12กพ.2557: งานประจำสู่งานวิจัยR2R_สาธารณสุขยโสธร_Byดร.สงครามชัยดร.จีระศักดิ์
วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2557 วันนี้ ผม นายพันธุ์ทอง
จันทร์สว่าง เข้าร่วมประชุม เชิงปฏิบัติการ เรื่อง
งานประจำสู่งานวิจัยR2R ณ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร
ประธานการประชุมโดย
นายแพทย์สุใหญ่ หลิ่มโตประเสริฐ
นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร
ชื่อเรื่องวิจัย HIT HOT
ประสิทธิผลการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน...
ประสิทธิผลในการรักษาด้วย ...
ผลของ
ผลของการ
การประเมินการใช้...
ผลของการใช้ ..
การพัฒนากระบวนการ... เป็นต้น
วิทยากรโดย
ผศ.ดร.สงครามชัย ลีทองดี คณะบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
(ปริญญาเอก
PH.D. การจัดการระบบสุขภาพ จากประเทศ อังกฤษ )
ปริญญาโท
2 สาขา สาธารณสุขศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล
และบริหารธุรกิจบัณฑิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น
ปริญญาตรี
2 สาขา สาธารณสุขศาสตร์บัณฑิต มสธ.
นิติศาสตร์มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ผ.ศ.
ดร.จีระศักดิ์ เจริญพันธ์ รองคณะบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม นักวิจัยดีเด่น
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
(หมออนามัยรุ่นแรกๆที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท
ตั้งแต่ดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่สุขาภิบาลระดับ2)
ข้อเขียนในวันนี้เป็นการสรุปจากการฟังบรรยายของวิทยากร
ใช้สำหรับเตือนความจำของผมเท่านั้น
(บุคคลอื่นๆโปรดใช้วิจารณญาณ ในการทำความเข้าใจ ครับ)
หลักการพัฒนาหัวข้องานวิจัย 7 ประการ 7Rs ตามขั้นตอน IPD
QOFT หรือ เอ๊ะ 7 ครั้ง
กติกา สำคัญ สำหรับ อาจารย์ คณะนี้ คือ ห้ามตั้งชื่อเรื่องก่อน
ต้องทำกระบวนการตาม7Rs นี้ คือ IPD QOFT
1. แนวคิดวิจัย
( Research
Idea)
2. ปัญหาวิจัย(
Research
Problem)
3. การออกแบบวิจัย(
Research
Design)
4. คำถามวิจัย(
Research
Question)
5. วัตถุประสงค์วิจัย(
Research
Objective)
6. กรอบแนวคิดวิจัย(
Research
Framework)
7. หัวข้อหรือชื่อเรื่องวิจัย(
Research
Topic)
R ที 1 แนวคิดวิจัย (Research Idea) เป็นเรื่อง ที่ฉันสนใจจะทำ
สนใจเรื่องใด
ประเด็นใดเป็นสำคัญ เป็นคำกว้างๆ เช่น ผู้สูงอายุ มะเร็งปากมดลูก ผู้ป่วยสายสวนคา เบาหวาน
ความดัน ไข้เลือดออก บอกแค่ทิศทาง
เท่านั้น เช่น ไปทรายมูล ไปทิศเหนือ ทาง ยังไม่ต้องบอกว่าจะไปเส้นทางใด
R ที 2 ปัญหาวิจัย (Research Problem) ในคราวนี้ ตั้งใจจะวิเคราะห์ วิจัยในเรื่องใด
ปัญหาที่เกิดขึ้นจริง มีหลักฐานประกอบ
มีข้อมูลสนับสนุน (Evidence
Base)
ปัญหาการวิจัย
คือ ช่องว่าง Gap
จากสิ่งที่คาดหวัง Expectation กับ
สิ่งที่เกิดขึ้นจริง (Actual)
สิ่งที่คาดหวัง Expectation ทั่วๆไป คือดูได้จาก มาตรฐาน นโยบาย เป้าหมายตาม KPI เป็นต้น
เช่น
นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร กำหนดให้มีงานวิจัยใน รพ.สต. 112 เรื่อง
Expectation
ข้อมูลจริงปัจจุบัน
มี 50 เรื่อง Actual Gap คือ 62 เรื่อง
Gap= Expectation- Actual
หาก
จะให้เป็นปัญหานั้น เป็นปัญหา ก็สามารถทำได้ โดยการ คูณ Concern เข้าไป คือเรามีความกังวลมาก
หากไม่ได้ทำเรื่องนี้ กินไม่ได้ นอนไม่หลับ ก็ ทำได้
Gap= (Expectation- Actual) x Concern
Research
Idea เรื่อง มะเร็งปากมดลูก
เป้าหมาย
ร้อยละ 90
ข้อมูลจริงปัจจุบัน ร้อยละ 60 Actual Gap= 30
อัตราการตรวจมะเร็งปากมดลูกไม่เป็นตามเป้าหมาย คือ ปัญหาการวิจัย
ให้ตอบคำถาม 3 คำ
คือ What Why How
What อะไร คือสาเหตุ ที่ทำให้เกิดปัญหานี้
Why ทำไมจึงเป็นอย่างนั้น
How แก้ปัญหานั้นได้อย่างไร ใครแก้ แก้โดย การจัดกระบวนการเข้าไป โดยให้กลุ่มเป้าหมายเข้ามาจัดกระบวนการเพื่อแก้ปัญหาร่วมกัน
เรียกว่า Action Research
ตัวอย่างจาก
คุณสมหญิง โรงพยาบาลป่าติ้ว เรื่อง ซองseal มีหยดน้ำ ร้อยละ 80
เหตุเกิดจาก เวลานึ่ง พนักงานวางทับซ้อนกัน
จัดระเบียบไม่ดี เครื่องนึ่งไม่ดี
วิธีแก้ 1. เย็บเป็นซองผ้า สอดซอง seal
เข้าไป ลดได้ครึ่งหนึ่ง
1.
เย็บเป็นช่องๆ สอดซอง seal เข้าไป
ลดได้ครึ่งหนึ่ง
3.
เย็บเป็นซองผ้า เสริมโครงเหล็ก เข้าไป มัดเข้ากับ ชั้นๆ แยก หมอนขิด
ก่อนนึ่ง สอดซอง seal เข้าไป ลดได้ครึ่งหนึ่ง
แก้ปัญหาละอองน้ำได้
เขียนเป็นงานวิจัยได้เมื่อไร เมื่อทำให้ Gap นั้นหายไปได้
โดยสามารถตอบปัญหา ในคำถามที่ 3 How ได้
กว่าจะได้มา
นี้ มีกระบวนการสำคัญ 4
ประการคือ PDCA
วางแผน
Plan นำแผนไปทำ DO ตรวจสอบ Check ประเมิน Act
หรือบางท่านเรียก
Plan Act
Observe Reflection Model ก็มี
สรุปแล้วความหมายเดียวกัน
เป็นการจัดกระบวนการ
R ที 3 การออกแบบวิจัย (Research
Design) จะเป็นแบบไหน ในเวทีนี้ เสนอ 4 รุปแบบ
1.วิจัยเชิงพรรณนาหรือเชิงสำรวจ หรือการวิจัยเชิงบรรยาย (descriptive
research) เป็นการวิจัยที่ใช้ระเบียบวิธีการบรรยายปรากฏการณ์หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่าคืออะไร
และมีลักษณะอย่างไร ซึ่งมุ่งศึกษาหาข้อเท็จจริงและสถานการณ์ที่เป็นอยู่ขณะนั้น รวมทั้งศึกษาหาความสัมพันธ์ของการปฏิบัติ แนวคิดหรือเจตคติโดยเน้นถึงเรื่องราวในปัจจุบันเป็นสำคัญ มักจะทำเรื่องใหม่ๆ
ที่ไม่เคยมีคนทำมาก่อน ( R2R ไม่แนะนำให้ทำ)
2.
การวิจัยเชิงทดลอง (experimental research) เป็นการวิจัยที่ผู้วิจัยจัดสร้างสถานการณ์และเงื่อนไขต่างๆ ขึ้นมาทดลอง โดยพยายามควบคุมตัวแปรที่เกี่ยวข้อง
ซึ่งไม่ต้องการให้มีผลกับการวิจัยนั้นออกไป แล้วสังเกตหรือวัดผลการทดลองออกมา ( R2R มีทำน้อย
เพราะเกี่ยวกับการควบคุมตัวแปร ส่วนมากทำในห้องทดลอง)
3.การวิจัยเชิงกึ่งทดลอง (quasi
experimental research) เป็นการวิจัยที่ผู้วิจัยสามารถสร้างสถานการณ์
และเงื่อนไขเพื่อใช้ในการทดลองได้บ้างเป็นบางประเด็นและสามารถควบคุมตัวแปรที่เกี่ยวข้อง
ซึ่งไม่ต้องการให้มีผลกับการวิจัยนั้นได้เพียงบางตัวเนื่องจากไม่สามารถสุ่มตัวอย่างให้เท่ากันได้
เชิงทดลอง Experimentalเช่น กรณี ของ โรงพยาบาลป่าติ้ว หากทำโดยควบคุมปัจจัยต่างๆได้ ก็จะเป็น Experimental
เชิงกึ่งทดลอง Quasi Experimental (ปัจจัยต่างๆในความเป็นจริงไม่สามารถควบคุมปัจจัยต่างๆ ได้ เหมือนในห้องทดลอง)
สิ่งที่ต้องทำในกระบวนการวิจัยนี้คือ
ใส่ Intervention หรือ Program เข้าไป
ใส่เข้าไปแล้ว วัดก่อนและหลังการใส่ Intervention เปรียบเทียบกัน
เป็น Quasi Experimental
ตัวอย่าง
วิธี Qua-si
Experimental คือ เพื่อนช่วยเพื่อนเตือนและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
ของ กลุ่มงานการพยาบาล
โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว วัดจาก การมีส่วนร่วม ความพึงพอใจ และ ผลการตรวจ
4.
การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (action research) การวิจัยแบบนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะใหม่ๆ หรือวิธีการใหม่ๆ และนำมาใช้แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในการทำงานโดยตรง เป็นการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับปัญหาต่างๆ ในการทำงาน โดยหวังที่จะปรับปรุง แก้ไขสภาพการทำงานให้ดีขึ้นกว่าเดิม การวิจัยแบบนี้แท้จริงเป็นการวิจัยประยุกต์ลักษณะหนึ่ง แต่ต่างกับการวิจัยประยุกต์ทั่วไปตรงที่การวิจัยเชิงปฏิบัติการจะศึกษาเฉพาะที่
เฉพาะหน่วยงาน ผลการวิจัยนำไปใช้สรุปอ้างอิงไปยังกลุ่มอื่นหรือ ประชากรไม่ได้
Action Research เช่นโรงพยาบาล ป่าติ้ว แก้โดย การจัดกระบวนการเข้าไปโดยให้กลุ่มเป้าหมายเข้ามาจัดกระบวนการเพื่อแก้ปัญหาร่วมกัน
เรียกว่า วิจัยเชิงปฏิบัติการ Action Research วงที่ 1 ได้ ผลดังนี้
แก้อีก วิธีที่ 2 แก้อีก วิธีที่ 3
รูปแบบ
action
research
รูปแบบการลดอัตราการคลาดเคลื่อนทางยา
ของ... เป็นอย่างไร
รูปแบบการคัดกรองผู้ป่วยฉุกเฉิน
ณ ห้องอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว
หมายเหตุ:หากเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ
หรือเชิงปริมาณ หรือ ทั้งสอง แบบ ผสมผสานกัน ที่เรียกว่า Mixed
R ที 4 คำถามวิจัย (Research Question)
เชิงพรรณนาหรือเชิงสำรวจ
Descriptive
มักจะไม่มีคำถาม
กึ่งทดลอง
Quasi
Experimental ต้องตั้งคำถามว่า Intervention นั้นได้ผลหรือไม่ ผลของ....
วิจัยเชิงปฏิบัติการ
Action
Research ตั้งคำถามว่า กระบวนการเป็นอย่างไร
เช่น
กระบวนการการลดความชื้นในซองSeal เป็นอย่างไร
R ที 5 วัตถุประสงค์วิจัย (Research Objective) ต้องมีทั้ง วัตถุประสงค์ทั่วไป และ วัตถุประสงค์เฉพาะ
General Objective
ส่วนมากจะมีตัวเดียว ส่วน specific Objective มีหลายตัวได้
R ที 6 กรอบแนวคิดวิจัย (Research Framework)
R ที 7 หัวข้อหรือชื่อเรื่องวิจัย
(Research
Topic)
ชื่อเรื่องตั้งตอนหลังก็ได้และชื่อเรื่องที่ดีตั้งให้ผู้อ่านอยากอ่านด้วย...
ชื่อเรื่อง สามารถบอก Methodology ได้เลย เช่น
รูปแบบ .... Action
Research
กระบวนการดำเนินงานเพื่อ... Action Research
ผลของ ..... Quasi Experimental
ตัวอย่าง รพ.ทรายมูล
R Idea การดูแลผู้ป่วยโรคหอบหืด
R
Problem ปัญหาคือ อัตราการ revisit ในอัตราที่สูง
( มี Evidence Base)
ดูเหตุ ของ asthma คือ ตัวผู้ป่วย
ใส่ intervention ที่ตัวผู้ป่วย
ฉะนั้น การประยุกต์ขวดเป่าปากลมดีร่วมกับการบริหารกายสามารถลดอัตราการ
revisit
ของผู้ป่วยโรค asthma ได้หรือไม่
วัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาประสิทธิผลของ ขวดเป่าปากลมดีร่วมกับการบริหารกาย
ชุดกิจกรรม
คือ x วัดผล โดย Y คือ 1.ความรู้
2.การปฏิบัติ 3.อัตราการ revisit ซึ่ง อัตราการ revisit อาจจะไม่ลดลงตอนนี้ก็ได้
ชื่อเรื่อง
ผลของโปรแกรมประยุกต์การบริหารกายร่วมกับขวดเป่าปากลมดีต่อการลดอัตราการ revisit ของผู้ป่วยโรคหอบหืด ที่มารับบริการ ณ โรงพยาบาลทรายมูล จังหวัดยโสธร
ตัวอย่าง
จาก รพ.ค้อวัง
R Idea ความคลาดเคลื่อนทางยา
R
Problem ไม่ได้ตามเป้าหมาย
สาเหตุของปัญหา
1. ชื่อยา
Product
2. บุคลากร
คนจัดยา
คนเขียนใบสั่งยา
3. สิ่งแวดล้อม
คนไข้มาก ใบสั่งยา
4. ระบบ
วิธีแก้ปัญหา PDCA ในฝ่าย ตรวจสอบซ้ำ
จุดตัดระหว่างที่พิจารณาว่า เป็น Action research หรือ Quasi
Experimental คือ
พิจารณาจากเหตุสำคัญของปัญหานั้น
ถ้าสาเหตุของปัญหานั้น
มีหลายสาเหตุสำคัญหลายสาเหตุ ต้องจัดกระบวนการเข้าไปแก้ เป็น Action research เช่น Medical Error การลดความผิดพลาดทางยาของฝ่ายเภสัชกรรมโรงพยาบาลค้อวังเป็นต้น
ถ้ามีสาเหตุสำคัญเดียว
ต้อง แก้ที่สาเหตุนั้น เช่นเหตุที่คน ก็แก้ที่คน เป็น Quasi Experimental เช่น กรณีของ ผู้ป่วยหอบหืด ของ
รพ.ทรายมูล
ตัวอย่าง กุดแห่ เรื่อง ผู้สูงอายุ
ปัญหา
ผู้สูงอายุไม่ออกกำลังกาย
อัตราการออกำลังกายต่ำ
ใส่
Intervention
เข้าไป เพื่อให้ ผู้สูงอายุออกกำลังกาย แล้ว นำข้อมูลมาวิเคราะห์
หากใส่เข้าไป
ในตัวผู้สูงอายุ ตรงๆ เป็น Quasi Experimental
หรือ จัดกระบวนการเข้าไปแก้ เป็น Action Research
ต้นทุนค่ายาและเวชภัณฑ์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร
กระบวนการลดต้นทุนค่ายา
.... เป็นอย่างไร
ปัญหาคือ
ลดต้นทุนได้ 14
เป้าหมาย ไม่เกิน 10
เหตุเกิดจาก ระบบ คนผู้จัด บริการ สภาพแวดล้อม
เมื่อมีหลายสาเหตุ
จึงต้องจัดกระบวนการไปแก้ จึงเป็น Action Research
Out
put วัดระดับการมีส่วนร่วม
ความรู้ ความพึงพอใจ
ของผู้มีส่วนร่วม
Out
come คือ ลดต้นทุนด้านยา ..
ชื่อเรื่อง
รูปแบบการดำเนินงานเพื่อลดต้นทุนค่ายาและเวชภัณฑ์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร
Out
put K A P การมีส่วนร่วม ความพึงพอใจ
Out
come เพิ่มการเข้าถึงบริการ
การเขียน
วัถตุประสงค์ เฉพาะ
เปรียบเทียบ
K ของใคร...ก่อนและหลัง การดำเนินงาน
การมีส่วนร่วมของของใคร...ผู้เกี่ยวข้อง
ก่อนและหลังดำเนินการ
การวัดเชิงปริมาณ
สร้างเครื่องมือ มาวัด จากการสร้างแบบสัมภาษณ์ ว่ามีส่วนร่วม มาก ปานกลาง น้อย
ตามทฤษฎี ทั้ง ร่วมวางแผน ร่วมดำเนินงาน ร่วมรับผลประโยชน์ ร่วมประเมินผล
สัมภาษณ์
เลย ว่าท่านมามีส่วนร่วมในกระบวนการนี้อย่างไร
หลัก
r2r ไม่ต้องตั้งมาก ประมาณ 10 ข้อก็พอ
เปรียบเทียบ
ความพึงพอใจ ของใคร...ก่อนและหลัง การดำเนินงาน
R2R มาจากไหน มาจากเรื่องเล็กๆ จากคำว่าเอ๊ะ เล็กๆ ในหน้างานของเรา
ตีเป็นหาให้แตก
เสนอทางเลือกในการแก้ปัญหา
แล้วหาวิธีวัดในแต่ละวิธีว่าได้ผลหรือไม่อย่างไร
ส่วนมาก
มาจาก Best
Practice หรือ มาจาก นวัตกรรม ของเรา
เช่น R2R ที่ดีคือเป็นเรื่องง่ายๆ เช่น
รพ.หนองกุงศรี ใช้ Concept เสี่ยว Care
จากมุกดาหาร
เช่น ข้าวเหนียวกับเบาหวาน
งานวิจัยR2R ที่ได้รับรางวัล
ส่วนมาก จะเกี่ยวข้องกับ efficiency เช่น Safe cost หรือลด time หรือลด Method
เป็นต้น
“สิ่งที่ดีในการให้กำลังใจกันใน COP R2R Community of Practice: COP
คือ
ห้าม วิพากย์ ในเชิง Negative
แต่ต้องวิพากย์ ในเชิง Positive เท่านั้น
เป็นเรื่องที่ดีมากๆเลย คิดได้อย่างไร
แต่..อาจารย์
มีข้อแนะนำดังนี้ 1
2 3 ” ผ.ศ. ดร.จีระศักดิ์ เจริญพันธ์ รองคณะบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ฝ่ายวิชาการ
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ตัวอย่าง
R2R งานวิจัย ด้านการบริหาร
การพัฒนาระบบการนิเทศงานเพื่อความเป็นเลิศทางการพยาบาล
ในโรงพยาบาลค่ายสรรพสิทธิประสงค์
อำเภอวารินชำราบ
จังหวัดอุบลราชธานี พ.ต.ญ.ทานตะวัน คำราช
The
development System for excellent ...
ประเภท
Qua-si ที่เด่นชัด คือ ของ สุมาลี คมขำ
ผลของโปรแกรมประยุกต์
ผู้ดูแลประจำครอบคัว ในการดูแลผู้สูงอายุ
นวัตกรรมคือ
อะไร ตัวอย่างนวตกรรมที่ดีคือ 3 เร็ว
ในการฝากครรภ์ตามกำหนด
เช่นไพศาล
กอมะณี รู้เร็ว มาเร็ว ดูแลเร็ว
นวัตกรรมคือ
Innovation
= Knowledge +
Creative
ฐานหลักคือ
มีองค์ความรู้ บวกกับ ความคิดสร้างสรรค์
การได้มาซึ่งข้อมูลเชิงคุณภาพ
โดยวิธี Triangulation
แหล่ง
เอกสาร บุคคล ทุติยภูมิ
ข้อมูล
มีทั้งปริมาณ และ คุณภาพ
วิธีการ
ทบทวนเอกสาร Documentation สัมภาษณ์ interview สนทนากลุ่มย่อยfocus
group การสังเกต observation
วิธีการ Mixed Research ทั้งวิธีการเก็บข้อมูล ทั้งข้อมูล ทั้งแหล่งผู้ให้ข้อมูล วิธีการเหล่านี้
คือ การทำให้ผู้อ่าน เกิดความน่าเชื่อถือ หรือ reliability เพื่อการลด
Bias ของวิธีการเชิงคุณภาพ โดยการทำ Triangulation
ทั้งนี้ วิธีการทดสอบความน่าเชื่อถือ
ในเชิงปริมาณ โดยการ ทดสอบ reliability
ผู้บริหารมียโยบายชัดเจน สนับสนุน กระตุ้นการพัฒนา ให้โอกาสพัฒนาวิชาการ
“ขอบคุณพวกเราทุกท่านที่เข้ามามีบทบาทและมีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนางานประจำให้เป็นผลงานทางวิชาการโดยการทำงานวิจัย
ที่เรียกว่า Routine to Research หรือ R2R ในวันนี้ พวกเราส่วนมากมีความเชี่ยวชาญ
ในการบริการในฐานะเป็นนักสาธารณสุขมืออาชีพ
แต่ในเชิงวิชาการ เราไม่สามารถตอบได้ว่าผลจากการให้บริการของเรานั้นดี หรือไม่ดี
ได้ผลหรือไม่ได้ผล อย่างไร หากเราต้องการปรับปรุงให้ดีขึ้นจะทำอย่างไร
คำถามเหล่านี้ พวกเราจะได้แนวทางในการทำงานวิชาการในรูปแบบของ R2R จากวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญ
ในเรื่อง R2R นี้เป็นพิเศษ โดยเฉพาะคณะวิทยากรมีพื้นฐานที่ในงานสาธารณสุขเราเป็นอย่างดี
โดยการทำงานบริการประจำมารวบรวมมาสังเคราะห์เป็นผลงานในเชิงวิชาการ หรือ พัฒนางานประจำที่ทำทุกวัน
ให้เป็นผลงานวิจัย หรือ เปลี่ยนปัญหาหน้างาน ให้เป็นผลงานวิจัย ฉะนั้น R2Rจึงเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคนเพื่อพัฒนางานขับเคลื่อนองค์กรสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้
ขออำนวยพรให้ความตั้งใจร่วมกันที่ดีของเรา
ที่มาร่วมเรียนรู้ด้วยกันในเวทีนี้
ส่งผลดีต่อพวกเราในการนำเสนอเวทีวิชาการในระดับเขต ระดับกระทรวง ต่อไป
ในปีนี้ใครส่งผลงานเข้ารับการประกวด ผมจะส่งไปทั้งหมด
ให้กระทรวงเป็นผู้พิจารณาคัดเลือกเอง หากมีหลายคน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร จะสนับสนุนเป็นพิเศษ
ในการเดินทางไปนำเสนอผลงานระดับกระทรวงเป็นหมู่คณะต่อไป”
นายแพทย์สุใหญ่ หลิ่มโตประเสริฐ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร
No comments:
Post a Comment