2/22/14

17 กพ.2557: บันได 9 ขั้นสู่ระบบหมอครอบครัว สิ่งดีๆที่ข้าพเจ้าพบเห็น ณ รพ.สต.โพนทัน อ.คำเขื่อนแก้ว จ.ยโสธร

17 กพ.2557: บันได 9 ขั้นสู่ระบบหมอครอบครัว สิ่งดีๆที่ข้าพเจ้าพบเห็น ณ รพ.สต.โพนทัน อ.คำเขื่อนแก้ว จ.ยโสธร
วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2557 ข้าพเจ้า นายพันธุ์ทอง  จันทร์สว่าง ผู้ช่วยสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว และคณะ
ออกนิเทศงานและเยี่ยมให้กำลังใจ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ย่อ ครั้งที่  1 ประจำปี 2557
ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โพนทัน อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร
สิ่งดีๆที่ข้าพเจ้าพบเห็น ณ รพ.สต.โพนทัน อ.คำเขื่อนแก้ว จ.ยโสธร
ด้านโครงสร้าง
1.    เป็น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ที่โดดเด่น สง่างาม มากที่สุด บนถนน แจ้งสนิท ถนนสายหลัก หมายเลข 23 ยโสธร อุบลราชธานี
2.    ใช้พื้นที่ทุกตารางเมตร ของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งด้านภูมิทัศน์ และการประชาสัมพันธ์
3.    การจัดภูมิทัศน์และดูแลสวนหย่อม ร่มรื่น สะอาด สวยงาม
4.    การจัด ถนนทางเข้า - ทางออก  สามารถใช้งานได้  เป็นปกติ
5.    การจัดและดูแลห้องทำงาน อาคารสำนักงาน ห้องประชุม ได้ ตามเกณฑ์ 5 ส.
ด้านผลงาน
            ผลงานส่วนใหญ่ บรรลุวัตถุประสงค์ ตาม KPI  
จุดเด่นคือ ความพึงพอใจของผู้รับบริการ เพิ่มขึ้น จาก ร้อยละ 73 ในปี 2553 เป็น ร้อยละ 100 ในปี 2556
ประเด็นท้าทายคือ ต้องเพิ่มกาประเมินในคลินิก DM HT
ด้านผลงานเด่น
1.     การค้นหาปัญหา สุขภาพโดยการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยระบบหมอครอบครัว ที่ชัดเจนมากที่สุด
โดยใช้ บันได 9 ขั้น พัฒนาสุขภาพโดยระบบหมอครอบครัว หรือ บันได 9 ขั้นสู่ระบบหมอครอบครัว
ขั้นที่ 1.มีเครื่องมือทำงาน ประสาน อสม.
ขั้นที่ 2. บอกต่อ หมอ อสม. ดูแลใคร
ขั้นที่ 3.ไปสำรวจ WECANDO  
ขั้นที่ 4. รับรู้ร่วมกัน
ขั้นที่ 5. หันหน้าประชุม สุมหัววางแผน
ขั้นที่ 6. CBL แก้ปัญหา
ขั้นที่ 7. ตามมาด้วยโครงการ
ขั้นที่ 8. ประสานแจ้งประชาชน
ขั้นที่ 9.สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

2.     ผลงานการพัฒนางาน เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โดยใช้กระบวนการพัฒนา 4 ดี  ระบบดี เครื่องมือดี   ผู้ให้บริการดี กระเป๋าเยี่ยมบ้านของ นสค.
นวัตกรรมเด่น ที่ผมเห็น
1.     การค้นหาปัญหา สุขภาพโดยการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยระบบหมอครอบครัว ที่ชัดเจนมากที่สุด
โดยใช้ บันได 9 ขั้น พัฒนาสุขภาพโดยระบบหมอครอบครัว
2.     ผลงานการพัฒนางาน เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โดยใช้กระบวนการพัฒนา 4 ดี  
ระบบดี ผู้ให้บริการดี ผู้รับบริการดี การสนับสนุนบริการดี
โอกาสในการพัฒนา Opportunity For Improvement :OFI
1.    การเขียน เอกสาร PCA หมวด P ยังไม่ ยังไม่เห็นถึง ความท้าทายของ องค์กร
(นายกันตภณ รัตนปัญญา   หัวหน้ากลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว)
2.    สารสนเทศ ที่มี ได้นำมาใช้ในการพัฒนาการดูแล กลุ่มเป้าหมายได้อย่างไร
3.    การวิเคราะห์ความต้องการ ความพึงพอใจของแต่ละกลุ่ม ยังไม่ชัดเจน
(ภก.กาญจนพงษ์ เพ็ญทองดี หัวหน้างานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว)
4.    การเขียนเอกสาร กระบวนงาน ที่ควรนำเสนอออกมาให้สุดสาย คือ 9 steps การพัฒนา ระบบหมอครอบครัว จนถึง ขั้นที่ 9 สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน     ภาคภูมิใจที่ได้เป็น Node ในการให้บริการเพื่อลดความแออัด ของผู้ป่วยจาก โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว
ภาคภูมิใจที่ ประชาชนให้ความมั่นใจในการมารับบริการ เพราะกว่าจะมาได้เขาต้องมีความยากลำบากในการเดินทางข้ามถนน 4 เลน 
การวางระบบให้ อสม. เข้มแข็ง คือกลวิธีหลัก ที่ให้การทำงานทำงานในชุมชนของเราประสบผลสำเร็จ
ทุกหลังคาเรือน จะมีหมายเลขโทรศัพท์ ของหมอครอบครัวประจำตัวติดไว้ ทุกหลังคาเรือน
(ผู้ให้ข้อมูล นายพันธุ์ทอง  จันทร์สว่าง ผู้ช่วยสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว)

ข้อเสนอจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
HosXP เพื่อให้มีประสิทธิภาพ ข้อมูลในระดับอำเภอ ภายใต้การกำกับของหัวหน้างาน แต่ละ รพ.สต.
ให้ได้ตามมาตรฐาน ตาม SOP  เสนอให้มีการจ้าง พนักงานบันทึกข้อมูล เป็นการเฉพาะกิจ เป็นระยะเวลา 3 เดือน

กำลังใจที่ดีที่ประทับใจ
การวิเคราะห์ข้อมูล ทั้งในภาพเชิงลึก และเชิงคุณภาพ การร้อยเรียงผลงาน เป็นเอกสารรูปเล่ม PCA ที่สมบูรณ์แบบ สามารถ เป็นตัวอย่างให้กับแห่งอื่นๆได้ ทั้งในระดับอำเภอและในระดับ จังหวัด นางอริยวรรณ จันทร์สว่าง พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการ หัวหน้างานพัฒนาคุณภาพ โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว
ทีมงานที่นี่มีเพียง 4 คน สามารถสร้างสรรค์ผลงานที่ดีดี ให้กับประชาชนได้มากมายขนาดนี้ จึงเป็นสิ่งที่น่าประทับใจ
ทพ.ญ.วีรยา อึ้งอรุณ ทันตแพทย์ โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว
























ขอบพระคุณ คณะนิเทศงานผู้ร่วมออกให้คำแนะนำ ในวันนี้ประกอบด้วย
คณะจาก สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว
นายวิทยา  เพชรรัตน์ สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว  หัวหน้าทีม
นายสุรินันท์ จักรวรรณพร ผู้ช่วยสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว
นางอภิญญา บุญถูก หัวหน้างานควบคุมโรคไม่ติดต่อ สสอ.คำเขื่อนแก้ว
ทศพล นิติอมรบดี  หัวหน้างานอนามัยสิ่งแวดล้อม และคบส. สสอ.คำเขื่อนแก้ว
นายสุนทร  วิริยะพันธ์  หัวหน้างานควบคุมโรคติดต่อ สสอ.คำเขื่อนแก้ว
นางชนัญชิดา  จุฑาสงฆ์ หัวหน้างานส่งเสริมสุขภาพและรักษาพยาบาล สสอ.คำเขื่อนแก้ว
นายศุภสิทธิ์ ตั้งจิต หัวหน้างานสุขภาพภาคประชาชน สสอ.คำเขื่อนแก้ว
คณะจากโรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว
นายกันตภณ รัตนปัญญา    หัวหน้ากลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว
นายทรงพล  พลชัย           หัวหน้าฝ่ายแผนงาน          โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว
นางนัยนา ดวงศรี              หัวหน้าฝ่ายเวชปฏิบัติครอบครัว โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว
ภก.กาญจนพงษ์ เพ็ญทองดี หัวหน้างานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว
นางอริยวรรณ จันทร์สว่าง พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการ หัวหน้างานพัฒนาคุณภาพ โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว
ทพ.ญ.วีรยา อึ้งอรุณ          ทันตแพทย์ โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว
นางศุศราภรณ์ สุขแสน       พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการ หัวหน้างานอนามัยแม่และเด็ก โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว

นางชนิดา อุปยโสธร          พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการ หัวหน้างานวัณโรค โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว

No comments:

Post a Comment