5/30/17

12พ.ค.2560 อ.คำเขื่อนแก้ว เตรียมมาตรการ ป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก ฤกษ์ดี วันพืชมงคล

12พ.ค.2560 อ.คำเขื่อนแก้ว เตรียมมาตรการ ป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก ฤกษ์ดี วันพืชมงคล  
            วันที่ 12 พฤษภาคม 2560 วันหยุดราชการวันพืชมงคล ผมนายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง  
เตรียมความพร้อม มาตรการ ป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก



สถานการณ์โรคไข้เลือดออกจังหวัดยโสธร ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๐ ถึงวันที่ ๒๓
พฤษภาคม ๒๕๖๐ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร ได้รับรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกสะสม (เฝ้าระวังโรค) จำนวน ๗๗ ราย อัตราป่วย ๑๔.๒๘ ต่อประชากรแสนคน ไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต  ผู้ป่วยเพศชาย ๓๒ ราย เพศหญิง ๔๕ ราย  กลุ่มอายุที่พบสูงสุด คือ กลุ่มอายุ ๑๕-๒๔  ปี จำนวน ๒๓ ราย อาชีพที่มีผู้ป่วยสูงสุด คือ นักเรียน จำนวน ๒๐ ราย รองลงมา คือ อาชีพเกษตร และอาชีพรับจ้าง จำนวน ๑๖ และ ๑๒ ราย  อำเภอที่มีอัตราป่วยสูงสุด คือ ป่าติ้ว อัตราป่วย ๖๒.๘๑ ต่อประชากรแสนคน  รองลงมา คือ อำเภอเมือง อัตราป่วย ๒๓.๘๑ ต่อประชากรแสนคน  จังหวัดยโสธร มีอัตราป่วยเพิ่มขึ้น ร้อยละ ๘๗.๕๕ จากค่ามัธยฐานย้อนหลัง ๕ ปี ในช่วงเวลาเดียวกัน
ในการนี้ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร  จึงได้ขอให้ทุกหน่วยงานดำเนินการตามมาตรการ
ป้องกันและควบคุมโรคของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข และบูรณาการร่วมกับนโยบายของจังหวัดยโสธร ดังนี้
            ๑.ขอให้ทุกอำเภอ ดำเนินการตามกิจกรรมรณรงค์ ชาวเมืองบั้งไฟ ไล่ล่าลูกน้ำยุงลาย ตอน
บ่าย ๔ โมง ทุกวันศุกร์ อย่างเข้มแข็ง ต่อเนื่องและสม่ำเสมอ  
๒.ติดตามสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในพื้นที่รับผิดชอบอย่างสม่ำเสมอ เข้มข้นและต่อเนื่อง 
โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีผู้ป่วยต่อเนื่องเกิน ๔ สัปดาห์  และต้องควบคุมการระบาดของโรคให้อยู่วงจำกัด ไม่เกิน ๒๘ วัน  ซึ่งทีมสอบสวนและควบคุมโรคต้องดำเนินการให้มีผู้ป่วยต่ำกว่าค่า base line หรือไม่มีผู้ป่วยในพื้นที่
๓.พิจารณาเปิดศูนย์ปฏิบัติการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก (War Room) เพื่อติดตาม
และเฝ้าระวังสถานการณ์อย่างใกล้ชิด  และประสานการทำงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่  โดยมีเกณฑ์การเปิดศูนย์ปฏิบัติการฯ ดังนี้
                          ๓.๑ เปิดศูนย์ปฏิบัติการฯ ระดับอำเภอ ในกรณีที่อำเภอมีผู้ป่วยต่อเนื่องเกิน ๒ สัปดาห์
                          ๓.๒ เปิดศูนย์ปฏิบัติการฯ ระดับตำบล ในกรณีที่ตำบลมีผู้ป่วยต่อเนื่องตั้งแต่ ๒ สัปดาห์ ขึ้นไป
๔.โรงพยาบาล เมื่อพบผู้ป่วยไข้เลือดออก (รวมผู้ป่วยสงสัย) ให้แจ้งไปยังทีมควบคุมโรค
ภายใน ๓ ชั่วโมง  เพื่อให้มีการควบคุมโรคที่ทันเวลา
๕.ด้านการรักษา ให้ระวังเป็นพิเศษในกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ ผู้ที่มีภาวะอ้วน สตรีมีประจำเดือนผู้ป่วย
โรคเลือด เช่น ธาลัสซีเมีย  โดยเน้นการตรวจวินิจฉัยที่รวดเร็ว การเฝ้าระวังอาการช็อก และการรักษาด้วยสารน้ำที่ถูกต้อง 
๖.การติดตามและควบคุมลูกน้ำยุงลายในสถานที่สาธารณะต่างๆ โดยเฉพาะในโรงพยาบาล
และบ้านพักเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล  ไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย  รวมทั้งการสำรวจและประเมินค่า
ความชุกลูกน้ำยุงลายในพื้นที่เสี่ยง  เพื่อให้ทราบสถานการณ์ในเขตชุมชน โรงเรียน วัด และหน่วยงานต่าง ๆ ทุกระดับ  ให้เน้นในสถานที่ ๖ ร (โรงเรือน โรงพยาบาล โรงเรียน โรงงาน โรงแรม โรงธรรม)  การมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน  โดยเฉพาะการใช้มาตรการทางสังคมและภาคีเครือข่าย 
๗.สื่อสารและประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในพื้นที่ทราบถึงสถานการณ์โรคไข้เลือดออกที่
เกิดขึ้น  เพื่อให้เกิดความตระหนักและให้ความร่วมมือในการควบคุมโรค  รวมทั้งการให้คำแนะนำในการกำจัด
แหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย การป้องกันยุงกัด และอาการสำคัญที่ต้องไปพบแพทย์
๘.ขอให้หน่วยงานทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ เอกชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  ได้ดำเนินงาน
ตามมาตรการกิจกรรม ๕ ส + ๓ เก็บ ๓ โรค ในการกำจัดลูกน้ำยุงลายและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ 
๙.ในการควบคุมและสอบสวนโรค  ขอให้ทีมควบคุมโรคทุกระดับใช้มาตรการ ๓-๓-๑-๗-๑๔-๒๘
กำกับติดตามอย่างต่อเนื่อง เข้มข้น

(ภาพและข่าวอยู่ระหว่างการปรับปรุง)


            ภาพเด่นประจำวันนี้ จากกลุ่ม line

ความว่า ..พระโคขี้แตก ...ทำนายว่าปีนี้ทุกอาชีพจะทำงานกันขี้แตกขี้แตน หาเงินกันหัวเป็นน๊อต ตัวเป็นเกลียว..5555!

No comments:

Post a Comment