25มีค.2559หมออนามัย_สปสช_แลกเปลี่ยนเรียนรู้@สถานีอนามัยไร่ใต้_อุบลราชธานี
วันที่ 25 มีนาคม 2559 ผมนายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง และคณะวิทยากร
เครือข่ายบริการปฐมภูมิ เข้าร่วม เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้
การพัฒนาเครือข่ายบริการปฐมภูมิ เพื่อเสริมสร้าง ความเข้มแข็งของระบบประกันสุขภาพ
ณ สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ ๖๐ พรรษา นวมินทราชินี ไร่ใต้ อำเภอพิบูลมังสาหาร
จังหวัดอุบลราชธานี
หัวหน้าคณะ โดย นพ.วีระวัฒน์
พันธ์ครุฑ รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
( อดีต นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี)
วัตถุประสงค์หลัก
คือเป็นเวที ร่วมด้วยช่วยกัน ในการส่งเสริม ให้บริการและเป็นที่พึงด้านสุขภาพให้กับประชาชนให้มีคุณภาพ
โดยผู้ให้บริการระดับปฐมภูมิ มีเกียรติ ศักดิ์ศรีและมีคุณภาพชีวิตที่ดีในสังคมด้วย
วันนี้มาที่เขต 10 เพราะ เขต 10 มีเนื้อนาบุญที่ดี
อาทิเช่น มีระบบการจัดการที่ดี มีการช่วยเหลือ เกื้อกูลกันดี ทั้งภายในเขต
ระหว่างจังหวัด สิ่งดีๆ นวัตกรรมต่างๆ ที่เกิด ที่มีขึ้น หลายอย่างก่อกำเนิด จาก
พื้นที่ นี้ อาทิเช่น ผู้บริหาร ผู้หลักผู้ใหญ่ ในหลายๆระดับ ไปจากเขต 10 หมออนามัย คือบุคลากรที่ทรงคุณค่า
ของประเทศไทย กองบรรณาธิการวารสารหมออนามัย ก็มีขุมพลังหลักที่ เขต 10 นี้
Fight and never give up.
“ทำงานที่สถานีอนามัย ต้องทุ่มเท ทั้งกำลังกาย กำลังใจ กำลัง สติปัญญา ในบางครั้งก็เหน็ดเหนื่อย
ท้อแท้ แต่ บางคน ในระหว่างที่พักผ่อน ตอนว่างจากคนไข้ หยิบวารสารหมออนามัย มาอ่าน
แล้ว มีบางข้อความที่โดนใจ ที่สามารถสร้างพลังในการสู้ ในการลุย
ต่อเพื่อประชาชนได้ ..จึงเป็นกำลังใจในการทำวารสารหมออนามัยต่อไป” นายเสถียร ปวงสุข
ผู้ช่วยสาธารณสุขอำเภอดอนมดแดง
สิ่งดีที่ผมพบ
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล หรือ
รพ.สต. หรือ สถานีอนามัย เป็น หน่วย งานสาธารณสุข ที่ดูแลสุขภาพประชาชน ส่วนใหญ่
ของประเทศไทย แต่ มีข้อจำกัดในการให้บริการ หลายๆด้าน ทั้งด้าน สถานที่ บุคลากร
และ เครื่องมืออุปกรณ์
“ผมเคยทำงานเป็นทันตาภิบาล ณ
สถานีอนามัยไร่ใต้แห่งนี้ จากนั้นไปสอบปลัดอำเภอ และย้ายกลับมาทำงานที่บ้านไร่ใต้
หมู่บ้านเดิม แต่สถานที่ทำงาน ย้ายไปฝั่งตรงข้าม สถานีอนามัย ในตำแหน่ง ปลัด อบต. ไร่ใต้
ฉะนั้น ในด้านความร่วมมือ การทำงานร่วมกัน จึงถือเป็นทีมงานที่มีเอกภาพมาก รวมทั้ง
หัวหน้าสถานีอนามัย ก็เป็นเพื่อนร่วมเรียน วสส.รุ่นเดียวกัน ในด้านการทำงานบริการปฐมภูมิ
หากไม่ขัดกับระเบียบของทางราชการแล้ว คณะกรรมการกองทุน สปสช.ตำบลไร่ใต้
ยินดีที่จะสนับสนุน เพื่อสุขภาพที่ดีของประชาชน ” นายอดิศักดิ์
ชาววัง ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลไร่ใต้
สภาพปัญหา การใช้จ่ายเงินกองทุน
หาก อบต.ทำเอง จะมีปัญหา จากการตรวจสอบของ สตง.
เพราะ ในปัจจุบัน
คือ ความหมายของ คำว่า การสร้างเสริมสุขภาพ สตง.ยึดตามคู่มือการสร้างเสริมสุขภาพ
กระทรวงสาธารณสุข
เรืองที่
เป็นไข่แดง คือ ชัดเจนว่า เป็นการ สร้างเสริมสุขภาพ โดยแท้ สามารถดำเนินการได้เลย
เรืองที่
เป็นไข่ขาว คือ ชัดไม่แน่ใจว่า เป็นการ สร้างเสริมสุขภาพ โดยแท้หรือไม่
สามารถดำเนินการได้ภายใต้สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม เช่น
อบต.จัดซื้อเครื่องมือ อุปกรณ์ ออกกำลังกาย อบต.จัดซื้อ ผ้าอ้อม ให้ผู้ป่วย Palliative เป็นต้น
เรืองที่
เป็นขอบกระทะ คือ ไม่ชัดเจนว่า เป็นการ สร้างเสริมสุขภาพ หรือไม่
ก็ไม่สามารถดำเนินการได้เลย เช่น อบต.จ้างเหมารถ รับ ส่ง เด็ก ไปเรียน ที่
ศูนย์เด็กเล็ก หรือ รพ.สต.ใช้ปรับปรุง อาคารทันตกรรม อาคารแพทย์แผนไทย ห้องส้วม เป็นต้น
ผลที่ตามมา คือ
บางแห่งยึดผลประโยชน์ต่อประชาชน
ก็ทำต่อเนื่องไป ตามคู่มือและแนวทาง ที่กำหนดร่วมกัน
บางแห่ง ทำบ้าง
ไม่ทำบ้าง
ที่หนักคือ บางแห่ง
ไม่ทำอะไรเลย เพราะเกรงกลัวความผิด
วิธีการแก้ปัญหา
ที่ดี ในปัจจุบันคือ ใช้เงิน กองทุน ผ่าน สถานีอนามัย หรือ รพ.สต.
นายปริญญา ระลึก
เจ้าหน้าที่อาวุโส สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
จะเห็นได้ว่า
ดูแลประชากร กว่า 40 ล้านคน แต่ มี จนท. ที่ให้บริการเพียง 4
หมื่นกว่าคนเท่านั้น
ขอบพระคุณ และ
ประทับใจ ทีมงานผู้เข้าร่วม เวทีนี้ร่วมกันทุกๆคน อาทิเช่น
นายปริญญา ระลึก
เจ้าหน้าที่อาวุโส สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
นายปิ่น
นันทะเสน สาธารณสุขอำเภอราศีไศล เลขานุการสภาวิชาชีพ การสาธารณสุข
นายทะนงศักดิ์ หลักเขต
สาธารณสุขอำเภอพิบูลมังสาหาร
นายเสถียร
ปวงสุข ผู้ช่วยสาธารณสุขอำเภอดอนมดแดง
นายสรรเสริญ
สุดสุข กำนันตำบลไร่ใต้
นายอดิศักดิ์
ชาววัง ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลไร่ใต้
นายเกียรติคุณ
ทวี สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ ๖๐ พรรษา นวมินทราชินี ภูมิซรอล จังหวัดศรีสะเกษ
นางมะลิ สุดตา สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ
๖๐ พรรษา นวมินทราชินี ปลาค้าว อำนาจเจริญ
นางทองจันทร์
บุตรจันทร์ สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ ๖๐ พรรษา นวมินทราชินี บ้านแดง
จงกลนี นวลทา
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บุ่งคำ อำเภอนาจะหลวย
นางจุฑาทิพย์
จันทา โรงพยาบาลทุ่งศรีอุดม
ขอบพระคุณ
บุคลากรทั้ง ๑๐ คน ของสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ ๖๐ พรรษา นวมินทราชินี ไร่ใต้
๑.
นายธนวรรธ สุดสุข ตำแหน่ง
เจ้าพนักงานสาธารณสุข อาวุโส
๒.
นางสาวทัศนีย์ รสจันทร์ ตำแหน่ง
พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการ
๓.
น.ส.กาญจนา แก่นจันทร์ ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพ
ชำนาญการ
๔.
น.ส.สุธิดา เรือนเงิน ตำแหน่ง
แพทย์แผนไทย ปฏิบัติการ
๕.
นางสาวศศิประภา เสาหิน ตำแหน่ง เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข
๖.
นางสาวฉัตรวิไล ลีสาวงษ์ ตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุข
๗.
นายเสถียร วงศ์สมบัติ ตำแหน่ง ผู้ช่วยเหลือคนไข้
๘.
นางปิ่น หอมทรัพย์ ตำแหน่ง พนักงานบริการ
๙.
นายพฤปรด พรรณาภพ ตำแหน่ง พนักงานบริการ
๑๐.
นางสาวศิริพร พลพงษ์ ตำแหน่ง
พนักงานบริการผู้ช่วยเหลือ
No comments:
Post a Comment