2/10/14

5กพ.2557 Yasothon DHS Strategic Plan เสริมเขี้ยวเล็บเสือแผน หมอครอบครัวยโสธร

5กพ.2557 Yasothon DHS Strategic Plan เสริมเขี้ยวเล็บเสือแผน หมอครอบครัวยโสธร
วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2557    วันนี้ ผม นายพันธุ์ทอง  จันทร์สว่าง ไปพร้อมกับ นายวิทยา  เพชรรัตน์ สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว นางอริยวรรณ จันทร์สว่าง เข้าร่วมประชุม เชิงปฏิบัติการเสริมสร้างทักษะ หมอครอบครัว (แพทย์ที่ปรึกษา นสค. และ อสม.) ในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเครือข่ายระบบสุขภาพระดับอำเภอ จังหวัดยโสธร  Yasothorn DHS Strategic Plan
ณ โรงแรมเจพี เอมเมอรัลด์ อำเภอเมือง จังหวัดยโสธรประจำเดือนคณะเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
ประธาน โดย นายโกวิท โพธิวรรณา  รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธ
วัตถุประสงค์หลัก คือการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ระดับจังหวัด ร่วมกัน
ผู้ร่วมประชุมประกอบด้วย หัวหน้ากลุ่มงาน ผู้อำนวยการโรงพยาบาล  สาธารณสุขอำเภอ ผู้ช่วยสาธารณสุขอำเภอ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุกแห่ง  
วิยากรหลักโดย เลือดเนื้อ หมออนามัยพันธุ์แท้ ของพวกเรา
ผศ.ดร.สงครามชัย ลีทองดี คณะบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
(ปริญญาเอก PH.D. การจัดการระบบสุขภาพ จากประเทศ อังกฤษ )
ปริญญาโท 2 สาขา สาธารณสุขศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล และบริหารธุรกิจบัณฑิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น
ปริญญาตรี 2 สาขา สาธารณสุขศาสตร์บัณฑิต มสธ.  นิติศาสตร์มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ผ.ศ. ดร.จีระศักดิ์ เจริญพันธ์ รองคณะบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
(หมออนามัยรุ่นแรกๆที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท ตั้งแต่ดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่สุขาภิบาลระดับ2)
วาที่ ดร.อ. ทรงศักดิ์ ภูมิสายดร ภาควิชาสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
 ...การจัดทำแผนจะเขียนให้สวยหรูขนาดไหนก็ได้ แต่หัวใจมันอยู่ที่ว่า Stake Holder ที่เกี่ยวข้อง มีส่วนร่วมในกระบวนการจัดทำแผนอันนั้นมากน้อยแค่ไหน 50%หรือ ครึ่งหนึ่งสำเร็จไปแล้ว หากผู้นำองค์กรเอาด้วย อีกครึ่งหนึ่งขึ้นอยู่กับกระบวนการ ในเวทีตลอด 2 วันนี้ จะมุ่งเน้นที่กระบวนการการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผน เพื่อเชื่อมร้อย Single plan ของ CUP กับ Master Plan ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร เข้าด้วยกัน ที่ผมขออนุญาตเรียกมันว่า Single Plan เรื่อง DHS ระดับจังหวัด หรือเรามาทำ แผนDHSระดับจังหวัด ร่วมกัน  Output ที่ได้ คือ Output ของกลุ่มแต่ละวิชา  และ Output ด้านภาพรวมแต่ละเรื่อง ผมขอชื่นชมและขอบพระคุณมากที่ในวันนี้ มีผู้นำขององค์กรเข้าร่วมกระบวนการการจัดทำแผนด้วย... เมื่อวานนี้(4กพ.57) ปลัดกระทรวงสาธารณสุข แถลงนโยบายหลักเรื่องการบริหารคือ เน้นการกระจายอำนาจการบริหารไปสู้ระดับเขตแบบไร้รอยต่อ โดยใช้เครื่องมือที่สำคัญคือ Service Plan และ DHS ที่เชื่อมการทำงาน 10 สาขาด้านสุขภาพทีเป็นปัญหา ใน 5 กลุ่มวัย ... ในอนาคต จะมุ่งเน้นการพัฒนา รูปแบบของ Area Base โดยการเสริมสมรรถนะการบริหารจัดการระบบสุขภาพอำเภอ ที่เรียกว่า District Health System Management Learning:DHML โดยใช้หลักของกระบวนการ Context Base Learning : CBL...
... วิธีที่ไม่ธรรมดาในการแก้ปัญหา เรียกว่ายุทธศาสตร์  หากเป็นวิธีธรรมดาก็ไม่ใช่ยุทธศาสตร์ ...
การทำงานปกติ จะเริ่มจาก Input Process Output Outcome แต่การวางแผนจะกลับกัน
เราจะเริ่มจาก  Outcome Output Process Input เพราะเราต้องกำหนดจุดหมายปลายทางที่เราอยากจะเป็น หรืออยากจะไปให้ถึงก่อน ที่เรียกว่าวิสัยทัศน์ก่อน แล้วค่อยมากำหนด พันธกิจ กำหนด ยุทธศาสตร์ ...
(ผศ.ดร.สงครามชัย ลีทองดี คณะบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม)
ข้อคิดดีดีจาก ผ.ศ. ดร.จีระศักดิ์ เจริญพันธ์ รองคณะบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
เมื่อเราอยู่ร่วมกัน ให้พวกเราคิดดี 3 ดี คือ
คิดอย่างมีวิจารณญาณ ( Critical Thinking)
คิดเชิงสร้างสรรค์ ( Creative Thinking) วิธีง่ายๆคือ Positive Thinking
คิดเชิงระบบ ( Systemic Thinking)
ข้อคิดจาก วาที่ ดร.อ. ทรงศักดิ์ ภูมิสายดร ภาควิชาสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ อย่าลืม เรื่องขวัญกำลังใจและความเจริญก้าวหน้าของบุคลากรด้วย

เป้าหมายการ พัฒนาระบบ DHS ของเขตบริการสุขภาพที่ 10 มี 3 ประการ
ประการที่ 1. ให้ประชาชนมี 3 ดี สุขภาพดี รายได้พอดี เป็นคนดี
            ซึ่งดำเนินการ ใน 7 ประเด็น 24 KPI
            สุขภาพดี 5 ประเด็น คือ หมอครอบครัว ( DM HT  ANC FamMed สุขภาพจิต)
SRRT (ไข้เลือดออก Lepto OV HIV TB Emergency Disease)
ส่งเสริมสุขภาพ ( IQ Tenage Preg สุขภาพดีริ่มที่บ้าน 3 อ คบส อาหารปลอดภัย )
ฟื้นฟูสภาพ ( ผู้พิการ Palliative Care)
ตำบลจัดการสุขภาพ ( ค้นหาปัญหา แก้ไขปัญหาเฉพาะพื้นที่ ODOP)
            รายได้พอดี 1 ประเด็น คือ วิสาหกิจชุมชน ( OTOP สมุนไพร ลดสารพิษในเกษตรกร Organic Food)
            เป็นคนดี 1 ประเด็น คือ ลดความเสี่ยงด้านสังคม ( ยาเสพติด เหล้า บุหรี่ จิตอาสา/อสม))
ประการที่ 2. ให้สถานบริการมีประสิทธิภาพ PCA HA PCHA
ประการที่ 3. ให้บุคลากรมีความสุขในการทำงาน

กลยุทธการขับเคลื่อน
1.    เน้น CUP Management โดย DHS ให้เป็น Unity Team
2.    ใช้เวชศาสตร์ครอบครัว เป็นศาสตร์ ในการขับเคลื่อน
3.    กองทุนสุขภาพท้องถิ่น

หมอครอบครัว ประจำตัวทุกครัวเรือน เยี่ยมเยือนถึงบ้าน บริการตามกลุ่มวัย
ทั้งนี้ทักษะ  5 ด้าน ของ นสค. ประกอบด้วย  PC ESB
ทักษะ ด้านเวชปฏิบัติครอบครัว Practice
ทักษะ ด้านการให้คำปรึกษา Consulting
ทักษะ ด้านระบาดวิทยา Epidemiology
ทักษะ ด้านการจัดทำแผน Strategic Plan
ทักษะ ด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม Behavior Change




























ผู้นำองค์กรที่เข้าร่วมในกระบวนการจัดทำแผน ในวันนี้ ประกอบด้วย
พญ.ดุสิตา ชนะชัยวิบูล์วัฒน์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาชนะชัย
นางเยาวดี   ชาญศิลป์ รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร
นายประวุฒิ   ละครราช หัวหน้างกลุ่มงาน คบส. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร
นายบรรจบ   แสนสุข         หัวหน้างกลุ่มงานพัฒนายุทธศาสตร์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร
นางสุวรรณี   แสนสุข         หัวหน้างกลุ่มงานพัฒนาคุณภาพบริการและ สสม. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร
นายสุชาติ ไชยสัจ สาธารณสุขอำเภอเลิงนกทา
นาย วิระมิตร บุญโถน สาธารณสุขอำเภอ มหาชนะชัย   
นายวิทยา เพชรรัตน์ สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว     
นายรัศมี ตรีแสน สาธารณสุขอำเภอกุดชุม     
นายอิสระ ยาวะโนภาสน์ สาธารณสุขอำเภอป่าติ้ว         
นายพรชัย  ทองบ่อ สาธารณสุขอำเภอ ไทยเจริญ
นายชำนาญ มาลัย สาธารณสุขอำเภอเมืองยโสธร        
นาย ณัฐวุฒิ จันทร์สว่าง สาธารณสุขอำเภอค้อวัง         
นายสง่า อยู่คง สาธารณสุขอำเภอทรายมูล    
นพ.พรพล รัตนอาภา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลป่าติ้ว
วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2557    ประสาน เตรียมความพร้อม การออกนิเทศงาน รพ.สต. ประจำปี 2557 

No comments:

Post a Comment