10/31/15

30ตค.2558_คณะ PCA ขับเคลื่อนDHSคำเขื่อนแก้ว

30ตค.2558_คณะ PCA ขับเคลื่อนDHSคำเขื่อนแก้ว
วันที่ 30 ตุลาคม 2558 ผมนายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง จัดประชุม คณะทำงาน โครงการ พัฒนาคุณภาพหน่วยบริการปฐมภูมิ ประจำปี ๒๕๕๙ ณ ห้องประชุมสำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว
ประธานการประชุม โดย นายชำนาญ มาลัย สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว
ขอบคุณ คณะวิทยากร จาก สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองยโสธร ประกอบด้วย
นางพรพิไล  วรรณสัมผัส    ตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ 
สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองยโสธร
นางชัญญรัส สุนทรา คุณหน่อย ตำแหน่ง  ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขตำบลหนองหอย
นางสมกิจ  ลากวงษ์ คุณไก่ ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งนางโอก     



                        กลุ่มเป้าหมาย หลักในการประชุมวันนี้ คือ ผู้บริหารและผู้สนับสนุนเครือข่ายบริการปฐมภูมิ (CUP)ระดับอำเภอ  ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และ เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในศูนย์สุขภาพชุมชนโรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว
วัตถุประสงค์
เพื่อให้หน่วยบริการปฐมภูมิ เกิดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างผู้ปฏิบัติในหน่วย
บริการปฐมภูมิ ผู้บริหารและผู้เกี่ยวข้องในระดับอำเภอ และเครือข่ายบริการปฐมภูมิ (CUP)
เพื่อพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิให้ตอบสนองความต้องการ ความจำเป็น ด้านสุขภาพ
ของประชาชน และนำไปสู่การมีสุขภาพดี ชุมชนพึ่งตนเองได้ อย่างมีประสิทธิภาพ
เพื่อพัฒนา หน่วยบริการปฐมภูมิ ในเขตอำเภอคำเขื่อนแก้ว ให้มีมาตรฐานตามเกณฑ์คุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิ (Primary Care Accreditation : PCA)
เป้าหมายการพัฒนา
หน่วยบริการปฐมภูมิ ในเขตอำเภอคำเขื่อนแก้ว จำนวน ๑๗ แห่ง ประกอบด้วย
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน ๑๖ แห่ง และ

ศูนย์สุขภาพชุมชนโรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว จำนวน ๑ แห่ง

ประสบการณ์การพัฒนางานสาธารณสุข PCA ฉบับ อำเภอเมืองยโสธร
จุดเริ่มการพัฒนาอยู่ตรงไหน
เรียนรู้ จากการปฏิบัติ ขับเคลื่อนไปพร้อมกัน
ไม่พูดคำว่า PCA หมวดนั้น หมวดนี้
เริ่มจากการ พัฒนาจาก หน่วยกล้าตาย ( รพ.สต.ต้นแบบ)
อำเภอเมือง เริ่ม จากรพ.สต.ทุ่งนางโอก ให้เป็นต้นแบบ การระดมทีมมาเขียนร่วมกัน โดย นำเอาสิ่งที่ รพ.สต. ทุ่งนางโอกทำ มาเขียน ยัดลงในกล่อง กรอบคุณภาพ  แล้ว เชิญ นพ.จิระวัฒน์ วิเศษสังข์ มาให้คำแนะนำ
สิ่งที่ได้จากคำแนะนำคือ นี่คือ Table PCA ไม่ใช่ Action PCA สิ่งที่ต้องการ คือ ต้องเขียนจาก สิ่งที่ทำ
แล้วสิ่งที่เราทำคืออะไร สิ่งที่เราทำอยู่แล้ว คือ การทำงานแบบมีส่วนร่วม ตามกระบวนการ 555
เมื่อนำมาวิเคราะห์ดูแล้ว ตามมาตรฐาน PCA ทั้ง 7 หมวด แล้ว ทั้งหมดคือสิ่งที่เราทำอยู่แล้ว
จะมีก็เพียง หมวด 6 เท่านั้น ที่ต้องพัฒนาทั้งการปฏิบัติและการเขียน ให้ได้ตามมาตรฐาน
หมวด 6 ประกอบด้วย  2 ส่วน ที่สำคัญ คือ หมวด 6.1
ระบบสนับสนุน 10 ระบบ เราไม่สามารถจะขับเคลื่อนทั้ง 10 ระบบ พร้อมกันได้
ฉะนั้น จึงเลือกระบบที่จะกระทบกับปัญหาหน้างานและ เกิดประโยชน์ต่อประชาชนให้มากที่สุดก่อน
สสจ.ยโสธร เลือกพัฒนาทั้งจังหวัด 2 ระบบ คือ ระบบ IC และ ระบบ ยา
สสอ.เมืองยโสธร เพิ่มเติม 3 ระบบ คือ ระบบชันสูตร ระบบอาคารสถานที่ และ ระบบวิชาการ  รวมเป็น 5 ระบบ
KSF ที่สำคัญที่สุด ในการขับเคลื่อน คือ การสนับสนุนจากผู้บริหาร
ทั้งก่อนทำและขณะทำ เพราะเมื่อทำแล้ว สิ่งที่สำคัญคือ การควบคุมกำกับประเมินผล M@E
            โดยทีมนำที่มีจิตอาสาและเชี่ยวชาญในด้านนั้นๆ
เริ่มที่เครือข่าย R2R หรือ กลุ่มเครือข่ายคนชอบเอ๊ะ ไปซะทุกอย่าง ช่วยกันทำ
เริ่มพัฒนา จาก ระบบใดก่อน
ปี 2556 สสอ.เมืองยโสธร เริ่มพัฒนา จาก ระบบยา ซึ่งมี Key word การพัฒนา 3 ประการ คือ เพียงพอ ปลอดภัย มีประสิทธิภาพ  แปลงสภาพ คลังยาจากห้องซุกของ ให้เป็นห้องที่ดีมีคุณภาพ ใครๆก็อยากจะ เข้าไปพัฒนา
เมื่อผู้บริหารให้ความสำคัญ แล้ว การขับเคลื่อนก็ทำไปพร้อมๆกันได้ เช่น ติดตั้ง แอร์ การนิเทศติดตาม
ปี 2557 ระบบที่ 2 คือระบบ IC
ปรับปรุงโครงสร้าง อาคาร Supply
สร้างห้องพักขยะติดเชื้อ และ โถชักโครก กำจัดสารคัดหลั่ง เลือดหนอง
การจัดหารถขนขยะ  เป็นรถ Mobile ออกบริการทั้งอำเภอ รพ.สต. 22 แห่ง ให้ได้ตามมาตรฐาน IC
ปี 2558 ระบบที่ 3 คือระบบ ชันสูตร
ปกติเรา ก็ทำอยู่แล้ว ส่วนที่เราขาดมีอยู่เพียงเล็กน้อย คือ การ Calibrate เครื่องมือ เช่น blood strip เครื่องชั่งน้ำหนัก ปรอทวัดไข้ เครื่องวัด BP เป็นต้น
ปี 2558 ระบบที่ 4 คือระบบ สิ่งแวดล้อม
ปกติเรา ก็ทำอยู่แล้ว ก็พัฒนา ตามเกณฑ์ Healthy Workplace  สะอาด ปลอดภัย ไร้มลพิษ มีชีวิตชีวา
สิ่งดีๆที่ซ่อนอยู่ คือ มีทีมเยี่ยมเสริมพลัง ไปด้วยจิตอาสา และไปมือเปล่า มีแต่หัวใจไป
เพื่อกระตุ้นและขับเคลื่อน PCA ด้วยทีมเยี่ยมเสริมพลัง ตามหลัก 4D
            Dream  หาภาพฝัน สิ่งที่เขาต้องการ ที่เกิดจากความต้องการของเขาเอง
            Design  หาแนวทางให้สำเร็จความต้องการของเขาเอง
            Destiny หาแนวทางให้สำเร็จความต้องการของเขาเอง
            Discovery ทบทวน และ ปรับปรุง ร่วมกัน ไปเรื่อยๆ

บทบาทผู้บริหาร รพ.สต.กระตุ้นเกิด พัฒนา PCA ได้อย่างไร
วิสัยทัศน์ สำคัญที่สุด
            จุดเริ่ม PCA ในสถานบริการ
ในฐานะ ผอ.รพ.สต. เรา ทำงาน ใน รพ.สต.ที่ดี มีความพร้อม มากกว่า หลายๆแห่ง แต่ทำไม ทุ่งนางโอก
เขาอยู่กลางทุ่งนา บ้านนอกกว่าเรามาก ทำไมเขาจึงมีห้องยาที่ดี มีห้อง Supply ที่ดี คนเขาน้อยกว่าเรา แต่ทำไมเขายังไปทำงานเป็นทีมสนับสนุนในระดับอำเภอได้  คำว่า ทำไม ทุ่งนางโอกทำได้ แล้วเราจะทำให้ดีเท่า หรือ มากกว่า ทุ่งนางโอก จะได้ไหม
SWOT ตนเอง ให้รู้เขา รู้เรา ผู้บริหารต้องจริงใจ จริงจัง
เพราะเรามีหลายๆสิ่งที่เหนือกว่า ทุ่งนางโอก ขาเพียงการรวมทีมให้เป็นทีมที่ดีขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายร่วมกันของ ตาดทอง  โดยมีคติ ในการขับเคลื่อนทีม คือ มีสุขร่วมเสพ มีทุกข์ร่วมต้าน
อย่าเริ่มจากกจริงจังก่อน ให้เริ่มจากจริงใจ เมื่อได้ใจแล้ว ให้ ทีมงานเขา เป็นคนขับเคลื่อน ความจริงจัง ในงานที่ตนเองรับผิดชอบ
ผอ.รพ.สต. เพิ่มความจริงจัง ทั้งในบทบาทหน้างาน และบทบาท M@E ในฐานะผู้บริหารด้วย
การแสวงหาเครือข่าย พัฒนา ตามแนวทาง หมู่บ้านจัดการสุขภาพ  
การขับเคลื่อนที่ง่าย และสำเร็จด้วยง่าย คือ โดยภาคีเครือข่าย ในชุมชน เหมือนเดิมคือ จริงใจ จริงจัง
โดยการ ขายฝัน ไปด้วยกัน ด้วยกระบวนการ 555  เพื่อให้ได้มาซึ่ง ได้คน ได้เงิน ได้ของ สำหรับขับเคลื่อนงานในชุมชน
            แนวทางในการขับเคลื่อนในชุมชน โดยยึดตามแนวทาง หมู่บ้านจัดการสุขภาพ  
จุดเด่นของ ตำบลตาดทองคือ ทั้ง 13 หมู่บ้าน ยินดีที่จะขับเคลื่อนไปด้วยกัน

จากหมู่บ้าน สู่ โรงเรียน วัด ศูนย์เด็กเล็ก
การขับเคลื่อนไปสู่ภาคีเครือข่าย อื่นๆ ซึ่งเราก็ทำอยู่แล้ว เช่น
 โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ วัดส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์เด็กเล็กคุณภาพ  เป็นต้น

พยาบาล รพ.สต.ระดับปฏิบัติ เรามอง PCA เป็นอย่างไร @ ทุ่งนางโอก
ความเหมือนกับทุกๆแห่ง คือ เริ่มจาก ความไม่รู้ ความไม่เข้าใจ
ในการปรับแก้ไฟล์ ต้นฉบับ PCA ของสุรินทร์ ที่ จังหวัดยโสธรเราใช้ เป็นคัมภีร์ ในการเขียน
ความต่างคือ ไม่ได้เปลี่ยนชื่อ เท่านั้น แต่ทำความเข้าใจ ในสิ่งที่เรามี ใส่สิ่งที่เราได้ทำเข้าไปมากที่สุด
โดย สิ่งที่ทำนั้น เกิดจากกระบวนการพัฒนาร่วมกัน ทั่วทั้งองค์กร ที่การพัฒนาไม่ได้อยู่เพียงสถานที่สะอาด สวยงาม ร่มรื่น แต่ต้องมองถึงคุณภาพและประสิทธิภาพในหน้างานของแต่ละคนด้วย
            รพ.สต.ทุ่งนางโอก เอากระบวนการทำงานร่วมกัน เป็นการหลอมรวมทีมงาน ทำไปปรับไป ให้คำแนะนำ
ให้กำลังใจซึ่งกันและกัน ตามบทบาทหน้าที่ของแต่ละคน  วันนั้น คือจุดเปลี่ยนที่แท้จริงคือ วันที่ นพ.จิระวัฒน์ วิเศษสังข์
และคณะ เยี่ยมสำรวจ ในหน้างาน ทุกจุด ลงลึกในรายละเอียด เช่น ห้องเก็บของ มีอุปกรณ์การพยาบาลทุกอย่างรวมกัน ผ้าก๊อส เปียก เตาเผาขยะ เผาควันไปในชุมชน น้ำเลือดน้ำหนองทิ้งลงโถส้วม
            นำเสนอ ผอ.รพ.สต. เขาให้โอกาสที่สำคัญ แก่เราคือ อีหล่าเฮ็ดโลดเด๊อ นำเอาข้อเสนอของ อาจารย์มาปรับปรุง ขาดเหลือ จะให้พี่สนับสนุน อะไรพี่พร้อมสนับสนุน
            นี่คือ โอกาสในการพัฒนาตนเอง พัฒนางานของเรา ได้อย่างเต็มศักยภาพ
มาตรฐานมีอยู่แล้ว_เราเพียงนำเอามาตรฐานมาใช้
เมื่อได้โอกาสแล้ว เริ่มจากศึกษา มาตรฐาน ที่มีอยู่แล้ว ลงสู่การปฏิบัติ เช่น มาตรฐานการ CPR มาตรฐานการ พ่นยา การใช้ และบำรุงรักษา รถฉุกเฉิน เป็นต้น  
            เอ๊ะ ทำไมเมื่อคนมาแล้ว ต้องมีแต่ส่งต่อๆ เราจะช่วยกันได้ไหม ฝึกทักษะ การสอนแนะ แนวปฏิบัติร่วมกัน
ให้สื่อสารไปในทิศทางของมาตรฐาน ทุกคนปฏิบัติร่วมกันทำตามมาตรฐาน ไม่ได้ทำตามใจใครคนใดคนหนึ่ง สิ่งที่ดีคือ กิจกรรมเหล่านี้ เป็นการหลอมรวมทีมไปในคราวเดียวกันได้เลย

ใช้เงินมากไหมในการพัฒนา PCA
            บางอย่างใช้เงินไม่มาก เน้นใช้สิ่งที่มีอยู่ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น
เปลี่ยนโรงจอดรถ เป็นอาคาร Supply
เปลี่ยนตู้เหล็กเก็บแฟ้ม ไปเก็บเครื่องมือ เอาแฟ้มไปเก็บในตู้ไม้ เป็นต้น

ประชาชนได้ประโยชน์ ชุมชนเขาพร้อมร่วมมือ
เมื่อสื่อสารถึงมาตรฐาน ประชาชนและครือข่าย ได้ประโยชน์ เขาพร้อมที่จะร่วมมือ กับเรา
โดยกระบวนการ 5 ร่วม ที่สำคัญ คือ ร่วมประเมินผล ดี ไม่ดี
มาตรฐานการให้บริการในชุมชน คือ ทำงานตาม ระบบหมอครอบครัว

ขุมทรัพย์อยู่ที่ไหน
สิ่งสำคัญในการพัฒนาไปข้างหน้า คือขุมทรัพย์ ขุมทรัพย์ ที่สำคัญคือ คำติชม
ถ้ามีใครมาติ มาให้คำแนะนำ ให้รีบเก็บเกี่ยวเอาคำแนะนำเหล่านั้น นำไปวิเคราะห์ และใช้ประโยชน์ จากคำแนะนำเหล่านั้น เพราะปกติแล้ว มีน้อยคนนักที่กล้าจะให้คำแนะนำเรา





คำถาม PCA เริ่มจากจุดไหนก่อน
PCA อย่าไปเริ่มจากการเขียน เราจะยุ่งยากใจ
ความสำเร็จ ความงาม PCA ไม่ใช่รูปเล่มเอกสารที่สวยงาม
คุณค่าของ PCA คือเนื้องานที่มีมาตรฐาน ในหน้างานของตนเอง
คำตอบ 1. เริ่มจากการงานของตนเอง ให้ดีที่สุด คำว่า ดีที่สุด คือทำตามมาตรฐาน
เพราะในทุกๆงาน มีมาตรฐานอยู่แล้ว เพียงแต่เราต้องหาวิธีการให้งานของเราเป็นไปตามมาตรฐาน
คำตอบ 2. หากนึกไม่ออกว่าจะเริ่มจากจุดไหน ก็ให้ดูที่ระบบสนับสนุน 10 ระบบ
เราสนใจที่จะพัฒนาระบบใดก่อนก็ได้
คำตอบ 3. จุดเริ่ม ที่สำคัญจริงๆ เกิดจาก คำว่า เอ๊ะ  เช่น การทำความสะอาดเครื่องมือ สาย Set ต่างๆ
            (ณัฐกมล อ่อนสนิท)
คำตอบ 4. อย่างไรเสีย เราก็ทำงานอยู่แล้ว เราก็ทำงานเราให้ได้มาตรฐานเสีย ก็จะเรียกว่า PCA ได้เลย
            (วงเดือน วงศ์อนันต์)
รวมความแล้ว พัฒนาตาม วลีของท่าน นพ.โสภณ เมฆธณ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ที่ว่า Small Success เริ่มจากงานของเราจุดเล็กๆ ให้ดี แล้ว นำมาต่อกัน ก็จะเป็น Jigsaws ที่สวยงาม
           

คำมั่น จาก รพ.สต.
แคนน้อย  พร้อมที่จะเป็น Model PCA ใน Phase แรกของอำเภอ มนัชยา กองทำ
ดงแคนใหญ่        พร้อมที่จะเป็นต้นแบบการพัฒนาให้กับแห่งอื่นๆ
บกน้อย  เรากำลังพัฒนา ห้อง Supply และ ระบบยา จากนั้นไประบบอื่นๆ เกษรินทร์ วงเวียน
นาหลู่   
นาแก     พร้อมที่จะเป็นต้นแบบการพัฒนา ใน Phase แรก คมสัน อดกลั้น
นาคำ     พร้อมแล้ว จากทีมนาคำเอง และการสนับสนุน จากเครือข่าย และ Buddy การพัฒนา  โสภิดา พลไชย
นาเวียง   ให้คำมั่นว่า จะพัฒนาให้ผ่านเกณฑ์ ในปี 2560  เครือวัลย์ คนชม
กู่จาน     พร้อมที่จะเป็น Model PCA ใน Phase แรกของอำเภอ อุทิศ ฝูงดี
เหล่าไฮ  พร้อมที่จะพัฒนางาน ให้ได้มาตรฐาน เริ่มจากพัฒนาตนเอง ควบคู่ไปกับการดูตัวอย่างที่ดีจากอำเภอเมือง ภายใต้ ประโยชน์สูงสุด ของประชาชน นายพ้น ปัญญาใส  ผอ.รพ.สต.เหล่าไฮ  
โพนสิม  เราจะทำ ทำแล้ว เราจึงจะเขียน โพนสิมพร้อมแล้ว ครับ บัณดิษฐ สร้อยจักร
ทุ่งมน    จะเริ่มจากงานของแต่ละคนให้ได้มาตรฐาน และจะพยายามให้ผ่านในปี 2560
ย่อ        ได้ทำแล้ว และจะทำต่อไป ให้ได้ตามมาตรฐานต่อไป อุศมา นามแก้ว
ดงเจริญ  สิ่งที่จะนำไปใช้คือ ไม่พูดถึง PCA แต่เริ่มจากงานเราให้ได้มาตรฐาน ภายใต้การสนับสนุนที่ดีจาก CUP
โพนทัน  เริ่มทำมาพอสมควร อยากทำต่อไปเรื่อยๆ เพื่อให้ได้มาตรฐาน สุภาวดี ขอสุข
สงเปือย  จะปรับปรุง ระบบ IC ก่อน
กุดกุง     เป็นการเริ่มต้นการจุดประกายที่ดี กลับไปนี้มีแต่อยากทำและอยากทำ โดยจะเริ่มจาก ระบบ IC ก่อน แล้วขยายไประบบอื่นๆ  สุพัตรา โพธิ์ศรี 

No comments:

Post a Comment