งวันถึง 1 วัน ผลทดสอบระยะ 2 และในห้องทดลอง เรามีความพอใจ การทดลองในคนระยะที่ 3 ให้กรมควบคุมโรคเตรียมชุมชนไว้ที่จังหวัดราชบุรี ระหว่างปี 2548-2550 จากนั้น จะทดลองวัคซีนในคน 2,500 คนน.พ.สุธี กล่าว
น.พ.สุธี กล่าวด้วยว่าไวรัสไข้เลือดออกที่ระบาดในประเทศไทยมี 4 สายพันธุ์ ที่ผ่านมาพบว่า สายพันธุ์ที่ 1-3 มีการระบาดรวมกันร้อยละ 95 ขณะที่สายพันธุ์ที่ 4 มีการระบาดร้อยละ 5 คน ที่รับเชื้อไวรัสไข้เลือดออกสายพันธุ์ใดจะมีภูมิต้านทานโรคในสายพันธุ์นั้น ๆ หากได้รับเชื้อไวรัสสายพันธุ์อื่น ๆ เพิ่มเติมจะทำให้ป่วยเป็นไข้เลือดออกได้อีก แต่ละปีจะพบคนป่วยไข้เลือดออกประมาณ 50,000-100,000 คน
คนที่รับเชื้อไวรัสไข้เลือดออก มีตั้งแต่อาการรุนแรงหรือไม่มีอาการเลย บางคนแค่รู้สึกเหมือนเป็นไข้หวัด แต่คนที่อาการรุนแรงจะเป็นไข้สูง 3-7 วัน บางคนมีจ้ำเลือด ถึงขั้นช็อก หากประเทศไทยผลิตวัคซีนป้องกันไข้เลือดออกสำเร็จ จะลดผู้ป่วยในแต่ละปีเหลือไม่กี่พันคน ลดงบประมาณในการรักษาพยาบาล ลดงบกำจัดยุงลาย ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขน่าจะใช้ปีละ 100-200 ล้านบาท ที่คุ้มค่าที่สุดคือ รักษาชีวิตคนไทย
น.พ.สุธี กล่าวด้วยว่า นโยบายบูรณาการงานวิจัยของ รัฐบาล ถือเป็นการกระตุ้นให้นักวิจัยนำผลงานจากหิ้งสู่การปฏิบัติ โดยรัฐบาลมอบให้สภาวิจัย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และมหาวิทยาลัยมหิดลทำงานร่วมกัน โครงการนำร่อง ปี 2547 ให้งบประมาณวิจัย 500 ล้านบาท มีงานวิจัย 53 โครงการรวมทั้งการวิจัยวัคซีนไข้เลือดออกด้วย โดยโครงการได้รับงบประมาณ 20 ล้านบาท ปีงบประมาณ 2548 ได้รับงบพัฒนาวัคซีนไข้เลือดออกเป็น 30 ล้านบาท ซึ่งการวิจัยวัคซีนไข้เลือดออกโดยนักวิจัยไทยใกล้จะสำเร็จแล้ว
ด้าน น.พ.ธวัช สุนทราจารย์ อธิบดีกรมควบคุมโรค ให้สัมภาษณ์ที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ว่า ขณะนี้ยังไม่มีประเทศใดพัฒนาวัคซีนป้องกันไข้เลือดออกสำเร็จ มีเพียงประเทศไทยโดยมหาวิทยาลัยมหิดลและคณะเท่านั้นมีความก้าวหน้า ก่อนหน้านี้เคยทดลองโดยใช้เซลล์ไตสุนัขมาเพาะเลี้ยงเพิ่มจำนวนเชื้อไวรัสแต่ล้มเหลว ปัจจุบันนักวิจัยไทยนำไข่แดงมาเลี้ยงไวรัสไข้เลือดออก ทำให้อ่อนแรง พัฒนาเป็นต้นแบบวัคซีนเพื่อทดลองในคน เราเชื่อว่าโครงการนี้เป็นความหวังเดียวของโลก ถ้าสำเร็จประเทศไทยจะเป็นเจ้าของวัคซีนนี้ และเป็นประเทศแรกที่จะได้ใช้วัคซีนไข้เลือดออก
การเลือกพื้นที่ทดสอบวัคซีนจะเลือกที่มีการระบาดซ้ำซาก เปรียบเทียบได้ว่า การติดเชื้อจากธรรมชาติกับการให้วัคซีนมีภูมิต้านทานโรคแตกต่างกันอย่างไร ซึ่งการเจาะเลือดสามารถบอกได้ว่า แต่ละคนมีภูมิต้านทานโรคไข้เลือดออกแตกต่างกันอย่างไรนพ.ธวัช กล่าว
นพ.ธวัช กล่าวด้วยว่า งบกำจัดยุงของกรมควบคุมโรค ตั้งไว้ปีละกว่า 100 ล้านบาท แต่หากรวมงบขององค์กรส่วนท้องถิ่นทั้งประเทศ คาดว่าไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านบาท
น.พ.ธวัช กล่าวว่า ไข้เลือดออกนั้นมีการระบาดทุกปี แต่จะแตกต่างกันในเรื่องสายพันธุ์ที่ระบาด บางปี อาจจะเป็นสายพันธุ์ 1 สายพันธุ์ 2 สายพันธุ์ 3 และ สายพันธุ์ 4 ซึ่งความรุนแรงของเชื้อไม่ได้แตกต่างกันเท่าใดนัก และปกติสายพันธุ์ที่ระบาดในไทยจะเป็น สายพันธุ์ 1,2 และ 3 แต่ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมานี้สายพันธุ์ 4 มีแนวโน้มว่าจะระบาดมากขึ้น
ทั้งนี้ในปี 2548 พบว่า ช่วง 2 เดือนแรกของปี อัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกสูงกว่าปีที่ผ่านมา ประมาณร้อยละ 48 จากแนวโน้มการป่วยในช่วงต้นปีนี้ ทำให้เชื่อว่าปีนี้จะต้องมีคนที่ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกสูงขึ้น ซึ่งจากการสำรวจพบว่าผู้ป่วยด้วยไข้เลือดออกพบมากที่สุดที่ กทม. ภาคใต้ ภาคกลาง ภาคเหนือ ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือพบน้อย ส่วนจังหวัดที่มีผู้ป่วยสูงสุดเรียงตามลำดับ คือ กทม. ภูเก็ต ตรัง ระนอง กระบี่ จึงต้องเตรียมมาตรการรองรับทั้งการจำกัดตัวอ่อนยุงลาย และตัวแก่ยุงลาย
น.พ.ธวัช กล่าวว่า หากสามารถวินิจฉัยโรคได้เร็ว จะสามารถควบคุมการระบาดของโรคได้มากขึ้น ซึ่งขณะนี้ทางกรมได้ร่วมกับบริษัทผู้ผลิตหลายแห่งทำชุดทดสอบเบื้องต้น และไปทดลองใช้ในจังหวัดที่มีการระบาดของโรคไข้เลือดออกมาก ๆ
ทั้งนี้ ชุดทดสอบเบื้องต้นนี้จะใช้เวลาไม่เกิน 10 นาที ก็จะทราบว่าเป็นไข้เลือดออกหรือไม่ จากเดิมที่ต้องมีการเจาะเลือดไปตรวจที่ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ ที่ต้องใช้เวลารอผลการตรวจสอบประมาณ 2-3 วัน จึงถือว่าเป็นการส่งไปตรวจสอบเพื่อยืนยันผลการวินิจฉัยเท่านั้น แต่ไม่สามารถควบคุมโรคได้ ซึ่งหากผลการทดลองใช้ชุดทดสอบเบื้องต้นได้ผลก็จะมีการตั้งงบประมาณเพื่อซื้อชุดทดสอบเบื้องตนในปีต่อไป เพื่อนำไปใช้ทั้งประเทศ ส่วนเครื่องพ่นยากันยุง ทรายอะเบท ซึ่งใช้กำจัดยุงลายนั้น เป็นหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่นที่จะดูแล

ไข้เลือดออก หรือ ไข้เดงกี่ (Dengue fever-DF) หรือ ไข้เลือดออกเดงกี่ (Dengue hemorrhagic fever-DHF) เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสที่มีชื่อว่า Dengue virus ระบาดครั้งแรกที่ฟิลิปปินส์เมื่อ พ.ศ.2497 ส่วนประเทศไทยระบาดครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2501 มียุงลายบ้าน (Aedes aegypti) และยุงลายสวน (Aedes albopictus) เป็นพาหะนำโรค
ยุงลายได้รับเชื้อไวรัสจากการกัดผู้ที่ติดเชื้อไวรัส Dengue ไวรัสเข้าไปเจริญเติบโตในกระเพาะแล้วไปอาศัยอยู่ที่ต่อมน้ำลาย และเชื้อยังคงอยู่ในยุงจนสิ้นอายุขัยคือ 35-60 วัน

เชื้อ Dengue virus มีทั้งหมด 4 สายพันธุ์ (serotype) คือ DEN1, DEN2, DEN3, DEN4 การติดเชื้อสายพันธุ์ใดสายพันธุ์หนึ่งในครั้งแรกเรียกว่าการติดเชื้อปฐมภูมิ (primary infection) อาจไม่มีอาการหรือมีอาการไม่รุนแรง และมีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสสายพันธุ์นั้น (homotypic immunity) ไปตลอดชีวิต อีกทั้งมีภูมิคุ้มกันต่อไวรัสสายพันธุ์ที่เหลือ (heterotypic immunity) ชั่วคราวคือประมาณ 6-12 เดือน ส่วนการติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์อื่นๆ ที่เหลือในครั้งต่อไปเรียกว่าการติดเชื้อทุติยภูมิ (secondary infection) มีโอกาสเกิดอาการรุนแรงและภาวะแทรกซ้อนสูง

No comments:

Post a Comment